รายงานฉบับที่(Report No):
วันที่ปรับปรุง (Date prepared/updated): 6 กันยายน 2556
1) ข้อมูลเบื้องต้นของโครงการ (Basic Project Data)
ประเทศ (Country): ไทย(Thailand) | รหัสโครงการ(Project ID) : P147089 | ||
รหัสโครงการเพิ่มเติม (Additional Project ID) (ถ้ามี) : TF015382 | |||
ชื่อโครงการ (Project Name) : มาตรการขยายชุมชนในสถานการณ์ความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในประเทศไทย (Expanding Community Approaches in Conflict Situations in Three Southernmost Provinces in Thailand (ECACS)) | |||
หัวหน้าทีมงาน(Task Team Leader): Ingo Wiederhofer
|
|||
วันที่ประเมินโดยประมาณการณ์ (Estimated Appraisal Date) :ไม่ระบุ n/a |
วันที่นำเสนอคณะกรรมการ (Estimated Board Date): n/a | ||
Managing Unit: EASTS
หน่วยจัดการ : EASTS
Instrument (ตราสาร):
|
ตราสารการกู้ยืม (Lending Instrument) : กองทุนสร้างสันติภาพของรัฐ (State and Peace-Building Fund) | ||
กลุ่ม (Sector): การปกป้องทางสังคม (อื่นๆ) (Social Protection (Other)) | |||
รูปแบบ (Theme): การบริการทางสังคมอื่นๆ: Other Social Services(100%) | |||
จํานวนเงิน IBRD(US Dollar) |
|||
หมวดหมู่สิ่งแวดล้อม (Environmental Category) :B
|
|||
โครงการสามารถโอนย้ายได้หรือไม่ (Is this a transferred project) |
ใช่ (Yes) : [X ]
|
ไม่ (No) : [] | |
การประมวลผลพื้นฐาน (Simplified Processing): แนวทางการประมวลผล สำหรับ SPF (Processing Guidelines for SPF) | ง่าย (Simple) : [X ] | ทำซ้ำ (Repeater) : [ ] | |
โครงการนี้มีกระบวนการอยู่ภายใต้ OP 8.00 หรือไม่ (Is this project processed under OP 8.00) (ตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อเหตุวิกฤติและเหตุฉุกเฉิน)(Rapid Response to Crises and Emergencies) |
ใช่ (Yes) : [X ] |
ไม่ (No) : [] |
วัตถุประสงค์การพัฒนาโครงการ คือ สร้างความเชื่อมั่นระหว่างชุมชนและหน่วยงานระดับตำบลในภาคใต้ของประเทศไทยในการพัฒนาท้องถิ่นใน 6 ตำบล อย่างมีส่วนร่วม และอย่างมีขีดความสามารถของหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นที่คัดเลือกเช่นเดียวกับเครือข่ายภาคประชาสังคมและองค์กรที่คัดเลือก
ด้วยเหตุนี้โครงการจะพยายาม:
(1) ขยายการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนพัฒนาใน 6 ตำบล เพื่อให้ครอบคลุมการวางแผนพัฒนาตำบลในความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น
(2) เพิ่มความสามารถของหน่วยงานท้องถิ่นที่จะดำเนินกิจกรรมการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมในท้องถิ่นและ
(3) เสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรภาคประชาสังคมและเครือข่ายภาคประชาสังคมให้มีส่วนร่วมในการเจรจาในประเด็นนโยบายและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติ
3) รายละเอียดโครงการ (Project Description)
โครงการที่เสนอ จะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบที่1 : เงินทุนชุมชนและตำบล (2,290,000 เหรียญสหรัฐ ผู้รับดำเนินการ)
โครงการจะขยายความครอบคลุมเงินทุนพัฒนา หมู่บ้าน (VDGs) จาก 27 หมู่บ้านใน 6 ตำบล ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนในระยะนำร่อง ให้ครอบคลุมทั้งหมด 43 หมู่บ้านในตำบลเหล่านี้ เงินทุนจะแบ่งเป็น 3 รอบเพื่อจัดสรรให้กับ 43 หมู่บ้าน ใน 6 ตำบล ตามความจำเป็น/ตามความสำคัญที่กำหนดไว้โดยชุมชนท้องถิ่น ในระดับชุมชนและตำบล
ทุกหมู่บ้านใน 6 ตำบลที่คัดเลือก จะได้รับเงินทุนพัฒนาหมู่บ้าน (VDGs) ประมาณ 8,000 -10,000 เหรียญสหรัฐต่อปี) ไปดำเนินการ ซึ่งถูกกำหนดโดยกระบวนการมีส่วนร่วมในระดับชุมชน การวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน (VDP) และกระบวนการจัดลำดับความสำคัญโครงการย่อยจะเน้นการรวมของคนยากจนและคนด้อยโอกาส (ทั้งชายหญิง) วิทยากรหมู่บ้านที่ผ่านการอบรมมีการทำงานอย่างใกล้ชิดกับชาวบ้านเพื่อช่วยให้พวกเขาพัฒนาข้อเสนอเพื่อประกอบการพิจารณาในการประชุมหมู่บ้านเพื่อเลือกโครงการย่อย การวางแผน การจัดลำดับความสำคัญ และการดำเนินการของโครงการย่อย จะดำเนินการโดยชาวบ้าน การจัดลำดับความสำคัญของข้อเสนอจะผ่านกระบวนการเลือกตั้ง โดยมีประเด็นเรื่องครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ เยาวชน คนว่างงาน เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ทั้งนี้มีการสนับสนุนในการสร้างขีดความสามารถให้กับคนจนและคนด้อยโอกาส เพื่อให้มีส่วนร่วมในการวางแผนงาน จัดลำดับความสำคัญและดำเนินการโครงการ
