ข่าวและสกู๊ปเดือน ตุลาคม 2559

PAW จัดสานเสวนา TOT + CSOs

คณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้(PAOW) จัดกิจกรรมสานเสวนา TOT + CSOs ภายใต้โครงการ “ขบวนผู้หญิงกับการสร้างสภาวะแวดล้อมที่้เอื้อต่อกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้” โดยมีการสรุปสถานการณ์การพูดคุยและเสียงสะท้อนการเคลื่อนไหวของ PAOW, ฝึกการนำเสนอสื่อ, หลักการและทักษะการใช้เครื่องมือ “เวทีประชาหารือ”, ข้อเสนอแนะและมาตรการกลไกพื้นที่สาธารณะปลอดภัย และวิเคราะห์ เติมเต็ม ข้อเสนอประเด็นสำคัญพร้อมวางแผนลงพื้นที่ปฏิบัติจริง เมื่อวันที่ 9-11 ตุลาคม 2559 ณ โรงแรมซี.เอส.ปัตตานี

คณะทำงานฯ ตกลงใช้ชื่อ PAOW  : Peace Agenda of Women แทน PAW ซึ่งใช้มาแต่เริ่มต้น เป็นคนทำงานเรื่องร้องขอพื้นที่ปลอดภัยจากผู้ใช้อาวุธทั้ง A และ B ต้องทำงานที่สวนกระแส Gender bending  มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนและได้มาจากพื้นที่ เป็นเครื่องมือที่จะไปคุยกับกลุ่มอื่นๆ ได้ นำข้อเสนอที่ตกผลึก ต้องคิด ต้องคุยกับกลุ่มต่างๆ โดยพื้นที่ปลอดภัยเป็นสิ่งที่ต้องเกิดก่อนอย่างอื่น เพื่อให้คนกล้าพูด การที่ผู้หญิงทำงานในพื้นที่สาธารณะ จึงอยากให้ทำพื้นที่ปลอดภัย เป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด

คณะทำงานฯ มีการตกลงจัดเวทีสานเสวนาในพื้นที่ 3 จังหวัด (นราธิวาส ยะลา ปัตตานี) ซึ่งจ.นราธิวาสจะจัดในวันที่ 5 พ.ย. 2559 ส่วนจ.ยะลา และจ.ปัตตานี ยังกำหนดวันไม่ได้

PAOW เยี่ยมเหยื่อระเบิดตลาดโต้รุ่งปัตตานี

คณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้(PAOW) เยี่ยมและให้กำลังใจแก่เหยื่อเหตุการณ์ระเบิดร้านก๋วยเตี๋ยวตลาดโต้รุ่งปัตตานี ซึ่งพักรักษาตัว ณ โรงพยาบาลปัตตานี เมื่อเร็วๆ นี้

เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้ได้รับผลกระทบที่เข้ารักษาตัวคืนเกิดเหตุในโรงพยาบาลปัตตานีทั้งหมด 21 คน เสียชีวิตหนึ่งคน บาดเจ็บสาหัส 3 คน ยังรักษาตัวต่อ 11 คน ซึ่ง 2 รายอาการยังสาหัส ครอบครัวหนึ่งประสบชะตากรรมทั้งพ่อแม่ลูก ช่างเป็นภาพที่น่าหดหู่และอัดอั้นความรู้สึกเหลือเกิน

เครือข่ายผู้หญิงเคยเรียกร้องให้ตลาด เป็นพื้นที่สาธารณะและต้องปลอดภัยสำหรับผู้หญิงและทุกคน ด้วยการยกเว้น การกระทำหรือไม่ใช้อาวุธในพื้นที่สาธารณะเพราะยังเคารพในความเป็นมนุษย์ของคน ขอร้องจากทุกฝ่ายที่เป็นคู่ขัดแย้งกัน เนื่องด้วยตลาดเป็นพื้นที่สำคัญ เป็นพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ พบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นพื้นที่กลางของผู้คนหลากหลายศาสนา เพศ วัย เป็นพื้นที่ทำมาหากินเพื่อความอยู่รอด เป็นพื้นที่แห่งอำนาจการต่อรองราคาสินค้าของผู้ขายและผู้ซื้อ เป็นที่จับจ่ายใช้สอยของใช้จำเป็นของครอบครัว และอีกมากมายหลายหน้าที่ที่ตลาดสามารถทำได้

