การพัฒนาสภาวะผู้นำ (Personal Mastery) ถือได้ว่าเป็นวิชาที่คนสมัยก่อน ได้มีการเรียนรู้กันมาตั้งแต่ประมาณสองพันปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันการพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์หรือการพัฒนาสภาวะผู้นำได้ถูกลดความสำคัญลง กระทั่งไม่มีวิชาดังกล่าวบรรจุไว้ในหลักสูตรการเรียนดังเช่นเมื่อก่อน
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ปีที่2 หลักสูตร 2
|
|
เมื่อวันที่ 9-12 กันยายน ที่ผ่านมา ได้มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ปีที่2 หลักสูตร 2 การพัฒนาสภาวะผู้นำ ( Personal Mastery ) ใน 8 จังหวัดภาคอีสาน ณ ทอแสงโขงเจียม โดยมีอาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ แห่งสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม ( Civicnet ) โดยความร่วมมือของสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา(LDI ) โดยการสนับสนุนของ สำนักงานสนับสนุนการสร้างสุขภาพ ( สสส. ) เมื่อได้เจอกันและทักทายกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็จะมีทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่าอาจารย์ชัยวัฒน์ ก็เลยให้มีการแนะนำตัวสำหรับคนที่มาใหม่ให้ทุกคนได้รู้จักกัน หลังจากนั้นอาจารย์ชัยวัฒน์ได้พูดถึงการอบรมในครั้งนี้….ว่า
|
|
|
|
อ.ชัยวัฒน์กล่าวถึงกระบวนการอบรม |
อ.ชัยวัตน์ ถิระพันธุ์ |
การพัฒนาสภาวะผู้นำ (Personal Mastery) ถือได้ว่าเป็นวิชาที่คนสมัยก่อน ได้มีการเรียนรู้กันมาตั้งแต่ประมาณสองพันปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันการพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์หรือการพัฒนาสภาวะผู้นำได้ถูกลดความสำคัญลง กระทั่งไม่มีวิชาดังกล่าวบรรจุไว้ในหลักสูตรการเรียนดังเช่นเมื่อก่อน เหตุผลที่เราควรกลับมาให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาสภาวะผู้นำนั่นเพราะ สังคมปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปมากทั้งด้านวัตถุและเทคโนโลยี การพัฒนาที่รวดเร็วจนคนส่วนใหญ่ไม่สามารถตามทัน ส่งผลให้เกิดปัญหาช่องว่างทางสังคม และความเสื่อมถอยทางจิตใจ ดังนั้นการที่จะทำให้คนพัฒนาได้อย่างเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง วิชาศักยภาพความเป็นมนุษย์จึงเป็นวิชาที่มีความสำคัญ และในปัจจุบันวิชานี้ได้ถูกนำกลับใช้อีกครั้ง ซึ่งมีหลายสำนักและแต่ละสำนักก็มีวิธีการที่แตกต่างกันไป ในที่นี้จะกล่าวถืองเฉพาะแนวคิดที่ยึดหลักวิถีตะวันออก ที่เน้นฝึกเรื่อง จิตใจ วิญญาณ และ ภูมิปัญญา |
|
|
|
จด…… |
กันใหญ่…เลย |
กระบวนการ
|
|
การฝึกสภาวะผู้นำเน้นการฝึกจิตให้หลุดพ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นกระบวนการการฝึกอบรมจึงออกแบบให้สอดคล้องเหมาะสม โดยการเน้นไปที่การคุยอย่างลึกซึ้ง ใช้การสังเกตุ(เป็นวิธีการโบราณ) เรียนรู้ในเชิงวิชาการ ฝึกสภาวะเรียนรู้ แล้วให้ดูหนังเรื่อง “ชีวประวัติ คานธี” เพื่อให้ทุกคนได้ครุ่นคิด วิเคราะห์ให้เห็นเส้นทางชีวิตของผู้นำที่ประสบความสำเร็จว่าต้องผ่านอุปสรรคอะไรและยึดหลักอะไรในการดำเนินชีวิต |
{mospagebreak}
กระบวนการเรียนรู้
|
|
หลักสูตร การพัฒนาสภาวะผู้นำ (Personal Mastery) |
|
กระบวนการเรียนรู้ Peter ย้ำถึงหัวใจการเรียนรู้ คือ ความสามารถในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ การเรียนรู้ที่แท้จริง ซึ่งมันจะต่างจากการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย มีคนจำนวนมากไม่จบปริญญาตรีแต่ก็มีเงินเป็นล้านได้ Peterย้ำใน 5 วิชาองค์กรใดก็ตาม ชุมชนใดก็ตาม มรความสามารถในการสร้างอนาคตที่เราปรารถนาได้ ก็สามารถที่จะจัดการเรียนรู้ที่สำคัญๆได้ อย่างที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่าใบไม้ในกำมือกับใบไม้ในป่าอันไหนมีเยอะกว่ากัน สำหรับ Peter มี 5 ข้อใหญ่ๆ เปรียบเทียบการเรียนรู้นี้เป็น เก้าอี้ 3 ขา |
|
· ขาที่ 1 Aspiration ความมุ่งมั่นและพากเพียรในสิ่งที่ดี ไม่ท้อถ้อยง่ายๆ สร้างด้วยความใฝ่ดี คนทั่วไปสร้างโดย1. สร้างวิสัยทัศน์ร่วม 2. พัฒนาตนเองหรือพัฒนาสภาวะผู้นำ
· ขาที่ 2 ทักษะในการสนทนาที่ครุ่นคิดลึกๆ และออกดอกออกผล Generative Conversation สนทนายังไงที่ทำให้เกิดปัญญา 1. การเรียนรู้ด้วยการทำงานเป็นทีม Dialoque 2.Mastal model ภาพจำลองความคิด ว่าด้วยคุณค่า ความเชื่อ อารมณ์
· ขาที่ 3 การคิดเป็นระบบ System thinking เป็นการเรียนรู้ที่จะทำให้เข้าใจระบบที่ซับซ้อน
ห้ามพลาดสักวิชาเดียวใน 5 วิชานี้ เพราะจะเป็นการเชื่อมโยงซึงกันและกัน การฝึกอบรมในครั้งนี้ไม่ใช่แค่เรื่องในวิชาแต่เป็นเรื่องของใจ เราจะเข้าใจว่าเป็นยังไงในเรื่องของสภาวะผู้นำ ทุกคนนั้นสามารถที่จะเป็นผู้นำได้ เพราะที่ผมจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ในเรื่องนี้ เพราะผมเชื่อว่าพวกเราทุกคนก็สามารถเป็นผู้นำได้เช่นกัน |
|
|
“ สิ่งที่สำคัญของการพัฒนาตนเอง”
* พื้นที่แห่งความคุ้นเคย Comfort Zone เป็นพื้นที่ๆเคยชิน ทำจนชินแล้วบนพื้นที่แบบนี้เราจะไม่มีการเรียนรู้ เรื่องพื้นที่เป็นสิ่งที่เราจับต้องได้และไม่ได้
· Stietch Zone เป็นพื้นที่แห่งการยืดตัว เหมือนกับการคว้าดาวถ้าคุณไม่เอื้อมหรือไม่หาทางคว้าดาวก็ไม่สามารถที่จะได้ดาว เป็นการฝึกฝนในสิ่งใหม่ๆในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน ทดลองในสิ่งใหม่ๆ กล้าในสิ่งใหม่ๆ