เงินทุนระดับตำบล
โครงการจะจัดสรรเงินเป็น 3 รอบของเงินอุดหนุนระดับตำบล (จำนวนเงิน 30,000 เหรียญสหรัฐ ต่อทุน) เพื่อช่วยเหลือ 6 ตำบลในการดำเนินการในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องระหว่างหมู่บ้าน เงินทุนนี้จะต้องอยู่บนพื้นฐานของแผนพัฒนาตำบล (TDPs) ซึ่งได้รับการพัฒนาผ่านกระบวนการ ที่ให้ตัวแทนหมู่บ้านมีส่วนร่วมในระดับตำบล แผนต่างๆ จะนำเข้าสู่การพิจารณาแผนพัฒนาระดับหมู่บ้านที่มีการสนับสนุนให้มีกิจกรรมระหว่างหมู่บ้านเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่รัฐกับชุมชน แผนงานต่างๆ จะนำมาพิจารณา
การสร้างความไว้วางใจและสันติภาพ จะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรภาคประชาสังคมและเครือข่าย โดยผ่านการเรียนรู้และความสำเร็จของระยะนำร่อง ซึ่งโครงการนี้ สามารถมุ่งเน้นกลยุทธ์ในแนวทางที่ยั่งยืนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ (i) 4 เครือข่าย (40,000 เหรียญสหรัฐต่อปี สำหรับ Civil Society Council of the Southernmost Thailand (CSCS) และ The Women Network of the Three Southern Provinces, the Youth Network and the Natural Resource Management Network ) (ii) โดยประมาณ 10 องค์กรภาคประชาสังคม (จำนวน 10,000 USD ต่อทุน) :ซึ่ง 5 องค์กรฯ จะต้องผ่านการคัดเลือกระยะนำร่องซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการสร้างสันติภาพ การับเรื่องทุกข์ร้อง การสร้างแรงบันดาลใจให้กับประชาชนในท้องถิ่น และการกำกับดูแลกิจการที่ดี
องค์ประกอบนี้ยังจัดหาเงินทุนสำหรับ 4 เครือข่ายในการดำเนินการจัด “สนทนาแบบสันติวิธี” เพื่อพูดคุยในประเด็นสำคัญ เช่น การกระจายอำนาจการบริหาร การศึกษา บทบาทของสตรีและเยาวชน กับสันติภาพและความยุติธรรม สิ่งเหล่านี้จะสนับสนุนการสนทนาแบบสันติวิธี ซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างเสียงขององค์กรภาคประชาสังคม และความรับผิดชอบทางสังคมในพื้นที่ความขัดแย้ง
องค์ประกอบที่ 3 การเรียนรู้และบริหารจัดการโครงการ (งบประมาณ 1,110,000 เหรียญสหรัฐ โดยมีผู้รับดำเนินการ)
องค์ประกอบนี้ จะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายบริหารโครงการของ LDI รวมถึงการจัดการทั่วไปและค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่างๆ เพื่อดำเนินการโครงการ ค่าที่ปรึกษา การควบคุม การรายงานและการติดต่อสื่อสาร
LDI มีการตั้งที่ทำการขึ้นในจังหวัดปัตตานี โดยมีทีมงานทำงานเต็มเวลาในกิจกรรมของโครงการประกอบด้วยผู้จัดการโครงการ ผู้ประสานงานในแต่ละองค์ประกอบ ผู้ประสานงานระดับจังหวัด ผู้ประสานงานระดับหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ M&E และเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
องค์ประกอบนี้ จะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายบริหารโครงการของ LDI รวมถึงการจัดการทั่วไปและค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่างๆ เพื่อดำเนินการโครงการ ค่าที่ปรึกษา การควบคุม การรายงานและการติดต่อสื่อสาร
LDI มีการตั้งที่ทำการขึ้นในจังหวัดปัตตานี โดยมีทีมงานทำงานเต็มเวลาในกิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วยผู้จัดการโครงการ ผู้ประสานงานในแต่ละองค์ประกอบ ผู้ประสานงานระดับจังหวัด ผู้ประสานงานระดับหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ M&E และเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
ทั้งนี้ จะมีการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนและรัฐบาลท้องถิ่น การเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประจำปีกับพื้นที่ที่มีปัญหาความขัดแย้ง (An annual south-south learning) เช่น อาเจห์ มินดาเนาและพื้นที่ที่เกี่ยวข้องของพม่า
บทเรียนจากระยะนำร่อง LDI จะเสริมสร้างการติดต่อสื่อสาร สื่อสิ่งพิมพ์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ในการนี้LDIจะจัดทำชุดบทเรียนการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และจะผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ รวมถึงวีดีโอ (ผ่าน Thai PBS) ด้วยการนำเสนอในเชิงเพิ่มการรับรู้ของประชาชนที่อยู่นอกเหนือพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง
องค์ประกอบที่ 4: การสนับสนุนการดำเนินงาน การให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค การประเมินผลและการจัดการความรู้ (งบประมาณ 490,000 เหรียญสหรัฐ)
ในระหว่างระยะนำร่อง ธนาคารโลกจะยังคงควบคุมกำกับ คัดเลือกผู้ช่วยทางเทคนิค และ ประเมินผลโครงการ โดยกิจกรรมจะรวมถึง
ก) การจัดหาผู้ช่วยเหลือทางเทคนิคในเชิงการมีส่วนร่วมในการบริหารความคัดแย้ง การควบคุมความขัดแย้ง ความสามารถในการจัดการทรัพย์สินM &Eและการสื่อสาร;
ข) ดำเนินการวิจัยและประเมินผลโครงการอย่างเข้มงวด
ค) อำนวยความสะดวกในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ประเทศที่เกี่ยวข้อง
ง) บริหารจัดการการเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง และการดูแลความปลอดภัย
จ) การให้ข้อมูลระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อสร้างความตระหนักให้กับนโยบายที่สำคัญและบทเรียนของโครงการนี้ ซึ่งจะมีการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการปีละ 2 ครั้ง ร่วมกับ Institute of Security and International Studies of Chulalongkorn University ที่ กทม. โดยมีผู้กำหนดนโยบายและผู้ที่สนใจในนโยบายเข้าร่วม
ที่ตั้งโครงการและลักษณะทางกายภาพที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์การป้องกัน (Project Location and salient physical characteristics relevant to the safeguard analysis)
4) คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญทางด้านป้องกันสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental and Social Safeguards Specialists on the Team)
วราภรณ์หิรัญวัฒศิริ (Waraporn Hirunwatsiri, ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม- EASTS)
Satoshi Ishihara (ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการพัฒนาสังคม EASTS)Senior Social Development Specialist, EASTS)
5)จุดเริ่มของนโยบายป้องกัน (Safeguard Policies Triggered ) |
Yes
|
No
|
การประเมินสิ่งแวดล้อม (Environmental Assessment) (OP/BP 4.01)
โครงการนี้จะให้การสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐานขนาดเล็ก และโครงการเลี้ยงชีพ ซึ่งผลกระทบที่ไม่สามารถระบุได้จนกว่าจะมีการระบุรายละเอียดและอาจมีผลกระทบที่เกิดขึ้นชั่วคราว/เล็กน้อยและกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในกรณีโครงการย่อยที่มีขนาดเล็ก จะถูกจัดหมวดเป็นประเภท B กรอบการจัดการทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESMF) และแนวทางการดำเนินงาน ในการป้องกันสิ่งแวดล้อม ถูกเตรียมไว้รวมกับรายการเชิงลบของโครงการย่อย และกลไกการคัดกรองสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีการดำเนินกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญ และนำมาตรการในการบรรเทามาใช้ระหว่างดำเนินการโครงการ |
X
|
|
การอยู่อาศัยตามธรรมชาติ (Natural Habitats๗ (OP/BP 4.04)
|
X
|
|
ป่า (Forests) (OP/BP 4.36)
|
X
|
|
การจัดการศัตรูพืช (Pest Management) (OP 4.09)
|
X
|
|
ทรัพยากรวัฒนธรรมทางกายภาพ (Physical Cultural Resources) (OP/BP 4.11)
|
X
|
|
ชนพื้นเมือง (Indigenous Peoples) (OP/BP 4.10)
คนเชื้อสายมาเลย์ ในภาคใต้ของไทย ถือว่าเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศ แต่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ถือว่าชาวมาเลย์เป็นประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ มีจำนวน 80%ของประชากรทั้งหมด คือ 1.8 ล้านคน โครงการนี้จะไม่มีผลกระทบในเชิงลบกับกลุ่มชนกลุ่มน้อย ยกเว้นเรื่องการเวนคืนที่ดินหรือการเกิดความเสียหายกับทรัพย์สิน ซึ่งได้มีการทำนโยบายตั้งถิ่นฐานรองรับไว้แล้ว แต่ทว่าเพื่อรับฟังถึงข้อเสนอแนะของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ ได้มีการทำการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมทางสังคม (SA) เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนในระดับชุมชนที่เป็นชุมชนเป้าหมาย องค์ประกอบของการประเมินผลการมีส่วนร่วมทางสังคม (SA) ประกอบด้วยการรู้จักตน ของชุมชนที่ได้รับผลประโยชน์ตามด้วยการประเมินสถานการณ์ต่างๆ ที่ชุมชนอาจได้รับผลกระทบ และหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในชุมชนที่มีเชื้อชาติหลากหลาย ตัวแทนของชนกลุ่มน้อย จะได้รับการเลือกเข้ามาเป็นกรรมการในคณะกรรมการหมู่บ้าน วิธีการร้องเรียนจะพัฒนาวิธีการให้มีประสิทธิภาพในการควบคุมเพื่อให้ผลกระทบด้านลบได้รับการแก้ไขอย่างโปร่งใสและเท่าเทียมกัน แผนเฉพาะชนพื้นเมืองในโครงการย่อย (IPP) จะไม่นำมาพัฒนาเนื่องจากได้มีการนำมาใช้ในระยะก่อนหน้า และประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้รับผลประโยชน์หรือผลกระทบเป็นชาวเชื้อสายมาเลย์อยู่แล้ว ข้อเสนอโครงการย่อยจะได้รับการพัฒนาโดยชุมชน ที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีการรวบรวมเป็นบทสรุปในการประเมินผลการมีส่วนร่วมของสังคม และเชื่อมกับความต้องการทั้งหมดของ IPP ภายใต้ OP 4.10 ข้อเสนอโครงการย่อยที่ได้รับการพัฒนาแล้วจากชุมชนที่ได้รับผลประโยชน์หรือได้รับผลกระทบโดยมีการสำเนาเอกสารให้ท้องถิ่น/พื้นที่ |
