การขยับตัวของประชาสังคมใต้ เพื่อ สนามใหม่ กระดานใหม่

จากสภาพการณ์ปัญหาที่เห็น การหยุดเพื่อทบทวนก่อนก้าวย่างของขบวนประชาสังคมใต้ จึงเกิดขึ้นเป็นลำดับ พัฒนาการเป็นไปอย่างระมัดระวังยิ่ง จากวงพูดคุยเล็ก ๆ สู่การพูดคุยร่วมกันในเวทีใหญ่ ๆ 2-3 ครั้ง … ที่ ปิติ รีสอร์ท นครศรีธรรมราช ( ต้นปี 47) เห็นร่วมกัน ถึงการเลือกที่จะเปลี่ยนเส้นทางการเคลื่อนไหวงานแบบเดิมๆที่เริ่มตีบตัน

 

การขยับตัวของประชาสังคมใต้ เพื่อ สนามใหม่  กระดานใหม่


จากสภาพการณ์ปัญหาที่เห็น การหยุดเพื่อทบทวนก่อนก้าวย่างของขบวนประชาสังคมใต้ จึงเกิดขึ้นเป็นลำดับ  พัฒนาการเป็นไปอย่างระมัดระวังยิ่ง จากวงพูดคุยเล็ก ๆ สู่การพูดคุยร่วมกันในเวทีใหญ่ ๆ 2-3 ครั้ง
 

… ที่ ปิติ รีสอร์ท  นครศรีธรรมราช ( ต้นปี 47)  เห็นร่วมกัน ถึงการเลือกที่จะเปลี่ยนเส้นทางการเคลื่อนไหวงานแบบเดิมๆที่เริ่มตีบตัน ไม่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาสังคมได้ในท่ามกลางความซับซ้อนของปัญหาที่ไหลถาโถมลงมาอย่างรวดเร็ว  และพบว่าหัวใจของการเคลื่อนไหวงานประชาสังคมนั้น  ถึงเวลาที่จะต้องร่วมกันสร้างหน้า กระดานใหม่ หรือสนามใหม่ภาคพลเมืองขี้นมา  ซึ่งนั่น ก็หมายความว่า จะต้องละทิ้งแนวทางการดำเนินงานในแบบเดิมๆที่เริ่มล้าสมัยไม่ทันต่อสถานการณ์ และร่วมกันแสวงหารูปแบบและแนวทางใหม่ๆ ในการดำเนินงานเพื่อให้เท่าทันต่อสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญคือเปลี่ยนจากการทำงานแบบตั้งรับ มาสู่การทำงานเชิงรุก เปลี่ยนจากผู้ถูกกำหนดอนาคต มาเป็นผู้กำหนดอนาคตเอง
        

แต่กระนั้นสนามใหม่ กระดานใหม่ภาคพลเมือง  หน้าตาเป็นอย่างไร เวทีพูดคุยครั้งนี้ก็ยังไม่มีใครที่สามารถให้ตอบได้อย่างแจ่มชัด  แต่รู้เพียงว่า ต้องเกิดขึ้นบนฐาน ของคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

…ที่ ชะอำ เพชรบุรี ( 1-3 ตุลาคม 47) เห็นร่วมกันถึงคลื่นปัญหาขนาดใหญ่ที่ทอทาบบนแผ่นดินภาคใต้ไม่ว่า กรณี 3 จังหวัดชายแดนใต้  โครงการแลนด์บริดจ์  โครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบ การเคลื่อนงานประชาสังคมเพื่อร่วมกำหนดชะตากรรมแผ่นดินจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ควรกระทำยิ่ง กระนั้นก็ยังไม่เห็นวิธีการดำเนินงานว่าจะทำอย่างไร?

..ที่ เทศบาลนครตรัง (9 พฤศจิกายน 47) หารือต่อเนื่อง   เรื่องกระดานใหม่ภาคพลเมือง   เห็นร่วมกันว่ากระดานใหม่นี้ ต้องอยู่บนฐานของคุณค่า หรือจารีต ขนบธรรมเนียมต่างๆ ในวิถีความเป็นคนใต้ ที่เป็นบ่อเกิดของอำนาจตามธรรมชาติ หรืออำนาจฝ่ายดี ซึ่งเป็นอำนาจของคนที่ไม่มีอำนาจ และสั่งสมมาอย่างยาวนาน จนเป็นอัตลักษณ์ใต้    และวันนี้ อำนาจตามธรรมชาตินี้ได้ถูกรุกคืบและถูกทำลายลงด้วยอำนาจในระบบ ซึ่งเป็นอำนาจเชิงโครงสร้าง

