ศูนย์การเรียนรู้เมืองน่าอยู่ ที่เทศบาลเมืองระนอง

ระนองแม้จะเป็นเมืองขนาดเล็ก แต่ก็มีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก อย่างเช่น ที่แหล่งน้ำแร่ร้อนธรรมชาติ บริเวณสวนสาธารณะรักษะวาริน เป็นแหล่งน้ำแร่เก่าแก่ ที่เทศบาลเมืองระนองได้พัฒนาศักยภาพน้ำแร่ ควบคู่กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของประชาชน โดยอาศัยศักยภาพของน้ำแร่ชูนโยบาย กระจายน้ำแร่ กระจายความเจริญ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ควบคู่กับการกำหนดวิสัยทัศน์เมืองระนองเป็น เมืองเพื่อสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

Healthy City Learning Center
ศูนย์การเรียนรู้เมืองน่าอยู่ ที่เทศบาลเมืองระนอง

เพลงเราคนระนอง

“ช่างสุขใจที่ได้เกิดในเมืองระนอง สุขสมปองเพราะระนองเราร่มเย็น ชาวประชาล้วนทำมาหากิน หาทรัพย์ในดินหาสินในเลทอง…….”

 

วีระ วงศ์กสานติ์สุข
ชุมชนบางส้าน

“เป็นเมืองที่น่าอยู่จริงๆ เป็นเมืองที่สบายๆ ถึงเป็นเมืองเล็กแต่ก็เป็นเมืองที่น่าอยู่ บรรยากาศ สิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ บางแห่งที่มีเงินมากมายแค่ไหนก็ซื้อไม่ได้”

 


วรรณา แจ่มกระจ่าง
ประธานชุมชนพ่อตาขิง

“เมืองระนองเป็นเมืองเล็ก และก็มีธรรมชาติที่สวยงาม อยู่กันอย่างสงบไม่ค่อยมีอาชญากรรมเหมือนเมืองอื่น ๆ โดยมากผู้คนจะอยู่กันอย่างยิ้มแย้มแจ่มใสมีความสุข มีงานทำกันเป็นส่วนมาก”

 

เกียรติศักดิ์ หงส์หาญ
เจ้าของล้านอาหารคุ้นลิ้นกาแฟสด

“ระนองน่าอยู่ครับ ประชากรน้อยไม่พลุกพล่าน ไม่วุ่นวายอยู่กันแบบใครใคร่ค้าก็ค้า อิสระ เชื้อชาติเผ่าพันธุ์เยอะแยะ หลายศาสนา หลายจังหวัดมาอยู่รวมกันในจังหวัดระนอง”

 

เทพฤทธิ์ ดีหล่า
ประธานชุมชนสหพันธ์
“ระนองเป็นเมืองที่น่าอยู่มากในความเห็นของผม เป็นเมืองที่สงบเป็นเมืองที่มีธรรมชาติค่อนข้างสมบรูณ์”

 

เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำแร่ สวนสาธารณะรักษะวาริน

บรรยาย 1เนื้อหาของเพลงเราคนระนอง สอดคล้องอย่างยิ่งกับคำยืนยัน ที่คนระนอง รู้สึกภาคภูมิใจ ถึงความน่าอยู่ของบ้านเมืองตนเอง ที่แม้จะเป็นเมืองขนาดเล็ก แต่ก็มีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก อย่างเช่น ที่แหล่งน้ำแร่ร้อนธรรมชาติ บริเวณสวนสาธารณะรักษะวาริน เป็นแหล่งน้ำแร่เก่าแก่ ที่เทศบาลเมืองระนองได้พัฒนาศักยภาพน้ำแร่ ควบคู่กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของประชาชน โดยอาศัยศักยภาพของน้ำแร่ชูนโยบาย กระจายน้ำแร่ กระจายความเจริญ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ควบคู่กับการกำหนดวิสัยทัศน์เมืองระนองเป็น เมืองเพื่อสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งประชาชนและบุคคลทั่วไปสามารถไปใช้บริการ ได้ตลอดเวลาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