X
|
|
การตั้งถิ่นฐานใหม่ โดยไม่สมัครใจ (Involuntary Resettlement) (OP/BP 4.12)
โครงการจะสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดเล็กโดยชุมชนผู้ได้รับประโยชน์ระบุขึ้นมา เช่น แหล่งน้ำ ศูนย์เลี้ยงเด็กเล็ก ลานเอนกประสงค์ ที่เก็บเมล็ดพันธุ์ ที่เก็บปุ๋ยชีวภาพ ร้านค้าชุมชน และห้องสมุดชุมชน ผลกระทบที่เกิดจากงานเหล่านี้ มีชั่วคราว/เล็กน้อย แต่ว่าการใช้พื้นที่อาจเป็นการชั่วคราวหรือถาวรได้ การได้มาซึ่งพื้นที่ขนาดเล็ก อาจได้มาตามช่องทาง เช่น การบริจาคที่ดิน การซื้อขายที่ดินโดยเต็มใจ และการใช้พื้นที่ว่างเปล่าของชุมชนหรือของรัฐ ที่ดินส่วนบุคคล อาจนำมาใช้หากเกิดกรณีการได้มาดังกล่าวข้างต้นไม่สามารถดำเนินการได้ โครงการได้พัฒนากรอบนโยบายการตั้งถิ่นฐานใหม่ (RPF) เพื่อช่วยเหลือชุมชนผู้ที่ได้ประโยชน์ ไม่ให้มีผลกระทบจากการการได้มาของพื้นที่และผลกระทบในเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการย่อย ซึ่งมีการทำแนวทางในการจัดการผลกระทบเชิงลบที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แนวทาง RPF เน้นว่าไม่มีครัวเรือนใดได้รับผลกระทบในการสูญเสียรายได้ หรือการเลี้ยงชีพและชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากผลการดำเนินโครงการย่อย รายละเอียดนี้ ได้มีการระบุไว้ในคู่มือดำเนินการโครงการ(OM) และจะมีการควบคุมทั้งภายในและเป็นอิสระโดยผ่านวิทยากรชุมชน |
X
|
|
ความปลอดภัยของเขื่อน (Safety of Dams) (OP/BP 4.37)
|
X
|
|
โครงการทางน้ำนานาชาติ (Projects on International Waterways )(OP/BP7.50)
|
X
|
|
โครงการในพื้นที่ขัดแย้ง (Projects in Disputed Areas((OP/BP 7.60)
|
X
|
2. ประเด็นนโยบายป้องกันสำคัญ และบริหารจัดการ (Key Safeguard Policy Issues and Their Management)
ก. สรุปประเด็นการป้องกันที่สำคัญ (Summary of Key Safeguard Issues)
1) อธิบายเรื่องการป้องกันทุกๆ เรื่อง และ ผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับข้อเสนอโครงการ ระบุและอธิบายทุกๆ ผลกระทบที่มีแนวโน้มมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญและ/หรือที่ไม่สามารถกลับคืนเหมือนเดิม
ภายใต้ระยะนำร่องที่ผ่านมา มี 15 โครงการย่อยที่ได้มีการฟื้นฟูหรือซ่อมแซมสาธารณูปโภคของชุมชน จาก 107 โครงการย่อย วิทยากรและคณะกรรมการหมู่บ้าน ได้นำแบบฟอร์มคัดกรองการป้องกันมาใช้ และมีการเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการบริจาคที่ดินส่วนบุคคลและของรัฐ นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม รวมถึงสิทธิ์ของประชาชนที่ได้รับผลกระทบที่จัดทำโดยชุมชน และมีการสนทนาและผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมของชุมชนมาซึ่งทางโครงการมีการให้คำปรึกษา และทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในการป้องกันของธนาคารโลก ในการระบุความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นได้ในโครงการย่อยขนาดเล็ก มาตรการบรรเทามีการระบุและนำไปใช้ เช่น การให้ภาชนะในการดักน้ำมัน เพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสตรี หรือ การขนย้ายปุ๋ยอินทรีย์ให้ออกห่างจากทางน้ำสาธารณะ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำ
การประเมินผลประโยชน์ถูกดำเนินการในขั้นสุดท้ายของระยะนำร่อง ให้รวมถึงการให้คำปรึกษาหารือกับชุมชนเพื่อระบุถึงความสำเร็จของโครงการ ความท้าทายและบทเรียนจากการนำวิธีการป้องกันมาใช้ ผลจากการประเมินให้นำมาใช้การออกแบบขั้นตอนของโครงการ หลังจากมีการยืนยันว่าไม่มีผลกระทบในด้านลบเกิดขึ้น หรือยังไม่ได้รับการแก้ไข
