บทเรียน 12 ปี ประชาสังคมกับกระบวนการสันติภาพ
โครงการถอดบทเรียน 12 ปี พัฒนาการและบทบาทของประชาสังคมกับกระบวนการ
สันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้และการจัดทำ Roadmap สภาประชาสังคมชายแดนใต้เป็นการวิจัยเชิง
ปฏิบัติการดาเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 – พฤษภาคม 2559 โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 5 เวที
มีผู้เข้าร่วมโครงการประกอบไปด้วยสมาชิกจากองค์กรภาคประชาสังคม 108 คน กว่า
57 หน่วยงาน จากกลุ่มองค์กรหลัก 6 กลุ่ม จัดเวทีคืนข้อมูลแก่ผู้เข้าร่วม อีก 1 ครั้ง เพื่อขอความคิดเห็น
ไปสู่การจัดทายุทธศาสตร์ประชาสังคมชายแดนใต้ สัมภาษณ์เชิงลึกจากตัวแทนผู้เข้าร่วมจานวน 35 คน
การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นดาเนินการโดยใช้กรอบคำถามหลัก ได้แก่
- สถานการณ์ชายแดนใต้รอบ 12 ปีที่ผ่านมา เป็นอย่างไร มีทิศทางไปสู่สันติภาพหรือไม่
- ความหมายของสันติภาพในนิยามของภาคประชาสังคมชายแดนใต้ คืออะไร
- อะไรคือความกังวลและความคาดหวังของภาคประชาสังคมชายแดนใต้
- การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค ในการทางานของสภาประชาสังคมชายแดนใต้และทิศทางการทางานในอนาคต
ผลที่ได้รับจากเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้ถูกนามาประมวลไว้นามาเขียนเป็นรายงาน
ฉบับสมบูรณ์ต่อไป ทั้งนี้เพื่อเป็นการทบทวนสถานการณ์สันติภาพในมุมมองของภาคประชาสังคม
คาถามแรกก่อนที่จะเริ่มเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทุกครั้งผู้เข้าร่วมจะได้ร่วมแสดงความคิดเห็น
นิยามสันติภาพที่อยากจะให้เกิดขึ้นเป็นเช่นไร
เมื่อมีการรวบรวมนิยามสันติภาพของภาคประชาสังคมพบว่า ผู้เข้าร่วมได้ให้นิยามสันติภาพ
ที่หลากหลาย แบ่งออกเป็น 6 ด้านด้วยกัน คือ 1. พหุวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกัน 2. การพัฒนา
คุณภาพชีวิตและจิตใจ 3. ความเป็นธรรม 4. การมีพื้นที่ทางการเมือง 5. การยุติความรุนแรงและการ
สร้างความปลอดภัย 6. ความเป็นอิสระในวิถีชีวิตของตนเอง
จะเห็นได้ว่าผู้เข้าร่วมฯ ให้ความสาคัญกับนิยามสันติภาพที่ค่อนข้างครอบคลุมหลายมิติและ
เป็น“สันติภาพที่ยั่งยืน” ไม่ใช่เพียงแต่สันติภาพที่เกิดขึ้นจากการยุติปัญหาความรุนแรงเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางบริบทความขัดแย้งที่สลับซับซ้อนในจังหวัดชายแดนใต้ตั้งแต่ ปี
2547 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 12 ปี การทางานของภาคประชาสังคมชายแดนใต้ค่อนข้างมีพลวัต
และการปรับตัวค่อนข้างสูงตามห้วงเวลาสาคัญต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลง จึงมีความจาเป็นที่ต้องย้อนกลับ
ทบทวนการทางานตลอด 12 ปีที่ผ่านมาว่าเป็นไปอย่างไร และอะไรคือสิ่งที่จะต้องปรับปรุงเพื่อหาจุด
ร่วมและทิศทางในการทางานร่วมกันในอนาคต
ดูเหมือนว่า “สันติภาพที่ยั่งยืน” ที่ภาคประชาสังคมปรารถนานั้นจะสามารถผลักดันให้
ประสบความสาเร็จหรือไม่นั้น อาจต้องมีวิธีการบางอย่างที่กาหนดและดาเนินยุทธศาสตร์ร่วมกัน ผ่าน
“พื้นที่กลาง” หรือ “พื้นที่ร่วม” โดยบทบาทของสภาประชาสังคมชายแดนใต้ได้รับการยอมรับว่าเป็น
“พื้นที่กลาง” ในการขับเคลื่อนสันติภาพของภาคประชาสังคมต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2552 จะมีทิศทางที่
สอดคล้องกับความต้องการของภาคประชาสังคมจังหวัดชายแดนใต้อย่างไรบ้าง
อ่านฉบับเต็มได้ที่