สุทธิเดช จันทวิชานุวงษ์
นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองระนอง
“ถ้าท่านมาระนองจะเห็นว่าธรรมชาติเราสวยงามมาก เราเป็นเมืองในหุบเขาทางใต้มีน้อยมากเมืองในหุบเขา คล้ายว่ายกเชียงใหม่มาไว้นี่ ยกภูเก็ตมารวมกันอยู่ทีระนองมีทั้งหาดทราย แสงแดด ทะเล มีทั้งภูเขา มีทั้งน้ำตก เพราะงั้นอากาศจะมีดีมาก เป็นเมืองที่น่ามาอยู่ เป็นเมืองที่น่ามาพักผ่อน โดยเฉพาะการพักผ่อนระยะยาว เป้าหมายของเราคือเป็นเมืองพักผ่อนของผู้สูงอายุจากทั่วโลกมาพักผ่อนกันที่นี่ เป็นเมืองสุขภาพ”
เกียรติศักดิ์ หงส์หาญ
เจ้าของล้านอาหารคุ้นลิ้นกาแฟสด

“เรื่องของสุขภาพรับประกันได้ครับเรื่องน้ำแร่ อยู่นี่มา 10 ปี ทำร้านอาหารอยู่ที่บ่อน้ำร้อน ลูกค้าที่มารักษาตัวเรารู้ดีมากว่าหายกันเยอะมากเรื่องอัมพฤต อัมพาต”

 

ศูนย์การเรียนรู้เมืองน่าอยู่

บรรยาย 2นอกจากความน่าอยู่ที่ธรรมชาติได้เอื้ออำนวย ผสานกับการจัดการของเทศบาลที่ลงตัวแล้ว เรื่องราวการทำเมืองให้น่าอยู่ ของเทศบาลเมืองระนอง ยังได้ถูกต่อยอด ยกระดับขึ้นเป็นศูนย์การเรียนรู้เมืองน่าอยู่ เพื่อถ่ายทอดให้กับบุคคล หรือหน่วยงานที่สนใจอีกด้วย

 

ปรมัตถ์ ปัญญาเตชะตกุล
รักษาการผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคมเทศบาลเมืองระนอง

“เราก็ไม่อยากจะเก็บความน่าอยู่หรือเรื่องราวของเราในกระบวนการจัดการตรงนี้ไว้ที่ตัวเราอย่างเดียว เพราะฉะนั้นมันจะต้องสร้างเป็นองค์ความรู้ที่สามารถถ่ายทอดได้ให้กับคนที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานเทศบาลด้วยกันหรือว่าจะเป็นหมู่บ้านชุมชนจากที่อื่น…นี่คือ แนวคิดในการที่จะทำให้เทศบาลเมืองระนองของเราเนี่ยเป็นศูนย์เรียนรู้สำหรับที่อื่นด้วย”

 

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน

บรรยาย 3ภายในศูนย์การเรียนรู้เมืองน่าอยู่ ที่ตั้งอยู่บริเวณสำนักงานเทศบาล นอกจากจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิชาชีพ และการเรียนสายสามัญ ของเยาวชนและคนในชุมชน ซึ่งรับผิดชอบโดยเทศบาลร่วมกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ที่ร่วมกันพัฒนาให้ศูนย์แห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต เกิดประโยชน์กับชุมชนอย่างแท้จริง

 

สุภาณี มะหมีน
ครูศูนย์การเรียนชุมชนเทศบาลเมืองระนอง
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