คณะทำงานวาระผู้หญิงชายแดนใต้และเครือข่ายฯ ได้แต่ขอความหวังให้พี่น้องทุกคนปลอดภัยในทุกพื้นที่ รวมทั้งพื้นที่สาธารณะทุกที่ที่ต้องใช้ประโยชน์ พร้อมรวมพลังส่งเสียงอ้อนวอนให้ยุติการกระทำเช่นนี้ เพื่อทุกชีวิตได้มีชีวิตอย่างปกติสุขบนแผ่นดินแห่งนี้

ขยายเครือข่ายนักวิจัยชุมชนต.อาซ่อง

นางสุกัญญา สุขสุพันธ์ ผู้ประสานงานวิจัยท้องถิ่น จ.ปัตตานี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ถ่ายทอดประสบการณ์แก่ผู้ประสานงาน โครงการช.ช.ต. เพื่อสร้างนักวิจัยชุมชนของตำบลอาซ่อง อ.รามัน จ.ยะลา ในการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ด้วยการฝึกปฎิบัติการเขียนร่างข้อเสนอโครงการวิจัย ศึกษาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลอาซ่อง ด้วยการนำข้อมูลที่ได้จากการพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกับนักวิจัยในชุมชน 2 ครั้งที่ผ่านมา เรียบเรียงเป็นร่างข้อเสนอโครงการ เพื่อนำกลับไปให้นักวิจัยชุมชนพิจารณาปรับให้สมบูรณ์ต่อไป ณ สำนักงานโครงการช.ช.ต. จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559

ทั้งนี้ ในการทำงานที่ผ่านมาของคณะทำงานตำบลอาซ่อง ยังขาดการจัดทำข้อมูลฐานเรียนรู้แต่ละฐานในตำบลที่เป็นระบบและสามารถสร้างการเรียนรู้แก่บุคคลภายในและภายนอกพื้นที่ จึงทำให้เกิดการประสานภาคีร่วมกับสกว.ในการหนุนเสริมกระบวนการทำวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลแต่ละฐานผ่านกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมในที่ตำบลอาซ่อง  โดยได้มีการประชุมคณะทำงานตำบลร่วมกับสกว. พูดคุยถอดบทเรียนการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อวางแนวทางการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และทีมวิจัยตำบลอาซ่อง ได้เรียนรู้การทำวิจัยโดยชุมชนผ่านวีซีดีจากประสบการณ์ที่ทางสกว.เคยทำมา เพื่อประยุกต์ใช้ในพื้นที่ตำบลอาซ่อง

นักศึกษาวชช.ยะลา และ มรย. ดูงานอาซ่องโมเดล

นักศึกษาจากวิทยาลัยชุมชนยะลาและมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา(มรย.) ศึกษาดูงานอาซ่องโมเดลและศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านกือเม็ง ต.อาซ่อง จ.ยะลา เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2559 โดยมี นายซัมซูดิง โดซอมิ รองนายกอบต.อาซ่อง นายสมาน โดซอมิ และคณะกรรมการโครงการอาซ่องโมเดล ให้การต้อนรับด้วยความเต็มใจ

รองนายกอบต.อาซ่อง กล่าวว่า ประเด็นในการศึกษาดูงานครั้งนี้คือ การบริหารจัดการและวัฒนธรรมในพื้นที่ต.อาซ่อง ซึ่งนักศึกษาทั้งสองสถาบันให้ความสนใจและสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมา การเก็บรักษา และการเผยแพร่เรื่องราวใน ต.อาซ่อง ในอนาคตตั้งเป้าว่า จะจัดทำเอกสารเผยแพร่องค์ความรู้ของต.อาซ่องเพื่อให้เป็นที่รับรู้ของสังคมอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

บูเกะลาโมะดูงานออมทรัพย์ชุมบก

กลุ่มกองทุนออมทรัพย์บ้านบูเกะลาโมะ ต.อาซ่อง อ.รามัน จ.ปัตตานี ศึกษาดูงาน ณ กลุ่มออมทรัพย์อิตตีฮาดสหกรณ์ลอยฟ้าบ้านชุมบก ต.เกาะสะท้อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานกลุ่มออมทรัพย์ของบ้านบูเกะลาโมะในโอกาสต่อไป

