คลื่นยักษ์ที่ซัดกระหน่ำชายฝั่งทะเลภาคใต้ เมื่อวันที่ 26 – 27 ธันวาคม 2547 ก่อให้เกิดความเสียหายให้กับชุมชนชาวประมงพื้นบ้านซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลและเกาะของจังหวัดระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล จำนวน 492 ชุมชน…..
เรียบเรียงโดย สันสกฤต มุนีโมไนย
|
คลื่นยักษ์ที่ซัดกระหน่ำชายฝั่งทะเลภาคใต้ เมื่อวันที่ 26 – 27 ธันวาคม 2547 ก่อให้เกิดความเสียหายให้กับชุมชนชาวประมงพื้นบ้านซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลและเกาะของจังหวัดระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล จำนวน 492 ชุมชน การสำรวจความเสียหายเบื้องต้น พบว่า เรือและเครื่องมือการประมงของชาวประมงพื้นบ้านเสียหายกว่า 2000 ลำ และก่อความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งทรัพยากรชายฝั่งทะเล* วันนี้ (6 มกราคม 2548) ที่ห้องประชุม สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา(LDI) จึงได้จัดสัมมนาเรื่อง สถานการณ์ในเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ และแนวทางการขับเคลื่อนงานโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่
· เรื่องการช่วยเหลือชาวประมง เป็นประเด็นที่สื่อไม่ค่อยกล่าวถึง แต่มักจะไปกล่าวถึงความเสียหายทางธุรกิจมากกว่า · หน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพ (ส.ป.ร.ส) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ฯลฯ ต้องทำหน้าที่ต่อกับภาครัฐ เช่นในเรื่องการช่วยเหลือชาวประมง · มองให้เห็นภาพรวม ต้องมองให้ชัดว่างานที่ขาดคืออะไร เช่นแผนในการฟื้นฟูระยะ ยาว จะดำเนินการอย่างไร · ด้านการจัดการเรื่องอาหาร เสื้อผ้า ฯลฯ ที่หลั่งไหลมาจากทั่วประเทศ ยังไม่มีการจัดการที่ดี เช่น ปลากระป๋องตามวัดต่างๆที่ภูเก็ตมีมาก ควรนำของที่มีอยู่มาแจกจ่ายให้ประชาชนก่อน ไม่ควรเสียงบประมาณขนส่งอาหารแห้งทางเครื่องบิน*
จากนั้น นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาประชาสังคม กล่าวสรุปประเด็น ต่างๆ ดังนี้ 1. เรื่องการ จัดตั้งองค์กรภาคประชาชน เราต้องยึดชุมชนกับพื้นที่ – การก่อตัวของคณะทำงานในทุกพื้นที่ องค์กรส่วนกลาง เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพ (ส.ป.ร.ส) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ฯลฯ จะช่วยรองรับในด้านต่างๆ – องค์กรส่วนกลางจะจัดตั้ง สร้างนโยบายและเครือข่ายชุมชน รวมถึงการเชื่อมกับรัฐบาล ผ่านทาง รองนายกฯ จาตุรนต์ ฉายแสง เพื่อนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี 2. จนถึงวันนี้ เรื่องข้อมูลต่างๆ ยังไม่ถูกต้องและครบถ้วน เช่น ข้อมูลเรื่องชุมชนที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ทั้งผู้ที่บาดเจ็บ เสียชีวิต สูญหาย กำพร้า ข้อมูลเหล่านี้ต้องครบถ้วน – ข้อมูลทางธุรกิจ มีผลกระทบอย่างไร แนวโน้มต่อจากนี้จะเคลื่อนตัวไปอย่างไร คณะทำงานของเราต้องลงไปในพื้นที่ สำรวจอย่างมีส่วนร่วม คือทำงานร่วมกับประชาชน อย่างรวดเร็ว ให้ข้อมูลครบถ้วน ถูกต้องที่สุด 3. ทำระบบ JIS ให้เห็นผลกระทบและภาพทั้งหมด 4. พัฒนาระบบการจัดการ ระยะฉุกเฉินและระยะยาว – ระยะฉุกเฉิน ช่วยเหลือคนให้เร็วที่สุด ให้คนกำหนดอนาคตตนเองได้ การช่วยเหลือต้อง สอดคล้องกับวัฒนธรรมชุมชนและศักศรีดิ์ของความเป็นมนุษย์ – ระยะยาว ทำแผนแม่บทภาคประชาชน (Master Plan) เรื่องฟื้นฟูชุมชน ต้องสอดคล้องกับ วัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น ด้านสิ่งแวดล้อม ใช้อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม ด้านธุรกิจ กำหนกทิศทางการฟื้นฟูภาคธุรกิจ แผนแม่บทระยะเริ่มต้น ว่าด้วยเรื่องยุทธศาสตร์เรื่องใหญ่ๆ ต้องทำให้ทันระบบรัฐบาล และผลักดันไปสู่นโยบายของรัฐ การดำเนินการในเรี่องนี้เป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือร่วมใจแก้ปัญหาอย่างจริงใจและมีทิศทาง มีการจัดการที่ดีในทุกด้าน เพื่อบรรเทาและเยียวยาแผลในใจของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์ให้หายโดยเร็วที่สุด
* สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้าน ,กลุ่มเพื่อนอันดามัน ,สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานภาคใต้ ,คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ ,โครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้:ดับบ้านดับเมือง เรียนรู้อยู่ดีที่ปักษ์ใต้ ,โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่
* นายบัญญัติ จริยเลอพงษ์ คณะทำงานโครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ – ท้องถิ่นน่าอยู่ จ.ภูเก็ต |
Be the first to comment on "แบ่งเบาทุกข์จากคลื่นยักษ์ ฟื้นฟูชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน"