System thinking กับขบวนประชาสังคมและโครงการชีวิตสาธารณะ

System thinking ไม่ใช่เครื่องมือ แต่ มันคือธรรมชาติของชีวิต/โลก
System thinking ไม่ใช่หลักคิดตะวันตก แต่มันคือหลักคิดของโลก
System thinking ไม่ใช่ทฤษฎีแต่มันคือกระบวนการของชีวิต

 

 

ธีรทัต ศรีไตรรัตน์

หลังจาก ได้เข้าร่วมในการทบทวน System thinking ซึ่งจัดขึ้นในระหว่าง วันที่ 4 – 8 สิงหาคม2547 โดยดำริของคุณทรงพล …สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ส.ส.ส.) เพื่อต้องการสร้างทีมวิทยากรกระบวนการ ส.ส.ส โดยมี อาจารย์ ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ดำเนินการประชุม

เสร็จแล้วผู้เขียนเดินทางกลับถึงภูมิลำเนาที่ตรัง เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2547 มีโอกาสทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้มาจาก System thinking ครั้งนี้มากเป็นพิเศษ ทำให้เห็นว่า System thinking นี้เองที่เป็นเสมิอนคำตอบที่นำไปสู่เป้าหมายโปรแกรมงานชีวิตสาธารณะของเราได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ โดยการใคร่ครวญในระหว่างทบทวน System thinking ดังกล่าวนั้น ทำให้พบว่า แก่นแท้ของ System thinking นี้จริงๆแล้ว ไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องของวิธีคิดเท่านั้น แต่มันมีความหมายมากกว่า โดยพอประมวลเท่าที่นึกออกได้ ดังนี้ คือ

1. System thinking ไม่ใช่เครื่องมือ แต่ มันคือธรรมชาติของชีวิต/โลก
2. System thinking ไม่ใช่หลักคิดตะวันตก แต่มันคือหลักคิดของโลก
3. System thinking ไม่ใช่ทฤษฎีแต่มันคือกระบวนการของชีวิต
4. System thinking ไม่ใช่เป็นเพียงหลักคิดทั่วๆไป แต่มันคือ หลักปฏิบัติเพื่อการเข้าถึงสำนึกแห่งการเห็น โลก/ธรรมชาติ สรรพสิ่ง
5. System thinking ไม่ใช่ศาสนา แต่มันคือระหัสนัยที่นำไปสู่แก่นแห่งศาสนา
6. System thinking ไม่ใช่เรื่องของการสร้างใหม่ แต่มันคือการจัดระบบความสัมพันธ์เพื่อการผุดเกิดใหม่

จาก การคำนึงถึงความจริงที่เป็นแก่นสาร System thinking ดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้เขียนย้อนนึกไปถึงการดำเนินงานของทีมงานชีวิตสาธารณะในแต่ละจังหวัดโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้และตั้งคำถามขึ้นในใจอย่างเงียบๆว่าทำไมทีมงานหลายๆท่านในหลายๆจังหวัด จึงไม่สามารถมองทะลุหรือมองเห็นต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ทางสังคมหรือการเลือกที่จะสร้างสรรค์กระแสทางเลือกที่อยู่ตรงข้ามกระแสหลัก ทั้งๆที่วันนี้แผนยุทธศาสตร์หลายๆจังหวัดที่เสร็จแล้วก็ล้วนแต่ตอบคำถามต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทั้งสิ้น

มองย้อนไปย้อนมาหลายๆรอบทำให้ผู้เขียนได้คำตอบที่ปรากฏขึ้นว่า การเกิดขึ้นของการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของมนุษย์นั้นไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นอย่างง่ายๆเพียงเพราะการสื่อสารเท่านั้น หากจะต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อชีวิตทะลวงผ่านกำแพงที่ขวางกั้นต่อการเรียนรู้ 3 เรื่องหลักได้ก็จะนำไปสู่การมองเห็นที่มีพลังได้ 3 เรื่องที่ขวางกั้นเสมือนม่านบังตาที่ว่านั้น มีดังนี้

1. ความเคยชิน เก่าๆ
2. การมองไม่เห็นในสิ่งที่เป็นนามธรรม
3. ความเข้าใจว่าโลกของเครือข่ายไม่ใช่เป็นเรื่องของธรรมชาติแต่เป็นเรื่องของการสร้าง ให้เกิดขึ้น

เรื่องของความเคยชินเก่าๆ


 

 

                       

            ผู้เขียนเห็นว่าความเคยชินเป็นเรื่องแรกสุดที่เป็นเสมือนกำแพงหรือม่านบังตาของคนเราซึ่งความเคยชินนี้ อันที่จริงเป็นเรื่องธรรมชาติของคนของมนุษย์ทุกคน ที่เมื่อทำอะไรในลักษณะที่คล้ายๆกันอย่างต่อเนื่องยาวนาน ก็มักจะก่อให้เกิดแบบแผนในการดำเนินงานและแทรกซึมเข้าสู่ชีวิตกลายเป็นวิถี เป็นส่วนหนึ่งของปูมหลังในชีวิตมนุษย์แต่ละคน เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการคิดค้นหรือสร้างมุมมองใหม่ๆ ถึงแม้จะมีการสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างเข้มข้นขึ้นก็ตาม

           การข้ามพ้นความเคยชินเก่าๆมิใช่ว่าจะกระทำกันอย่างง่ายๆ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะการตื่นรู้ ตื่นตัว มีสติตามตลอด และที่สำคัญ คือ การใคร่ครวญอย่างต่อเนื่อง เพื่อมองให้เห็นสิ่งที่เป็นวิถีและแบบแผนที่เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

       หากจะข้ามพ้นความเคยชินเก่าๆได้ ผู้เขียนเห็นว่าจะต้องสร้างหลักการปฏิบัติพื้นฐานในชีวิตอย่างน้อย 3 ประการ คือ