นายเซะ ซาเมาะ คณะกรรมการกลุ่มกองทุนออมทรัพย์บ้านบูเกะลาโมะ กล่าวว่า การศึกษาดูงานครั้งนี้ได้ประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง สามารถนำแนวทางการดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์อิตตีฮาดสหกรณ์ลอยฟ้าบ้านชุมบก มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มออมทรัพย์ของตนเอง ซึ่งคณะกรรมการฯ และสมาชิกของกลุ่มฯ ที่ได้ไปร่วมดูงานต่างมีความพึงพอใจ และตั้งใจดำเนินงานตามหลักของความถูกต้อง โปร่งใสและตรวจสอบได้

ประชาคมเทศบาลตำบลโกตาบารู

กลุ่มงานพัฒนาความร่วมมือกับอบต. โครงการช.ช.ต. ร่วมเวทีประชุมประชาคมระดับตำบลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี(พ.ศ.2561-2564) (ตามโครงการจัดทำแผนพัฒนา) เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2559 ณ อาคารเอนกประสงค์เทศบาลตำบลโกตาบารู อ.โกตาบารู จ.ยะลา มีชาวบ้านเข้าร่วมเวทีประชาคมครั้งนี้อย่างเป็นที่น่าพอใจ

การประชาคมในครั้งนี้มีกระบวนการคือ เชิญผู้บริหารท้องถิ่น  ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำอาวุโส ผู้นำศาสนา เจ้าหน้าที่หน่วยงาน เป็นตัวแทนเปิดเวทีและพบปะในการประชุม จากนั้นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ชี้แจงความสำคัญ วัตถุประสงค์การจัดประชุมประชาคม และอธิบายขั้นตอนกระบวนการประชาคมแบบมีส่วนร่วม คณะทำงานหมู่บ้านหรือคณะกรรมการหมู่บ้าน(กม.) นำเสนอข้อมูลหมู่บ้านโดยใช้ผังวาดมือ เช่น ด้านโครงสร้าง ด้านทรัพยากรและการใช้ประโยชน์ ด้านอาชีพการทำมาหากิน ด้านกลุ่ม องค์กรและความสัมพันธ์ในชุมชน ทีมงาน(วิทยากรกระบวนการ) แจกบัตรคำ เพื่อระดมความเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม โดยให้เขียนภาษาที่ถนัด วาดภาพ หรือให้ทีมงานช่วยเขียนกรณีเขียนไม่ได้วาดรูปไม่เป็น ทีมงานจะรวบรวม นำไปจัดหมวดหมู่ในตารางเครื่องมือที่ 1 แยกประเด็นตามยุทธศาสตร์ของอบต. สมาชิก อบต. มาอ่านทบทวนประเด็นหรือโครงการที่บรรจุอยู่ในแผนที่ผ่านมา มานำเสนอรายงานความก้าวหน้าแต่ละยุทธศาสตร์ (เครื่องมือที่ 2 ตารางการนำเสนอแผนพัฒนาของ อบต.)

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นำกระบวนการพูดคุย ซักถามเพื่อความชัดเจนของข้อเสนอแต่ละประเด็นหรือโครงการและให้ความรู้ ทำความเข้าใจในเรื่องขั้นตอนตามระเบียบของอบต. ทีมงานจะแจกสติ๊กเกอร์ให้ผู้เข้าร่วม ตามยุทธศาสตร์ที่มีข้อเสนออยู่ เพื่อนำมาติดในช่องลงคะแนนที่ตรงกับประเด็นหรือโครงการที่ตนเองต้องการและสนใจเป็นพิเศษ (ยุทธศาสตร์ละ 1แต้ม) จนครบทุกยุทธศาสตร์ ให้ทีมงานนับคะแนนและเขียนเลขตามลำดับความสำคัญ ทีมงานจะนำประเด็นทั้งหมดที่เรียงลำดับ 1-3 ของแต่ละยุทธศาสตร์ เขียนลงในเครื่องมือตารางที่ 3 จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมตรวจสอบความถูกต้องของประเด็นทั้งหมด แล้วให้แสดงความเห็นว่า ประเด็นใด หน่วยงานใดจะสามารถให้การสนับสนุน อาจจะมีมากกว่าหนึ่งหน่วยงานหรือเรียกว่า การประสานแผนระดับพื้นที่

ทีมงานแจกสติ๊กเกอร์ให้ผู้เข้าร่วมอีกครั้งคนละ 1 แต้มเพื่อนำมาติดในช่องลงคะแนนที่ตรงกับประเด็นหรือโครงการที่ตนเองต้องการและเรียงลำดับความสำคัญ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนสรุปผลการประชุมประชาคม และเชิญผู้บริหารท้องถิ่นปิดเวทีการประชุมประชาคม