“เราจะมีวิชาชีพที่เปิดให้เรียนตรงนี้แล้วก็มีการเรียนสายสามัญแล้วก็มีการพบปะแลกเปลี่ยนกันตรงนี้ แล้วก็จะมีการนำกลุ่มนักศึกษากลุ่มนี้กลุ่มที่ชาวบ้านมาอยู่ ณ ตรงนี้ เราได้ลงพื้นที่แต่ละชุมชนด้วย ได้การทำโครงการเทศบาลพบประชาชนที่ร่วมกับเทศบาลที่เทศบาลทำโครงการมา ส่วนของนักศึกษา ส่วนของทีมงานการอาชีพก็จะทำงานร่วมกับเทศบาล ก็ดีมากๆ เลย จากที่ว่าตรงนี้ ไม่มีใครเคยรู้จัก กลับกลายมามีคนรู้จักและเพิ่มบุคคลากรทางการศึกษา ก็มีคนอยากจะมาเรียนอีกเยอะพอมาเห็นสถานที่ตรงนี้เห็นแหล่งเรียนรู้ตรงนี้ มีหลายอย่าง พอหลังจากนั้นเราก็ทำให้เกิดกลุ่มวิชาชีพ ต่อไปเราคงทำให้เกิดกลุ่มวิชาชีพในศูนย์นี้ให้ดียิ่งขึ้น”

 

ปรมัตถ์ ปัญญาเตชะตกุล
รักษาการผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคมเทศบาลเมืองระนอง

ผมมองว่าการเป็นศูนย์เรียนรู้ไม่น่าจะให้ความสำคัญเฉพาะในลักษณะของการเป็นห้องเรียนที่จะมีนิทรรศการเรื่องราวต่างๆ อยู่แคนั้น แต่การเป็นศูนย์เรียนรู้จะต้องมีการเรียนรู้ในพื้นที่จริง ในกิจกรรมจริงร่วมกัน เพราะฉะนั้นนอกจากเรามีศูนย์เรียนรู้ที่เป็นห้องสำหรับเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารมีนิทรรศการ มีเรื่องราวของการทำเมืองน่าอยู่ของจังหวัดระนองของเราว่าเป็นอย่างไร เราก็ยังมีกิจกรรมในพื้นที่ เช่น กิจกรรมชุมชนเข้มแข็งในมิติต่างๆ ซึ่งจะผูกร้อยเรื่องราวของมิติต่างๆ ไว้ตามจุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้บ่อน้ำแร่ เรื่องราวของวัฒนธรรมการใช้วิถีชีวิตก็จะผูกร้อยอยู่กับเส้นทางหรือจุดเรียนรู้ของเรา ที่จะให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจได้เข้าไปเรียนรู้จริงๆ กันที่นั่น

 

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

บรรยาย 4ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จุดการเรียนรู้ที่อยู่ไม่ห่างจากสำนักงานเทศบาล สำหรับคนที่สนใจมาศึกษาดูงาน ในเรื่องของการดูแลผู้สูงอายุ ก็จะเห็นได้ว่าที่นี่ให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ภายในศูนย์จะมีกิจกรรมต่างๆ มากมายไว้รองรับ เช่น ห้องออกกำลังกาย ห้องปฏิบัติธรรม ห้องสันทนาการ มีบริการนวดแผนไทย ซึ่งก็จะมีผู้สูงอายุแวะเวียนมาสมัครเข้าเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ และเข้ามาใช้บริการทุกวัน

 

วีระ วงศ์กสานติ์สุข
ชุมชนบางส้าน อ.เมือง จังหวัดระนอง
“ที่นี่ก็มีชมรมผู้สูงอายุ ผมก็เข้าไปเป็นสมาชิก มันมีกิจกรรมบางอย่าง ถ้าว่างก็เข้าไปร่วม

ก็มีการรณรงค์การเก็บขยะ ขยะรีไซเคิล ขยะย่อยสลายได้ก็ว่ากันไป ช่วงหลังๆ เทศบาลก็มีอะไรต่อมิอะไรดีขึ้นมากไม่เหมือนสมัยก่อนที่อยู่กันอย่างงั้นอย่างงั้น มีการออกกำลังกาย มีการนั่งสมาธิ มีสถานที่สำหรับชุมนุมใครว่างก็ไป ก็จะจัดประชุมเดือนละครั้งอะไรอย่างนี้ อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้ผู้สูงอายุที่ไม่มีอะไรทำไม่เหงา