 

      1.      สร้างความศรัทธาต่อกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในตัวตน

2.      สร้างความมีสติ ตื่นตัวเพื่อให้เท่าทันในสิ่งที่เปลี่ยนแปลง

3.      สร้างหลักการพิจารณา  มองให้เห็นรายละเอียดในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วง

      หลักการปฏิบัติทั้ง 3 ประการ หากสามารถปฏิบัติได้ก็จะทำให้ข้ามพ้นจากความเคยชินเก่าๆได้ แต่ทั้งนี้ภาวะดังกล่าวก็ไม่ใช่ว่าจะดำรงอยู่อย่างเสถียรถาวร มีขึ้นลงตามเหคุปัจจัย ภายนอกที่เข้ามากระทบในแต่ละบุคคล หากมีความเข้มแข็งด้วยเหตุทั้ง 3 ก็จะดำรงอยู่ได้ แต่หากอ่อนล้าก็จะถดถอย ทุกอย่างเป็นอนิจจัง

        

การมองไม่เห็นในสิ่งที่เป็นนามธรรม             

       ถึงแม้ว่าความเคยชินเก่าๆ จะเป็นกำแพงใหญ่กำแพงแรกต่อกระบวนการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์สู่สำนึกใหม่ แม้หากข้ามพ้นมาแล้วก็ยังถือว่าไม่เพียงพอต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องสร้างการมองเห็นในสิ่งที่เป็นนามธรรม จึงจะทำให้มองเห็นในสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าได้
การสร้างการมองในสิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง  เพราะเกี่ยวพันกับจิตสำนึกทางด้านความหมาย ความงาม คุณค่า ความสุข ของชีวิต  เป็นเรื่องของการปรุงแต่งภาวะทางด้านอารมณ์และการปรุงแต่งภาวะจิตใจ 

ทฤษฎีกระบวนระบบ (System Thinking)

ทฤษฎี
(Theory) มีรากศัพท์มาจาก Theory (ละคร) เป็นการสะท้อนภาพของมนุษย์ เป็นภาพจำลองของชีวิต ภาพสะท้อนของสังคม มนุษย์มักจะคิดว่า ทฤษฎีเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว สามารถปฏิบัติตามได้ แต่ในความเป็นจริง ทฤษฎี คือ กรอบความคิดที่สร้างขึ้นมาเพื่อเข้าใจความจริงบางอย่าง รู้บางส่วน รู้โดยประมาณ ซึ่งกรอบความคิดนี้ จะช่วยทำให้เข้าใจความเป็นจริงมากขึ้น
ผู้เขียนจำได้ว่าเมื่อพูดถึงเรื่องของการมองเชิงนามธรรมนี้ ช่วงหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ในขบวนประชาสังคมบ้านเราพูดถึงกันมากคือเรื่องของการใช้สมองซึกซ้ายและซึกขวา โดยสมองซีกซ้าย เป็นสมองที่ใช้เกี่ยวกับความจำ ข้อมูลต่างๆ  การวิเคราะห์  ส่วนสมองซีกขวาเป็นสมองที่ใช้เกี่ยวกับศิลปะ ความงาม คุณค่า สุนทรียภาพต่างๆ

ช่วงนั้นผู้เขียนเองก็นึกไม่ออกว่าสมองทั้งสองซีกที่ว่านั้นทำงานอย่างไร? เพราะเวลามโนภาพต่างๆขึ้นมาก็ไม่สามารถบอกได้ว่ามันอยู่ทางข้างขวา หรือเวลานั่งคิดวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ ก็บอกไม่ได้ว่ามันอยู่ทางซ้าย แต่ในที่สุดก็พบความจริงจากการทดลองปฏิบัติด้วยตนเองอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่งพบว่าสมองทั้งสองซีกมันหาได้แยกออกจากกันไม่ เพียงแต่มันแยกตามกายภาพคือซ้ายและขวาเท่านั้นเอง

และในแต่ละวันเมื่อเรานึกคิดอะไรมันก็จะเกิดขึ้นไปพร้อมๆกันเพียงแต่มันจะอยู่ทางด้านไหนมากกว่าเท่านั้น อย่างเช่น เมื่อเราทำความเข้าใจถึงเรื่องฐานข้อมูลชีวิตสาธารณะที่จำเป็น เราก็จะใช้สิ่งที่เรียกว่าสมองทางซ้ายมากเป็นพิเศษแต่ในขณะเดียวกันมโนภาพหรือสำนึกฝ่ายดี ความห่วงหาอาทร ต่อเพื่อนทีมจังหวัดก็บังเกิดขึ้นเป็นช่วงๆเช่นเดียวกัน
            ซึ่งนั่นแสดงว่าในขณะที่สมองซีกซ้ายทำงานมากเป็นพิเศษสมองซีกขวาก็ทำงานด้วยเช่นกันแต่น้อยกว่า ในทำนองกลับกัน เมื่อเรานั่งย้อนรำลึกไปถึงเยาว์วัยที่แสนสุข มโนภาพของวันคืนเก่าๆก็จะเกิดขึ้นเปี่ยมไปด้วยอารมณ์แห่งความสุข  แต่ในขณะที่มโนภาพและอารมณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นคำถามในเชิงวิเคราะห์เพื่อหาเหตุผลก็จะเกิดขึ้นตามมาด้วยเป็นช่วงๆเช่นเดียวกัน    เช่นความสุขช่วงนั้นมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?
ทำไมต้องสนใจ : ทฤษฎีกระบวนระบบ (System Theory)
โลกสมัยใหม่มีความสัมพัน์ที่สลับซับซ้อน มีระบบต่าง ๆ มากขึ้น ทุกอย่างเคลื่อนไหวไปอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นถ้าเกิดปัญหาขึ้น การมองแบบเดิม ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เราจะต้องติดตามสถานการณ์ให้ดี สถานการณ์เปลี่ยน ความคิดของเราก็ควรจะเปลี่ยนไปด้วย แล้วจะสามารถเข้าใจถึง กระบวนระบบได้มากขึ้น

