นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ฐานคิดสังคมไทยจากนี้ต้องคิดไปให้ไกลกว่าแค่หลัง “รัฐบาลทักษิณ” ถ้าเราคิดให้ไกล คิดกันใหญ่ และคิดกันให้ลึก สิ่งที่ควรคิดต่อไปคือ “โพสต์สุรยุทธ์ จุลานนท์” “โพสต์ คมช.” เราไม่ควรจะมองโลกแบบหลับตา ต้องมองเห็นอย่างที่มันเป็น ….
แล้วถ้าเรามองแบบนี้เราก็ควรมองไปที่โพสต์บุช โพสต์ แบลร์ ด้วย เพราะอีก 2 ปีมาแน่ๆ ถ้ามองอย่างนี้แล้ว ก็จะต้องมองเห็นโลกทั้งโลก ซึ่งเหตุการณ์เมื่อ 19 ธันวาคม 2549 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตัดสินใจทำอะไรไปโดยไม่เห็นความซับซ้อนของเรื่องราวต่างๆ แล้วผลลัพธ์มันก็ออกมาอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นถ้าเราจะคิดถึงเรื่องโพสต์ทักษิณ ผมคิดว่าต้องมองให้ไกลถึง 10 ปีเลย ก็คงจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจเตรียมความคิดของฐานที่จะปรับมันถึงจะได้ประโยชน์และคุ้มค่า ท่ามกลางสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งในโลกตะวันตก ตะวันออก ในเอเชีย ที่เกิดขึ้น และกำลังจะเกิดขึ้น มีแต่แนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวาย และผันผวน จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายที่ต้องคิดให้ไกลว่าประเทศไทยจะต้องทำอย่างไรกันบ้าง ซึ่งสิ่งที่ต้องมุ่งเน้นและทบทวนก็คือ เรื่องของความเป็นผู้นำ (leadership) ว่า ในสังคมไทยเรามีผู้ที่มีความเป็นผู้นำอยู่มากน้อยเพียงใด “ท้ายสุดการเปลี่ยนแปลงมันขึ้นอยู่กับ ผู้นำแต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่มีอำนาจใหญ่โต เป็นนายกรัฐมนตรีหรือปลัดทั้งหลาย ผมยึดตามกลุ่มที่ทำเรื่อง learning organization เขาจะนิยาม ผู้นำเป็นเรื่องของกลุ่มบุคคลใดก็ตามเขาก็สามารถเป็น ผู้นำได้ถ้าเขาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่เกิดขึ้นในสังคมที่ทำให้คนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์ เราถือว่าคนนี้เป็นผู้นำแล้ว” “leadership” ในสังคมไทยยังเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงและท้าทาย อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ทางการเมือง เนื่องจากยังคงมีการจับขั้วการเมืองของกลุ่มคนที่อยู่ในแวดวงการเมืองมาหลายสิบปี สิ่งที่เราดูได้เลยก็คือจะมีแนวโน้มของสัมภเวสีทั้งหลายจะมารวมตัวกันอีกครั้ง ซึ่งเป็นคนที่อยู่ในแวดวงการเมืองมา 30 ปี 20 ปี แต่ก็ไม่เคยมีความคิดที่ใหม่ๆ ขึ้นมาเลย นอกจากการผลัดกันผสมพันธุ์ จนลูกออกมาจำหน้าตากันไม่ได้แล้วว่ามันคืออะไร แล้วก็ยังผสมพันธุ์กันไปเรื่อยๆ ยังผลิตมนุษย์ประหลาดๆ ออกมา เข้ามาเป็นผู้นำทางการเมือง มานำในระดับชาติ ทางมหาวิทยาลัยก็มี ทางเทศบาลก็มี ก็มีสายพันธุ์ชั่วๆ แบบนี้กระจายอยู่ทั่วไปหมด นี้คือความจริงของสังคมไทยในปัจจุบัน” ความสามารถในการปรับตัว มูลเหตุแห่งความล่มสลาย นายชัยวัฒน์ได้กล่าวถึงสาเหตุของการล่มสลายที่ได้มีการพูดถึงในหนังสือ Collapse ของแกเร็จ ไดร์มอน ว่า ความล่มสลาย มีสาเหตุมาจากหลายๆ อย่าง สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ความสามารถในการปรับตัวการตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบด้าน