ประชุมสภาประชาสังคมชายแดนใต้ นักวิจัยจากเวิล์ดแบงค์ร่วมแลกเปลี่ยน

สภาประชาสังคมชายแดนใต้ จัดประชุมประจำเดือน โดยมีการสรุปงานจากเวทีกระจายอำนาจ เวทีพบครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามทั้ง 3 จังหวัด เวที Mapping CSO งานผู้หญิงที่ร่วมกับกลุ่ม PAOW งานเด็กกำพร้าและเยียวยา มีคณะกรรมการสภาฯ และสมาชิกเข้าร่วมประชุม ณ ห้องมะปราง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2559 โดยมี นายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้เป็นประธานในที่ประชุม

ที่ประชุมได้สรุปประเด็นในการประชุมครั้งนี้คือ 1.จากการพบปะพูดคุยกับนายกสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามทั้ง 3 จังหวัด คือปัตตานี ยะลาและนราธิวาส สรุปว่า จะจัดเวทีสังเคราะห์ข้อเสนอจากเวทีครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามทั้ง 12 เวที ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2559 ณ โรงแรมปาร์ควิว จ.ปัตตานี 2.หารือเรื่องการจัดเวทีสานเสวนาและแนวทางการจัดตั้งประชาสังคมจังหวัดยะลา ซึ่งเป็นผลมาจากการทำการ Mapping องค์กรภาคประชาสังคมที่ผ่านมา 3.ตัวแทนของสภาฯ จะเดินทางไปนำเสนอประเด็นในทางวิชาการว่าด้วย มติ 1.3 เรื่อง นโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาสุขภาวะในพื้นที่พหุวัฒนธรรม ในงานสมัชชาชาติ ระหว่างวันที่ 21–23 ธันวาคม 2559 ณ กรุงเทพมหานคร 4.รองประธานสภาฯฝ่ายการต่างประเทศมีนัดหมายที่จะพบกับกงสุลอินโดนีเซียและมาเลเซียในวันที่ 27 ตุลาคม 2559 ที่จังหวัดสงขลา และมีแผนที่จะพบปะกับกงสุลประเทศฟิลิปปินส์เพื่อฟังความเห็นจากทุกฝ่ายและทุกด้าน 5.พิจารณาประเด็นการทาบทามบุคคลมาเป็นที่ปรึกษาสภาฯ ที่มีที่มาอันหลากหลาย มีมติให้เพิ่มงานฝ่ายต่างๆ ของสภาฯเพิ่มขึ้น คือ ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายเยียวยาและฝ่ายสื่อสาร เพื่อให้ทำงานรอบด้านมากขึ้น

นอกจากนั้น ที่ประชุมได้ร่วมพบปะแลกเปลี่ยน กับ Dr.Adam Burke นักวิจัยอิสระด้านความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพและที่ปรึกษาธนาคารโลก โดย ดร.อดัม ได้สอบถามเรื่องพื้นที่การขับเคลื่อนงานในปัจจุบัน ซึ่งสมาชิกสภาให้คำตอบว่า งานด้านสันติภาพยังสามารถขับเคลื่อนได้อยู่แม้ไม่สะดวกเหมือนสมัยรัฐบาลชุดก่อนก็ตาม

จากนั้น พล.ต.ชุมพล แก้วล้วน ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพูดคุยสันติสุข กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ได้มาพบปะพูดคุยในที่ประชุมด้วย โดยมีการแลกเปลี่ยนในหลายประเด็น เช่น กรณีการจับกุมนักศึกษาชายแดนใต้ที่กรุงเทพฯที่หลายฝ่ายอยากให้เคารพสิทธิมนุษยชนให้มากกว่านี้ เพราะจะกลายเป็นฝ่ายรัฐเสียเองที่ผลักให้คนไปสนับสนุนกลุ่มที่ใช้ความรุนแรง รวมทั้งการปิดเวทีต่างๆของภาคประชาสังคมในพื้นที่ที่ผ่านมา เป็นต้น

พัฒนาข้อเสนอ กาเซะซูงา ระยะ 2

คณะทำงานโครงการฟื้นฟูคลองปะเสยะวอแบบมีส่วนร่วม(กาเซะซูงา) ต.ปะเสยะวอ ร่วมประชุมพัฒนาข้อเสนอโครงการระยะที่ 2 โดยใช้งานความรู้นำงานพัฒนา เป้าหมายคือชุมชนเข้มแข็งและมีส่วนร่วม ณ ศูนย์ยุติธรรมชุมชนอำเภอสายบุรี จ.ปัตตานี