ทฤษฎีกระบวนระบบ (System Theory) เริ่มมาจากการตั้งขอสันนิฐาน (Thesis) แล้วมีข้อขัดแย้งของสันนิฐานนั้น ๆ เกิดขึ้น แต่ก็ไม่ถูกทั้งหมด ดังนั้นจึงเกิดการสังเคราะห์ (Synthesis) สิ่งใหม่ และสิ่งเหล่านี้ก็พัฒนาไปเรื่อย ๆ ความรู้ต่าง ๆ ก็จะพัฒนาเป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ทุกอย่างเคลื่อนไหว ไม่แน่นอน วิธีคิดแบบนี้มีมานานแล้ว ทุกอย่างมีมูลเหตุ ความรู้เรื่องทฤษฎีกระบวนระบบเป็นการมองโลกแบบองค์รวมอย่างศาสนามองโลก ทุกอย่างมีความ สัมพันธ์กันหมด

                 การคิดหรือการมองในเชิงนามธรรมจึงน่าที่จะประกอบขึ้นด้วยสิงที่  เรียกว่าสมองทั้งสองส่วนเช่นว่านี้ แต่ที่เห็นคือการคิด วิเคราะห์ การค้นหาเหตุผลจะอยู่ในระดับที่ตื้นและหยาบกว่าระดับของจิตสำนึกซึ่งเป็นเรื่องของจินตนาการ สุนทรียภาพ คุณค่า ความงามต่างๆ และที่สำคัญคือในระดับการคิดวิเคราะห์นั้นผู้เขียนสังเกตว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่มีมโนภาพ แยกส่วน เป็นเรื่องๆเฉพาะ ส่วนความคิดในระดับจิตสำนึกนั้น จะลึกกว่า เป็นเรื่องของมโนภาพ (เห็นภาพด้วยจิต)เป็นองค์รวมและลึกซึ้งละเอียดอ่อนเกี่ยวพันกับอารมณ์ความรู้สึก คุณค่า ความหมายต่อชีวิตและการดำรงอยู่ 

โดยส่วนใหญ่เราจะใช้การคิดวิเคราะห์ค้นหาเหตุผลมากกว่า เพราะเข้าถึงได้ง่าย แต่การคิดวิเคราะห์นั้นบางครั้งเราก็ไม่สามารถนำไปสู่สิ่งที่เป็นความรู้หรือความจริงที่แท้ได้  เพราะความรู้หรือความจริงที่แท้นั้น จะเกิดขึ้นในระดับจิตสำนึก เป็นเรื่องของการหยั่งรู้ การมองเห็นในระดับนี้จะได้  ความจริง  ความรู้แท้ ที่ผุดบังเกิดขึ้นในภาวะจิต

ผู้เขียนสังเกตว่า การเห็นระดับสำนึกนี้ ในช่วงวัยเด็กจะเกิดขึ้นมากกว่าวัยผู้ใหญ่ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจินตภาพ ความงาม ความอบอุ่นและการบ่มเพาะด้านจิตวิญญาณ เด็กๆจะมีจินตนาการที่เด่นชัดกว่าผู้ใหญ่ และจินตนาการที่เกิดขึ้นในห้วงสำนึกนั้นมันมีความหมาย ความทรงจำที่ยิ่งใหญ่กับชีวิต มากกว่าความคิด  
ความเป็นมาของทฤษฎีกระบวนระบบ
ทฤษฎีกระบวนระบบ (System Theory) เริ่มปรากฎขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 1920 โดยผู้ที่เริ่มพูดถึงแนว
คิดนี้เป็นคนแรก คือ Bertalanfy นักชีววิทยา ชาวออสเตรีย  ต่อมาแนวคิดนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายเมื่อทศวรรษ
1940 และ พัฒนาไปสู่สาขาอื่น ๆ เช่น ฟิสิกส์ Cybernetic (เช่นงานของ Frederic Vester) โดยในช่วงหลังแนวคิดนี้ได้พัฒนาไปเป็น Complexity Theory และบางส่วนก็พัฒนำปเป็นทฤษฎีไร้ระเบียบหรือ Chaos Theory นั่นเอง

ทฤษฎีนี้ได้เข้ามามีบทบาทในการศึกษาทางสายสังคมศาสตรด้วยเช่นกัน อาทิ Claud Levin และทฤษฎีที่ได้รับอิทธิพลโดยตรงจาก System Theory ก็คือแนวพวก Radical Constructivism ที่เชื่อว่าโลกหรือการรับรู้ของเรานั้น เกิดจากสิ่งที่สมองของเราสร้างขึ้นทั้งสิ้น

 

ดังนั้นจาก System Thinking  มันจึงบอกเราว่า การมองเห็นในสิ่งที่เป็นนามธรรมนั้นเป็นมากกว่าความคิดและการมองเห็นด้วยตาเปล่า และสภาพปัจจัยแวดล้อมภายนอกของชีวิตทั้งมวลล้วนสัมพันธ์กับสภาพภายในที่ละเอียดอ่อนที่สุดของชีวิตคือจิตใจ

            การเห็นในสิ่งที่เป็นนามธรรมนั้น คือการเห็นในสิ่งที่ทะลุผ่านเหตุผล ผ่านข้อมูลและเกิดการสังเคราะห์ของจิตกระทั่งเกิดเป็นปัญญาที่แท้ และความรู้เช่นนี้เป็นความรู้ที่ผุดบังเกิดขึ้นภายในโดยอาศัยความสัมพันธ์จากเหตุปัจจัยภายนอก โดยแท้


