“ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 กำหนดให้ กสช.เป็นผู้อนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่นโดย….
โดย webmaster www.thaibja.org
|
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2547 ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น คณะกรรมาธิการการสื่อสารโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร จัดการสัมมนาเรื่อง “ปัญหาการดำเนินงานวิทยุชุมชน” มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 500 คน โดยมีวิทยากร ร่วมงานได้แก่ 1 .นายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการ การสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร เริ่มต้นเปิดการสัมมนาโดย นายเชน เทือกสุบรรณ รองประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม กล่าวรายงานว่า “การจัดสัมมนาในครั้งนี้ เนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ในด้านการแแสดงความคิดเห็น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและก่อให้เกิดความเข้าใจกัน ระหว่างบุคคลในภาครัฐและประชาชน”
เวทีสัมมนา “ปัญหาการดำเนินการวิทยุชุมชน” ตัวแทนวิทยุชุมชน ยืนยัน ไม่ต้องการโฆษณา ขณะที่สว.เจิมศักดิ์ ตำหนิการทำงานกรมประชาสัมพันธ์ กำลังทำผิดกฎหมาย จงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อเกื้อหนุนให้วิทยุชุมชนเติบโต โดยไม่แสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ แนะให้ลดท่าทีจากการควบคุมเป็นส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของภาคประชาชน ส่วนกรรมาธิการการสื่อสารฯ สภาผู้แทน เสนอยืดเวลารับจดทะเบียน ด้านนายกฤษณะพร เสริมพานิช ผู้อำนวยการ กองงาน กกช. กรมประชาสัมพันธ์ “ผมไม่สบายใจที่กรมประชาสัมพันธ์ กำหนดให้วิทยุชุมชนมีโฆษณาได้ 6 นาที เพราะขัดกับหลักการของกฎหมายและเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ในมาตรา26 ของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ระบุชัดว่า ภาคประชาชน ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะและไม่แสวงหาผลกำไรในทางธุรกิจ การให้มีโฆษณา ใครจะตอบได้ว่า แค่ไหนจึงจะพอดีทุน ไม่ค้ากำไร 3 นาที หรือ 5 นาที ผมก็ทำให้มีกำไรได้ หากทำรายการดีๆแล้วขายโฆษณาแพง กรมประชาสัมพันธ์ จะมาบอกว่า ฉันรู้ดีว่าแค่ไหนกำไรหรือไม่ ไม่ได้ อย่างนี้ถือว่าทำผิดกฎหมาย จงใจ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่ควรทำตามกฎหมาย หากมีการทำผิด กรรมาธิการ คงต้องดำเนินการตรวจสอบและเอาจริงแน่ เพราะประชาชนเลือกให้เรามาทำหน้าที่นี้” ประเด็นต่อมาที่เป็นปัญหาและทำให้เกิดการกำหนดแนวทางที่ไม่เหมาะสม คือ ท่าทีของกรมประชาสัมพันธ์ต่อ การเรียนรู้ภาคประชาชนซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เห็นได้จากเงื่อนไขที่ระบุในการรับจดทะเบียน เช่น ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท เงินมัดจำ5,000 บาท ชาวบ้านที่อาสาสมัครมาทำวิทยุชุมชนจริงๆ จะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดให้ต้องส่งผังรายการล่วงหน้า การสอบใบผู้ประกาศ เป็นต้น ทั้งหมดคือการควบคุม ไม่ใช่ส่งเสริม หรือเอื้ออำนวยให้การปฏิรูปสื่อเป็นจริง “หากเปรียบกรมประชาสัมพันธ์เป็นครู ชาวบ้านคือนักเรียน วิธีสอนแบบนี้คือแบบครูเก่าๆ บังคับ สร้างกฎเกณฑ์ วิธีเรียนสมัยใหม่ เขาจะปล่อยให้เด็กไปทำงานแล้วกลับมาวิพากษ์วิจารณ์ เสนอแนะแลกเปลี่ยนความเห็นกัน.ต่างหาก ทำอย่างนี้ เท่ากับกรมประชาสัมพันธ์กำลังควบคุมพระ ควบคุมชาวบ้าน ไม่ใช่สอนให้เขาทำงานเป็น ส่วนการสอบใบผู้ประกาศ ทำไมรัฐต้องไปกำหนดระเบียบแบบนี้ ในเมื่อชาวบ้านเขาต้องการสื่อสารกันเอง หากใครจัดไม่ดี ก็ควรให้พวกเขาควบคุมกันเอง ไม่ใช่รัฐต้องเข้าไปจัดการ” “โดยหลักการแล้ว วิทยุชุมชน ต้องอยู่ในที่ ซึ่งชาวบ้านเข้าถึงได้ง่าย เพื่อจะได้ไปจัดรายการหรือออกอากาศได้สะดวก ไม่จำเป็นต้องติดแอร์ เปรียบเทียบง่ายๆ ของของเรา เราต้องให้คนอื่นเขามารับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยหรือ ถ้าที่บ้านมีโทรทัศน์สักเครื่อง สิ้นเดือนต้องให้คนอื่นเขามาจ่ายค่าไฟให้ หรือเราต้องเป็นคนจ่ายเอง วิทยุชุมชนก็เช่นกัน ในเมื่อเป็นของชุมชน ชาวบ้านก็ต้องช่วยกัน ถ้าเขาดูแลค่าใช้จ่ายไม่ได้ ก็ควรปิดไป” |
Be the first to comment on "ปัญหาการดำเนินงานวิทยุชุมชน"