พลิกฟื้นชีวิตคนลำพูนและสายน้ำลี้ ผ่าน “ประเพณีแห่ช้างเผือก”

ลำพูน จังหวัดเล็กแต่เปลี่ยนแปลงเร็วจนใครก็คาดไม่ถึง ซ้ำร้ายกับสถานการณ์และปัญหาที่รุมล้อมจนความเป็นท้องถิ่นแทบจะถูกกลืนหาย โดยเฉพาะกับ ลุ่มน้ำลี้

23 มีนาคม 2550 โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (Media Monitor) รายงานผลการวิจัยรอบที่ 12 เรื่อง โทรทัศน์ไทยมองผู้ชมเป็นผู้บริโภค (consumer) หรือพลเมือง (Citizen) ที่ห้อง 209 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากการศึกษารายการโทรทัศน์ในแต่ละช่องตลอด 24 ชั่วโมงด้วยการใช้แนวคิดเรื่อง การมองผู้ชมเป็นผู้บริโภคหรือพลเมือง (Consumer VS Citizen) พบว่าการศึกษาดังกล่าวให้ภาพสะท้อนที่ชัดเจนว่าสถานีโทรทัศน์ของไทยยังตกอยู่ในอิทธิพลอำนาจรัฐ และอำนาจทุน จากสถานีโทรทัศน์ทั้งหมด 6 ช่องนั้นมีภาครัฐดำเนินการเอง 3 ช่อง อีก 3 ช่องเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ภาครัฐให้สัมปทานภาคธุรกิจเอกชนดำเนินการ

การสำรวจพบว่า เนื้อหารายการโดยเฉลี่ยในทุกช่องสถานีนั้น รายการที่ผู้ชมให้ความสนใจมากที่สุดคือ รายการประเภทแม็กกาซีน เฉลี่ยรวม 30.9 % (3.297 นาที/สัปดาห์) รองลงมาคือรายการข่าว เฉลี่ยรวม 27.2% (1,426 นาที/สัปดาห์) อันดับที่ 3 คือรายการละคร ซิทคอม ภาพยนตร์ การ์ตูน เฉลี่ยรวม 17.0 % (915 นาที/สัปดาห์) ส่วนอันดับอื่นๆ ได้แก่ รายการสารคดี รายการสนทนา และรายการโชว์ต่างๆ นอกจากนี้ในการเปรียบเทียบรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหามองผู้ชมเป็นผู้บริโภคเฉลี่ย คือ 69.4 % ขณะที่ดัชนีการรับชมรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหามองผู้ชมเป็นพลเมืองมีเพียง 30.6 %

ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการอธิบายว่า หากมีคนดูโทรทัศน์ในฟรีทีวี 10 คน 7 ใน 10 จะเลือกชมรายการที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค ขณะที่มีเพียง 3 คนเท่านั้นที่ชมรายการที่มองผู้ชมเป็นพลเมือง และ 5 ใน 10 คนเลือกรับชมจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 และช่อง 3

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ /จุดประกาย
23 มีนาคม 2550

Be the first to comment on "พลิกฟื้นชีวิตคนลำพูนและสายน้ำลี้ ผ่าน “ประเพณีแห่ช้างเผือก”"

Leave a comment

Your email address will not be published.