เวทีการประชุมนานาชาติเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่มีพลังในการเปลี่ยนแปลงและมักประสบความสำเร็จในการสร้างความเข้มแข็งร่วมกันเป็นเครือข่ายข้ามรัฐ
\\รวมทั้งในการผลักดันนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาบางเรื่องหรือการพัฒนาบางประเด็นร่วมกันเพื่อให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ เห็นความสำคัญ
Asian Media Summit (AMS 2010) เป็นเวทีการประชุมนานาชาติขององค์กรสื่อมวลชนที่สถาบันเพื่อการพัฒนาสื่อกระจายเสียงแพร่ภาพแห่งเอเชีย-แปซิพิคหรือ Asia-Pacific Institute for Broadcasting Development : AIBD ในฐานะแม่ข่ายเป็นหัวเรือใหญ่
SARFT – State Administration of Radio, Film and Television People’s Republic of China
UNESCO – United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization
GMCD – Global Media Center for Development
UNEP – United Nations Environment Programme
DW – Deutchwelle TV
CCTV – Chinese Central Television
GTI – Greater Tumen Initiative
WRTVC – World Radio and Television Council
นอกจากการรับความรู้ข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันของผู้เข้าร่วมประชุมและวิทยากรผู้เชี่ยวชาญแล้ว การประชุมเช่นนี้ยังเป็นโอกาสให้มีการสานความสัมพันธ์และเชื่อมโยงภารกิจระหว่างบุคลากรและองค์กรที่เข้าร่วม ซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับเจ้าหน้าที่ระดับบริหารและผู้ปฏิบัติงานระดับต่าง ๆ
ในการประชุมเช่นนี้ควรที่ TPBS จะได้มีนโยบายส่งเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการและผู้บริหารระดับต่างๆ ขององค์การไปเข้าร่วมและติดตามรายงานข่าวทุกครั้ง โดยไปอย่างมีเป้าหมายและมียุทธศาสตร์ด้านหนึ่งไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านหนึ่งไปสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือ ด้านหนึ่งไปประชาสัมพันธ์องค์การและชื่อเสียงของประเทศ ด้านหนึ่งไปเพื่อติดตามรายงานข่าวตามภารกิจทางวิชาชีพ
นอกจากบทบาทขององค์การที่เข้าร่วมกับเครือข่ายองค์กรสื่อระหว่างประเทศในลักษณะเป็นกลุ่มพลังเช่นนี้แล้ว การเข้าร่วมประชุมยังทำให้เราเห็นช่องทางในการจับมือกันกับบางองค์กรในลักษณะทวิภาคี (Bilateral) หรือ ไตรภาคี (Trilateral) เพื่อพัฒนางานเฉพาะบางอย่างของเราได้อีกด้วย
หรือการร่วมมือกับ UNESCO ซึ่งมีแผนงาน Audiovisual e-Platform ที่มีฐานข้อมูลและคลังรายการด้านวัฒนธรรมที่อุดมสมบูรณ์และหลากหลายจากทั่วโลกเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนรายการสารคดีและข่าวสารที่น่าสนใจ
หรือการร่วมมือกับ Open University Malaysia ในการพัฒนาระบบ iRadio ที่ใช้ Web 2.0 เชื่อมโยง Podcasts, iPods, iTunnes, Rss Feeds และ Twitter & Face book
ส่วนกรรมการนโยบายนั้นอาจได้ประโยชน์จากการร่วมประชุมไม่มากนักทั้งในเชิงเทคนิควิชาการ วิชาชีพและการสร้างเครือข่าย เว้นเสียแต่ว่าจะมีความสนใจทางวิชาการเป็นการพิเศษส่วนตัว หรือได้รับเชิญไปบรรยาย/อภิปราย หรือมีกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ให้ต้องร่วมเป็นพิธีการเท่านั้น
แต่การได้ร่วมคณะไปเข้าประชุมแบบนี้บ้างก็นับเป็นการเปิดหูเปิดตาและสร้าง วิสัยทัศน์ที่คุ้มค่านะครับ
พลเดช ปิ่นประทีป
Be the first to comment on "2010 Beijing : (4) พันธมิตรสื่อนานาชาติ"