การยึดอำนาจการปกครองของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จากรัฐบาลของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ส่งสัญญาณความท้าทายต่ออาชีพนักสื่อสารมวลชน…
เสรีภาพที่โบยบินหรือ…..การปลิดปลิวของใบไม้แห้ง | |||
โดย ณาตยา แวววีรคุปต์ | |||
![]() |
|||
การยึดอำนาจการปกครองของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จากรัฐบาลของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ส่งสัญญาณความท้าทายต่ออาชีพนักสื่อสารมวลชนอย่างไม่ต้องสงสัย โดยเฉพาะในคืนวันอังคารที่ 19 กันยายน 2549 ที่ภาพ การเข้ายึดพื้นที่สถานีโทรทัศน์ เกิดขึ้นแบบที่สื่อมวลชนผู้ร่วมสมัยกับเหตุการณ์ รสช. ยึดอำนาจเมื่อ 15 ปีที่แล้ว บอกว่าเป็นภาพทรงจำที่ย้อนกลับ แต่แล้วไม่ทันล่วงข้ามคืนของวันรุ่งขึ้น คนร่วมสมัยเหล่านั้น ก็ประสานเสียงว่า การคืนโอกาสเพื่อทำหน้าที่ ของสื่อมวลชนของทั้งสอง เหตุการณ์นั้นแตกต่างอย่างสำคัญ เสรีภาพสื่อในมือเผด็จการกลับมาโบยบินได้อีกครั้งในเวลาไม่นานนักอย่างคาดไม่ถึงท่ามกลางสถานการณ์การยึดอำนาจโดยเหล่าทัพที่มีทั้งกำลังทหาร และอำนาจตามประกาศกฎอัยการศึก แต่…. เสรีภาพที่โบยบิน กลับกลายเป็นเพียงการปลิดปลิวของใบไม้แห้ง แม้จะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ….! แม้เป็นสิทธิโดยชอบด้วยกติกาสากลที่รับรองสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชน ….!! |
|||
บทความนี้ ไม่ได้รับรองความชอบธรรมของการยึดอำนาจ แต่ “การเซ็นเซอร์ตัวเอง” คือสิ่งที่นักวารสารศาสตร์กล่าวไว้ว่า น่าหวาดกลัวยิ่งกว่า อำนาจเผด็จการ การเซ็นเซอร์ตัวเองของสื่อ ทำให้มุมมองอันหลากหลายในเชิงสร้างสรรค์ ถูกปิดกั้นพื้นที่ การเซ็นเซอร์ตัวเองของสื่อโทรทัศน์ ทำให้พื้นที่ที่ควรเป็นประโยชน์สาธารณะถูกใช้สำหรับการบอกกล่าว และรายงานเพียงสิ่งที่ปรากฏให้เห็นตรงหน้าแบบง่ายๆ ทั้งมีการบอกกล่าวอย่างกว้างขวางผ่านสื่อหลากหลายอยู่แล้ว ยังไม่ต้องคิดกันไปถึง การทำหน้าที่เพื่อท้าทายอำนาจและค้นหาความมีอยู่จริงของสิทธิและเสรีภาพ อันเป็นหัวใจของประชาธิปไตย ซึ่ง คณะปฏิรูปฯ กล่าวอ้าง |
|||
แต่บททดสอบเหล่านี้ ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น ขณะเดียวกัน ท่ามกลางปัญหาของบ้านเมืองพื้นที่สาธารณะของคลื่นโทรทัศน์ ก็ถูกใช้ในการฉายภาพซ้ำกับสิ่งที่ประชาชนหารู้ได้จากที่อื่น … เป็นการปล่อยประโยชน์ให้ว่างเปล่าเพื่อรอให้ผ่านพ้นคืนวันอันวิกฤติ ทั้งที่วิกฤติการณ์เหล่านั้นมีจุดเปลี่ยนได้ด้วยการทำหน้าที่ของสื่ออันทรงพลัง เพราะความเห็นที่แตกต่างนั้นไม่ใช่ความแตกแยก การแสดงและเสนอความคิดอ่านอันหลากหลายภายใต้หลักการ การสร้างสรรค์ สุภาพ และรับผิดชอบ จึงควรข้ามพ้นจากความไม่ควร ภายใต้สำนึกแห่งหน้าที่ การนำเสนอความเห็นที่สร้างสรรค์ ในมุมมองอันหลากหลาย คือภารกิจที่ต้องรับผิดชอบของนักสื่อสารมวลชน ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงกะทันหันการหยุดคิดถึงผลของการทำหน้าที่อย่างมีสติ และใช้สติในการทำหน้าที่ ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์จากงานนั้น ซึ่งงานของนักสื่อสารมวลชนประโยชน์ ย่อมหมายถึงมวลชนและประเทศชาติ หากนำหลักธรรม มาใช้เป็นหลักแกนในการตริตรอง การหยุดทำหน้าที่ โดยสติมิได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือ ย่อมมิได้นำไปสู่การใช้ปัญญาเพื่อแสวงหาเหตุผลและตัดสินใจ หากความหมายของธรรมะ นั้น คือหน้าที่ จะมิได้หมายความว่างานที่ทำไปด้วยจิตเช่นนั้น เป็น อธรรม เช่นนั้นหรือ !?! |
|||
ที่มา : สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย www.thaibja.org |
Be the first to comment on "เสรีภาพที่โบยบินหรือ…..การปลิดปลิวของใบไม้แห้ง"