โครงการฟื้นฟูคลองปะเสยะวอเพื่อการจัดการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วม   มีการออกแบบเนื้อหาคือ อบรมความรู้เรื่องระบบนิเวศในคลองปะเสยะวอ จำนวน 2 ครั้ง เฝ้าระวังดูแลสายน้ำโดยอาสาสมัคร จำนวน 5 ครั้ง จัดเวทีสร้างความเข้าใจคนใช้ประโยชน์จากคลอง จัดค่ายเยาวชนฟื้นฟูคลองและอนุรักษ์คลองปะเสยะวอ ปฏิบัติการฟื้นฟูคลอง เช่น จัดตั้งธนาคารปู จัดวังทำปลา ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศและวิถีชีวิตคนริมคลอง อบรมนักสื่อสารเรื่องราวชุมชน (ทักษะการเล่าเรื่องและการทำสื่อประชาสัมพันธ์) ศึกษาดูงานเรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่เกาะกลาง จังหวัดกระบี่ สรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ และจัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ทั้งนี้มีตัวชี้วัดคือ ได้ข้อมูลเรื่องระบบนิเวศคลองปะเสยะวอ จำนวน  1 ชิ้น สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้แล้วเกิดการตระหนักในการร่วมฟื้นฟูและอนุรักษ์คลองปะเสยะวอต่อไปในอนาคต มีอาสาสมัครร่วมเฝ้าระวังจำนวน 20 คน สามารถสื่อสารให้ชุมชนรณรงค์ไม่ทิ้งขยะและน้ำเสียลงคลองเพื่อลดปริมาณของเสียที่กีดขวางทางน้ำ ผู้ได้ประโยชน์และคนริมคลองมีความรู้ความเข้าใจ มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูคลองปะเสยะวอ มีการจัดค่ายเยาวชนให้แก่เด็กและเยาชนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตคนริมคลอง เกิดกระบวนการเรียนรู้และสามารถสร้างความรู้จากระบบนิเวศคลอง วิถีชีวิตของผู้คนที่ใช้ประโยชน์จากคลอง เกิดกิจกรรมหรือหลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ตำบลปะเสยะวอ มีธนาคารปูดำและวังปลา จำนวน 1 แห่ง เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำก่อนปล่อยลงคลองปะเสยะวอ มีนักสื่อสารจำนวน 20 คน สามารถเล่าเรื่องราวและทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้คนภายในและนอกชุมชนรับรู้ได้ และจัดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้การจัดการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อให้มีความรู้และประสบการณ์สามารถรองรับการจัดตั้งการท่องเที่ยวชุมชนปะเสยะวอในอนาคตต่อไป

ร่วมเวทีร่างประชาคมตำบลควน

กลุ่มงานพัฒนาความร่วมมือกับอบต. โครงการช.ช.ต. ร่วมเวทีประชาคม โครงการจัดทำร่างแผนพัฒนาท้องถิ่น(พ.ศ.2561-2564) และร่างแผนการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2560 ณ อาคารเอนกประสงค์ ม.1 ต.ควน อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2559 โดยมีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมและให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

ข้อค้นพบจากเวทีประชาคมที่ผ่านมาทำให้กลุ่มงานพัฒนาความร่วมมือกับอบต. โครงการช.ช.ต. ได้ทราบว่า จำนวนผู้เข้าร่วมแต่ละหมู่บ้านส่วนใหญ่ “เกินกว่าเป้าหมายเดิม” ที่เคยจัดเวทีประชาคม, มีหน่วยงานประจำตำบลเข้าร่วมเวทีประชาคมเพิ่มมากขึ้น และสนใจในเนื้อหา กระบวนการของการจัดเวทีประชาคม, มีการกำหนดสถานที่กลางที่เหมาะสมร่วมกัน เพื่อผลักดันให้ทุกโซนบ้านเข้าร่วมเวทีประชาคมให้ได้, ร่วมกันสนับสนุนทั้งกำลังคนและงบประมาณ, เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนทุก อปท. ที่ร่วมกิจกรรม สามารถอธิบายเครื่องมือต่างๆ แก่ชาวบ้านได้, ทุกคนสามารถสื่อสารผ่าน “บัตรคำ” ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเขียนด้วยภาษาที่ถนัด การวาดรูป การบอกตำแหน่งที่ตั้ง เป็นต้น, เกิดกระบวนการตัดสินใจบนฐานข้อมูลร่วมกันและใช้ “สติกเกอร์” ในการลงคะแนนเพื่อการลงมติ, จำนวนประเด็นการพัฒนามีความหลากหมาย ครอบคลุมหลายๆยุทธศาสตร์ของ อบต. อันเกิดจาก ทุกคนมีสิทธิ์ในการแสดงความเห็นเพิ่มมากขึ้น,การรับรู้ของชาวบ้านเกี่ยวกับแผนพัฒนาของท้องถิ่นหรือการสนับสนุนโครงการต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานมีโอกาสอธิบายและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และผู้เข้าร่วมประชุมเกิดความเชื่อมั่นเรื่องข้อเสนอของตนเองที่ถูกนำเข้าสู่แผนของ อบต.