ชุมชนผู้ได้รับประโยชน์ ยืนยันว่าไม่มีผลกระทบเชิงลบเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหรือที่ระบุไม่ได้คงอยู่ และสนับสนุนให้เห็นว่าโครงการทำให้พวกเขารู้สึกมีอำนาจของเขาเอง มีการบันทึกการบริจาคที่ดินอย่างเหมาะสมและแสดงให้เห็นอย่างเพียงพอว่าพวกเขาผู้ซึ่งได้บริจาคที่ดินสาธารณประโยชน์จากโครงการย่อยและแสดงให้เห็นว่าพวกเขายอมบริจาคที่ดินอย่างเต็มใจ ปราศจากการบังคับหรือข่มขู่แต่อย่างใด คณะกรรมการดำเนินงานหมู่บ้านของโครงการ ประกอบด้วย ผู้แทนจากทุกภาคส่วนและหลายชาติพันธุ์ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงประโยชน์และมั่นใจได้ว่าทุกความคิดเห็นและสิ่งที่น่าสนใจของกลุ่มด้อยโอกาสต่างๆ ในชุมชนที่มีความหลากหลายในชาติพันธุ์ จะสะท้อนให้เห็นอย่างเหมาะสม ในการกำหนดประเด็นที่สำคัญและการพัฒนาโครงการย่อย โดยมีหน่วยงานรัฐในระดับท้องถิ่นให้การสนับสนุนโครงการอย่างเหมาะสม
โครงการนี้จะสนับสนุนการทำงานต่างๆ ขนาดเล็กของสังคม โดยชุมชนที่ได้รับประโยชน์ ธรรมชาติที่มีอยู่และขนาดผลกระทบ (ถ้ามี) ที่ยังไม่รู้ตั้งแต่โครงการย่อย จะถูกระบุบนพื้นฐานของกระบวนการ ขับเคลื่อนความต้องการ อย่างไรก็ตาม อาจรวมเรื่องแหล่งน้ำ ศูนย์เลี้ยงเด็ก อาคารอเนกประสงค์ โรงงานเมล็ดพืชขนาดเล็ก โรงงานปุ๋ยชีวภาพขนาดเล็ก ร้านค้าชุมชน ห้องสมุดชุมชน ผลกระทบของงานทางสังคมขนาดเล็กจะถูกจำกัด และเปลี่ยนแปลงได้ เกิดขึ้นเพียงชั่วคราวในบางพื้นที่ที่สำคัญ และสามารถจัดการได้ง่ายโดยมาตรการบรรเทาอย่างเหมาะสม ส่วนกรอบการจัดการทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESMF) จะถูกเตรียมโดยรวบรวมข้อมูลเชิงลบ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าโครงการย่อยจะไม่ได้รับการสนับสนุน ถ้าสิ่งเหล่านั้นเป็นเหตุสำคัญให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม และผลกระทบขนาดเล็กนั้นอาจจัดการได้อย่างเหมาะสม
ผลกระทบทางสังคมที่ไม่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายใต้โครงการในโครงการย่อยนั้น การตั้งถิ่นทางกายภาพของครัวเรือน และการได้มาในที่ดินขนาดใหญ่หรือสูญเสียทรัพย์สินที่สำคัญอยู่ต้องระบุในรายการเชิงลบ อย่างไรก็ตาม ที่ดินที่มีขนาดจำกัดอาจต้องได้รับเพิ่มเป็นการชั่วคราวหรือถาวร การได้มาซึ่งที่ดินขนาดเล็กโดยส่วนใหญ่จะได้รับผ่านการบริจาคที่ดินส่วนบุคคล การเช่าที่ดินส่วนบุคคลระยะยาวที่มีค่าใช้จ่ายปกติ การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ซื้อผู้ขายอย่างเต็มใจ หรือการเข้าไปใช้ที่ดินว่างเปล่าของชุมชนหรือของรัฐ ถ้ามาตรการดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ดำเนินการอาจต้องดำเนินการให้ได้ที่ดินส่วนบุคคลที่มีขนาดจำกัด
โครงการได้พัฒนากรอบนโยบายการตั้งถิ่นฐานใหม่ (RPF) โดยมุ่งหวังที่จะช่วยชุมชนที่ได้รับประโยชน์หลีกเลี่ยงหรือมีแนวโน้มน้อยมากในการได้รับที่ดิน และผลกระทบเชิงลบในโครงการย่อย และมีแนวทางให้ชุมชนในการกำหนดผลกระทบเชิงลบหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ องค์ประกอบที่สำคัญในแนวทางคือ ไม่มีครัวเรือนใดได้รับผลกระทบในการสูญเสียรายได้ หรือการเลี้ยงชีพและชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากผลการดำเนินโครงการย่อย รายละเอียดนี้ ได้มีการระบุไว้ในคู่มือดำเนินการโครงการ (OM) และจะมีการควบคุมทั้งภายในและเป็นอิสระโดยผ่านวิทยากรชุมชน คู่มือดำเนินการโครงการ (OM) จะรวบรวมรายการเพื่อการทบทวน การประเมินและการควบคุมโครงการย่อยที่มีผลกระทบทางสังคม และควรที่จะระบุโดยชุมชน โดย LDI ผู้รับเงินทุนและหน่วยงานดำเนินงานต่างๆ จะตรวจสอบเช่นเดียวกับกระบวนการอนุมัติโครงการย่อย
ดังที่กล่าวข้างต้น การประเมินผู้ได้รับประโยชน์และที่ปรึกษาจะดำเนินการขั้นสุดท้ายของระยะนำร่อง ในการค้นหาสิ่งซึ่งถูกใช้ในการพัฒนาการออกแบบโครงการนี้ โดยนำไปดำเนินการในตำบลที่เหมือนกันทั้งทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และลักษณะทางสังคมเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ภายใต้โครงการนี้ จะเป็นคนมาเลย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สำคัญภายใต้ OP4.10. นโยบายชนพื้นเมืองจะถูกกระตุ้นให้เป็นไปตามนั้น โดยส่วนใหญ่ชุมชนที่ได้รับผลประโยชน์จะใช้ภาษายาวีหรือภาษาถิ่นของชาวมาเลย์ที่ใช้พูดกัน หรือไปโรงเรียนของไทย พูดอ่านเขียนไทยได้ ซึ่งเป็นภาษาทางการของประเทศไทย พวกเขามีธรรมเนียมวัฒนธรรมซึ่งคล้ายเคียงกับมาเลเซีย และโดยส่วนใหญ่เป็นมุสลิม พวกเขาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่มีชาติพันธุ์คล้ายๆ กัน แต่บางหมู่บ้านมีคนเชื้อสายไทยรวมอยู่ด้วย ในระดับหมู่บ้าน ประชาชนที่แตกต่างกันทางชาติพันธุ์และพื้นฐานทางสังคมจะมีการประสานกันมายาวนาน อย่างไรก็ตาม การทำงานร่วมกันทางสังคมในบางพื้นที่ที่มีความขัดแย้งตลอด ต้องมีความอดทน
