ร่วมสร้างสำนึกสาธารณะผ่านประเพณี…ตามวิถีคนพิษณุโลก

การจะสร้างสำนึกสาธารณะที่นำไปสู่การมีชีวิตสาธารณะที่เข้มแข็งและน่าอยู่ให้กับท้องถิ่นเช่นพิษณุโลกได้เลือกที่จะยืนบนจุดแข็งซึ่งท้องถิ่นมีอยู่เดิม นั่นคือ ทุนทางวัฒนธรรม ประเพณี วิถีพื้นบ้าน ซึ่งบ่งบอกความเป็นประวัติศาสตร์อันชัดเจนของเมือง…

เวทีมีเดียมอนิเตอร์พบโฆษณาเหล้าทางทีวีสะท้อนความอ่อนแอของกลไกรัฐ
และระบบสื่อโทรทัศน์ที่เอื้อประโยชน์ทุนมากกว่าสังคม

มีเดีย มอนิเตอร์ 16 มีนาคม 2550

 

นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ ชี้ธุรกิจเหล้า ใช้การสร้างภาพผ่านทูตของสินค้า สร้างความน่าเชื่อถือโดยทุ่มโฆษณาในรายการข่าว สารคดี ออกกฏหมาย Total Ban ให้ครอบคลุมไปถึงการโฆษณาทั้งใน-นอกพื้นที่สื่อ

นักวิชาการด้านกฎหมาย ระบุว่าหลักเกณฑ์การกำกับ หรือ Code of conduct ต้องถือตามเจตนารมย์แรก คือ มติคณะรัฐมนตรี ส่วนประกาศของ อย. และกรมประชาสัมพันธ์ เป็นไปตามวัฒนธรรมกฎหมายแบบไทย ๆ (legal culture) เพราะเป็นประกาศที่มีดุลยพินิจแตกต่างไปจากเจตนารมย์ดั้งเดิม.ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบสื่อและภาครัฐกับการควบคุมกฏหมายที่สร้างประโยชน์ให้กลุ่มทุนแต่สร้างผลเสียให้ทุนทางสังคม

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา(ศวส.) เห็นว่า การลงชื่อของกลุ่มทุนเพื่อการควบคุมกันเอง (CSR) นั้นไม่ได้มีการปฏิบัติอย่างแท้จริง กฏหมายที่ห้ามการโฆษณาเฉพาะผลิตภัณฑ์ (Partial Ban)ก็ไม่ได้ผล จึงควรออกกฏที่เป็นการห้ามโฆษณาทั้งผลิตภัณฑ์และองค์กร (Total Ban) จึงจะได้ประสิทธิผล รวมถึงไม่ควรยอมให้มีการออกกฏของกลุ่มทุนหรือองค์กรเองด้วย เพราะจากการศึกษาชี้ให้เห็นความล้มเหลวของการปฏิบัติตาม CSR ของกลุ่มทุนหรือองค์กร

ที่ห้องประชุมมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (15 มีค.50) ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสังคม หรือ มีเดียมอนิเตอร์ ได้นำเสนอผลการศึกษา”โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสื่อฟรีทีวี” ซึ่งทำการศึกษาการโฆษณาแฝง/ตรงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทางโทรทัศน์ฟรีทีวี (ช่อง 3, 5, 7, 9, 11 และ ITV) ตลอด 24 ชั่วโมง ใน 4 ช่วงเวลา คือ สัปดาห์ที่ 1: ระหว่างวันที่ 20-26 พฤศจิกายน 2549 สัปดาห์ที่ 2: ระหว่างวันที่ 21- 27 ธันวาคม 2549 สัปดาห์ที่ 3: ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2549 – 3 มกราคม 2550 สัปดาห์ที่ 4: ระหว่างวันที่ 11-17 กุมภาพันธ์ 2550 ทั้งนี้ ช่วงเวลาที่ทำการศึกษา อยู่ในระหว่างที่มีการผลักดันเรื่องการห้ามโฆษณาและเผยแพร่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางสื่อทุกชนิด ที่ทำให้เกิดการรวมตัวเพื่อแสดงกลไกควบคุมกันเองของผู้ประกอบการธุรกิจแอลกอฮอล์ ขณะเดียวกันก็เป็น ช่วงสิ้นปี ที่มีการรณรงค์ “เจ็ดวันอันตราย” และ มีเทศกาลพิเศษต่างๆ ช่วงสิ้นปี ต่อเนื่องต้นปี

วัตถุประสงค์เพื่อทราบปริมาณ และ รูปแบบการโฆษณาตรงและแฝงในทุกช่องสถานี เพื่อตรวจสอบว่าเข้าข่ายละเมิดกฎหมาย หรือระเบียบเกี่ยวข้องอย่างไร ทั้งนี้ วิเคราะห์ตามมติคณะรัฐมนตรี29 ก.ค.2546 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ลงวันที่19 ก.ย. 2546 และ ประกาศกรมประชาสัมพันธ์ 25 ก.ย.2546 โดยยึดการตีความตามเจตนารมณ์เบื้องต้นของมติคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก

ที่มา : www.thaibja.org

รายละเอียด ผลการศึกษาแอลกอฮอรล์ทางโทรทัศน์

Be the first to comment on "ร่วมสร้างสำนึกสาธารณะผ่านประเพณี…ตามวิถีคนพิษณุโลก"

Leave a comment

Your email address will not be published.