 

บรรยาย 5 ในส่วนของคนที่มาดูแลผู้สูงอายุนั้น เทศบาลก็ได้คนที่มีจิตอาสา ที่ไม่หวังค่าตอบแทน สลับสับเปลี่ยนมาคอยเป็นพี่เลี้ยง พูดคุย ดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิดทุกวัน

 

ติ๋ม พังสาลี
พี่เลี้ยงผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองระนอง
“มันก็ได้ร่วมกับเพื่อนๆ หลายคน ก็คิดว่าเราก็ว่างงานวันไหนเราว่างเราก็มาเค้าไม่ได้มีการบังคับว่าเราจะต้องมานะ เราว่างวันไหนเราก็มาเราก็เปลี่ยนเวรกันมาทำกับข้าวบ้าง มาดูแลผู้สูงอายุก็ดีถ้ามีอย่างนี้ก็ดี เพราะคนแก่บ้างคนลูกหลานก็ไปทำงานอยู่บ้านคนเดียว อยากจะมาหาเพื่อนคุย”
พรทิพย์ พรหมพรัต
พี่เลี้ยงผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองระนอง

“แบบนี้มาอยู่เป็นเพื่อนกับผู้สูงอายุ คุยสนุกเฮฮากันตามประสาผู้สูงอายุกับพี่เลี้ยงไม่มีค่าตอบแทนอะไรทั้งสิ้นมาด้วยใจ เต็มใจที่จะมาดูแลผู้สูงอายุ เพราะว่าคิดถึงแม่”

 