โครงการนี้จะดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมในการประเมินทางสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผนการมีส่วนร่วมในชุมชนผู้ได้รับประโยชน์ทั้งหมด เริ่มด้วยการกำหนดโดยตนเองว่าเป็นเชื้อชาติของชุมชนที่ได้รับประโยชน์ ตามด้วยการประเมินการมีส่วนร่วมในประเด็นการพบปะชุมชนและมาตรการที่ระบุ แผนเฉพาะชนพื้นเมืองในโครงการย่อย (IPP) จะไม่ถูกพัฒนา เนื่องจากได้มีการนำมาใช้ในระยะก่อนหน้า และประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้รับผลประโยชน์หรือผลกระทบเป็นชาวเชื้อสายมาเลย์อยู่แล้ว การมีส่วนร่วม SA จะระบุความต้องการทั้งหมดภายใต้ OP 4.10 ที่ต้องดำเนินการภายใต้ SA รวมถึงการกำหนดชาติพันธุ์ด้วยตนเองโดยชุมชน การกำหนดหัวข้อเรื่องตามความสำคัญและมาตรการเพื่อเพิ่มผลประโยชน์ให้กับประชาชนที่เสียเปรียบ แนวโน้มผลกระทบเชิงลบของโครงการย่อยตามความสำคัญ และมาตรการในการบรรเทาเขาเหล่านั้น ฯลฯ ผลจากการมีส่วนร่วม SA จะถูกจัดอยู่ในข้อเสนอโครงการย่อยโดยเฉพาะซึ่งจะต้องระบุความต้องการทั้งหมดของ IPP ตามที่กำหนดไว้ภายใต้ OP 4.10. รายละเอียดของการมีส่วนร่วม SA จะจัดไว้ใน OM โดยมีรูปแบบของข้อเสนอโครงการย่อย และการอธิบายเรื่องเล่าของข้อเสนอโครงการย่อยที่ควรมีไว้ด้วย ข้อเสนอโครงการย่อยที่ไม่มีมาตรการบรรเทาที่เห็นว่ามีผลกระทบต่อประชาชน จะไม่ผ่านการอนุมัติ ข้อเสนอโครงการย่อยจะรวมถึงการกลไกการควบคุมเพื่อให้มั่นใจว่าคนในชุมชนทั้งหมดโดยเฉพาะคนด้อยโอกาส/เสียเปรียบ จะได้รับประโยชน์จากโครงการและผลกระทบเชิงลบจะได้รับการบรรเทาอย่างเพียงพอ การจัดการ แก้ไขความคับข้องใจจะถูกพัฒนาและอธิบายในข้อเสนอโครงการย่อย ซึ่งจัดให้มีการร้องเรียนหากเขารู้สึกว่าเขาไม่มีความสำคัญหรือไม่เกี่ยวข้องกับการวางแผนโครงการย่อยหรือคัดเลือกกระบวนการ รายละเอียดที่ระบุถึงกระบวนการวางแผนอย่างมีส่วนร่วมในระดับชุมชนจะถูกสะกดทีละคำใน OM ในระยะก่อนหน้านี้มีเพียง 2 ชุมชนที่มีการรวมกลุ่มของหลายชาติพันธุ์ในพื้นที่ จึงคาดว่ากลุ่มของหลายชาติพันธุ์จำนวนน้อยจะมีคุณสมบัติเหมาะสมในการสนับสนุนภายใต้โครงการด้วย ในกรณีที่ชุมชนมีหลายชาติพันธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดภายในชุมชนจะได้เป็นตัวแทนในคณะกรรมการดำเนินงานของหมู่บ้าน ซึ่งมุมมองทั้งหมดด้านต่างประเทศของการดำเนินโครงการและการควบคุม จะเป็นไปตามการปฏิบัติของระยะก่อนหน้า
โดยสรุป การกำหนดขนาดและประเภทของการลงทุน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมเชิงลบ เช่น ฝุ่นละอองที่เพิ่มขึ้น เสียงและของเสียจากการก่อสร้างที่เกิดขึ้น ที่คาดว่าเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ จำกัด และจัดการได้ง่าย ให้ระบุผ่านการออกแบบและมาตรการบรรเทาที่เหมาะสมระหว่างการก่อสร้างและ/หรือฟื้นฟูกลับสู่สภาพเดิม
2) อธิบายทุกแนวโน้มที่มีผลทางอ้อมและ/หรือ มีผลกระทบระยะยาวต่อกิจกรรมการมีส่วนร่วมในอนาคตในพื้นที่
3) อธิบายทุกโครงการทางเลือก (ถ้าเกี่ยวข้อง) ที่ถูกพิจารณาเพื่อช่วยหลีกเลี่ยงหรือลดผลกระทบอันตรายลง
4) อธิบายมาตรการที่ใช้โดยผู้กู้ (Borrower) ในการระบุประเด็นนโยบายป้องกัน จัดให้มีการประเมินความสามารถของผู้กู้ (Borrower) ในการวางแผนและดำเนินตามมาตรการที่อธิบายไว้
โครงการจะดำเนินการโดยสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) – ผู้รับเงินทุนและหน่วยงานดำเนินการ ธนาคารโลกเคยทำงานกับ LDI เมื่อปี 2009 ในการดำเนินการ CDD ก้อนเงินทุน (block grants) ไปยังชุมชนและเงินทุนขนาดเล็กสำหรับประชาสังคมและเครือข่าย เจ้าหน้าที่ LDI ได้รับการฝึกฝนในการป้องกันและมีรายการตรวจสอบการป้องกันรวมไว้ในคู่มือการดำเนินการของโครงการ LDI ยังได้รับการฝึกอบรมวิทยากรและความเชี่ยวชาญทางเทคนิคท้องถิ่นเกี่ยวกับประเด็นและมาตรการที่เกี่ยวกับการป้องกันวิทยากรและคณะกรรมการดำเนินการหมู่บ้านได้ใช้แนวทางการป้องกันและรายการตรวจสอบระหว่างดำเนินงานโครงการ ดังนั้น LDI และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของ LDI จะมีประสบการณ์ในการกำหนดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นไปตามนโยบายการป้องกันของธนาคารโลก
กรอบนโยบายการตั้งถิ่นฐาน (RPF) และกรอบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESMF) ถูกเตรียมไว้โดย LDI เพื่อให้มั่นใจว่าผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ไม่สำคัญจะเกิดขึ้นภายใต้โครงการในการวางแผนและดำเนินการโครงการย่อย ธนาคารโลกยังจัดให้มีการสนับสนุนเพิ่มเติมให้กับ LDI ในลักษณะของการฝึกตามนโยบายป้องกัน เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่มีความเข้าใจในประเด็นและสามารถดำเนินมาตรการบรรเทาได้ การฝึกอบรมมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ดำเนินโครงการเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงนโยบายป้องกันสิ่งแวดล้อมและสังคมของธนาคารโลกและจัดให้เจ้าหน้าที่นั้นได้รับการแนะนำอย่างเพียงพอเหมาะสมสำหรับการกำหนดและระบุถึงความเสี่ยงจากโครงการในสิ่งแวดล้อมและสังคมได้อย่างมีประสิทธิผล เจ้าหน้าที่ LDI จะปฏิบัติหน้าที่อย่างสอดคล้องกับความต้องการป้องกันสิ่งแวดล้อมและสังคมที่กำหนดเงื่อนไขไว้ในข้อตกลงเงินทุน รายงานกระบวนการดำเนินงานจะรวมอยู่ในส่วนของการป้องกันที่สอดคล้อง
5) ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและอธิบายกลไกการให้คำปรึกษาและการเปิดเผยเกี่ยวกับนโยบายการป้องกัน โดยเน้นย้ำให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญคือ 43 ชุมชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส โดยชุมชนเหล่านี้จะได้รับคำปรึกษาผ่านกระบวนการวางแผนอย่างมีส่วนร่วมเพื่อกำหนดโครงสร้างพื้นฐานขนาดเล็ก และกิจกรรมการเลี้ยงชีพที่เกี่ยวข้อง วิทยากรโครงการจะเน้นย้ำถึงการรวมกลุ่มของผู้เสียเปรียบภายในชุมชนและการพิจารณาถึงการป้องกันสิ่งแวดล้อม ต้นทุนโครงการต้องดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใสผ่านระบบวางแผน งบประมาณและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เพิ่มเติมอย่างใกล้ชิด โดยควบคุมอิสระ แนวทางและมาตรการป้องกันจะรวมอยู่ในคู่มือดำเนินงานโครงการ โดย LDI เป็นภาษไทย โดย ESMF และ RPF จะถูกแนบผ่านทางร้านข้อมูลของธนาคารโลกในประเทศ (World Bank Info shop)
OP/BP 4.01 การประเมินสิ่งแวดล้อม(Environment Assessment)
|
|
โครงการจำเป็นต้องมี EA (รวมถึง EMP/ESMF) อย่างเดียวหรือไม่ | ใช่ [ X ] ไม่ [ ] ไม่ระบุ [ ] |
ถ้าใช่แล้ว หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคหรือผู้จัดการหน่วย (SM) ทบทวนและอนุมัติรายงาน EA หรือไม่ |
ใช่
|
Are the cost and the accountabilities for the EMP incorporated in the credit/loan?
มีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายทางบัญชีต่างๆ ที่ EMP รวมเข้าไว้ในสินเชื่อ/การกู้หรือไม่ |
ใช่
|
OP/BP 4.04 – ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ (Natural habitats)
|
|
ผลของโครงการจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญหรือการเสื่อมโทรมของแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติที่สำคัญ
|
ใช่ [ ] ไม่ [ X ] ไม่ระบุ [ ] |
หากโครงการมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญหรือมีการเสื่อมโทรมของที่อยู่อาศัยธรรมชาติ (ที่ไม่สำคัญ) แล้ว โครงการได้รวมมาตรการบรรเทาที่เป็นที่ยอมรับของธนาคารหรือไม่ | |
OP 4.09 – การจัดการศัตรูพืช (Pest Management) | |
Does the EA adequately address the pest management issues?
EA มีระบุไว้เพียงพอต่อประเด็นการจัดการศัตรูพืชหรือไม่
|
ใช่ [ ] ไม่ [ ] ไม่ระบุ [ X ] |
การแบ่งแยก PMP จำเป็นหรือไม่
|
ใช่ [ ] ไม่ [ ] ไม่ระบุ [ X ] |
ถ้าใช่ PMP ได้ถูกทบทวนและอนุมัติโดยผู้เชี่ยวชาญในการป้องกันหรือผู้จัดการส่วนหรือไม่
และความต้องการ PMP ถูกรวมไว้ในการออกแบบแผนหรือไม่ ถ้าใช่ คณะทำงานโครงการได้รวมผู้เชี่ยวชาญในการจัดการศัตรูพืชไว้หรือไม่ |
|
OP/BP 4.11 – Physical Cultural ResourcesOP / พี 4.11 – ทรัพยากรทางวัฒนธรรมทางกายภาพ | |
Does the EA include adequate measures related to cultural property? ไม่ EA รวมถึงมาตรการที่เพียงพอที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางวัฒนธรรม? | ใช่ [ ] ไม่ [ ] ไม่ระบุ [ X ] |
Does the credit/loan incorporate mechanisms to mitigate the potential adverse impacts on physical cultural resources? สินเชื่อ/เงินกู้ ได้รวมกลไกบรรเทาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นทางทรัพยากรทางกายภาพหรือไม่ |
|
OP/BP 4.10 – ชนพื้นเมือง( Indigenous Peoples) | |
มีกรอบการวางแผน/แผนแบ่งแยกชนพื้นเมือง(อย่างเหมาะสม)ถูกจัดทำไว้ในการปรึกษากับชนพื้นเมืองที่ได้รับผลกระทบหรือไม่
|
ใช่ [ X ] ไม่ [ ] ไม่ระบุ [ ] |
ถ้าใช่แล้ว หน่วยงานภูมิภาคได้รับผิดชอบต่อการป้องกันหรือผู้จัดการส่วนได้ทบทวนแผนหรือไม่ |
ใช่
|
ถ้าโครงการทั้งหมดได้รับการออกแบบเพื่อประโยชน์ของ IP แล้วการออกแบบได้ถูกทบทวนและอนุมัติโดยหน่วยงานพัฒนาสังคมระดับภูมิภาคมีหรือไม่ |
ใช่
|