ถ้าสังคมใดก็ตามขาดตรงนี้ ก็อยู่ยาก ซึ่งทำให้ต้องกลับไปคิดทบทวนว่าสังคมไทยวันนี้มีความสามารถในการตอบสนองจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน “ผมอยากบอกว่า ก็มีอยู่ในระดับหนึ่งบางส่วน ในระดับตำบล ในระดับหมู่บ้านมีอยู่ ตรงโน้นบ้างตรงนี้บ้างมีอยู่ แต่กระจัดกระจาย แต่ในระดับชาติ ระดับบนนี้ ผมแทบจะไม่เห็น เพราะฉะนั้นการสร้าง collective intelligent ปัญญาร่วมของสังคม เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เราสามารถตอบสนองและริเริ่มในสิ่งใหม่ๆ ด้วย” นายชัยวัฒน์กล่าวว่า การกระตุ้นให้ภาคการเมืองเกิดการเรียนรู้ สิ่งสำคัญลำดับแรกก็คือ ต้องทำให้เกิดกระบวนการ transformational change หรือ systematic change ซึ่งจะเป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วให้ไปกระทบต่อเขา ส่วนจะกระทบในลักษณะไหน ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เคยเกิดมา เช่น การเดินประท้วง การวิพากษ์วิจารณ์ หรือสร้างเวทีพูดคุย มีความสัมพันธ์ด้านบวก ก็ต้องทำทุกทางเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ให้ได้ อย่างไรก็ตามจากนี้วิธีการเดิมๆ อาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง โดยผู้ที่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีการด้วยrethink-reframe-redefine สู่การเป็นประชาธิปไตยทุกวัน สำหรับขั้นตอนในการปรับความคิดสู่อนาคต ภายในช่วง 1-2 ปีนี้ สิ่งที่ควรจะต้องทำให้ได้ ก็คือ rethink reframe redefine เรื่องของการเป็นประชาธิปไตย “ประชาธิปไตยเนี่ยคือไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง ไม่ใช่แค่เรื่องของนักการเมือง แต่เขาก็ไม่รู้ว่าคำว่าประชาธิปไตยนั้นจริงๆ มันกินความแค่ไหน ถ้าเราให้การเมืองเป็นเรื่องของการเลือกตั้งของรัฐสภา หรือรัฐธรรมนูญ เรื่องของรัฐบาลกลาง ประชา ธิปไตยก็แคบนิดเดียว แค่เข้าไปกาบัตรก็เสร็จกัน แล้วเราก็คอยตรวจสอบกัน คอยวิพากษ์วิจารณ์กันว่ามันเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ แต่ประชาธิปไตยที่แท้มันต้องเป็น everyday life เป็นประชาธิปไตยที่ทุกคนมีความสุข ทุกคนมีส่วนร่วม” นอกจากนี้เราควรจะต้องหาทาง redesign กระบวนการเพื่อสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ให้มาสนทนาการแลกเปลี่ยนกันอย่างมีเหตุมีผล มีปัญญา เพราะปัญหาของประเทศต้องการสมองที่ใหญ่มาแก้ ซึ่งก็ต้องเกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำ “อยากเห็นประชาธิปไตยเกิดขึ้นทุกวันในลักษณะ democracy is everyday life ซึ่งประเทศไทยควรที่จะมี public space เพื่อให้เกิด human interaction เปิดโอกาสให้สาธารณชนมาใช้ชีวิตร่วมกัน มาเจอกัน มาพบปะพูดคุยกัน ก็จะทำให้คุณภาพชีวิตดี ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญ” |
|||
ที่มา : นสพ.ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 08 มกราคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3860 (3060) หน้า 4 |
Be the first to comment on "ปรับฐานคิดสังคมไทย"