ชุมชนสหพันธ์ การจัดการขยะ อสปช. อาสาสมัครป้องกันชุมชน และสวัสดิการชุมชน
บรรยาย 6 จุดการเรียนรู้ต่อมา ในเรื่องของการมีส่วนร่วมของชุมชน จากการที่ชุมชนสหพันธ์ไม่เห็นด้วยกับการตั้งถังขยะไว้หน้าบ้าน และการจัดเก็บค่าขยะของเทศบาล ชุมชนจึงได้เสนอวิธีการจัดการขยะด้วยตนเอง ซึ่งเทศบาลก็เปิดโอกาส พร้อมทั้งให้ทุนสนับสนุน โดยให้ชุมชนบริหารจัดการเองได้อย่างเต็มที่ เริ่มจากการดูแลรักษาความสะอาดกันเองโดยชุมชน การคัดแยกขยะในครัวเรือน จนทุกวันนี้มีการจัดตั้งเป็นธนาคารขยะรีไซค์เคิล ที่มีการเก็บข้อมูล บันทึกสถิติอย่างต่อเนื่อง
เทพฤทธิ์ ดีหล่า
ประธานชุมชนสหพันธ์ เทศบาลเมืองระนอง
“ถ้าเราจะดูแลในเรื่องการจัดการขยะภายในบ้านเราเราจะทำอย่างไรบ้าง หนึ่ง สอง สาม สี่ ก็เลยคุยกันว่า เราน่าจะทำโครงการเสนอไปที่เทศบาลในเรื่องของการดูแลความสะอาดภายในบริเวณชุมชนของเราเอง ก็มีทั้งหมด 3 ซอย ก็ส่วนที่ หนึ่งจ้างคนในชุมชนดูแลความสะอาดกันเอง ส่วนที่สองก็คือทำกิจกรรมในการคัดแยกขยะแต่ละครัวเรือนให้เห็นผลเป็นรูปธรรมโดยใช้หลักการเก็บข้อมูล ก็ได้ทำโครงการเสนอไปที่เทศบาลเมื่อปี พ.ศ.2550 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดจ้าง งบประมาณเทศบาลสนับสนุนมาเดือนละ 5000 บาท ส่วนนึงที่พวกเราต้องช่วยก็คือในส่วนของมลพิษ มลภาวะพอเมืองเริ่มโตสิ่งเหล่านี้ก็จะเข้ามา แต่กระบวนการต่างๆที่เค้าทำอยู่ก็เริ่มเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น กระบวนที่หน่วยงานภาครัฐเริ่มมองเห็นปัญหา เริ่มส่งเสริมกระบวนการชาวบ้านให้เค้าเริ่มทำ ก็เริ่มดีขึ้น”
สุทธิเดช จันทวิชานุวงษ์
นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองระนอง
“เรื่องของความสะอาด เราก็พยายามที่จะให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลในการรักษาความสะอาด ซึ่งปัจจุบันวิกฤตขยะได้ลามไปทั่วแม้กระทั่งเทศบาลเมืองระนอง ซึ่งในชุมชนเมืองที่ที่จะใช้กำจัดขยะแทบไม่มีมันก็กลายเป็นตึกรามบ้านช่องเต็มไปหมด เพราะฉะนั้นเราก็พยายามที่จะไปหาที่ฝังกลบขยะหรือเตาเผาขยะ ตามสถานที่ต่างๆ ในเขต อบต.บ้างก็ได้รับการต่อต้านจากชุมชนรอบข้างตลอด เพราะงั้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ขยะหมดไปลดขยะตั้งแต่ต้นทาง”
บรรยาย 7 อย่างไรก็ดี ที่ชุมชนแห่งนี้ ยังเป็นสถานที่รวมกลุ่มของเหล่าบรรดา อสปช. หรืออาสาสมัครป้องกันชุมชน ซึ่งจะมาประชุมหารือกันก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ คอยสอดส่องดูแลพื้นที่ในชุมชนต่างๆ หรือตามสวนสาธารณะ เพื่อป้องปราม ระวังภัยมิให้เกิดเหตุร้ายขึ้น โดยจะทำงานคู่ขนาดร่วมกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองระนองอย่างใกล้ชิด
เทพฤทธิ์ ดีหล่า
ประธานชุมชนสหพันธ์ เทศบาลเมืองระนอง
“อาสาสมัครก็คือใช้หลักการดูแล ป้องปราม ปราบปราม ก็ทำงานร่วมกับตำรวจ โดยหลักๆ ตั้งแต่จันทร์ ถึงศุกร์อยู่ก็สังกัดอยู่ในพื้นที่ชุมชนใครชุมชนมันดูในพื้นที่ถ้ามีเหตุการณ์ผิดปรกติก็สามารถแจ้งผ่านเจ้าหน้าที่เค้าลงมาช่วย ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง อสปช.ก็ร่วมกันคลี่คลายปัญหากันเองภายในนะครับ”
“ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติดถ้าไม่รุนแรง ปัญหาเรื่องตีรันฟันแทง ปัญหาเรื่องวัยรุ่นที่ไม่รุนแรงมาเราจะใช้การเจรจาและก็ขอตัวกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจกลับชุมชนและก็บอกว่าเราจะดูแลกันเอง แล้วก็ทำหนังสือรับรองว่าจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้นอีก

ศูนย์บริการสาธารณสุขด่านท่าเมือง พนักงานสาธารณสุขต่างด้าว (พสต.) ศูนย์ IEC

บรรยาย 8 ในอีกมิติหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านการดูแลสุขภาพให้กับคนระนอง โดยอาศัยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข จากชุมชนต่างๆ ในเขตเทศบาลแล้ว ศูนย์บริการสาธารณสุขด่านท่าเมือง เทศบาลเมืองระนอง ยังต้องดูแลสุขภาพให้กับแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ที่เข้ามาอยู่อาศัย มาประกอบอาชีพในเมืองระนองอีกเป็นจำนวนมาก พสต. หรือพนักงานสาธารณสุขต่างด้าว และ อสต. อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว จึงถูกพัฒนาขึ้น เพื่อมาดูแลสุขภาพให้กับแรงงานต่างด้าวอีกด้วย

 

ซ่าซ่าถ้วย
พนักงานสาธารณสุขต่างด้าว ศูนย์บริการสาธารณสุขด่านท่าเมือง
เทศบาลเมืองระนอง
“ตอนนี้แรงงานต่างด้าวมาหาหมอที่นี่เยอะขึ้น เวลาพม่ามาก็เป็นล่ามให้ระหว่างคนไข้กับหมอ เวลามาแรกๆ เราก็ทำ opd การ์ดให้ แล้วก็ซักประวัติ แล้วก็ทำ opd การ์ดให้เค้า แล้วเสร็จ ก็ไปพบแพทย์เราก็เป็นล่ามให้ แล้วแนะนำกินยาอย่างไร กี่เวลา พอหมอนัดก็จะบอกว่านัดเวลาไหน วันที่เท่าไหร่ที่จะต้องมา พอฟอนเดอร์ แล้วก็ opd การ์ด เจ้าหน้าที่เวลาคนไข้มาหาหมอจะต้องเก็บข้อมูลเข้าคอมพ์ เราก็จะช่วยจัดเรียงเลข เวลารณรงค์เราก็จะช่วยไปรณรงค์กับเจ้าหน้าที่ ก็ดี เพราะว่าจะได้มีความรู้ และก็ได้ช่วยเหลือพม่ากันเองก็ภูมิใจมาก”
ศูนย์ IEC : ศูนย์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสุขภาพแรงงานต่างด้าว
บรรยาย 9 ทุกๆ เย็นหลังเลิกงาน ซาซ่าถ้วย จะเดินทางไปที่ศูนย์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสุขภาพแรงงานต่างด้าว ที่ตั้งอยู่ในชุมชน เพื่อให้บริการขั้นพื้นฐาน และให้ข้อมูล คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพ แก่แรงงานต่างด้าว เป็นประจำทุกๆ วัน
มาลี ยกย่อง
หัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขด่านท่าเมือง เทศบาลเมืองระนอง
“พนักงานสาธารณสุขต่างด้าวนอกจากมาอยู่ที่นี่เต็มเวลา นอกเวลาก็ต้องให้บริการที่บ้านด้วย เค้าเรียกว่าศูนย์ข้อมูลข่าวสารแรงงานต่างด้าวที่บ้านพนักงานสาธารณสุขต่างด้าวทั้ง 3 คนเราจะทำเป็นศูนย์ข้อมูลต่างด้าวตรงนั้นจะให้บริการข้อมูลคำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพ ให้บริการแรงงานต่างด้าวในภาวะฉุกเฉินบ้างเป็นบางครั้ง เช่นว่าท้องเสียในเวลากลางคืนตรงนั้นก็จะมียาไว้พอสมควรแก่การให้บริการมีถุงยากอนามัยแจก เค้าสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับแรงงานต่างด้าวได้ค่ะ และนอกจากนี้ พสต. พนักงานสาธารณสุขต่างด้าวทำงาน 3 คนคงไม่ไหวก็มีการสร้างเครือข่าย โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวในพื้นที่อีก 8 ชุมชนจะมี 36 คน ซึ่งก็ครอบคลุมพอสมควรในการให้บริการค่ะ”
อนุบาลอินเตอร์

บรรยาย 10 ในเรื่องของการศึกษาก็เช่นกัน โครงการโรงเรียนอนุบาลอินเตอร์ ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเสริมสร้างทักษะในด้านภาษาให้แก่เด็กนักเรียนในสังกัดโรงเรียนเทศบาล รองรับกับการเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอนาคต

 