 

อำนาจในระบบ

อำนาจนอกระบบ

ทุน, การเมือง, ธุรกิจ, ปัจเจก

*จารีต,พิธีกรรม,ขนบ,ประเพณี,ศิลปะ/ศิลปิน,
การเชื่อมโลก/โลกาภิวัตน์      

 

                

ธรรมเนียม,การเล่น,ชุมชน

*(อ.เปลื้อง, หนังบุญธรรม)

ทำอย่างไรให้อำนานนอกระบบ
ซึ่งเป็นอำนาจธรรมะ/ธรรมชาติฝ่ายดีมีนาจ

สนามใหม่
กระดานใหม่ภาคพลเมือง

 

กระนั้นการประชุมที่เทศบาลนครตรัง ก็เหมือนครั้งที่ผ่านๆมายังไม่ใช่ข้อสรุปรวบยอดที่จะสามารถบอกได้ว่านี่คือหน้าตาของกระดานใหม่ภาคพลเมืองภาคใต้อย่างแท้จริง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจากการประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 47 ที่สำคัญคือการใช้จังหวะแผ่นดินหรือกาละในช่วงของการเลือกตั้ง ในการสร้างโอกาสของภาคประชาชนเพื่อสร้างกระดานใหม่ขึ้นมา ทั้งนี้กาละดังกล่าวจะต้องทำให้เป็นเทศกาลการเมืองภาคประชาชน ที่สามารถประกาศอัตลักษณ์ของประชาสังคม และอัตลักษณ์ของความเป็นท้องถิ่นชาวใต้  ซึ่งในงานเทศกาลน่าที่จะประกอบไปด้วย 1.การเรียนรู้มหกรรมการเมืองภาคประชาชน,โดยหยิบยกรูปธรรมการดำเนินงานที่เป็นการเมืองภาคประชาชน 2.เวทีวิชาการภาคใต้ 3.การเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรประชาชนต่อประเด็นต่างๆ  ทั้งนี้ในเทศกาลจะใช้ มิติในทางศิลปวัฒนธรรมเป็นเดินเรื่องหรือสื่อเรื่องราวต่างๆตลอดงาน

โจทย์ที่ต้องขบคิดของเทศกาลการเมืองประชาชนภาคใต้ครั้งนี้ *(อ.สมเจตนา,สัมพันธ์,มานะ)คือทำอย่างไรให้เทศกาลการเมืองประชาชนครั้งนี้เป็น

Social movement และเกิดการตั้งคำถามต่อสาธารณะ ว่าเรารู้สึกอย่างไร ต่อสภาพของบ้านเมืองที่เห็นอยู่วันนี้”

               จากวันที่ 9 ตุลาคม 47 รุ่งขึ้น อีก 2 วัน คือ 10 และ 11 ตุลาคม 47 การสืบค้นของประชาสังคมภาคใต้ก็เริ่มขึ้นอีกครั้ง โดยโครงการชีวิตสาธารณะภาคใต้ทั้ง 6 จังหวัดร่วมกันดำเนินการจัดการประชุมขึ้น ซึ่งเวทีการพูดคุยร่วมกันครั้งนี้เป็นการนำเอาสภาพการณ์ของปัญหาภาคใต้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำไปสู่แนวทางการดำเนินงานร่วมกันซึ่งพบว่าปัญหาหลักภาคใต้ ณ วันนี้ เป็นปัญหาที่ใหญ่เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่ยังไม่เกิดขึ้น และปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วอย่าง 3 จังหวัดภาคใต้ซึ่งกำลังเป็นมิคสัญญี เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายที่ต้องร่วมมือช่วยเหลือกัน แนวทางที่เกิดขึ้นจากเวทีเรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ คือเรื่องของการสร้างความจริงจากพื้นที่โดยการใช้สื่อเป็นเครื่องมือนำไปสู่การเรียนรู้ในพื้นที่สาธารณะร่วมกัน รวมทั้งตัวตนของคนทำงานประชาสังคมจะต้องต้องยกระดับการพัฒนาในวิธีคิดและการวิเคราะห์เพื่อให้เท่าทันต่อ

 สภาพการณ์ของปัญหาที่บางปัญหาซับซ้อนจนยากที่จะมองเพียงแค่ภาพที่เห็นภายนอก

โดยสรุป การประชุม เมื่อวันที่ 10-11 พฤศจิกายน 47 ที่ผ่านมา ทำให้เห็นภาพที่เกิดขึ้นอย่างน้อย 4 ภาพด้วยกัน

