นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ ชี้ธุรกิจเหล้า ใช้การสร้างภาพผ่านทูตของสินค้า สร้างความน่าเชื่อถือโดยทุ่มโฆษณาในรายการข่าว สารคดี ออกกฏหมาย Total Ban ให้ครอบคลุมไปถึงการโฆษณาทั้งใน-นอกพื้นที่สื่อ …
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ จ.พิษณุโลก |
||||||||||||||||
ซึ่งอาสาเป็นผู้ร้อยรัดการทำงานเพื่อสาธารณะของคนพิษณุโลก โดยประเด็นหลักในการขับเคลื่อนที่คณะทำงานตกลงใช้ร่วมกัน คือ มิติทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นความภาคภูมิใจของท้องถิ่นในการมีภูมิถิ่นภูมิเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันเกี่ยวโยงกับความอยู่รอดของชาติไทยมายาวนาน งานรำลึกถึงวันเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครบรอบ 400 ปี ซึ่งจัดขึ้นอย่างอลังการและใหญ่โตเมื่อเดือนพฤษภาคม 2548 น่าจะเป็นรูปธรรมของความภาคภูมิใจที่มีอยู่ได้ มิติทางประวัติศาสตร์ยังเป็นรากเหง้าที่บ่งบอกความเป็นชีวิตและสังคมของท้องถิ่นพิษณุโลก เป็นเรื่องเย็นที่ไม่นำไปสู่ความขัดแย้งของผู้คน หรือการต้องเผชิญหน้ากันระหว่างโจทย์และจำเลย และยังน่าจะเป็นจุดคานงัดที่นำไปสู่ความรู้สึกร่วมในความเป็นเจ้าของท้องถิ่น สร้างการตระหนักรู้ในสถานการณ์ของท้องถิ่นผ่านคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และก่อให้เกิดสำนึกแห่งความผูกพันต่อท้องถิ่นตนเองจนเห็นชะตากรรมร่วมที่จะนำไปสู่สังคมแห่งการพึ่งพาอาศัยกันในที่สุด |
||||||||||||||||
อย่างไรก็ดี แนวคิดที่จะรื้อฟื้นประเพณี “แห่ผ้าห่มหลวงพ่อ” ให้กลับคืนมาอีกครั้งยังเป็นความหวังในการสร้างสำนึกร่วมทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น โดยอาศัยพลังศรัทธาและสิ่งที่อยู่ในจิตใจของคนเมืองพิษณุโลก ทั้งยังเป็นกระบวนการเคลื่อนไหวที่ลงทุนลงแรงน้อยเพราะเป็นสิ่งที่มีเป็นทุนอยู่แล้วในจิตใจคน กระบวนการที่ตามมาหลังจากได้ประเด็นหลักดังกล่าว จึงมุ่งเรื่องการขยายแนวคิดและเครือข่ายคนทำงาน ซึ่งเท่ากับเป็นงานชำระประวัติศาสตร์สำคัญของคนเมืองพิษณุโลกเลยทีเดียว เพราะกระบวนการขับเคลื่อนผ่านเวทีเครือข่ายผู้อาวุโสด้านประวัติศาสตร์ ตลอดจนนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ นักวัฒนธรรมศึกษา พระสงฆ์ ชาวบ้าน ที่ทยอยมาเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเพิ่มขึ้น ได้ช่วยให้งานสืบค้นประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นพิษณุโลกมีความถูกต้องน่าเชื่อถือมากขึ้น นอกเหนือจากการค้นคว้าทบทวนในเอกสาร หนังสือ หรือจดหมายเหตุ การค้นหาอดีตของท้องถิ่นผ่านประเด็นการแห่ผ้าห่มหลวงพ่อยังนำไปสู่การล่องเรือสำรวจเส้นทางประวัติศาสตร์ทางน้ำ ทำให้พบชุมชนริมน้ำที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายแห่งเพราะในอดีตชุมชนเหล่านี้ต้องนำผ้าลงเรือเพื่อมาถวายพระพุทธชินราชที่วัดใหญ่หรือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารทุกปี การสำรวจชุมชนริมน้ำได้ทำให้บางชุมชนเกิดการตื่นตัวที่จะรื้อฟื้นอดีตของชุมชนตนเอง เช่น ชุมชนวัดปากพิง ซึ่งทราบอยู่ก่อนแล้วว่าหมู่บ้านของตนเองเคยเป็นสมรภูมิรบสมัยสงครามเก้าทัพมาก่อน เมื่อมีโอกาสได้คุยกันอย่างจริงจังสมาชิกในชุมชนจึงตกลงกันว่าทุกปีต่อไปนี้จะมีการทำบุญให้แก่ผู้เสียชีวิตในสนามรบโดยจะจัดขึ้นในวันปราบดาภิเษกฯ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (28 ธันวาคม ของทุกปี) กิจกรรมที่จัดขึ้นได้ทำให้เห็นความเชื่อมโยงของวิถีชีวิตผู้คนในอดีตต่อพระพุทธชินราชจนเป็นศูนย์รวมทางจิตวิญญาณของคนทั่วไป การล่องเรือยังทำให้เห็นสภาพที่เปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศทางน้ำจนเป็นสาเหตุของการยกเลิกประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นไป สิ่งสำคัญ แม้การสำรวจเส้นทางประวัติศาสตร์ทางน้ำจะยังไม่สามารถทำให้เกิดภาพเหมือนเช่นอดีตที่คนแต่ละชุมชนช่วยกันแห่ผ้ามาห่มพระได้แต่ก็ได้จุดประกายความคิดในการรู้จักรากเหง้าท้องถิ่นตัวเอง และสร้างความเคลื่อนไหวเล็กๆ ในชุมชุมแต่ละแห่งให้เกิดขึ้นแล้ว |
||||||||||||||||
N อุปสรรค ปัญหา และผลสะเทือน
อาจเนื่องด้วยลักษณะทางสังคมไทยที่ไม่ค่อยให้คุณค่ากับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมากนัก ประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงเป็นประวัติศาสตร์ที่ขาดหาย ไม่สมบูรณ์ หรือเป็นประวัติศาสตร์ที่ค้นคว้าผ่านมุมมองของนักวิชาการหรือราชการมากกว่า ในขณะที่ประวัติศาสตร์แบบชาวบ้านซึ่งมาจากภูมิความรู้ของท้องถิ่นมักถูกละเลยและหล่นหาย การค้นหาอดีตเพื่ออธิบายตัวตนของท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำโดยทุกวิถีทางผ่านทุกเครือข่ายที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งคณะทำงานโครงการชีวิตสาธารณะฯ จ.พิษณุโลก ได้เริ่มทดลองทำไปบ้างแล้วด้วยการจัดเวทีพูดคุย เสวนา และสัมภาษณ์กับเครือข่ายพระสงฆ์ เครือข่ายครูประวัติศาสตร์ กลุ่มผู้บริหาร เพื่อเชื่อมร้อยเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ประการที่สอง การทำงานที่ต้องประสานร่วมกับภาครัฐซึ่งเป็นระบบราชการที่แข็งตัว ไม่ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วม นับเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนงานสาธารณะ ประกอบกับการขาดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมของผู้บริหารซึ่งส่งผลต่อการทำงานร่วมกับภาคประชาชน ราชการจึงเป็นเพียงฝ่ายที่รอชื่นชมแล้วนำไปเป็นผลงานมากกว่าจะลงมาร่วมขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน ประการที่สาม มุมมองเรื่องการมองพื้นที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันของหน่วยงานที่มีรับผิดชอบโดยตรงกับคนในท้องถิ่นทำให้กระบวนการขับเคลื่อนสู่การมีชีวิตสาธารณะร่วมกันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เนื่องจากพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ทั้งหมดในประเทศอยู่ในกรรมสิทธิ์การดูแลของหน่วยงานราชการที่มีอำนาจตัดสินใจอยู่ที่ส่วนกลาง ในขณะที่สถานที่ทางประวัติศาสตร์เหล่านั้นมีพื้นที่จริงอยู่ติดกับชุมชนหมู่บ้านซึ่งควรเป็นผู้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาหรือแสดงความคิดเห็นต่อทิศทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์เหล่านั้นด้วย ประการสุดท้าย ขณะที่ภาพใหญ่ของสังคมไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาโดยมีตัวเลขทางเศรษฐกิจเป็นเครื่องชี้วัด แต่คุณค่าทางสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ไม่สามารถวัดมูลค่าเชิงปริมาณได้ องค์พระพุทธชินราชซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมทางจิตใจทั้งของชาวเมืองพิษณุโลกและชาวไทย จึงถูกมองผ่านแว่นขยายของการท่องเที่ยวที่สามารถสร้างมูลค่าให้เพิ่มมากขึ้นกว่าคุณค่าเดิมที่มีอยู่ รวมทั้งการให้ความสำคัญกับสิ่งที่สามารถสร้างรายได้ได้ เช่น ร้านค้าขายของที่ระลึกต่างๆ มากกว่าพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ซึ่งอธิบายความสำคัญของท้องถิ่นได้ ระบบการมองคุณค่าและมูลค่าที่แตกต่างกันของสังคมใหญ่ที่กดทับความภาคภูมิใจในคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นเล็กๆ จึงทำให้การรื้อฟื้นประเพณีอันดีงามเป็นเพียงเรื่องของคนกลุ่มหนึ่งที่ถูกมองว่าหัวเก่า ประกอบกับพื้นที่ทางประวัติศาสตร์นี้ข้องเกี่ยวกับตัวแทนภาครัฐที่เข้ามาดำเนินการแต่ไม่ให้เวลากับการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาไปในทิศทางที่ควรเป็นหรือสอดคล้องกับความต้องการของคนพื้นถิ่น สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอีกอุปสรรคสำคัญยิ่งในการผลักดันงานชีวิตสาธารณะที่เข้มแข็งแม้จะผ่านมิติทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เป็นศูนย์รวมความศรัทธาของผู้คนได้ แต่ก็สวนทางและท้าทายกับระบบคิดและชุดประสบการณ์ที่ถูกกระแสทุนนิยมของโลกกดทับมาเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม กระบวนการเพื่อผลักดันและเคลื่อนไหวงานชีวิตสาธารณะโดยผ่านประเด็นประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นเมืองพิษณุโลก ซึ่งให้ความสำคัญกับการทบทวน รื้อฟื้น คุณค่าที่มีมาในอดีต ก็ได้สร้างความเข้าใจและความตระหนักในปัญหาที่ท้องถิ่นกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน และยังสร้างการตื่นตัวให้เกิดขึ้นโดยเฉพาะกับชุมชนซึ่งนอกจากที่ชุมชนบ้านปากพิงแล้ว การกำหนดจัดพิธีไหว้ครูภูมิปัญญาพื้นบ้านร่วมกันของคนชุมชนวัดโบสถ์ในทุกวันพฤหัสบดีข้างขึ้นเดือนหกของทุกปีก็เป็นอีกรูปธรรมหนึ่งของการตื่นตัวในทุนทางประวัติศาสตร์จนนำมาสู่การสร้างพลังของท้องถิ่นร่วมกัน นอกจากนี้ หน่วยงานราชการ เช่น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลกก็ได้เริ่มจับทิศทางในการหาพันธมิตรเพื่อจัดทำลานวัฒนธรรมเพื่อเยาวชนและครอบครัวได้อย่างถูกฝากถูกตัว ด้านสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิษณุโลกก็ได้เอ่ยปากเชิญทีมบริหารของโครงการฯ ไปร่วมขับเคลื่อนในประเด็นการพัฒนาสังคมอย่างมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งเป็นหนทางที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงตามที่โครงการตั้งเป้าหมายไว้ |
||||||||||||||||
N ข้อค้นพบและบทเรียน 1. การขับเคลื่อนผ่านประเด็นที่เป็นประวัติศาสตร์ความภาคภูมิใจของท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ลงทุนน้อย เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในจิตใจของคนท้องถิ่น แต่สามารถสร้างการตื่นตัวและการมีส่วนร่วมได้มาก ทั้งยังมีหน่วยงานและชุมชนที่เห็นความสำคัญนำไปขยายผลและดำเนินการต่อ แต่สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือ การจะกระตุ้นสิ่งที่เป็นแรงศรัทธาซึ่งอยู่ในจิตใจของผู้คนให้เกิดเป็นพลังสาธารณะได้อย่างไร 2. การทำงานเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายโดยมีประเด็นร่วมเดียวกัน ทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่างๆ มีความเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง โดยเฉพาะการเข้ามาเรียนรู้ในรากเหง้าท้องถิ่นตนเองของกลุ่มของเยาวชนซึ่งจะค่อยๆ ซึมซับวิธีคิดและมุมมองให้เห็นความสำคัญและภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 3. การมีพื้นที่ของการรวมตัวกันเพื่อมาช่วยกันคิด ช่วยกันทำ แม้ผลจากสิ่งที่ทำจะยังไม่ประสบความสำเร็จในวันนี้ แต่ก็ได้ทำหน้าที่เชื่อมร้อยและจุดประกายกลุ่มคนที่มีความรัก ความสนใจไว้ด้วยกัน และยกระดับตัวเองขึ้นเป็นกลุ่มหรือสถาบัน เช่น เครือข่ายผู้สนใจประวัติศาสตร์ ซึ่งจะเป็นต้นทุนทางสังคมของท้องถิ่นพิษณุโลกต่อไป 4. เมื่อเปรียบเทียบการขับเคลื่อนงานระหว่างพื้นที่เมืองและชนบทแล้ว ต้องยอมรับว่าการเคลื่อนงานในชนบทสามารถทำได้ง่ายกว่าเพราะสภาพความเป็นชุมชนในภาคชนบทยังไม่ถูกเปลี่ยนแปลงหรือกระทบจากภาวะความเป็นเมืองมาก ซึ่งน่าจะเป็นจุดเริ่มและทางเลือกสำหรับการเคลื่อนไหวงานเชิงประเด็นต่อไป 5. หากความหมายของการมีชีวิตสาธารณะ คือ การรวมพลังของกลุ่มคนเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขแล้ว ก็ย่อมหมายถึงการสร้างพื้นที่โอกาสของการแสดงความคิด ลงแรงร่วมกัน และตัดสินใจร่วมกันว่าทำอย่างไรจึงจะเกิดความสุข บทเรียนจากการทำงานร่วมกับภาคราชการในท้องถิ่นน่าจะเป็นหนทางสู่การค้นหาวิธีการทำงานที่เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีการทำงานของแต่ละภาคฝ่าย บนพื้นฐานการมองประโยชน์อันเป็นเป้าหมายสุดท้ายเป็นตัวตั้ง 6. การทำงานผ่านเครือข่ายต้องยอมรับในความหลากหลายซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา แต่หากมีประเด็นร่วมที่ชัดเจนซึ่งสามารถร่วมกันได้ก็จะทำให้การทำงานแบบเครือข่ายเกิดขึ้นได้ ขณะเดียวกัน องค์กรสาธารณะทั้งหลายควรเชื่อมโยงการทำงานสาธารณะด้วยกัน โดยไม่ปิดกั้นตัวเอง เพื่อเป็นองค์กรประสานและเอื้อประโยชน์สู่การสร้างชุมชนที่เข้มแข็งได้จริง 7. ระยะเวลา 3 ปีของการดำเนินงานโครงการชีวิตสาธารณะฯ ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะทำให้เห็นการผลิดอกออกผลของสิ่งที่ทำได้ โดยเฉพาะการเคลื่อนงานจากเรื่องเล็กๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มพลังไปสู่เรื่องที่ใหญ่ขึ้นต่อไป |
||||||||||||||||
FACT SHEET เอกสารข้อมูล |
||||||||||||||||
เอกสารข้อมูลประกอบ : ห้องย่อยที่ 2 การสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่นกับวิถีชีวิตสาธารณะ | ||||||||||||||||
เวทีสัมมนาวิชาการประชาสังคม “ทำการเมืองภาคพลเมืองในท้องถิ่นไทย : ความท้าทายแห่งยุคสมัย” วันที่ 19 พฤศจิกายน 2549 ที่ โรงแรม ปริ๊นพาเลซ กทม | ||||||||||||||||
สนับสนุนข้อมูลโดย
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ จ.พิษณุโลก (สถาบันพัฒนากระบวนการเรียนรู้) อาคาร 5 ม.ราชภัฎพิบูลสงคราม ถ.วังจันทร์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ 0-4048-5822, 0-6591-7844 โทรสาร 0-5521-6606 จัดทำโดย โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา เลขที่ 693 ถ.บำรุงเมือง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100 โทรศัพท์ 0-2621-7810-2 โทรสาร 0-2621-8042-3 www.ldinet.org สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) |
Be the first to comment on "เวทีมีเดียมอนิเตอร์พบโฆษณาเหล้าทางทีวีสะท้อนความอ่อนแอของกลไกรัฐ"