 

 

ด้วยเหตุนี้ System Theory จึงมีลักษณะเป็นสหวิชาการ (Interdisciplinary) เนื่องจากสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลาย ๆ สาขาวิชา โดยจุดสำคัญ ของ System Theory อยู่ที่การมองแบบไม่แยกส่วนหรือการมองว่าทุกอย่างสัมพันธ์กัน หรือส่วนย่อยสัมพัน์กันส่วนใหญ่ เป็นต้น


 

ความเข้าใจว่าโลกของเครือข่ายไม่ใช่เป็นเรื่องของธรรมชาติ
แต่เป็นเรื่องของการสร้าง ให้เกิดขึ้น



 

มองอย่าง System thinking  จะเห็นได้ว่าโลกใบนี้เป็นเรื่องของเครือข่ายทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดที่ดำรงอยู่อย่างเดี่ยวๆได้โดยไม่ปฏิสัมพันธ์กัน เรื่องราวต่างๆที่ผุดบังเกิดขึ้นในโลกใบนี้แต่ละวัน ก็ล้วนแล้วแต่มาจากพลวัตของเหตุปัจจัยของระบบต่างๆที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันทั้งสิ้น การเกิดขึ้นของสำนึกทางปัญญาในบุคคลนั้นก็เช่นเดียวกัน แม้ในที่สุดแล้วก็ยังต้องมีการนำปัญญาและความรู้ที่มีอยู่ในตัวตนมาประยุกต์ใช้หรือเชื่อมต่อกับโลกและสังคมภายนอกอย่างหลีกไม่พ้น เพราะสำนึกและปัญญาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของพลวัตภายในต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยภายนอกอย่างไม่คงที่ จากความรู้หรือปัญญาชุดหนึ่งในวันนี้ พรุ่งนี้ก็ต้องปรับเปลี่ยนหรือประยุกต์ให้เกิดความรู้หรือปัญญาชุดใหม่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เท่าทันและดำรงอยู่ในภาวะของความมีเสถียรภาพได้อย่างมั่นคง   ไม่รู้จบ

  โลกของเครือข่าย  คือโลกของความจริงที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ แต่ทั้งนี้มุมมองหรือความเข้าใจในเรื่องเครือข่ายนั้นผู้เขียนสังเกตว่าขบวนคนทำงานเพื่อสังคมส่วนใหญ่ มักจะเข้าใจว่าคือสิ่งที่ต้องสร้างหรือกระทำให้เกิดขึ้นโดยมีเป้าหมายร่วมที่เหมือนกัน กระทำเหมือนกัน และผูกโยงกันอย่างเหนียวแน่น
           รูปธรรมของเครือข่ายเช่นนี้ เราจะเห็นกันโดยทั่วไป อาทิเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์,เครือข่ายเกษตรกรรม, เครือข่ายแผนแม่บทชุมชน ฯลฯ เครือข่ายเช่นนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเครือข่ายจัดตั้งในระบบราชการ และในระบบองค์กรชุมชน  ซึ่งในความเป็นจริงผู้เขียนเห็นว่าเครือข่ายนั้นไม่ใช่เรื่องของการสร้างหรือกระทำให้เกิดขึ้นเพราะเครือข่ายนั้นมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เพียงแต่ เป็นการจัดระบบของความสัมพันธ์เพื่อเอื้ออำนวยให้ระบบหรือองค์กรเดินทางไปสู่เป้าหมายที่บุคคลหรือองค์กรต้องการได้เท่านั้น
         ซึ่งการจัดระบบความสัมพันธ์ดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นจากจุดร่วมที่เป็นเป้าหมายหรือจุดร่วมที่เป็นวิธีการก็ได้ และในโลกของความเป็นจริงสภาพการณ์ของระบบความสัมพันธ์เครือข่ายไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นและตั้งอยู่อย่างถาวรยั่งยืน ความสัมพันธ์ในเชิงเครือข่ายจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆไม่หยุดนิ่งตามตามสภาพการณ์ของเหตุปัจจัยและการเปลี่ยนแปลงภายใน ของระบบองค์กรหรือบุคคลนั้นๆ  สิ่งสำคัญอีกประหนึ่งที่ผู้เขียนสังเกตเห็นคือ เครือข่ายนั้น เป็นเรื่องของระบบความสัมพันธ์ที่เกื้อหนุนกันในระหว่างสิ่งที่ต่างกันหรือสิ่งที่มีความหลากหลาย ไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่เกื้อหนุนกันในสิ่งที่เหมือนกันทุกอย่าง  อย่างเช่น เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์จังหวัด ก. จะเรียกว่าเป็นเครือข่ายได้อย่างไร? ในเมื่อกลุ่มออมทรัพย์แต่ละกลุ่มที่มาเข้าร่วมนั้นมีทุกอย่างที่เหมือนกันหรือคล้ายกัน เพียงแต่ต่างกันที่คนและสถานที่ดำเนินการเท่านั้น น่าที่จะเรียกว่าองค์กรกลุ่มออมทรัพย์จังหวัด ก.มากกว่า เพราะการเข้าร่วมดังกล่าวทำให้กลุ่มหรือองค์กรใหญ่ขึ้นเท่านั้นเองแต่ไม่เห็นมีความหลากหลายที่เกื้อหนุนในสิ่งที่ต่างกันเลย 

           ดังนั้น การพัฒนาทั้งตนเองและองค์กรเพื่อให้เท่าทันและไม่หยุดนิ่ง จะต้องเข้าใจและรู้จักใช้ประโยชน์จากธรรมชาติของเครือข่ายที่หลากหลาย รู้จักความสัมพันธ์ของระบบ ต่างๆ ในมุมหรือประเด็นร่วมที่เอื้ออำนวย เกื้อหนุนกัน บางช่วง บางขณะ ผู้เขียนเห็นว่าเครือข่ายที่เป็นธรรมชาติที่สุดและมีพลังที่สุด ในโลกวันนี้ที่สามารถนำไปสู่การยกระดับปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของมนุษย์ได้คือเครือข่ายเรียนรู้ ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ยืดหยุ่น เกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับปัจเจกและระดับกลุ่มองค์กร รวมทั้งดำรงอยู่ในสภาพการณ์ของความเป็นธรรมชาติที่ไม่รู้จบ 
  กำแพงขวางกั้นต่อกระบวนการพัฒนาชีวิตสาธารณะ ทั้ง 3 กำแพงที่เป้นเสมือนม่านบังตาจากสิ่งที่ผู้เขียนเห็นดังกล่าวนั้น เชื่อว่าหากทีมงานชีวิตสาธารณะได้ปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็ไม่น่าที่จะเกินกำลังความสามารถ  เพียงแต่ ณ วันนี้ อาจจะยังมองไม่เห็นเท่านั้นเอง

 

 


ดังนั้น วิธีคิดของ System Theory จึงต่างกับวิธีคิดแบบเส้นตรง (Linear thinking) หรือการคิดที่ว่าถ้าเหตุเป็นอย่างนี้แล้ว ผลจะต้องเป็นอย่างนั้น” อย่างสิ้นเชิง เพราะ System Theory จะเป็นการคิดบนพื้นฐานของระบบที่มีความซับซ้อน (Complex System) คือถ้าเป็นอย่างนี้ก็สามารถเป็น อย่างนั้นหรือเป็นอย่างโน้นได้ไม่ตายตัว (not only…but also…) คือมีความเป็นไปได้หลายอย่าง ๆ ฉะนั้น หัวใจของ System Theory จึงไม่ได้อยู่ที่ การวิเคราะห์วิจัยเฉพาะส่วนนั้น ๆ เท่านั้น แต่จะเป็นการพิจารณาความสัมพันธ์” ของปัจจัยสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดว่าสัมพันธ์กัน

เราจะพบว่าในทฤษฎีแบบเดิม ๆ เวลาเราจะวิเคราะห์สิ่งใด เรามักจะหยิบเฉพาะสิ่งนั้น ๆ ขึ้นมาแล้วนิยามหรือให้คุณสมบัติของสิ่งนั้นเป้นสำคัญ ซึ่งจะ แตกต่างจาก System Theory ที่จะมองไปที่ ความแตกต่าง และ ความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งนั้นกับสิ่งอื่น ๆ ไม่ได้มองเฉพาะสิ่ง ๆ นั้น เพียงสิ่งเดียว นอกจากนี้ System Theory ยังเน้นการตั้งคำถามกับวิธีคิดแบบเส้นตรงซึ่งเป็นการมองแบบภววิสัย (Objectivity)

เพราะ System Theory เชื่อว่า การรับรู้ปรากฎการณ์ (Social phenomena)ทุกอย่างล้วนเป็น อัตวิสัย(Subjectivity) ที่ตัวตนของเราไปทำความเข้าใจและอธิบายมันด้วยทั้งสิ้น เป็นเสมือนการมองของสิ่งเดียวกันจากหลาย ๆ มุมมอง หรือตาบอดคลำช้าง ตัวอย่างเช่น คนที่เป็นโรคหัวใจ แพทย์อาจวิเคราะห์ว่ามาจากสาเหตุของ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ แต่ถ้าให้สถาปนิกวิเคราะห์ ก็ได้คำตอบว่าอาจเป้นเพราะที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสมก็ได้ หรือถ้าให้คนอื่น ๆ วิเคราะห์ คำตอบก็คงแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล

ดังนั้น คุณสมบัติของสิ่งหนึ่ง ๆ จึงไม่ได้เกิดจากคุณสมบัติของสิ่งหนึ่ง ๆ จึงไม่ได้เกิดจากคุณสมบัติของสิ่งนั้น ๆ เอง หากเกิดจากการที่สิ่งนั้น ๆ ไปสัมพัน์กับสิ่งอื่น เปรียบได้กับการที่เราจะเห็นภาพหนึ่ง ๆ ได้ ก็เป็นเพราะภาพนั้น ๆ มี Background นั่นเอง

ดังนั้น เราจึงอาจพูดได้ว่าความแตกต่างของสิ่งของ 2 สิ่ง คือ เส้นแบ่งที่ทำให้เราเห้นหรือรับรู้ถึงอีกสิ่งหนึ่งได้ เช่น เรารู้จักวเลากลางวันได้ ก็ต่อเมื่อเรารู้จักเวบากลางคืน เรารู้สึกถึงความสุขได้ ก็ต่อเมื่อเรารู้จักความทุกข์ เป็นต้น ด้วยเหตุดังนี้ การที่เราจะวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ จึงควรที่จะดูบริบท (Context) ของสิ่งนั้น ๆ ประกอบด้วย ดังที่ Niklas Luhmann นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ผู้เชี่ยวชาญ System Theory กล่าวว่า ระบบสังคมเกิด จากการที่มีการนิยามความหมายชุดหนึ่งเกิดขึ้นมาแล้วมีการสื่อสาร (Communicate)ระหว่างกัน และมีการลงมือปฏิบัติในทัศนะของกลุ่มคนผู้นิยามนั้น เช่น ในสังคมไทย ก็มีสังคม Internet เพราะในประเทศไทยก็มีคนจำนวนหนึ่งใช้ Internet ติดต่อสื่อสารกัน เป็นต้น

