เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2548 25 องค์กรประชาสังคมแลนักวิชาการร่วมแถลงการณ์เขตเศรษฐกิจพิเศษ คัดคั้านพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ …พร้อมยื่น 3 ข้อเรียกร้องให้รัฐบาลต้องยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 มกราคม 2548 …
แถลงการณ์ภาคประชาชน |
||
ตามที่รัฐบาลรักษาการณ์ได้ผลักดันร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยรัฐบาลได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 รับหลักการของร่างกฎหมายดังกล่าว และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าวขัดต่อเจตนารมณ์และสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ นับตั้งแต่มาตราที่ ๑ ที่บัญญัติว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกไม่ได้ ” และยังล่วงละเมิดต่ออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ และอำนาจบริหาร หลักการถ่วงดุลระหว่างอำนาจทั้ง ๓ ส่วน สร้างผลกระทบต่อหลักการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น หลักสิทธิและเสรีภาพของประชาชน หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน ยิ่งกว่านั้นกฎหมายฉบับนี้ เป็นเครื่องมือในการโอนถ่ายอำนาจของประชาชน ไปสู่อำนาจของคณะบุคคลหรือบุคคลเพียงคนเดียวที่จะใช้อำนาจ แสวงหาผลประโยชน์ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ดังมีรายชื่อแนบท้ายของเอกสารฉบับนี้ได้ร่วมกันวิเคราะห์ร่างกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยละเอียดรอบด้านในหลายมิติ และมีความเห็นร่วมกันว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ 2. กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจแก่เขตเศรษฐกิจพิเศษในการถอนสภาพที่สาธารณะสมบัติทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นที่ป่าสงวน อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ไปถึงที่ธรณีสงฆ์ ซึ่งอาจรวมไปถึงที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ให้มาเป็นสมบัติของเอกชนเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ได้โดยไม่จำกัด 3. กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษนำไปสู่การละเมิดพระราชอำนาจเนื่องจาก ให้อำนาจแก่เขตเศรษฐกิจ หรือคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจพิเศษ ในการแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางนิติบัญญัติของรัฐสภา รวมทั้งให้อำนาจในการตัดสิน บังคับคดี โดยไม่ผ่านกระบวนการทางทางตุลาการ 4. ร่างกฎหมายฉบับนี้ ให้อำนาจและสิทธิพิเศษแก่นักลงทุนต่างชาติ ในการลงทุนในทุกๆ ด้านอย่างไร้ขอบเขต เป็นช่องทางในการประกอบธุรกิจที่ยังไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายไทย ทั้งในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และบริการ เช่น บ่อนกาสิโน การปลูกพืช GMOs การบริการด้านการเงิน ฯลฯ ซึ่งเท่ากับเป็นการยินยอมตามข้อเรียกร้องที่อยู่ในการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรี ( FTA) 5. ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ปฏิเสธการใช้หรือยกเว้นการใช้กฎหมายสำคัญๆ ของไทยเกือบทุกฉบับที่เป็นอุปสรรคในการแสวงหาประโยชน์ ในทุกพื้นที่ที่ถูกกำหนดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น กฎหมายอุทยานแห่งชาติ กฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายชลประทานราษฎร์ กฎหมายแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายผังเมือง กฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติสงฆ์ 6. กฎหมายนี้ ยังละเมิดสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานของคนไทยในด้านต่างๆ และรวมไปถึงการละเมิดสิทธิของแรงงานต่างด้าวอีกด้วย ดังนั้น เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนและภาคประชาสังคม มีข้อเรียกร้องดังนี้ 2. รัฐบาลต้องยึดมั่นต่อแนวทางการกระจายอำนาจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดการพัฒนาท้องถิ่นและการพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง 3. รัฐบาลต้องเคารพต่อหลักการความโปร่งใสในการกำหนดนโยบายสาธารณะ องค์กรประชาชนทั้งที่มีรายชื่อแนบท้ายนี้และที่มีอยู่ทั่วประเทศ ร่วมกับผู้รักในอธิปไตยของประเทศ
|
||
รายชื่อองค์กรร่วมลงนามในแถลงการณ์ 1. สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม 2. สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย 3. สมาคมนักผังเมืองไทย 4. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล 5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 6. สมัชชาคนจน 7. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) 8. โครงการยุทธศาสตร์นโยบายฐานทรัพยากร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 9. โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม 10. เครือข่ายสิ่งแวดล้อม 48 11. เครือข่าย 30 องค์กรพัฒนาเอกชนต้านคอรัปชั่น 12. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก 13. สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค 14. คณะทำงานโลกาภิวัตน์ 15. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA WATCH) 16. กลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม 17. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย 18. เครือข่ายสลัมสี่ภาค 19. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ และเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ 20. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน 21. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 22. ศูนย์การศึกษาการใช้ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงสมัยโลกาภิวัตน์ (จ.นครนายก) 23. โครงการเสริมสร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา ภาคใต้ 24. องค์กรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาไทย 25. ชมรมศิษย์เก่าบูรณะชนบทและเพื่อน ( RRAFA |
||
|
Be the first to comment on "พ.ร.บ. เขตเศรษฐกิจพิเศษใครได้ประโยชน์"