สุทธิเดช จันทวิชานุวงษ์
นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองระนอง
“เราทำยังไงให้เด็กของเราได้พัฒนาในเรื่องของภาษาต่างชาติโดยเฉพาะภาษาอังกฤษกับภาษาจีน โดยเฉพาะจีนผมถือว่าในอนาคตจะเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกเรามีโรงเรียนสังกัดเทศบาล 2 โรง ก็เลยทำโครงการโรงเรียนอนุบาลอินเตอร์ โดยจ้างครูจากเจ้าของภาษาสอนเด็กของเราตั้งแต่อนุบาล พอเข้าอนุบาล 1 ให้ฝึกพูดภาษาอังกฤษเลยให้คุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศ”
บรรยาย 11 นอกจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ข้างต้นแล้ว ยังมีแหล่งเรียนรู้ในเรื่องของการแก้ปัญหายาเสพติดของชุมชน ที่ชุมชนร่วมจิต และการพัฒนากลุ่มอาชีพเย็บผ้าในชุมชนพ่อตาขิง ให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเมืองระนองให้น่าอยู่ เทศบาลเมืองระนองได้อาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการกำหนดทิศทางการพัฒนา โดยหนุนเสริมกระบวนการของชุมชนที่ได้ร่วมกันคิด ร่วมกันแก้ไขปัญหา อันเป็นรากฐาน เป็นหลักสำคัญ ของการเป็นต้นแบบ เป็นศูนย์การเรียนรู้เมืองน่าอยู่ ให้กับท้องถิ่นอื่นๆ ได้มาศึกษาดูงาน และนำกลับไปประยุกต์ใช้กับท้องถิ่นของตนเอง เพื่อสานต่อปณิธาน การมุ่งสร้างให้ท้องถิ่นต่างๆ เป็นเมืองที่น่าอยู่ มีชุมชนที่น่าอยู่ สืบไป
——————————————————————————————————————
ขอขอบคุณ
เทศบาลเมืองระนอง
สุทธิเดช จันทวิชานุวงษ์
นายกเทศมนตรี
เทศบาลเมืองระนอง
ปรมัตถ์ ปัญญาเตชะตกุล
รักษาการผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม
เทศบาลเมืองระนอง
สุชีพ พัฒน์ทอง
ภาคประชาสังคมจังหวัดระนอง
สุภาณี มะหมีน
ครูศูนย์การเรียนชุมชนเทศบาลเมืองระนอง
ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดระนอง
วีระ วงศ์กสานติ์สุข
ชุมชนบางส้าน อ.เมือง จังหวัดระนอง
มาลี ยกย่อง
หัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุขด่านท่าเมือง
เทศบาลเมืองระนอง
เทพฤทธิ์ ดีหล่า
ประธานชุมชนสหพันธ์ เทศบาลเมืองระนอง
ซ่าซ่าถ้วย
พนักงานสาธารณสุขต่างด้าว ศูนย์บริการสาธารณสุขด่านท่าเมือง
เทศบาลเมืองระนอง
นิเวศน์ เมตตา
ประธานชุมชนร่วมจิตร เทศบาลเมืองระนอง
วรรณา แจ่มกระจ่าง
ประธานชุมชนพ่อตาขิง เทศบาลเมืองระนอง
ติ๋ม พังสาลี
พี่เลี้ยงผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองระนอง
พรทิพย์ พรหมพรัต
พี่เลี้ยงผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองระนอง
เกียรติศักดิ์ หงส์หาญ
เจ้าของล้านอาหารคุ้นลิ้นกาแฟสด สวนรักษะวาริน เทศบาลเมืองระนอง
ผลิตโดย
โครงการประสานความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนนโยบายเมืองน่าอยู่-ชุมชนน่าอยู่
สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
ร่วมกับ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
มูลนิธิพัฒนาไท
และภาคีเครือข่ายพันธมิตร
ภายใต้การสนับสนุนของ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
เลขที่ 693 ถนนบำรุงเมือง แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
Tel.& Fax. 0-2226-0150, 0-2621-5365

 

Be the first to comment on "ศูนย์การเรียนรู้เมืองน่าอยู่ ที่เทศบาลเมืองระนอง"

Leave a comment

Your email address will not be published.