เริ่มจากตัวเอง มองตัวเอง เปิดใจกว้าง นิ่งสงบรับฟังความคิดเห็นใหม่ๆ เพื่อการดึงศักยภาพของแต่ละคนออกมาและพัฒนาศักยภาพร่วมกัน
หลายปีมานี่ทั้งหน่วยงานและองค์กรต่างก็ตระหนักดีและเห็นด้วยกับแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งถือว่ามีความสำคัอย่างยิ่งต่อความเจริเติบโตขององค์กรและประเทศ ที่ผ่านมาหลายคนคงคุ้นเคยกับการจัดอบรมเสริมวิชาการ เพิ่มความรู้ และ จัดทัศนศึกษาดูงาน ซึ่งในกระบวนการนั้นมักจะเชิผู้รู้มาเป็นวิทยากร เน้นการให้ความรู้ป็นส่วนให่ การมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมอบรมในเชิงแลกเปลี่ยนความคิด การมองตัวเอง และการฝึกรับฟังผู้อื่นนั่นถือว่ายังน้อยในการส่งเสริมตรงจุดนี้
กระบวนการ “ไดอะล็อก” เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการพัฒนาบุคลากรที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคน ใจคนเพื่อนำไปสู่การทำงานที่เป็นทีม
ณ วันที่ 3-6 มิถุนายน 2547 ที่ปะการังรีสร์อท ต.ตะกั่วป่า จ.พังงาและ 17-20 มิถุนายน 2547 ที่รอยัลฮิลล์ รีสร์อท จ.นครนายก การอบรมเรียนรู้หลักสูตร “ไดอะล็อก” โดย อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ และอ.ปาริชาต สถาปิตานนท์ เป็นผู้ดำเนินการฝึกอบรม สิ่งหนึ่งที่สัมผัสและรู้สึกได้ถึงความแตกต่างจากการอบรมทั่วไปคือ กระบวนการฝึกคนให้กล้าคิด ให้รู้จักเปิดใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและพร้อมยอมรับฟังเมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์กลับ ทุกคนมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ
ทุกๆ เช้าก่อนเข้าสู่กระบวนการจะเริ่มด้วยการนั่งสมาธิทำใจให้ว่างก่อน หลังจากนั้นเข้ากลุ่มประมาณ 5-6 คน ทำการ Check-in คือการระบายสิ่งที่ติดค้างอยู่ในใจเรื่องอะไรก็ได้ที่เราอยากพูด ผลักกันระบายผลักกันฟังความคุ้นเคยก็เกิดขึ้น ถือเป็นการอุ่นเครื่อง ต่อจากนั้นจึงเข้าสู้กระบวนการโดย อ.ชัยวัฒน์และอ.ปาริชาต ผลักกันอธิบายความหมายของ “ไดอะล็อก” , ทำไมต้อง “ไดอะล็อก” และ “ไดอะล็อก” ช่วยอะไรเรา? สลับกับการฝึก แลกเปลี่ยน นิ่งฟังอย่างมีสมาธิขณะที่เพื่อนพูดด้วยความเคารพเพื่อน ฝึกการเชื่อมโยงและแขวนข้อมูลไว้ก่อนอย่ารีบร้อนตัดสินใจหรือสรุป ตัวอย่างกิจกรรมเช่น ฉายโปรเจ็คเตอร์ อธิบายความหมายของไดอะล็อก, ฝึกทักษะการสื่อสาร การฟัง ด้วยการแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิด, ฉายหนังให้ดูแล้วให้สะท้อน มุมมอง ความรู้สึก สิ่งที่ได้จากการดูหนัง (ฝึกวิเคราะห์) ผ่อนคลายด้วยการพักรับประทานอาหารว่างและสันทนาการ จบด้วยการ Check-out ทุกวัน การ Check-out คือการนั่งตรวจสอบตัวเองว่าวันนี้ทั้งวันเราได้อะไรบ้างจากการอบรม
“ไดอะล็อก” เป็นการเริ่มจากตัวเอง มองตัวเอง เปิดใจกว้าง นิ่งสงบรับฟังความคิดเห็นใหม่ๆ เป็นการดึงศักยภาพของแต่ละคนออกมาและพัฒนาศักยภาพร่วมกัน การพูดคุยไม่จำเป็นต้องมีเป้าหมายทุกครั้งไป เน้นที่การฝึกปฏิบัติและสมาธิ
แน่นอนการที่จะเป็นคนใจกว้าง นิ่งสงบมีสมาธิในการฟังและไม่ตัดสินอะไรง่าย ๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายในการทำและเป็น หลายคนอาจรู้สึกอึดอัด ฝืนในครั้งแรก แต่สิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปเมื่อผ่านการฝึกอย่างต่อเนื่อง ก่อเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาตามลำดับ
เมื่อคนเปิดใจกว้าง ใจสงบ คิดรอบครอบมองรอบด้าน เชื่อมโยงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบและเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว ครอบครัว การทำงานกับคนอื่นก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ตระหนกและมองเห็นทางออกเมื่อเจอปัหา นี่กระมังเขาถึงจะเรียกว่าการพัฒนาศักยภาพของคน
“ศักยภาพในการพูดคุยร่วมกันเป็นพื้นฐานในการก่อกำเนิดของประชาธิปไตยการสนทนาอย่างมีสมาธิ เป็นแก่นแห่งวิถีปฏิบัติของพลเมืองซึ่งแยกไม่ออกจากระบบการปกครองตนเอง” Peter Senge
แนะนำหนังสืออ่านประกอบ
Be the first to comment on "“ไดอะล็อก” การสนทนาอย่างมีสมาธิ"