การวิจัยเป็นการสร้างความรู้ใหม่จากการใช้ปัญญา คุณค่าความดีงาม เป็นความรู้ที่เกิดจากการยกระดับ ความสำคัญของการวิจัยเพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติไปสู่การเปลี่ยแปลงของสังคมในบริบทที่แท้จริง…..
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่ |
||
เมื่อกล่าวถึงการดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่ เราคงต้องนึกถึงคณะทำงานที่เป็นผู้ขับเคลื่อนการทำงานให้สู่เป้าหมาย โดยหนึ่งในคณะทำงานก็คือทีมประเมินภายในการทำงานในโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่ครั้งนี้ถือได้ว่าทีมประเมินภายในเป็นนวตกรรมใหม่ของการทำงานที่มุ่งเห็นความสำเร็จของการทำงาน โดยมีบทบาทในการทำหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อชี้แนะต่อคณะทำงานการถอดบทเรียนจากการทำงานตลอดจนการสังเคราะห์องค์ความรู้ภายใต้การได้รับการพัฒนาจากอาจารย์ ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อยและทีมงานจากคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งโดยในปี2547 นับว่าย่างเข้าสู่ ปีที่2 ที่ทีมประเมินได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับในบ่ายวันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2547 ก็เป็นอีกวันหนึ่งที่พวกเราทีมประเมินภายในจาก 35 จังหวัดได้มีนัดหัวใจกับอาจารย์ สืบเนื่องจากการประชุมในวันที่ 7-8 สิงหาคม 2547 ที่โรงแรมมารวยการเด้น กรุงเทพฯ ที่ทีมประเมินจาก35จังหวัดที่มีความสนใจและสมัครใจในการเรียนรู้ในกิจกรรมการถอดบทเรียน การวิจัยเชิงปฏิบัติการ และได้ลงชื่อทำสัญญา และส่งโครงร่างให้อาจารย์ และก็ถึงวันนัดหมายในวันที่20-21 พฤศจิกายน 2547 ณ โรงเเรมรอยัลเจมส์ลอร์ด พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ที่ทีมประเมินจะได้รับคำชี้แนะเพิ่มเติมจากโครงร่างที่ส่งมา ในช่วงภาคเช้าเป็นการเดินทาง และตามกำหนดการเริ่มประชุมเวลา13.00น.เป็นต้นไป |
||
จากนั้นอาจารย์ ดร.ธีรเดช ฉายอรุณ ได้ทบทวนแนวคิดการถอดบทเรียนและข้อสังเกตต่อการเขียนเอกสารถอดบทเรียน จนถึงเวลาพักรับประทานอาหารว่าง
|
||
เวลา15.00น.-17.00น.ทีมประเมินได้แบ่งกลุ่มทีมเป็นรายภูมิภาคเพื่อให้อาจารย์ประจำภาคได้ชี้แนะ ให้ข้อคิดเห็นแนะนำอย่างละเอียดอีกครั้ง ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางแบ่ง 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มจังหวัดลพบุรีได้รวมกับจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระบุรี ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีจากเพื่อนๆทีมประเมิน และได้รับคำชี้แนะจากอาจารย์ ผส.ปุสตี มอนซอน ทำให้เกิดความเข้าใจในการถอดบทเรียนมากขึ้น
เวลา17.00น-19.00น เป็นเวลาที่ทีมประเมินได้การพักผ่อนตามอัธยาศัย ซึ่งเราได้มีโอกาสเดินชมธรรมชาติรอบๆที่พักเป็นสนามหญ้าเขียวขจีกว้างใหญ่หลายสิบไร่ ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับการไดร์ฟกอล์ฟ เราได้มีเวลาได้สูดอากาศบริสุทธิ์อยู่พักใหญ่ หลังจากเดินชมธรรมชาติจนได้เรียกน้ำย่อยพอสมควรก็ได้เวลาของการรับประทานอาหารเย็น
ภาคค่ำเป็นการชี้แจงจากอาจารย์ ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อยถึงก้าวต่อไปของการถอดบทเรียน การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาตัวชี้วัดโครงการ แนะนำจากทีมธุรการ จากนั้นให้ทบทวนรายงาสนการถอดบทเรียนรายจังหวัดต่อ จนถึงเวลาที่ได้นอนหลับพักผ่อน |
||
เวลา9.00น.10.00น อาจารย์ ดร.ศุภวัลย์ พลายน้อย ได้ให้ข้อสังเกตต่อยอดการยกระดับคุณภาพของโครงร่างการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งได้กล่าวถึงการวิจัยว่าเป็นการสร้างความรู้ใหม่จากการใช้ปัญญา คุณค่าความดีงาม เป็นความรู้ที่เกิดจากการยกระดับ ความสำคัญของการวิจัยเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติไปสู่การเปลี่ยแปลงของสังคมในบริบทที่แท้จริง เป็นการผลิตและจัดการความรู้ทั้งความรู้ที่ฝังลึกและความรู้ชัดแจ้ง อาจารย์ให้ข้อสังเกตต่อโครงร่างงานวิจัยที่ส่งมาว่ามี 2กลุ่ม กลุ่มที่1 เป็นการวิจัยเพื่อการพัฒนาในองค์กร กลุ่มที่2 เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาในชุมชน อาจารย์ได้สรุปแนวคิดและระเบียบการวิจัยเชิงปฏิบัติการบนหลัก6 ประการคือ 1. การมีส่วนร่วม 2.ความร่วมมือเสมอภาค 3.กระบวนการสืบค้นคว้า 4.การเสริมพลัง 5.การสะท้อนกลับอย่างลุ่มลึก 6.การสร้างความรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ต่อด้วยแนวทางการเขียนเอกสารโครงร่างวิจัยเชิงปฏิบัติการ ที่มีเนื้อหา 4 ส่วน คือชื่อเรื่อง เหตุผลหรือความสำคัญ วัตถุประสงค์การวิจัย และแนวทางการดำเนินงาน หลังจากได้ข้อชี้แนะจากอาจารย์จนเกิดความชัดจนแล้วแบ่งกลุ่มทีมประเมินรายภูมิภาคเพื่อใหเรียนรู้และปฏิบัติการจริงร่วมกันเป็นรายจังหวัด |
||
|
||
ข้อสังเกตที่พบในการประชุมทีมประเมินภายในในครั้งนี้พบว่าทีมประเมินจาก 35 จังหวัดที่เข้าร่วมประชุมประมาณ 70 % เป็นทีมประเมินกลุ่มใหม่ ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง มีจิตสาธารณะที่อาสาเข้ามาทำหน้าที่ในโครงการขอให้กำลังใจทุกๆท่านและหวังว่าจะช่วยกันดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถคงจะช่วยทำให้อาจารย์ ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย และทีมงานจากคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รู้สึกภูมิใจและยินดีกับกับทีมประเมินกลุ่มใหม่ได้ไม่น้อย |
||
กัลปังหา โชสิวสกุล ทีมประเมินภายในจังหวัดลพบุรี เรียบเรียงเนื้อหา จารุวรรณ แก่นทรัพย์ ทีมประเมินภายในจังหวัดลพบุรี ภาพ /บรรณาธิการ โดยทีมประเมินภายในจังหวัดลพบุรี |
Be the first to comment on "เวที : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้"