· Panic Zone พื้นที่แห่งสติแตก ควบคุมสติไม่อยู่ไม่มีการเรียนรู้เพราะสติแตกไปแล้ว “ หัวใจของการพัฒนาสภาวะผู้นำ ต้องผ่านการทดสอบ ต้องมีความสามรถในการผ่านการท้าทายได้ โลกไม่เคยคอยเรา เราต้องไปหามัน”
|
{mospagebreak}
การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม
|
|||
การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมจะให้พัฒนาอย่างมากต้องพัฒนาสภาวะจิตใจให้เข็มแข็ง หัวใจของการฝึก อบรมสภาวะผู้นำต้องฝึกที่จิตใจ อาจารย์ชัยวัฒน์ได้ให้ทุกคนนั้นครุ่นคิดพินิจนึก คุยกันให้เกิดข้อคิดใหม่ๆร่วมกันเล่าถึงความรู้สึกของตนเอง ( หัวใจในบทนี้ คือ ความละเอียดอ่อนทางจิตใจ) |
|||
|
|
||
ผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถในการสร้าง Concept สร้างมโนทัศน์ คือการฝึกมองให้ครอบคุมให้ละเอียดให้เห็นสายสัมพันธ์ เห็นระบบ เห็นการเชื่อมโยง |
ผู้นำที่ดีไม่ใช่ผู้นำที่บังคับคนอื่น ชี้นำคนอื่น ผู้นำที่ดีนั้นต้องช่วยกันในการเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งผู้นำและคนอื่น เพื่อเป็นการพัฒนาซึ่งกันและกัน |
||
ศิลปะมีบทบาทยังไงต่อการพัฒนา
|
|||
1. ศิลปะและศิลปินกระตุ้นให้เราเห็นมากกว่าเดิม ได้ยินมากกว่าเดิมและสัมผัสในสิ่งที่อยู่ภายในตัวเราและรอบตัวเรามากกว่าเดิม 2. ศิลปะบางครั้งก่อกวนและท้าทายเรา 3. ศิลปะและศิลปินกระตุ้นใจเราให้มีทักษะกว้างออกไป 4. ศิลปะและศิลปินปลุกเร้าและความชอบธรรมสร้างความสุนทรีย์ภาพ . 5. ทำให้มองเห็นความจริงในมุมใหม่ที่เราไม่เคยมองมาก่อน 6. ทำให้เรามีสายตาที่แหลมคมมองทะลุลึกลงไปข้างในทำให้มองเห็นในสิ่งที่ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าได้ |
|||
ก่อนที่จะจบการอบรมในหลักสูตรนี้อาจารย์ชัยวัฒน์ นั้นได้ให้ทุกคนในห้องนั้งครุ่นคิดคิดถึงวิสัยทัศน์ของตนเองและเชื่อมโยงเกี่ยวกับท้องถิ่นและสังคมที่เราอยู่ยังไงทีละคนแล้วสะท้อนออกมาให้เพื่อนในห้องนั้นได้ฟังและเอาวิสัยทัศน์ของแต่ละคนมาพูดกันว่ามีตรงไหนนั้นเหมือนและแตกต่างกันตรงไหนบ้าง
และหลังจากนั้นอาจารย์ชัยวัฒน์ก็ได้สรุปบทเรียนที่ผ่านมาตั้งแต่วันแรก มาจนถึงวันนี้ ว่ามีอะไรบ้างและให้ทุกคนนั้นนำกลับไปใช้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำที่ดีหรือนำไปสอนให้เกิดประโยชน์ต่อไปและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันแล้วเจอกันใหม่ในเวทีต่อไปกับการฝึกอบรมในหลักสูตรนี้ที่จังหวัดพังงา วันที่ 16-19 กันยายน 2547 |
|||
เก็บภาพสวย ๆ มาฝาก |
อยากให้ผ่อนคลาย |
||
|
|
||
น้ำโขง |
หน้าฝน |
||
|
|
||
ผาแต้ม |
ยามเช้าตรู่ |
||
|
|
||
กองบรรณาธิการ : รายงาน
|
Be the first to comment on "เวทีอบรม “การพัฒนาสภาวะผู้นำ (Personel Mastery)” ภาคอีสาน"