เวที “คนเมืองปาย เรียนรู้เรื่องผังเมือง”

“การวางผังเมือง” ถ้าจะเปรียบคงเหมือน “การสร้างบ้านให้น่าอยู่” ให้ตรงใจผู้อยู่ การที่มีคนมาออกแบบบ้านให้โดยที่เจ้าบ้านไม่มีสิทธิแสดงความต้องการอยากให้บ้านเป็นยังไง อยู่ไปย่อมอึดอัด ปัญหาก็ตามมา…เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2547 ที่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน จึงมีคนนับร้อยจากตัวแทนของแต่ละตำบลใน อ.ปาย มาเข้าร่วมระดมความอยาก “สร้างเมืองปายให้น่าอยู่”

 

          “การวางผังเมือง” ถ้าจะเปรียบคงเหมือน “การสร้างบ้านให้น่าอยู่” ให้ตรงใจผู้อยู่ การที่มีคนมาออกแบบบ้านให้โดยที่เจ้าบ้านไม่มีสิทธิแสดงความต้องการอยากให้บ้านของเขาเป็นยังไง ถึงเวลาอยู่ไปย่อมอึดอัด ปั­หาก็ตามมา……เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2547 ณ หอประชุมโรงเรียนปายวิทยาคาร อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน จึงมีคนนับร้อยจากตัวแทนของแต่ละตำบลใน อ.ปาย มาเข้าร่วมระดมความอยาก “สร้างเมืองปายให้น่าอยู่” ใน “เวทีเรียนรู้เรื่องเรื่องผังเมือง” โครงการเชื่อมประสานการพัฒนาฯ จ.แม่ฮ่องสอนและกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) เป็นผู้ สนับสนุน
วิทยากรโดย รศ.ดร.บรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัย งานนี้ได้เชิ­ญรองผู้ว่าราชการจังหวัด(อย่างไม่เป็นทางการ) มาร่วมกล่าวเปิดงานและรับฟังความคิดและความต้องการของชาวบ้าน
 

        ปายในอดีต
ายเป็นเมืองที่แวดล้อมไปด้วยป่าเขา มีคนหลายชนเผ่าอาศัยอยู่ ไทให­่ ลีซอ กระเหรี่ยง จีนฮ้อ และแม้ว ในอดีตผู้คนมีวิถีชีวิตอยู่ติดกับธรรมชาติ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก น้ำ สัตว์ป่า หน่อไม้ เห็ด พืชผักนานาพรรณมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์

 

จนกระทั้ง

ถนนลาดยางจากเชี่ยงใหม่-ปาย

บ้านไม้กลายเป็นตึก หมู่บ้านกลายเป็นเมือง

ตู้เอทีเอ็มกลางเมืองกับแม่ค้าชาวลีซอ

นักท่องเที่ยวต่างชาวกำลังซื้อของ

เรื่อล่องแก่งแม่น้ำปาย

ร้านเครื่องดื่มลองรับนักท่องเที่ยว

         การเปลี่ยนเปลงก่อเกิดปั­หามากมายตามมา คนบางส่วนพอใจแต่มีผู้คนอีกมากที่รู้สึกอึดอัดกับขยะที่ล้นเมือง เสียงอึกตึกครึกโครมจากผับที่บริการนักท่องเที่ยว การเมืองท้องถิ่นที่เข้มข้นและน้ำใจที่จางลง

คนปายเริ่มสร้างบ้าน  “น่าอยู่”

 


ใครมาจากตำบลไหนเชิญ­ลงทะเบียน..จ้า

เริ่มเรียนรู้เรื่องผังเมือง

อ.บรรณโศภิษฐ์ ทำความเข้าใจ “ผังเมือง”

แล้วต่อด้วยคำถาม…ให้คนปายช่วยตอบ

คำถามที่ต้องช่วยกันตอบ
1. ช่วยกันระดมความเห็น
– เมืองปายที่อยากเห็น
– แถวบ้านเราและชุมชนของเขาที่อยากให้เป็น
2. สิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ควรเป็นอย่างไร
ตลาด ร้านค้า โรงแรม บ้านเรือน ถนน สาธารณูปโภคอื่นๆ และต้องการให้มีอะไรเพิ่ม เช่น สนามเด็กเล่น พื้นที่หมู่บ้านทั้งหมดที่มีและต้องการจะจัดวางอย่างไร
3. คัดเลือกตัวแทนผู้ประสานงานตำบลละ 2 คน
ผลลัพธ์หลังแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนตามตำบล
ตลาดสด สะอาด, มีส้วมถูกสุขลักษณะ
แหล่งน้ำ จัดระบบแม่น้ำปาย
* ดูแลความสะอาด
* แบ่งเขตกันรับผิดชอบ
* อนุรักษ์ปลา
จัดระบบน้ำประปา
* มีน้ำสะอาดใช้ได้ตลอดปีและมีมาตรฐาน
* อ่างเก็บน้ำ
ไฟฟ้า มีแสงสว่างบนถนน
จัดโซน/พื้นที่ – ที่ทิ้งขยะ  โดยองค์กรส่วนท้องถิ่นร่วมกัน
– โรงแรม สถานเริงรมย์ เช่น ผับ ร้านคาราโอเกะ
– โรงฆ่าสัตว์
–  สวนสาธารณะ
ถนน – ได้มาตรฐาน, ทั่วถึง
– สะอาด เรียนร้อย
– จัดระเบียนทางเดินเท้า
– มีร่องระบายน้ำ
การศึกษา ทั่วถึง, เน้นปลูกฝังเรื่องคุณธรรม และจริยธรรมแก่เด็กรุ่นใหม่
ผู้นำ มีคุณธรรม
ชาวบ้านมีส่วนร่วม
งานที่ก่อการ(ภาคประชาชน)ต้องทำต่อ
1. จัดเวทีประชาสังคมรายตำบล
2. ร่างการจัดวางผังเมือง (ในพื้นที่ตนเอง, ในพื้นที่รวม) เพื่อเสนอชาวบ้านในทุกตำบล
3. เมื่อได้ข้อสรุปสภาชาวบ้านจึงนำเสนอต่อรองผู้ว่าราชการจังหวัด(หรือผุ้ว่าฯ) และผังเมืองรวมตามลำดับ
 

 รายงานโดย : กองบรรณาธิการ

 

 

Be the first to comment on "เวที “คนเมืองปาย เรียนรู้เรื่องผังเมือง”"

Leave a comment

Your email address will not be published.