1.   ภาพของการใช้โอกาสจากสภาพปัญหา เป็นเงื่อนไขต่อการเรียนรู้ และพัฒนาตัวตน

2.   การหลุดออกจากตัวตนและโครงการชีวิตสาธารณะเนื่องจากสภาพปัญหาที่เรียนรู้ร่วมกันนั้นใหญ่เกินกว่าจะเดินทางเพียงลำพังภายในโครงการ จำเป็นต้องประสานพลังจากพี่น้องและภาคีจากทุกส่วน โดยไม่ติดกับโครงการแต่เป็นสำนึกร่วมกันของสังคม

3.  เห็นแนวทางการเคลื่อนตัวไปข้างหน้า อย่างมีความหวังและอุดมการณ์ร่วมทางสังคม

4.  นวตกรรมการเรียนรู้ที่แท้ต้องมุ่งไปที่การเปลี่ยนฐานใจที่แข้งกระด้างสู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้เห็นใจในชะตากรรมของเพื่อนมนุษย์และมีความปรารถนาที่จะร่วมแก้ไขเยียวยา

ดังนั้น จากการพบปะพูดคุยร่วมกันในหลายๆครั้ง ของขบวนประชาสังคมใต้   หากมองอย่างถึงที่สุดแล้ว จะพบว่า เริ่มเข้าสู่ภาวะของความตีบตัน ไม่มีออกทางไป หลายคนรับรู้ แต่ไม่รู้ว่าภาวะที่ยังว่านั้นคืออะไร? อีกเช่นกันหลายคนเห็นว่าต้องแสวงหาหรือสร้างนวตกรรมการเรียนรู้ใหม่ ที่อยู่เหนือกาละ ขึ้นมา เป็นหน้ากระดานใหม่ เนื่องจาก กระบวนการเรียนรู้ในช่วงที่ผ่านมา เป็นการเรียนรู้บนฐานคิดแบบเหตุผลนิยม  มากกว่าบนฐานแห่งศรัทธา/สำนึก  ทำให้ไม่สามารถบรรลุถึง สนามแห่งพลังของความเป็นมนุษย์ได้

แบบเดิม

การดำเนินงาน

ยกขึ้นสู่บทเรียน

ค้นหาเหตุ/ข้อมูล

เหตุผลนิยม

เน้นที่การกระทำ/ดูผลจากกิจกรรม


แบบใหม่  สนามใหม่

ขยายผลอย่างสันติ

 ใคร่ครวญชีวิต-สังคม-การเมืองรวมหมู่

เรียนรู้ชีวิต/สังคม  

 สนามพลังแห่งชีวิต-สังคม

 กระบวนการแห่งชีวิต

 ศาสนธรรม-พระเป็นเจ้า

ศรัทธา / ชีวิต

ชีวิตสาธารณะบนความดีงามที่นอนน้อมต่อพระเจ้า และธรรมชาติแห่งสรรพสิ่ง (ศรัทธาคือกระบวนการของชีวิต)

 

         สนามใหม่ กระดานใหม่ ภาคพลเมือง จึงเป็นสนามที่อยู่บนฐานของการเข้าถึงแก่นแห่งความเป็นมนุษย์ที่แท้ โดยเริ่มจากศรัทธา ที่มากกว่าเหตุผล และเป็นสนามที่เคารพต่อความจริงที่เป็นสัทธรรม มากกว่าความจริงเชิงประจักษ์ หรือความจริงแบบเหตุผลนิยม และสนามใหม่จะต้องให้คุณค่ากับปัจเจกภาพบุคคลแต่ไม่ละเลยการรวมหมู่

          กระนั้น การเกิดขึ้นของสนามใหม่ตามแนวนี้ คล้ายดังกับการนำความจริงเดินย้อนทวนกาลเวลาซึ่งอาจมีอุปสรรคมากมาย ในระหว่างทาง  และความคิดนี้ก็ยังไม่ใช่ข้อยุติ

aaaaaa

     บันทึกการเดินทาง                                                      ธีรทัต  ศรีไตรรัตน์

 เดือนพฤศจิกายน 2547                                             โครงการชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่

Be the first to comment on "การขยับตัวของประชาสังคมใต้ เพื่อ สนามใหม่ กระดานใหม่"

Leave a comment

Your email address will not be published.