คนอีสานคุ้นเคยกับคำว่า “โสเหล่” กันดีเพราะเป็นคำท้องถิ่นอีสานที่ใช้กันบ่อย เพราะหมายถึงการพูดคุย สนทนาปรึกษาหารือโดยไม่จำเป็นต้องจบลงที่ข้อสรุปหรือข้อตกลงใด เมื่อนำมารวมเข้ากับคำว่า “สาธารณะ” จึงกลายเป็นการพูดคุยเสวนาในเรื่องที่กำลังเป็นความสนใจของคนทั่วไป
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ–ท้องถิ่นน่าอยู่ จ.อุบลราชธานี |
||||||||||||
|
||||||||||||
N จากแนวคิดสู่รูปธรรม…ความท้าทายที่ค่อยๆ หาทางออก นอกจากการทำงานสืบค้นภูมิถิ่นภูมิเมืองเพื่อค้นหารากเหง้าความเป็นท้องถิ่นอุบลฯ แล้ว เวทีโสเหล่สาธารณะซึ่งเป็นรูปธรรมของการพัฒนาพื้นที่สาธารณะถือเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่ทำคู่ขนานไปพร้อมกัน ด้วยฐานความเชื่อว่าการที่บุคคลหรือกลุ่มคนต่าง ๆ ได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และเกิดการพูดคุยอย่างเป็นธรรมชาติ ประกอบกับการมีกิจกรรมบางอย่างร่วมกัน จะยิ่งเป็นโอกาสของการสร้างความผูกพันและความสัมพันธ์เชิงสาธารณะที่ดีขึ้น แต่กว่าจะนำไปสู่การมีชีวิตสาธารณะที่เข้มแข็งของชุมชนได้นั้นเป็นเรื่องไม่ง่าย เพราะต้องเป็นสำนึกที่เป็นชะตากรรมร่วมของการพึ่งพาอาศัยและมีเจตจำนงที่จะรับผิดชอบและแก้ไขในปัญหาร่วมกัน ยิ่งในบริบทความเป็นเมืองของอุบลราชธานีที่มีความลึกทางประวัติศาสตร์มายาวนานเกิน 200 ปี แต่ถูกซ้อนทับด้วยความหลากหลาย ซับซ้อน และไร้ระเบียบจากภาวะความเป็นเมือง ก็ยิ่งทำให้สิ่งที่ต้องเผชิญอยู่นี้ไม่ธรรมดา |
||||||||||||
แต่จุดเริ่มต้นของการก่อรูปเวทีโสเหล่สาธารณะก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินความตั้งใจ เมื่อผู้เอาธุระกลุ่มแรกๆ ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการและสื่อมวลชนในท้องถิ่น ได้หารือเรื่องการจัดเวทีพูดคุยที่เป็นสาธารณะของคนท้องถิ่นโดยใช้สถานการณ์ไข้หวัดนกซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของสาธารณะเป็นหัวข้อเริ่มแรก ทั้งที่ก่อนหน้านี้เพิ่งจะมีการจัดเวทีหัวข้อนี้ไป แต่เหตุที่การเสวนาไม่สามารถให้ความกระจ่างชัดแก่ประชาชนได้ทั้งหมด คณะทำงานจึงเห็นความจำเป็นในการสร้างการเรียนรู้ในเรื่องที่เป็นชะตากรรมร่วมของท้องถิ่นซึ่งจะนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมกันในอนาคต คณะผู้ก่อตั้งเวทีโสเหล่สาธารณะได้พิจารณาเลือกสถานที่หลายแห่งแต่ท้ายที่สุดได้ตกลงเลือกที่ว่างหลังศาลาประชาคมเพราะเป็นลานสาธารณะที่อยู่ใกล้ย่านชุมชน สามารถเข้าถึงได้ง่าย รองรับการใช้งานหรือทำกิจกรรมได้มาก รวมทั้งเป็นที่ว่างที่มีการออกแบบก่อสร้างคล้ายเวทีขนาดเล็กไว้อยู่แล้วโดยเทศบาลฯ แต่แทบจะไม่มีการใช้งานเกิดขึ้น |
||||||||||||
เมื่อมีหัวข้อที่เหมาะสม มีผู้ร่วมเสวนาที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ตรงในเรื่องนั้นๆ และยินดีมาร่วมเวทีโดยไม่มีค่าตอบแทนใดๆ ให้ ปัญหาหนักใจที่ตามมาในช่วงแรกๆ ก็คือ ใครจะเป็นคนฟัง เพราะเงื่อนไขของการเป็นเวทีสาธารณะกลางแจ้ง และการประชาสัมพันธ์ที่อาจไม่ทั่วถึง อีกทั้งต้องต่อสู้กับกระแสการบริโภคสื่อที่ทันสมัยและเข้าตรงกว่าถึงในบ้าน ทำให้คณะทำงานแก้ปัญหาด้วยการบอกต่อ ชักชวน กลุ่มคนองค์กรที่น่าจะเกี่ยวข้องกับหัวข้อโสเหล่มาร่วมเวที แต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องความสะดวกและค่าใช้จ่ายที่ต้องเกิดขึ้นของกลุ่มเหล่านั้นจึงต้องยกเลิกไป ประกอบกับการทบทวนเป้าหมายของการเกิดพื้นที่สาธารณะที่นำไปสู่การมีชีวิตสาธารณะที่เข้มแข็งได้จริงควรเป็นการก่อตัวตามธรรมชาติอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยการมีจิตสำนึกที่เป็นสาธารณะของคนท้องถิ่นอุบลเอง อย่างไรก็ดี เพื่อให้ประเด็นการเสวนาที่มีการพูดคุยในลานโสเหล่ส่งผลต่อการรับรู้ที่เป็นสาธารณะของคนอุบลจึงมีการวางแผนและออกแบบการใช้สื่อควบคู่ไปด้วย ได้แก่ การนำเทปบันทึกเสียงจากในเวทีไปเผยแพร่ออกอากาศซ้ำทางวิทยุชุมชน การตีพิมพ์เนื้อหาข้อสรุปและประสบการณ์ที่ได้จากการจัดเวทีแต่ละครั้งผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิคส์ทั้งในและนอกโครงการฯ และการประสานการทำงานร่วมกับสถานีโทรทัศน์เคเบิลท้องถิ่นทำการถ่ายทอดสดและนำออกอากาศซ้ำ รวมถึงการจัดทำนิทรรศการ เอกสารข้อมูล (FACT SHEET) เสนอข้อเท็จจริง ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่มีการเสวนา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการคิดและตัดสินใจให้กับประชาชน |
||||||||||||
|
||||||||||||
N ข้อค้นพบและบทเรียนที่เกิดขึ้น
ต่อกระบวนการทำงานสาธารณะของท้องถิ่น 1. เป็นการจุดประกายของการเริ่มต้นเอาธุระของสังคมร่วมกัน ซึ่งนอกเหนือจากคนที่เข้าร่วมจะมาในนามองค์กรหรือหน่วยงานแล้ว พบว่า ส่วนใหญ่เป็นประชาชนคนธรรมดาที่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมด้วยตัวเองจริงๆ เพราะเห็นเป็นกิจกรรมที่เป็นกลาง ไม่ใช่ประเด็นร้อน หรือสะท้อนถึงความขัดแย้งระหว่างกลุ่มใด ในอนาคตหากมีพื้นที่หรือกิจกรรมสาธารณะในลักษณะนี้เกิดขึ้นเรื่อยๆ ก็จะสามารถผลักดันให้คนทั่วไปที่มีจิตสำนึกสาธารณะสามารถมีพื้นที่ของการรวมกลุ่มและทำกิจกรรมเพื่อสาธารณะด้วยกันต่อไป 2. สร้างมิติการทำงานเพื่อสาธารณะของท้องถิ่น โดยยึดหลักการทำงานสาธารณะจะเกิดขึ้นได้ต้องมีใจที่เป็นจิตสาธารณะก่อน แต่ความสามารถและศักยภาพที่ไม่เหมือนกันจะนำไปสู่การร่วมคิดร่วมอ่านกระทั่งร่วมทำร่วมรับผิดชอบที่ต่างกัน เหตุนี้จึงได้คณะทำงานที่มีความหลากหลายและเป็นการเข้าร่วมด้วยความสมัครใจ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการช่วยกันคิด วางแผน จัดการ ติดตาม และช่วยกันสรุปบทเรียนทุกครั้งหลังการทำงาน 3. ระบบของการปฏิสัมพันธ์ในการทำงานกับภาคราชการเปลี่ยนแปลงจากแนวดิ่งกลายเป็นแนวราบมากขึ้น โดยเฉพาะการประสานงานที่ลดความเป็นทางการลง ชี้ให้เห็นการทำงานที่ยืดหยุ่นบนเป้าหมายเพื่อสาธารณะร่วมกันเป็นสำคัญ 4. จากการสรุปบทเรียนหลังการทำงานหลายครั้ง พบว่า การผลักดันให้เกิดการทำงานสาธารณะบนการประสานประโยชน์ร่วมของกลุ่มคนองค์กรที่หลากหลายจำเป็นต้องมี ‘นักเชื่อม’ หรือคนกลางที่สามารถทำหน้าที่เชื่อมประสานและติดตามการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ต่อกระบวนการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ 1. แม้จะทำให้หน่วยงานองค์กรท้องถิ่นเห็นความสำคัญของการมีพื้นที่สาธารณะเพื่อรองรับการใช้ชีวิตประจำวันใหม่ๆ ของคนเมือง แต่โดยลักษณะกายภาพของพื้นที่เองที่อยู่ในกรรมสิทธิ์ที่เป็นของภาครัฐ การเข้าใช้ประโยชน์โดยประชาชนยังเป็นเรื่องที่มีขีดจำกัด ประกอบกับบริบททางการเมืองในท้องถิ่นที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานขององค์กรท้องถิ่นในจังหวัด ประโยชน์จากการมีพื้นที่สาธารณะที่ชาวอุบลพึงจะได้รับต้องสูญเสียไปด้วย 2. สร้างแนวคิดที่เป็นมิติใหม่สำหรับการพัฒนาเมืองในมิติว่าด้วยเรื่องคุณภาพชีวิตให้แก่หน่วยราชการและองค์กรท้องถิ่น เพราะแตกต่างอย่างชัดเจนจากแผนงานและกิจกรรมที่ผ่านมาในอดีต เนื่องด้วยเป็น การผลักดันแนวคิดเรื่องพื้นที่สาธารณะกับการสร้างชีวิตท้องถิ่นที่เข้มแข็งโดยให้ความสำคัญทั้งกับกิจกรรมความเคลื่อนไหวและโครงสร้างพื้นฐานหรือพื้นที่สาธารณะที่จะมารองรับ ที่สำคัญคือ กระบวนการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนซึ่งเป็นหัวใจหลักในการทำงาน 3. ทั้งเวทีโสเหล่สาธารณะและกิจกรรมลานศิลป์ถือเป็นมิติใหม่ในการใช้ชีวิตของคนเมืองอุบล ซึ่งกลายเป็นทางเลือกที่แตกต่างแต่มีคุณภาพมากกว่าประสบการณ์เดิมที่คนส่วนใหญ่เคยคุ้นชิน อีกทั้งยังช่วยประหยัดรายจ่ายแต่เพิ่มความผูกพันของการอยู่ร่วมกันในท้องถิ่น 4. การจัดเวทีโสเหล่สาธารณะในประเด็นหัวข้อที่อาจกระทบกับวิถีการดำเนินชีวิตของชาวอุบล ถือเป็นการเปิดพื้นที่ในการชี้แจงและพูดคุยระหว่างประชาชนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยมีพื้นที่ลานโสเหล่สาธารณะเป็นเวทีช่วยสร้างความโปร่งใส 5. เป็นการสร้างและสะสมประสบการณ์ใหม่ในการจัดเวทีสาธารณะที่อาจไม่ได้มีคนฟังจำนวนมาก แต่เป็นผู้ร่วมเวทีที่มีคุณภาพ เพราะกล้าซักถาม กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์และเป็นกันเอง 6. นอกจากลานโสเหล่สาธารณะจะเป็นพื้นที่เพื่อการใช้ชีวิตใหม่ๆ ของชาวอุบลโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนแล้ว ยังกลายเป็นพื้นที่หน้าใหม่ที่มีชื่อเรียกติดปากและถูกหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชนใช้เป็นสถานที่จัดงานหรือกิจกรรมต่างๆ สำหรับชาวเมืองอุบลมากขึ้น 7. แม้ทุกภาคฝ่ายจะเห็นดีด้วยกับการมีพื้นที่สาธารณะเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตใหม่ของชาวอุบล แต่ก็ไม่ปรากฏว่าแนวคิดดังกล่าวจะถูกนำไปบรรจุเข้าสู่แผนงานหรือนโยบายระดับท้องถิ่นอย่างชัดเจน ประกอบกับปัญหาการเมืองในท้องถิ่นซึ่งกระทบต่อการบริหารงานขององค์กรท้องถิ่นในจังหวัดจึงเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเมืองอุบลทั้งในวันนี้และวันหน้า 8. การผลักดันให้เกิดพื้นที่สาธารณะในเขตพื้นที่เมืองซึ่งอยู่ท่ามกลางปัจจัยรุมล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ และอิทธิพลของสื่อ รวมทั้งประสบการณ์ความคุ้นชินเดิมๆ ของผู้คน จำเป็นต้องอาศัยการออกแบบ จัดวางกระบวนการทำงานที่ละเอียดอ่อนและแยบยล โดยเฉพาะหากประเด็นดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตัวประชาชนแล้วย่อมเป็นเรื่องยากที่ต้องใช้ระยะเวลาสำหรับการผลักดันให้เกิดสำนึกร่วมที่เป็นสาธารณะได้ N ปัจจัยเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ 1. การยึดมั่นในเป้าหมายและหลักการการสร้างชีวิตสาธารณะที่เข้มแข็งบนความสัมพันธ์เชิงสาธารณะกับการพัฒนาพื้นที่สาธารณะไปพร้อมกัน แต่ให้ความยืดหยุ่นกับรูปแบบและการจัดการซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและบริบทของท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง และเนื่องจากเป็นแนวคิดใหม่และมีความยาก ในการทำงานจึงยึดถือหลักค่อยทำค่อยเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน 2. การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของกลุ่มองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และประชาชน ในการจัดกิจกรรมให้เกิดขึ้นอย่างเป็นกิจวัตรและต่อเนื่อง นอกจากจะสร้างการจดจำในการเข้าทดลองหรือสัมผัสด้วยตัวเองแล้ว ยังช่วยกระตุ้นความเคลื่อนไหวในการทำงานร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ในท้องถิ่นด้วย 3. กระบวนการวางแผนดำเนินงานและติดตามความเคลื่อนไหวในประเด็นสาธารณะที่เกิดขึ้นในเวทีอย่างหวังผล เพราะลำพังการสร้างสรรค์และผลักดันให้เกิดโครงสร้างและกิจกรรมเพื่อรองรับการใช้ชีวิตใหม่เท่านั้นไม่อาจเพียงพอต่อการสร้างชีวิตสาธารณะที่เข้มแข็ง แต่การกระตุ้นและติดตามความเคลื่อนไหวในประเด็นสาธารณะที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่การแก้ปัญหาร่วมซึ่งสร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่นได้ 4. การให้ความสำคัญกับการพูดคุยทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการในหมู่คณะทำงานลานโสเหล่สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสรุปบทเรียนหลังการทำงานทุกครั้ง ซึ่งทำให้คณะทำงานได้ทบทวนเป้าหมายในการทำงานเป็นระยะ ชี้ให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของการทำงาน และสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข อนึ่ง ด้วยโครงสร้างและการออกแบบการทำงานในส่วนของโครงการชีวิตสาธารณะฯ 5 จังหวัด บทบาทการทำงานของ ฮักแพง…แปงอุบล ในฐานะทีมประสาน ทั้งทำหน้าที่อำนวยให้เกิดงานข้อมูลความรู้ งานผลิตสื่อและสาธารณสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานออกแบบเวทีร่วมกับคณะทำงานที่มาจากทุกภาคฝ่าย โดยตั้งตนอยู่บนความตั้งใจที่จะทำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง ด้วยความเป็นกลางไม่มีประโยชน์แอบแฝงหรือฝักใฝ่ฝ่ายใด จนส่งผลต่อการได้รับความไว้วางใจและตัดสินใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานจากทุกภาคส่วน น่าจะเป็นข้อค้นพบที่เป็นทางเลือกหนึ่งของการทำงานสาธารณะเพื่อท้องถิ่นอื่นๆ ในอนาคต |
||||||||||||
FACT SHEET เอกสารข้อมูล |
||||||||||||
เอกสารข้อมูลประกอบ : ห้องย่อยที่ 1 พื้นที่สาธารณะกับท้องถิ่นน่าอยู่ | ||||||||||||
เวทีสัมมนาวิชาการประชาสังคม “ทำการเมืองภาคพลเมืองในท้องถิ่นไทย : ความท้าทายแห่งยุคสมัย” วันที่ 19 พฤศจิกายน 2549 ที่ โรงแรม ปริ๊นพาเลซ กทม | ||||||||||||
สนับสนุนข้อมูลโดย
โครงการชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ จ.อุบลราชธานี (ฮักแพง…แปงอุบล) 353 ถ.สรรพสิทธิ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000 โทรศัพท์ 0-89619-2288 จัดทำโดย โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา เลขที่ 693 ถ.บำรุงเมือง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100 โทรศัพท์ 0-2621-7810-2 โทรสาร 0-2621-8042-3 www.ldinet.org สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) |
Be the first to comment on "เมื่อความฮักแพง…แปงอุบล ทำให้ต้องลุกขึ้นมาโสเหล่สาธารณะ"