แต่ในปัจจุบัน ยุคโลกิวัฒน์ทำให้การสื่อสารมีมากขึ้น และโยงใยถึงกันทั่วทุกแห่ง ทำให้รับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิมอันเป็นระบบปิดได้เปิดออก เพราะทุกระบบ ส่งอิทธิพลถึงกัน ดังนั้น ระบบส่งอิทธิพลถึงกัน ดังนั้น ระบบต่าง ๆ จึงเป็นระบบเปิด

ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในปัจจุบัน ก็ไม่สามารถ นิยามหรือแก้ไขแบบระบบได้อีกต่อไป เนื่องเพราะทุกอย่างสัมพัน์กัน ตัวอย่างเช่น น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ ไม่ได้เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบเฉพาะพื้นที่นั้น เพียงพื้นที่เดียวเท่านั้น แต่ส่งผลโยงใยไปยังพื้นที่อื่น ๆ ด้วย เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ การแก้ปัญหาต่าง ๆ จึงจำเป็นที่จะต้องมออย่างรอบด้าน การอาศัย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะส่วนนั้นจึงไม่เพียงพอ และจะต้องเข้าใจปัจจัยต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงถึงกันด้วย

ดังนั้น หากกล่าวโดยสรุปแล้ว
System Theory จึงเป็นการมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ แบบองค์รวม โดยเชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นส่วนหนึ่ง ของระบบที่ใหญ่ขึ้นไป ขณะเดียวกันตัวมันเองก็เป็นระบบที่สามารถแยกย่อยลงไปเป็นระบบเล็ก ๆ มากมายหลายระดับได้ และระบบย่อยนี้ต่างก็มี ความสัมพันธ์กันได้ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของกันและกัน ดังตัวอย่างในแผนภูมิ System A จะประกอบไปด้วย System Element ต่าง ๆ เช่น System a1, System a2, … ที่สัมพันธ์กันและประกอบกันขึ้นเป็น System A และใน System (เช่น a1, a2, …) ก็จะประกอบไปด้วย sub-sub system ที่ประกอบขึ้นเป็น Sub-System a1 และใน Sub-sub System ก็สามารถแยกย่อยลงไปได้อีกเรื่อย ๆ จนถึง infinity ในขณะเดียวกัน ระบบ System A ก็จะต้องสัมพันธ์กับระบบที่ใหญ่กว่าขึ้นไป

อาทิ จากระบบของปัจจเจกไปถึงระบบสังคมโลกและอื่น ๆ จนถึง infinity เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ System Theory จึงมีความหมายต่อระบบการจัดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมาก เพราะในการมองนิยามและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ หรือระบบย่อย กับระบบใหญ่เราก็จะไม่สามารแก้ไขปัญหาได้ หรือหาทางแก้ที่ระบบใหญ่โดยไม่เปลี่ยนระบบระบบย่อยก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จเช่นกัน นอกจากนี้ ในการเป็นผู้จัดการการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่ถ้าอยู่ในฐานะของผู้สังเกตการณ์กับกระแสต่าง ๆ ได้ และนิยามความเปลี่ยนแปลงขึ้นมาได้ก็สามารถ ส่งผลสะเทือนให้กับสังคมได้เช่นกัน


เมื่อนำ
System Theory มาประยุกต์ใช้กับปัญหาใดปัญหาหนึ่งจะได้ดังแผนภูมิข้างท้าย ซึ่งก่อนอื่น เราต้องนิยามปัญหานั้นก่อนว่าประกอบด้วยปัจจัย อะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น ปัจจัยประการแรก คือ มนุษย์ เพราะปัญหานั้นต้องสัมพัน์กับมนุษย์อย่างแน่นอน ปัจจัยประการแรก คือ มนุษย์ เพราะปัญหานั้นต้อง สัมพัน์กับมนุษย์อย่างแน่นอน ปัจจัยประการต่อมา คือ การรับรู้ ดังนั้นเราจะต้องอาศัยการสื่อสารและเทคโนโลยีในการสื่อสารเพื่อให้เกิดการรับรู้ขึ้น นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเกี่ยวกับความสามารถในการแก้ไขปัญหา และเกี่ยวพันไปถึง ทรัพยากร (Resource) อาทิ เงินกับเวลา อีกด้วย


นอกจากนี้ เรายังสามารถนิยามปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นได้อีกเมื่อได้ปัจจัยต่าง ๆ ขึ้นมาแล้ว เราจะต้องรู้ว่าปัจจัยต่าง ๆ นั้นสัมพันธ์กับปัญหานั้น อย่างไร และนอกเหนือจากปัจจัยภายในตัวปัญหาเองแล้ว ยังมีปัจจัยภายนอกอีก เช่น ปัญหา
A ย่อมต้องสัมพันธ์กับปัญหา B และ C เป็นต้น

โดยสรุปคุณสมบัติของวิธีคิดกระบวนระบบ (System thinking) มีวิธีดังนี้

1. ระบบเปิด โดยเฉพาะระบบที่มีชีวิตเป็นองค์รวมของส่วนประกอบต่าง ๆ คุณสมบัติของระบบนั้นที่แสดงคุณภาพ หรือคุณลักษณะรวม ไม่สามารถ จะย่อหรือลดส่วน (reduction) ไปสู่ชิ้นส่วน หรือองค์ประกอบแต่ละชิ้นได้

2. ระบบต่าง ๆ จะซ้อนกันเป็นลำดับ จากระบบใหญ่มาเป็นระบบย่อย จากระบบย่อยมาสู่ระบบจิ๋ว เรื่อย ๆ ไปเป็นชั้น ๆ

3. วิธีคิดกระบวนระบบ เป็นวิธีคิดที่เชื่อมโยงกับบริบท (context)
หรือ สภาพแวดล้อมที่อยู่รอบสิ่งนั้น เราจะไม่สามารถเข้าใจ หรือวิเคราะห์ คุณสมบัติของสิ่งนั้น หรือระบบนั้นได้อย่างถูกต้อง ถ้าไม่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับบริบทรอบ ๆ ตัวระบบนั้น แต่ขณะเดียวกันก็มีการขีดเส้นแบ่งระหว่างระบบ และบริบทด้วย

4. เป็นวิธีคิดที่เป็นเครือข่ายของความสัมพันธ์เชื่อมโยง
ไม่ได้อยู่อย่างโดด ๆ หรือแยกส่วน และหัวใจอยู่ที่การเชื่อมสัมพันธ์ย้อนกลับ (Feedback) ระหว่างองค์ประกอบหรือส่วนต่าง ๆ

5. และประการสุดท้ายวิธีคิดกระบวนระบบ คือ การคิดอย่างเป็นกระบวนการ (System thinking is a process of thinking)
นอกจากนั้นหากเรานำแนวคิดทฤษฎีกระบวนระบบมาใช้ในพุทธศาสนา หรือทางพระ จะเรียกว่า การคิดแบบโยนิโสมนสิการ ซึ่งหมายถึง การคิดให้ถึง ต้นตอ การคิดแยบคาย คิดให้ถึงรากเหง้า คิดอย่างละเอียด ลึกซึ้ง ซึ่งในภาษาอังกฤษอาจใช้ได้หลายคำ เช่น Reflective Thinking คือคิดสะท้อน คิดหลายแง่หลายมุม หรือ Systematic Thinking คือคิดเป็นระบบ เนื้อหาในพระไตรปิฎกได้พูดถึงวิธีคิดต่าง ๆ ไว้มากมาย แต่ส่วนมากมิได้บอกตรง ๆ แต่จะแฝงอยู่ในความหมายระหว่างบรรทัดว่า เป็นการสอนวิธีคิดแบบนั้น ๆ เช่น สอนให้เข้าใจความไม่มีตัวตน โดยให้พิจารณาองค์ประกอบของร่างกาย หรือที่เรียกว่าขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) วิธีสอนเช่นนี้กระตุ้นให้รู้จักคิดแยกแยะองค์ประกอบทีละส่วน ๆ เพื่อให้เข้าใจความเป้ฯจริง ท่านพระธรรมปฎกได้ประมวลวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ออกมาเป็น 10 วิธีคือ

ข้อเสนอ    (Comment)

กระบวนการดำเนินงานของจังหวัดพังงา

โครงการชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่

อันที่จริงจังหวัดพังงามีต้นทุนทางสังคมที่ค่อนข้างสูงและสามารถที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำเนินงานโครงการชีวิตสาธารณะได้เป็นอย่างดีทีเดียว  แต่ที่ห็นว่าจะต้องปรับกันเป็นอย่างมากคือมุมมอง และวิธีคิด รวมทั้งความกระตือรือล้น ของทีมจังหวัดและขบวนคนเคลื่อนงานพังงาเอง  (อุปสรรคเกิดจากตัวเองมากกว่า)  วันนี้ที่เห็นทีมจังหวัดพังงาจะให้น้ำหนักหรือมุ่งไปที่แผนกิจกรรมเป็นหลัก โดยให้ความสำคัญกับทิศทาง/เป้าหมาย/ปรัชญาและกระบวนการดำเนินงานโครงการชีวิตสาธารณะในภาพใหญ่ น้อยมาก
 

1) คิดแบบปฏิจจสมุปบาท (Inter-dependent) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทฤษฎีวงแหวนหรือสัมพันธภาพ คือคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย จะอธิบายว่า สิ่งต่าง ๆ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ตัวเหตุจะมีหลายองค์ประกอบ เมื่อกล่าวถึงสิ่งใดจะต้องอธิบายให้เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน พระพุทธเจ้าจะไม่อธิบายว่า อะไรเป็นเหตุของอะไรโดยตรง คือ ไม่บอกว่าอะไรคือ first cause แต่จะอธิบายในแง่ของปัจจัยที่เป็น condition โดยอธิบายถึง origin และ because of ของสิ่งนั้น

2) คิดแบบขันธวิภังค์ (Analysis) เป็นการคิดแบบวิเคราะห์แยกแยะองค์ประกอบ ว่าคนประกอบด้วยขันธ์ 5 การแยกย่อยออกไปอย่างละเอียด เมื่อวิเคราะห์แล้ว จะเป็นอนัตตา คือ ไม่มีตัวตน เช่น ชะลอม ถ้าดึงส่วนประกอบออกทีละเส้นจนหมดก็จะไม่มีชะลอม

3) คิดแบบสามกระแส (Three Streams) คือคิดแบบไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) คือคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา เปรียบเหมือนน้ำ 3 สาย ที่ไหลออกจากน้ำตก น้ำที่ไหลนั้นไม่นิ่ง มีการเปลี่ยนแหลง น้ำจะมาใหม่อยู่ตลอดเวลา ชีวิตของคนเราก็เป็นเช่นนี้ เป็นอนิจจัง ถ้าเราศึกษาอย่างจริงจัง จะทำให้เข้าสภาวะสังคมว่ามันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีทฤษฎีนี้อยู่ในใจ จะไม่เกิดทุกข์ สามารถเท่าทันต่อกระแส

แผนกิจกรรมที่จะดำเนินการนั้นจะต้องตอบคำถามต่อเป้าหมายโครงการในภาพใหญ่ไม่ใช่ทำเพื่อให้แล้วเสร็จ ดังนั้นในแต่ละแผนกิจกรรมก่อนจะดำเนินการทีมจังหวัดและทีมพื้นที่จะต้องมานั่งทบทวนวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อให้เห็นภาพการเชื่อมต่อความเป็นไปได้ของแผนกิจกรรมว่าจะตอบคำถามหรือส่งลูกไปสู่ แผนกิจกรรมอื่นๆ /วัตถุประสงค์ /และเป้าหมายโครงการได้อย่างไร
ธีรทัต ศรีไตรรัตน์
สิงหาคม 2547

มีข้อคิดเห็นต่อทีมจังหวัดพังงาดังนี้

  1. การเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ (ระดับอำเภอ-ตำบล) คนที่เป็นแกนขับเคลื่อนจะต้องทบทวนทำความเข้าใจต่อทิศทางและยุทธศาสตร์ เป้าหมาย /กระบวนการโครงการชีวิตสาธารณะให้ได้อย่างถ่องแท้ก่อนดำเนินแผนกิจกรรม
  2. การแสวงหาภาคีพันธมิตรในจังหวัดพังงามีความเป็นไปได้สูง มีเงื่อนไขที่ดี ทั้งเงื่อนไขส่วนบุคคล เงื่อนไขของสังคมพังงา เงื่อนไขประเด็นร่วม(แหล่งอาหารธรรมชาติ) แต่ทั้งนี้ทีมจังหวัดต้องรู้จักที่จะนำเสนอให้เห็นถึงความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นร่วมกันของจังหวัดพังงาดดยใช้โอกาสจากโครงการชีวิตสาธารณะนี้
  3. ทีมงานในทุกระดับของจังหวัดพังงาต้องใช้โอกาสจากแผนกิจกรรมที่ดำเนินการนี้ พัฒนาส่งเสริมและยกระดับกระบวนการการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องให้ได้ เพื่อสร้างผู้นำทางความคิดให้เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นส่วนของทีมงานเองและแกนนำชุมชนพื้นที่ หรือภาคีพันธมิตร

     

4) คิดแบบอริยสัจ 4 (Problem Solving) คิดแบบแก้ปัญหา/แก้ทุกข์ คือการพิจารณาทุกข์ (ปัญหามีอะไรบ้าง) สมุทัย (เหตุอยู่ที่ใด) นิโรธ (แนวทาง/เป้าหมายของการแก้ปัญหาที่ตั้งไว้) มรรค (พิจารณาวิธีการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย) ซึ่งเราสามารถใช้เป็นหลักยึดในการพิจารณาสิ่ง
ต่าง ๆ ได้

5) คิดแบบคุณค่าแท้-เทียม (True & Artificial Value) คิดแบบรู้คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม ตัวอย่างคือ ถ้าสามารถรู้คุณค่าเทียมของปัจจัย 4 ได้ จะทำให้ประหยัดเงินไปได้มาก เช่น เสื้อผ้าราคาแพง ใส่ 3 วัน ก็มีกลิ่นเหมือกับเสื้อผ้าราคาถูก จึงควรพิจารณาถึงคุณค่าที่แท้จริงด้วย

6) คิดแบบกุศลภาวนา (Moral Development)
คิดแบบปลุกเร้าคุณธรรมหรือชุความดี คือการบำเพ็ญความดี ซึ่งจะต้องกระทำให้ถึงที่สุด อย่าหยุดนิ่ง อย่าสันโดษในเรื่องทำความดี เวลาความเพียรต้องไม่ย่อท้อ เวลาศึกษาหาความรู้ ทำวิจัยต้องทุ่มเทเต็มที่ ไม่เฉยเมย หรือถือสันโดษ ในขณะทำงานหรือทำความดี

7) คิดแบบสามมิติ (Three Dimensions) คือการพิจารณาอะไรนั้น อย่าพิจารราเพียงด้านเดียว ต้องพิจารณาทั้งแม่ดี แม่เสีย และพิจารณา วิธีเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างปลอดภัย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ พิจารณาทั้งคุณ-โทษ-ทางออก

8) คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ (Cause Effect Relation Theory) หรือทฤษฎีเสาสภา เป็นการคิดแบบสัตบุรุษ หรือมีสัปปุริสธรรม อันเป็นคุณสมบัติของคนดี คือให้รู้จักเหตุ (รู้หลักความจริง รู้กฎแห่งธรรมดา) รู้จักผล (รู้ความหมาย รู้ผลที่จะเกิดสืบเนื่องจากการกระทำ) รู้จักตน (รู้ฐานะ กำลังความสามารถ คุณธรรม เป็นต้น) รู้จักประมาณ (คือความพอดี) รู้จักกาล (รู้กาลเวลาอันเหมาะสม) รู้จักบริษัท (คือรู้จักชุมชนและที่ประชุม รู้กริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้น) และรู้จักบุคคล (รู้ความแตกต่างระหว่างบุคคลและรู้จักปฏิบัติต่อบุคคลนั้นด้วยดี) ก่อนที่จะทำงานอะไร

9) คิดแบบสติปัฏฐาน (Now Theory) หรือทฤษฎีจันทร์เพ็ญ คิดแบบอยู่ในปัจจุบัน แนวนี้ต้องมีวิปัสสนากรรมฐานเป็นเครื่องมือ เมื่อจะทำสิ่งใดต้องมีการตั้งสติ กำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง

10) คิดแบบวิภัชชวาท (Dialectic Theory) คือคิดแบบด้าน แยกแยะประเด็นต่าง ๆ ไม่ทำแบบตาบอดคลำช้าง ที่มองแง่เดียว
การคิดแบบกระบวนการระบบดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดสัมมาทิฐิหรือความคิดที่ถูกต้อง อันเป็นก้าวสำคัญในการดำรงชีวิตบนทางายกลาง สรุปรวมความแล้วก็คือ คิดถูกทาง ถูกวิธี มีเหตุผล และการคิดนั้นก่อให้เกิดการกระทำที่เป็นกุศล

 


อ.ชัยวัตน์ ถิระพัฒน์

 

 

Be the first to comment on "System thinking กับขบวนประชาสังคมและโครงการชีวิตสาธารณะ"

Leave a comment

Your email address will not be published.