• มองน้ำเป็นสินค้า ที่มีมูลค่า ซื้อขาย ถ่ายโอนผันน้ำเป็นการลงทุน โดยทิศทางดังกล่าวทำให้ผู้มีสิทธิเข้าถึงน้ำ คือผู้มีโอกาสทางเศรษฐกิจสูงเข้ามาลงทุน แต่คนยากจนนั้นจะลำบาก
• มองน้ำในฐานะเป็นมวลน้ำหรือวัตถุดิบ แยกขาดจากความสัมพันธ์เชิงนิเวศ เศรษฐกิจ และสังคมท้องถิ่น
รายงานกิจกรรมเวทีเสวนาการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำ โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ–ท้องถิ่นน่าอยู่ |
วันที่26 ตุลาคม 2547 มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา(LDI)
สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จัดที่โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ บางกอก |
เริ่มต้นการเสวนานั้นก็ได้มีการกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดการเสวนา ดังนี้
1.เพื่อความเข้าใจฐานคิดการจัดการฐานทรัพยากรลุ่มน้ำ 2.เพื่อเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของนักวิชาการ ผู้ปฏิบัติการ และผู้สนับสนุนกระบวนการ 3.เพื่อหารือแนวทางการเคลื่อนงานในพื้นที่ต่อไป หลังจากนั้นก็มีการให้แนะนำตัวของผู้เข้าร่วมในแต่ละท่านว่ามีประสบการณ์อย่างไรเกี่ยวกับการจัดการลุ่มน้ำ ต่อมาผู้ดำเนินรายการได้แนะนำวิทยากรที่มาบรรยายในหัวข้อเรื่อง แนวคิด มุมมองการจัดการทรัพยากร /ลุ่มน้ำ โดยคุณ กฤษฎา บุญชัย จากมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ โดยคุณ กฤษฎา ก็ได้กล่าวถึงเรื่องของ แนวคิดกระแสหลักต่อการจัดการน้ำ
หลังจากนั้นคุณ กฤษฎา ก็ได้พูดถึงเรื่อง ระบบการผันน้ำหรือ WATER GRID ในไทย นั้นเป็นการโฆษณาเกินจริง มีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้แต่ไม่ได้บอกว่าประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการนี้ยังไงบ้าง ทำให้เราเห็นได้ว่า ตอนนี้เรากำลังเผชิญกับเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำอยู่ การเผชิญถึงกลไกต่างๆซึ่งมาทำเป็นเชิงธุรกิจต่างๆเปลี่ยนจากน้ำมาเป็นเงิน ต่อจากนั้น อ.ชัยพันธ์ ประภาสะวัต ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อสิทธิชุมชน ก็ได้มากล่าวถึงกรณีตัวอย่าง เรื่อง ลุ่มน้ำแม่ตาช้าง จ.เชียงใหม่ ในช่วงแรก อ.ชัยพันธ์ ฉายวีดีทัศน์ เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นของแม่ตาช้าง ในเรื่อง ” พรุ่งนี้ยังมีน้ำ” แม่ตาช้าง โครงการฟื้นฟูและจัดการลุ่มน้ำแม่ตาช้าง “เพื่อศึกษาการสร้างกฎ กติกาในการจัดการทรัพยากรน้ำของลุ่มน้ำแม่ตาช้าง และลักษณะของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในแม่ตาช้างเกี่ยวกับเรื่องการใช้น้ำซึ่งเป็นปัญหาที่ค่อนข้างรุนแรงโดยจะเป็นการจับคู่ทะเลาะกันของชาวบ้านในสามพื้นที่” “คนที่ราบสูง จะขัดแย้งกับ คนพื้นราบ” “คนพื้นราบ จะขัดแย้งกับ คนพื้นราบ” “สถานประกอบการ จะขัดแย้งกับ คนพื้นราบในพื้นที่” “การทำงานนั้นจะมีการแบ่งเป็นระดับการทำงาน 4 ระดับด้วยกัน เพื่อจะได้ง่ายต่อการพัฒนาพื้นที่แม่ตาช้าง ระดับชุมชน , ระดับพื้นที่ , ระดับลุ่มน้ำ , ระดับเครือข่าย ซึ่งจะเห็นได้ว่าการแบ่งเป็นระดับการควบคุม โดยจะร่วมกันสร้างกฎ และกติกา ในบริเวณที่แม่ตาช้างไหลผ่านและควบคุมพื้นที่โซนนิ่ง ของบรรดารีสอร์ททั้งหลายให้อยู่ในพื้นที่ที่กำหนดไว้” “นี่คือปัญหาที่ได้รับการแก้ไขและพัฒนา แล้วสำหรับแม่ตาช้างซึ่งเป็นพื้นที่ตัวอย่างเล็กๆที่หยิบยกมาให้ดูเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับแม่ตาช้าง” เริ่มต้นกระบวนการในช่วงบ่ายเป็นการนำเสนอกรณีศึกษาของพื้นที่ ลุ่มน้ำปราจีนและ อ่าวปัตตานี เรื่อง “สภาพการณ์ที่เป็นอยู่และแนวทางที่จะขับเคลื่อน” ต่อมากระบวนการสุดท้ายของการประชุม คือการแลกเปลี่ยนและระดมความคิดเห็น เพื่อหาแนวทางการเคลื่อนงานของกรณีศึกษาและนำเสนอแลกเปลี่ยนในกลุ่มใหญ่เพื่อเติมความคิดและข้อคิดเห็นต่อแนวทางของพื้นที่ โดยผู้เข้าประชุมจากผู้เข้าร่วมโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลุ่มน้ำปราจีนบุรีและอ่าวปัตตานี ร่วมแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม โดยเริ่มจากลุ่มน้ำปราจีนบุรีแสดงความคิดเห็นว่า ต้องมีการรวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อน ในการดูแล ในตรงนี้ต้องมีการร่วมมือกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะกลุ่มเป็นชาวบ้านและโรงงานอุตสาหกรรม ต้องช่วยกันทีละขั้นและให้เป็นขั้นเป็นตอน ส่วนของอ่าวปัตตานีก็ได้หาแนวทางร่วมกัน คือ ต้องสร้างความเข้าใจในพื้นที่ก่อน และก็ค่อยๆทำให้เป็นประเด็นร่วมกันของทุกกลุ่ม และก็เชื่อมโยงเครือข่ายข้ามชาติ และหาวิธีการบุกในเชิงรุก โดยจะใช้วิทยุชุมชนเป็นสื่อกลางในการเคลื่อนไหว และทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือประเด็นสำคัญของงานเสวนาในครั้งนี้ |
|
Be the first to comment on "เวทีเสวนาการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำ"