พนัสนิคม อำเภอหนึ่งของจังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ขนาด 2.76 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองที่มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เอื้อต่อการอยู่อาศัย และการดำรงชีวิตของประชากร แต่กว่าจะเป็นเมืองที่น่าอยู่ มีชุมชนที่น่าอยู่ กล่าวได้ว่าในการพัฒนาที่ผ่านมา เทศบาลเมืองพนัสนิคมไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบเพียงลำพัง หากแต่ได้รับความร่วมมือจากชุมชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ต่างร่วมแรงร่วมใจกัน มุ่งทำให้ท้องถิ่นของตนเองเป็นเมืองที่น่าอยู่ มีความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ติดอันดับต้นๆ เมืองหนึ่งของประเทศ สมดั่งคำที่ว่า “ศักดิ์ศรีเมืองสะอาด”
Healthy City Learning Center
ศูนย์การเรียนรู้เมืองน่าอยู่ ที่เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
บังอร อาริยวัฒน์
“พนัสก็เป็นเมืองที่น่าอยู่เป็นเมืองที่สะอาด และการทำมาหากินก็สบาย”
ปราณี มูลผลา
“เป็นเมืองที่น่าอยู่มากๆ เลย เพราะว่าโรงงานก็มีน้อย มลภาวะยังดีอยู่ ฉันว่ายังดีอยู่ อากาศยังดีกว่าที่อื่นเยอะ”
กิตติ จองวิจิตรกุล
“พนัสนี่เป็นพื้นที่สีเขียว โดยเฉพาะข้อสำคัญพนัสไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม ความสะอาดท่านนายกดูแลอย่างดี ดูแลมาตั้งแต่นายกต้นๆ หลายท่านแล้วก็สืบเนื่องกันมา”
เสียงสะท้อนจากความรู้สึก ของคนนอก และคนพนัสนิคมเอง ได้บ่งบอกถึงความเป็นเมืองน่าอยู่ของพนัสนิคมไว้อย่างน่าสนใจ

วิจัย อัมราลิขิต
นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
“ในมิติของความสะอาด เทศบาลเมืองพนัสนิคมได้รับ โล่พระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีพ.ศ.2535 ในเรื่องของเทศบาลที่มีความสะอาดดีเด่นระดับประเทศ ตรงนี้ละครับที่เป็นเครื่องบ่งบอกให้ประชาชนทุกคนจะต้องรักษาคุณภาพตรงนี้ไว้ ในเรื่องของการรักษาความสะอาดเราสามารถรักษาไว้ได้อย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม”
“ในเรื่องของเมืองน่าอยู่ก็เป็นภารกิจขององค์กรส่วนท้องถิ่นทุกแห่งที่จะต้องทำอยู่แล้ว เพราะว่าในภาระหน้าที่ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ทุกคนมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันคือทำอย่างไรให้เมืองน่าอยู่ สำหรับเทศบาลเมืองพนัสนิคมได้ทำกันอย่างต่อเนื่องความเสมอต้นเสมอปลาย ในเรื่องของการทำให้เมืองน่าอยู่”
จากการพัฒนาเมืองพนัสนิคมให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ อย่างต่อเนื่องตลอดระยะที่ผ่านมา วันนี้ เทศบาลเมืองพนัสนิคม จึงได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เมืองน่าอยู่ขึ้น ซึ่งเป็นศูนย์ที่รวมขององค์ความรู้ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ในทุกๆ มิติ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนและหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกท้องถิ่น ได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ เพื่อนำไปปรับใช้
วิจัย อัมราลิขิต
นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
“เราก็ได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ เมืองน่าอยู่ขึ้นที่หลังหอพระพนัสบดี ซึ่งหลังหอพระมีอาคารหลังหนึ่งเป็นของมูลนิธิพรรษวดี เค้าก็มอบให้เราสามารถที่จะนำมาใช้ ในการจัดศูนย์การเรียนรู้เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ก็กำลังปรับปรุงอาคารหลังนั้นอยู่ หลักจากทีปรับปรุงเสร็จ ใน 5 มิติก็จะถูกบรรจุอยู่ในอาคารหลังนั้น ซึ่งจะเป็นขั้นตอนและวิธีการในการที่ ในแต่ละมิติ ได้ดำเนินการอะไรไปบ้าง ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง ซึ่งในศูนย์เราก็พยายามที่จะเชิญชวน ชุมชนหรือเทศบาลเมืองที่ใกล้เคียงเข้าไปในศูนย์นี้กันอย่างต่อเนื่อง”
แหล่งเรียนรู้จักสานใหญ่ที่สุดในโลก ชุมชนย่อยที่ 1

ปราณี มูลผลา
ประธานชุมชน และประธานกลุ่มจักสานชุมชนย่อยที่ 1 เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
“เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านมาแต่ดั้งเดิมอยู่แล้ว เราก็อยากอนุรักษ์เอาไว้ คนโบราณนี่เขามีฝีมือนะมีปัญญาที่ทำได้อย่างนี้เราว่ามันดีกว่าพลาสติกนะ”
“เราก็คิดว่ามันต้องมีประโยชน์สิ ชุมชนจะได้มีความรู้ ใครไม่รู้อะไรก็มาถามที่ชุม 1 นี้ได้ เกี่ยวกับเรื่องจักสานเกี่ยวกับเรื่องอาชีพเราก็พอจะแนะนำให้ได้”
นอกจากจะถ่ายทอดและสร้างอาชีพให้กับคนในท้องถิ่นแล้ว ศูนย์จักสานแห่งนี้ ก็ยังเป็นห้องเรียนให้กับเด็กนักเรียน จากโรงเรียนมาลีวิทย์ พัทยา ที่ต่างล้อมวง ตั้งหน้าตั้งตา จักสานงานฝีมือของตนเองอย่างสนุกสนาน อีกด้วย
สาวิน วอนเดอลิฟโวร์ท
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมาลีวิทย์ พัทยา
“มาเรียนก็เอามาใช้ในชีวิตประจำวัน เอาไปใส่ของ เอาไปไช้ได้ทำง่ายนิดเดียว ไม่ต้องไปซื้อด้วย นำวัสดุธรรมชาติมาทำ ลดภาวะโลกร้อน ไม่ต้องใช้พลาสติก”
สิทธิพงษ์ อิ่มเจริญ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมาลีวิทย์ พัทยา
“พอลองทำก็ง่ายกว่าที่คิดนะครับ ก็ได้รู้ว่าจะทำได้ชิ้นนึงมันก็ยาก นานที่จะทำได้ แต่ก่อนไม่เคยทำก็ไม่รู้คุณค่าเงิน แต่พอได้ทำก็รู้ว่ากว่าเค้าจะได้เงินแต่ละบาทมันยากขนาดไหน รู้ถึงค่าเงินก็คือการได้ทำ ก็รู้ในการทำ เราไม่รู้เราก็เห็นแต่ว่าเค้าทำเอง ทำมาเป็นสำเร็จรูป ไม่เคยเห็นว่าทำอย่างไร คือเรามาได้ทำเรารู้ว่าเค้าทำอย่างไรออกมาเป็นรูปต่างๆ ได้ครับ”
แหล่งเรียนรู้การทำผลิตภัณฑ์รักษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้จุรินทรีย์ ชุมชนย่อยที่ 4
ณ ที่ทำการชุมชนย่อยที่ 4 ก็เช่นกัน ที่แห่งนี้ชาวบ้านมักมารวมตัวกันทำกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน อย่างวันนี้ กิตติ จองวิจิตรกุล ประธานกลุ่มชีววิถี ที่เทศบาลได้ชักชวนให้ไปศึกษาดูงานการทำผลิตภัณฑ์รักษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้จุรินทรีย์ กำลังส่งทอดความรู้ให้กับเพื่อนบ้านต่อ ถึงกรรมวิธีการผลิตสบู่เหลวจากมะเฟือง และผลิตภัณฑ์อีกมากมายหลายชนิดที่สามารถนำไปใช้ในครัวเรือน หรือจะพัฒนาเป็นอาชีพเสริมก็ได้
มิติเมืองวัฒนธรรม : ประเพณีวันไหว้พระจันทร์

วิจัย อัมราลิขิต
นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
“ประเพณีไหว้พระจันทร์ ผมเห็นว่ามันเป็นการสร้างความสามัคคีอย่างหนึ่ง เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ผมก็ได้ฟื้นฟูขึ้นมา ประชาชนได้เข้ามาเที่ยวประเพณีไหว้พระจันทร์กันอย่างมากมาย เราปิดถนนสายนึงเลย แล้วก็จัดช่วงตั้งแต่เวลา 5 โมงเย็นถึงเที่ยงคืน ก็เป็นคืนที่ประชาชนชาวไทยก็ดี ชาวจีนก็ดีก็มาตั้งโต๊ะไหว้พระจันทร์กันอย่างมากมาย ก็ถือว่าเราได้ฟื้นฟูประเพณีซึ่งหายไปจากท้องถิ่นกลับขึ้นมา”
เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นเทศกาลที่มีความเกี่ยวข้องกับตำนาน เรื่องดวงจันทร์ของชาวจีน ดวงจันทร์ที่กลมเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความสามัคคี ดังนั้นจึงเรียกเทศกาลนี้ว่า “เทศกาลแห่งความกลมเกลียว” ในคืนวันดังกล่าว สมาชิกในครอบครัวจะมากลับรวมตัวกันที่บ้าน ร่วมกันตั้งโต๊ะ เพื่อกราบไหว้ขอพร และรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ร่วมกัน
เลอลักษณ์ ชวาลาวง ร้านขนมเตียวเฮียบเส็ง เล่าว่า ขนมไหว้พระจันทร์เคยถูกนำมาใช้ในกิจกรรมทางการเมืองของจีนในอดีต คือการกู้ชาติจีนจากชาวมองโกล ที่ชาวจีนอาศัยวันไหว้พระจันทร์ ประกาศต่อต้านการปกครองของมองโกล โดยนำกระดาษที่เขียนข้อความนัดแนะกำหนดการขับไล่มองโกล ยัดใส่ไว้ในขนมไหว้พระจันทร์ เมื่อถึงเวลาที่กำหนด ประชาชนก็ลุกฮือขึ้นขับไล่มองโกลออกจากแผ่นดินจีนสำเร็จ
แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม สืบสานตำนาน “เอ็งกอ”

บุญชัย ทิพยางกูร
ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 2 วักกลางทุมมาวาส “ศิริอุปถัมภ์”
เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
“เอ็งกอร์ เป็นศิลปะการแสดงอย่างหนึ่งซึ่งเกิดในพนัสนิคม ถึงแม้ว่าเราจะเอามาจากเมืองจีน แต่เป็นอารยะธรรมที่เกิดขึ้นในพนัสนิคม และผู้คนชอบมาก ได้ทั้งกาย คือร่างกายที่แข็งแรง อารมณ์ นิ่งสงบ มีสมาธิ สติปัญญา เมื่อเด็กมีสมาธิ ปัญญาก็มา ด้านสังคมทุกคนอยู่รวมกันอย่างมีความสุข”
การแสดง “เอ็งกอ” นอกจากจะเป็นการแสดงที่คู่กับงานประเพณีต่างๆ ของพนัสนิคมแล้ว ในปัจจุบัน อาจาร์ยบุญชัย ทิพยางกูร ยังได้พัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และจัดทำเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน ในโรงเรียนเทศบาล 2 อีกด้วย
“ถือว่าหลักสูตรเอ็งกอร์เป็นนวัตกรรม เป็นแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่น ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทที่ให้ชุมชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมเกือบ 10 ปีผ่านมาชุมชนที่เข้ามาช่วยผม มีไม่ถึง 10 คนแต่ปัจจุบันนี้ลูกมา พ่อมา แม่มา แล้วช่วยงานเราด้วย”
มิติเมืองคุณภาพชีวิต

วิจัย อัมราลิขิต
นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
ในเรื่องของคุณภาพชีวิต…เราก็มีการทำกิจกรรมกันอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องของดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชน …สนับสนุนให้การส่งเสริมและก็รักษาสุขภาพของชาวบ้านในเขตเทศบาลกันอย่างต่อเนื่อง เรามีการออกกำลังกาย เรามีกิจกรรม เรามีนันทนาการ ต่างๆ ที่จะส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ในส่วนของ อสม. ชุมชนซึ่งมีในการดูแลสุขภาวะของประชาชนก็มีส่วนร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
นอกจากจะมีการดูแลรักษาสุขภาพทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ เทศบาลได้จัดตั้งโครงการ ชมรมผู้สูงอายุขึ้น เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุ ได้รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่างๆ ในด้านสันทนาการและการดูแลสุขภาพของตนเองให้มีความแข็งแรงอีกด้วย

ชไมพร บุญญา
พี่เลี้ยงค่ายธรรมขิปปัญโญ
“รู้สึกดีค่ะที่ได้มาปฏิบัติธรรมในครั้งนี้ เพราะว่าปฏิบัติแล้วจะทำให้จิตใจบริสุทธ์ แล้วก็มีความคิดที่ดี มีความรู้เกี่ยวกับธรรมมะเรื่องพ่อแม่ แล้วก็จะช่วยสอนให้น้องๆ รู้บุญคุณของพ่อแม่ รู้เรื่องธรรมมะมากขึ้นค่ะ”
พัลลภา แซ่ตั้ง
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2
“หนูอยากจะบอกว่ามาเถอะค่ะ เพราะว่ามันดีมาก มีความสุขแล้วก็แทบจะไม่อยากกลับบ้านเลย”
นภดล ทองนพเก้า
รองนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
“เรามีกิจกรรมต่างๆ ที่มีผู้นำเยาวชน การฝึกผู้นำเยาวชน เค้าก็จะร่วมกลุ่มกัน เหมือนกับเรามีชุมชนย่อย อยู่ 7 ชุมชน มีกรรมการชุมชนที่เป็นหลัก เยาวชนพวกนี้ก็จะทำหน้าที่คล้ายๆกัน โดยการสะท้อนภาพ ปัญหาแทนที่จะสะท้อนภาพของผู้ใหญ่ ก็จะสะท้อนภาพของเยาวชนขึ้นมาให้เรา ในเส้นทางผ่านจากผู้นำเยาวชนที่เรามีการอบรม เยาวชนวัยแจ๋ววัยจ๊าบ ก็เป็นส่วนหนึ่ง รักท้องถิ่น แล้วก็อบรธรรมะก็เป็นส่วนหนึ่ง เค้าก็สะท้อนขึ้นมา”
อย่างไรก็ดี ในการบริหารจัดการ เทศบาลเมืองพนัสนิคม ก็ยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการงบประมาณและการดำเนินงานในด้านต่างๆ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคีทุกภาคส่วนในทุกขั้นตอนด้วยเช่นกัน
วิจัย อัมราลิขิต
นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
“ในเรื่องของธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองพนัสนิคมเราก็เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาทราบถึงข้อมูลข่าวสารในการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ เราก็ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับงานในการที่จะมาดูแลการก่อสร้างต่างๆ ที่ผู้รับเหมาได้รับเหมาจากเทศบาลไป ในขณะเดียวกันงบประมาณทุกปีเราจะให้ประชาชนรับทราบว่าเราได้ทำอะไรไปบ้าง งบประมาณเท่าไหร่ ตรงนี้เราก็ได้ชี้แจงให้กับประชาชนทราบ”

END TITLE
ขอขอบคุณ
เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
วิจัย อัมราลิขิต
นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
นภดล ทองนพเก้า
รองนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
เอื้อมจันทร์ วรสายัณห์
ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
บุญชัย ทิพยางกูร
ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 2 วักกลางทุมมาวาส “ศิริอุปถัมภ์”
เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
ชลิต หาแพง
เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
ปราณี มูลผลา
ประธานชุมชน และประธานกลุ่มจักสานชุมชนย่อยที่ 1 เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
กิตติ จองวิจิตรกุล
ประธานกลุ่มชีววิถี ชุมชนย่อยที่ 4 เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
บังอร อาริยวัฒน์
ประธานชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
เลอลักษณ์ ชวาลาวง
ร้านขนมเตียวเฮียบเส็ง เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
มลธิญา หาญสุริย์
ครูประจำการ โรงเรียนมาลีวิทย์ พัทยา
สาวิน วอนเดอลิฟโวร์ท
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมาลีวิทย์ พัทยา
สิทธิพงษ์ อิ่มเจริญ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมาลีวิทย์ พัทยา
ชไมพร บุญญา
พี่เลี้ยงค่ายธรรมขิปปปัญโญ
โรงเรียนเทศบาล 4 เจริญอุปถัมภ์ปัญญาธร เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
พัลลภา แซ่ตั้ง
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 วักกลางทุมมาวาส “ศิริอุปถัมภ์”
เทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
อนุชา บุญญา
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร จังหวัดอุดรราชธานี
ผลิตโดย
โครงการประสานความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนนโยบายเมืองน่าอยู่-ชุมชนน่าอยู่
สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
ร่วมกับ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
มูลนิธิพัฒนาไท
และภาคีเครือข่ายพันธมิตร
ภายใต้การสนับสนุนของ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
เลขที่ 693 ถนนบำรุงเมือง แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100
Tel.& Fax. 0-2226-0150, 0-2621-5365
Be the first to comment on "ศูนย์การเรียนรู้เมืองน่าอยู่ชุมชนน่าอยู่ ที่เทศบาลเมืองพนัสนิคม"