AHRC ร่วมฟังการอ่านพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีทนายความที่หายตัวไป

โดย : AHRC

 

ประเทศไทย:

AHRC ร่วมฟังการอ่านพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีทนายความที่หายตัวไป

(ฮ่องกง วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔) คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission: AHRC) จะส่งผู้สังเกตุการณ์คดีทั้งจากต่างประเทศและในประเทศเข้าร่วมรับฟังการอ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เกี่ยวกับกรณีการหายตัว และคาดหมายว่าอาจจะถูกฆาตรกรรม ของ นายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ในวันที่ ๒๑ มกราคม นี้ ผู้อำนวยการบริหาร AHRC ประกาศในวันนี้

“นี่เป็นคดีประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างยิ่งใหญ่ ไม่เพียงแต่สำหรับประเทศไทย แต่ยังรวมถึงกระบวนการเคลื่อนไหวทางสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคอีกด้วย” นายหว่อง ไค ชิง (Wong Kai Shing) กล่าว

“AHRC ได้ติดตามและทำงานเกี่ยวกับคดีของนายสมชาย มาตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ลักพาตัวเขาจากถนนในกรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นต้นมา และในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ เราจะมีผู้สังเกตุการณ์คดีจากประเทศไทยและต่างประเทศเข้าร่วมในห้องพิจารณา เพื่อรับฟังการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับที่เราได้ทำตลอดมาในการเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีสำหรับ จำเลยทั้งห้าในศาลชั้นต้น” นายหว่องกล่าว

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะอ่านที่ศาลอาญา กรุงเทพมหานคร ในวันศุกร์ที่ ๒๑ มกราคม ศกนี้ เวลา ๙.๓๐ น.

เมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๘ และพ.ศ.๒๕๔๙ องค์กรภูมิภาคซึ่งตั้งอยู่ที่ฮ่องกงได้ส่งผู้สังเกตุการณ์ เข้าร่วมการรับฟังการพิจารณาคดีสำหรับนายตำรวจทั้งห้า ซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยในฐานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับให้สูญหายของทนายความ ซึ่งได้มีการรวบรวมทำบันทึกการสังเกตุการณ์ขึ้น รวม ๑๔๔ หน้า “การหายตัวของบุคคล และข้อบกพร่องของระบบ บันทึกดังกล่าวมีอยู่ในเวปไซต์รณรงค์กรณีทนายสมชาย:

http://www.humanrights.asia/campaigns/somchai-neelaphaijit
ศาลอาญาพิพากษาลงโทษหนึ่งในจำเลยทั้งห้า คือ พันตำรวจตรี เงิน ทองสุก โดยลงโทษจำคุก ๓ ปี เขาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวด้วยการประกันตัวในระหว่างการพิจารณาของศาล อุทธรณ์ ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๑ ก็มีรายงานว่าเขาเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ แต่ร่างของเขายังไม่เคยค้นพบ

“มันเป็นสิ่งที่น่าสงสัยอย่างยิ่งที่ว่า ตำรวจนายนี้ที่อยู่ระหว่างการรอผลคำพิพากษา ในคดีที่กล่าวหาเขาเกี่ยวกับการลักพาตัวทนายสมชาย กลับหายตัวไปอย่างลึกลับเสียเอง” นายบาซิล เฟอร์นานโด ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและโปรแกรม ของ AHRC กล่าว

“สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นเจ้าแห่งความคิดในประเทศไทยอยู่แล้วนั้น การจะช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานของตนด้วยการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ให้เขา ไม่ใช่เรื่องยากเย็นใดๆเลย ซึ่งมันเป็นเหตุผลที่ดียิ่ง ที่ทำให้คนสงสัยถึงรายงานการตายของเขา” นายเฟอร์นานโด กล่าวเพิ่ม

การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ถูกเลื่อนการอ่านมาแล้วจากเดือนกันยายน ปีที่แล้ว หลังจากทนายความซึ่งเป็นตัวแทนของสมาชิกในครอบครัวของพ.ต.ต.เงิน ได้ยื่นคำร้องให้จำหน่าชื่อของเขาออกจากสำนวนคดี เมื่อเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา นางอังคณา นีละไพจิตร ภริยาของทนายความที่หายตัวไป ได้ยื่นคำร้องคัดค้าน โดยขอให้ศาลอ่านคำพิพากษาโดยไม่จำหน่ายชื่อเขาออกจากคดี

ในขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ซึ่งได้สอบสวนกลุ่มนายตำรวจ ๑๙ นาย ที่ถูกกล่าวหาว่า เกี่ยวข้องกับการซ้อมทรมาน ชาย ๕ คน ที่เป็นลูกความของทนายสมชายในขณะที่เขาถูกลักพาตัว และยังถูกกล่าวหาว่ากระทำละเมิดต่อคนอื่นอีก ๒๗ ราย โดยปปช.ได้ประกาศว่า ได้ยุติการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ

ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ๑๙ คน ที่ถูกสอบสวนนั้น หนึ่งในนั้น คือ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนปัจจุบัน พล.ต.อ.ภานุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา

“การยุติการสอบสวนในข้อกล่าวหาเรื่องการซ้อมทรมานนี้ ได้พูดถึง การไม่ต้องได้รับโทษยังคงอยู่อย่างต่อเนื่อง ว่า เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย จะยังสามารถเพลิดเพลินกับใช้วิธีการเช่นนี้ปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดทางอาญาต่อ ไป” นายเฟอร์นานโดกล่าว

“ในขณะที่รัฐบาลแห่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามในกติกาแห่งสหประชาชาติว่าด้วย การต่อต้านการทรมาน และได้อ้างว่า ตนเองให้ความสำคัญต่อมาตรฐานสิทธิมนุษยชนในระดับสากล แต่กรณีนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่า การให้ความสำคัญที่ว่านั้นแท้จริงแล้วกลวงขนาดไหน” เขากล่าวเพิ่ม

“ปรากฏว่า คดีการซ้อมทรมานดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะโยงไปถึงการลักพาตัวและการ ฆาตกรรมทนายความของเหยื่อนจากการซ้อมทรมาน กลับอยู่ภายใต้การดำเนินการขององค์กรที่เฝ้าระวังเพื่อต่อต้านการคอรัปชั่น อันแสดงให้เห็นได้เองว่า เป็นสถาบันที่อ่อนด้อยในการจัดการสำหรับทั้งการสอบสวนและดำเนินคดีต่อผู้ กระทำผิดในการซ้อมทรมานในประเทศไทย” นายเฟอร์นานโดให้ข้อสังเกตุ

ในจำนวนเหยื่อจากการซ้อมทรมานทั้งห้าคนที่นายสมชายเป็นทนายความให้นั้น หนึ่งในนั้นก็ได้ถูกลักพาตัวและหายไปในภาคใต้ของประเทศ เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๒ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูง รวมถึงพล.ต.อ.ภานุพงศ์ ได้ดำเนินคดีต่อเหยื่อคนอื่นในห้าคน ในข้อหาให้การเท็จ ซึ่งคดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีอาญาอีกด้วย

# # #
เกี่ยวกับ AHRC : คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (The Asian Human Rights Commission : AHRC) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในระดับภูมิภาค ซึ่งทำงานตรวจสอบและรณรงค์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชีย AHRC ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2527 โดยมีสำนักงานอยู่ที่ฮ่องกง

 

Be the first to comment on "AHRC ร่วมฟังการอ่านพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีทนายความที่หายตัวไป"

Leave a comment

Your email address will not be published.