OP/BP 4.12 – การตั้งถิ่นฐานโดยไม่ตั้งใจ(Involuntary Resettlement)
|
|
มีแผนการตั้งถิ่นฐานใหม่/แผนอย่างย่อ/กรอบนโยบาย/กรอบกระบวนการ (อย่างเหมาะสม) เตรียมไว้หรือไม่ | ใช่ [ X ] ไม่ [ ] ไม่ระบุ [ ] |
ถ้าใช่แล้ว หน่วยงานภูมิภาคได้รับผิดชอบต่อการป้องกันหรือผู้จัดการส่วนได้ทบทวนและอนุมัติแผน/กรอบนโยบาย/กรอบกระบวนการหรือไม่ |
ใช่
|
OP/BP 4.36 –ป่าไม้ (Forests)
|
|
มีการดำเนินการวิเคราะห์โดยรวมของนโยบายและประเด็นสถาบันและข้อจำกัดหรือไม่
|
ใช่ [ ] ไม่ [ ] ไม่ระบุ [ X ] |
การออกแบบโครงการได้รวมมาตรการความพึงพอใจที่มีเหนือข้อจำกัดเหล่านี้หรือไม่
|
|
การเก็บเกี่ยวการค้าทางการเงินและอื่นๆ ถ้ามีของโครงการได้รวมเงื่อนไขต่างๆสำหรับการรับรองระบบ หรือไม่ | |
OP/BP 4.37 – ความปลอดภัยของเขื่อน(Safety of Dams) | |
มีการจัดทำแผนความปลอดภัยของเขื่อนหรือไม่
|
ใช่ [ ] ไม่ [ ] ไม่ระบุ [ X ] |
มีบันทึกข้อตกลง (TORs) ที่รวมถึงองค์ประกอบ (composition) ของคณะผู้เชี่ยวชาญที่อิสระ(POE) ได้รับการทบทวนและอนุมัติโดยธนาคาร
|
|
มีการเตรียมแผนฉุกเฉิน (EPP) และจัดทำขึ้นมาเพื่อให้สาธารณะชนได้รับรู้และฝึกอบรมหรือไม่ | |
OP/BP 7.50 – โครงการทางน้ำระหว่างประเทศ(Projects on International Waterways)
|
|
มีที่ติดชายฝั่งอื่นแจ้งไว้ในโครงการหรือไม่
|
ใช่ [ ] ไม่ [ ] ไม่ระบุ [ X ] |
หากโครงการตกอยู่ภายใต้ข้อยกเว้นหนึ่งของการยอบรับที่แจ้งความต้องการไว้แล้ว มีการเตรียมการแก้ไขให้หมดไปกับฝ่ายกฎหมายและทำบันทึกส่งไปยัง RVP หรือไม่ | |
อะไรคือเหตุผลสำหรับข้อยกเว้นหรือไม่ กรุณาอธิบาย:
|
|
RVP ได้อนุมัติข้อยกเว้นดังกล่าวหรือไม่
|
|
OP/BP 7.60 – โครงการในพื้นที่ขัดแย้ง(Projects in Disputed Areas) | |
มีการจัดทำบันทึกการถ่ายทอดข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่มีมุมมองด้านต่างประเทศของโครงการ รวมถึงวิธีการที่จะปฏิบัติตาม และให้การแนะนำสำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้อง | ใช่ [ ] ไม่ [ ] ไม่ระบุ [ X ] |
Does the PAD/MOP include the standard disclaimer referred to in the OP?
PAD / MOP ได้รวมข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบมาตรฐานที่อ้างถึงในOPไว้หรือไม่
|
|
นโยบายของธนาคารโลกเมื่อมีการเปิดเผยข้อมูล(The World Bank Policy on Disclosure of Information)
|
|
มีเอกสารนโยบายป้องกันที่เกี่ยวข้องถูกส่งไปยังInfoshop ของธนาคารโลกหรือไม่
|
ใช่ [ X ] ไม่ [ ] ไม่ระบุ [ ] |
มีเอกสารที่เกี่ยวข้องได้รับการเปิดเผยในประเทศในสถานที่สาธารณะในรูปแบบของภาษาที่เข้าใจง่าย และสามารถเข้าถึงกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโครงการและNGOท้องถิ่นต่างๆ | ใช่ [ X ] ไม่ [ ] ไม่ระบุ [ ] |
นโยบายป้องกันทั้งหมด (All Safeguard Policies) | |
ปฏิทินที่น่าพอใจ งบประมาณและความรับผิดชอบของสถาบันที่ชัดเจนถูกเตรียมไว้สำหรับการดำเนินการตามมาตรการที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการป้องกัน มีหรือไม่ | ใช่ [ X ] ไม่ [ ] ไม่ระบุ [ ] |
มีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการนโยบายการป้องกันรวมไว้อยู่ในค่าใช้จ่ายโครงการหรือไม่
|
ใช่ [ X ] ไม่ [ ] ไม่ระบุ [ ] |
การควบคุมและการประเมินผลระบบของโครงการได้รวมการ
ควบคุมการป้องกันผลกระทบและมาตรการที่เกี่ยวกับนโยบายการป้องกันไว้หรือไม่
|
ใช่ [ X ] ไม่ [ ] ไม่ระบุ [ ] |
มีการเตรียมการดำเนินงานที่น่าพอใจที่เห็นชอบกับผู้กู้และผู้ที่ได้รับผลสะท้อนเช่นเดียวกันในเอกสารทางกฎหมายของโครงการหรือไม่
|
ใช่ [ X ] ไม่ [ ] ไม่ระบุ [ ] |
ง. การอนุมัติ (Approvals)
ลงนามและเสนอโดย
|
ชื่อ
|
วันที่
|
หัวหน้าทีมงาน |
Ingo Wiederhofer |
|
ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม:(Environmental Specialist): |
วราภรณ์ หิรัญวัฒน์ศิริ/WarapornHirunwatsiri
|
|
ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาสังคม (Social Development Specialist)
|
PamornratTansanguanwong
|
|
ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและ/หรือสังคมเพิ่มเติม
|
Satoshi Ishihara
|
|
อนุมัติโดย (Approved by)
|
||
ผู้ประสานงานปกป้องภูมิภาค(Regional Safeguards Coordinator) |
||
ข้อคิดเห็น/เสนอแนะ (Comments)
|
||
ผู้จัดการกลุ่มอุตสาหกรรม (Sector Manager) |
||
ข้อคิดเห็น/เสนอแนะ (Comments)
|
Be the first to comment on "โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเพื่อฟื้นฟูชายแดนภาคใต้ (ชชต.)"