ในท่ามกลางสภาวะการสื่อสารไร้พรมแดนที่ซับซ้อน เชื่อมโยงทุกภาคส่วนบนโลกเข้าหากัน จนดูเสมือนว่าโลกใบนี้เล็กลงไปทุกขณะ ประเทศไทยเอง ก็หนีไม่พ้นการเข้าไปอยู่ในวังวนของกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่มุ่งหลอมรวมทุกอย่างให้คล้ายคลึงกัน…
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ |
โดย ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ |
|||||||||
หนทางในการก้าวเข้าสู่ความเป็นชีวิตสาธารณะที่เข้มแข็ง ยังผลให้เกิดสภาวะท้องถิ่นที่น่าอยู่ขึ้นมาได้จริง สอดคล้องกับบทบัญญัติเรื่องสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตัวเอง นั่นหมายถึง สิทธิในการกำหนดแนวทางการพัฒนาด้วยตัวเอง สิทธิในการใช้และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน สิทธิในการมีอาหารพอเพียงและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และสิทธิในการดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมของชุมชน |
||||||||||
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) โดยมุ่งหวังเสริมสร้างวิถีสาธารณะที่เข้มแข็ง เน้นประเด็นด้าน “สุขภาวะ” ด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของคนในสังคม โครงการนี้ ดำเนินการในพื้นที่ 35 จังหวัด คือ ภาคเหนือที่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย ลำพูน พะเยา เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ตาก นครสวรรค์ ภาคอีสานที่ ชัยภูมิ สุรินทร์ อำนาจเจริญ นครราชสีมา เลย ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี ภาคใต้ ที่ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ตรัง ที่เหลืออีก 11 จังหวัดภูมิภาคส่วนกลาง คือ อุทัยธานี ลพบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ นครนายก สมุทรปราการ ตราด ปราจีนบุรี สระบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม โครงการนี้ทำงานกับกลุ่มชุมชนในพื้นที่ 35 จังหวัด มาตั้งแต่ปี 2546 และโครงการจะสิ้นสุดในปีหน้า คือปี 2549 นี้แล้ว
ลักษณะสำคัญของ โครงการชีวิตสาธารณะ –ท้องถิ่นน่าอยู่ คือ การเสริมสร้างให้ “พลเมืองผู้ตื่นตัว” หรือ “กลุ่มคนเอาธุระเรื่องสาธารณะ” ได้เข้ามาร่วมทำงานกับโครงการ เพื่อเสริมสร้าง หรือ แก้ไข เรื่องราวหรือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตร่วมกันของคนในชุมชน / ท้องถิ่น ต่าง ๆ ด้วยมุ่งหวังสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีร่วมกันในสังคม โดยมีแนวทางสำคัญในการทำงานที่มุ่ง “เสริมสร้างท้องถิ่นน่าอยู่ และ ชีวิตที่อยู่เย็นเป็นสุข” คือ 1)การกำหนดประเด็นปัญหาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) การกำหนดทางออก ทางเลือกของปัญหา หรือ ชีวิตที่พึงปรารถนาร่วมกัน ด้วยกระบวนการสื่อสารสัมพันธ์ สนทนาอย่างพินิจพิเคราะห์ หรือ มีวิจารณญาณด้วยข้อมูล เหตุผลไม่ใช่อารมณ์ ความรู้สึก 3)การรวมตัวเป็นเครือข่ายเพื่อเสริมสร้าง พลัง และความเข้มแข็งให้กันและกัน 4) การรักษาคุณค่า และสายสัมพันธ์ด้วยการหมั่นประเมินผลโดยสาธารณะ
ตลอด ระยะเวลา 2 ปี ของการทำงานใน 35 จังหวัด กับ “กลุ่มคนเอาธุระเรื่องสาธารณะ” จำนวนนับร้อย ทำให้มองเห็น “พลังทางบวก เพื่อร่วมสร้าง สุขภาวะ ของชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่” ในหลายพื้นที่ เช่น |
||||||||||
|
||||||||||
กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม ต้องมีพื้นที่ในการรองรับบทบาทของภาคประชาสังคม ดังที่เดวิท แมททิวส์(David Mathews) ประธานมูลนิธิแคทเทอริง(Kettering Foundation) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขศึกษาธิการและสวัสดิการ ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “ การตรวจสอบความเข้มแข็งของประชาสังคม หรือชีวิตสาธารณะที่มีสุขภาพดี ประการหนึ่งก็คือ ให้ดูว่าชุมชนนั้นมีพื้นที่สาธารณะ (public space)มากน้อยเพียงใด ..” รูปธรรมหนึ่งของงานในโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ คือ การร่วมกันพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ข่วง หรือลานหน้าพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง ให้สวยงาม มีระเบียบ เป็นสัดเป็นส่วน และเพื่อให้เกิดเป็นพื้นที่สาธารณะให้คนในชุมชนบริเวณรอบพระธาตุลำปางหลวง สามารถใช้พื้นที่ในการทำกิจกรรมสาธารณะร่วมกันอีกด้วย |
||||||||||
|
||||||||||
นอกจากนี้ที่ลำปางยังมีกระบวนการชุมชนเพื่อ สร้างหอศิลปวัฒธรรมนครลำปางที่ศาลากลางเก่า เพื่อให้เป็นพื้นที่สาธารณะ ให้คนเมืองลำปาง ได้จัดกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรม และร่วมพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น
วรเชษฐ์ ศรีวงศ์พันธ์ ครูพื้นบ้านล้านนา กล่าวว่า“งานที่จะสร้างหอศิลป์ตรงนี้ ณ ปัจจุบันนี้มันเหมือนกับการเที่ยวถางไร่ เพื่อที่จะปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ชาวบ้านได้กิน อย่างชุมชนเมื่อก่อนนี้ ตกค่ำตกเย็นหลังจากเลิกงาน เสร็จงานหลักเขาก็จะมาเล่นดนตรีกันบ้าง มาเสวนากันบ้าง แต่ตอนนี้บ้านใครบ้านมัน ต่างก็จะมาดูทีวี ดูโทรทัศน์ดูละครกัน ตรงนี้แหละเราจะทำอย่างไรให้ขอแบ่งเวลา ขอดึงเขามาบ้าง อาจจะไม่ได้ทั้งหมด แต่ให้ได้ส่วนหนึ่งก็ยังดี” |
||||||||||
|
||||||||||
นอกจากพื้นที่สาธารณะทางกายภาพแล้ว บางพื้นที่ของโครงการ ได้ดำเนินการสร้าง “พื้นที่สาธารณะทางอากาศ” เช่นที่ จังหวัดนครสวรรค์ จุดปฏิบัติการเรียนรู้ วิทยุชุมชนปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ สะท้อนให้เห็นว่า การมีวิทยุชุมชนมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาและการแก้ปัญหา รวมไปถึงการสร้างจิตสำนึกสาธารณะ และความเป็นคนท้องถิ่นร่วมกัน ผ่านรายการต่างๆ ที่สร้างสรรค์โดยคนท้องถิ่นเอง |
||||||||||
ในขณะที่สังคมไทยกำลังอยู่บนเส้นทางการพัฒนาให้เท่าทันกับกระแสของโลก การเตรียมความพร้อม เพื่อให้เกิดวิถีชีวิตที่ไม่ทอดทิ้งรากฐานดั้งเดิมของตนเอง และรู้จักเลือกรับสิ่งใหม่ มาปรับใช้ และผู้คนเข้าใจถึงชีวิตสาธารณะอย่างแท้จริง จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ดังนั้น รัฐ องค์กร หรือปัจเจกชนใดๆ ที่มุ่งหวังจะสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงในด้านนี้ จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเปิดโอกาส สร้างกลไกการมีส่วนร่วม สร้างสภาพแวดล้อม ตลอดจนสร้างเสริมทักษะความสามารถ ที่เอื้อประโยชน์ต่อท้องถิ่นไทยอย่างแท้จริง บนพื้นฐานของคำว่า ร่วมกันคิด ร่วมกันเรียนรู้ และร่วมกันทำ ด้วยความเชื่อมั่นที่ว่า การรวมตัวกันเป็น “พลเมืองที่ตื่นตัว” และ “การเอาธุระกับวิถีชีวิตหรือปัญหาที่กระทบต่อการใช้ชีวิตร่วมกัน” เป็นการสร้างวัฒนธรรม “จิตสำนึกสาธารณะ” อย่างมุ่งหวัง สร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ให้เกิดขึ้นทั่วท้องถิ่นไทย |
Be the first to comment on "ใช้ จิตสำนึกสาธารณะ สร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่"