เวทีประชาคมตำบลยะต๊ะ

กลุ่มงานพัฒนาความร่วมมือกับอบต. โครงการช.ช.ต. ร่วมเวทีทำความเข้าใจอบต.ขยาย โครงการจัดทำเวทีประชาคมหมู่บ้าน/ตำบล เพื่อสำรวจข้อมูลจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น(ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ณ อบต.ยะต๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา โดยต.ยะต๊ะได้เน้นในประเด็นสำคัญของพื้นที่คือด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ

การประชาคมในครั้งนี้มีกระบวนการคือ เชิญผู้บริหารท้องถิ่น  ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำอาวุโส ผู้นำศาสนา เจ้าหน้าที่หน่วยงาน เป็นตัวแทนเปิดเวทีและพบปะในการประชุม จากนั้นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ชี้แจงความสำคัญ วัตถุประสงค์การจัดประชุมประชาคม และอธิบายขั้นตอนกระบวนการประชาคมแบบมีส่วนร่วม คณะทำงานหมู่บ้านหรือคณะกรรมการหมู่บ้าน(กม.) นำเสนอข้อมูลหมู่บ้านโดยใช้ผังวาดมือ เช่น ด้านโครงสร้าง ด้านทรัพยากรและการใช้ประโยชน์ ด้านอาชีพการทำมาหากิน ด้านกลุ่ม องค์กรและความสัมพันธ์ในชุมชน ทีมงาน(วิทยากรกระบวนการ) แจกบัตรคำ เพื่อระดมความเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม โดยให้เขียนภาษาที่ถนัด วาดภาพ หรือให้ทีมงานช่วยเขียนกรณีเขียนไม่ได้วาดรูปไม่เป็น ทีมงานจะรวบรวม นำไปจัดหมวดหมู่ในตารางเครื่องมือที่ 1 แยกประเด็นตามยุทธศาสตร์ของอบต. สมาชิก อบต. มาอ่านทบทวนประเด็นหรือโครงการที่บรรจุอยู่ในแผนที่ผ่านมา มานำเสนอรายงานความก้าวหน้าแต่ละยุทธศาสตร์ (เครื่องมือที่2 ตารางการนำเสนอแผนพัฒนาของ อบต.)

เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นำกระบวนการพูดคุย ซักถามเพื่อความชัดเจนของข้อเสนอแต่ละประเด็นหรือโครงการและให้ความรู้ ทำความเข้าใจในเรื่องขั้นตอนตามระเบียบของอบต. ทีมงานจะแจกสติ๊กเกอร์ให้ผู้เข้าร่วม ตามยุทธศาสตร์ที่มีข้อเสนออยู่ เพื่อนำมาติดในช่องลงคะแนนที่ตรงกับประเด็นหรือโครงการที่ตนเองต้องการและสนใจเป็นพิเศษ (ยุทธศาสตร์ละ 1แต้ม) จนครบทุกยุทธศาสตร์ ให้ทีมงานนับคะแนนและเขียนเลขตามลำดับความสำคัญ ทีมงานจะนำประเด็นทั้งหมดที่เรียงลำดับ 1-3 ของแต่ละยุทธศาสตร์ เขียนลงในเครื่องมือตารางที่ 3 จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมตรวจสอบความถูกต้องของประเด็นทั้งหมด แล้วให้แสดงความเห็นว่า ประเด็นใด หน่วยงานใดจะสามารถให้การสนับสนุน อาจจะมีมากกว่าหนึ่งหน่วยงานหรือเรียกว่า การประสานแผนระดับพื้นที่

ทีมงานจะแจกสติ๊กเกอร์ให้ผู้เข้าร่วมอีกครั้งคนละ 1 แต้มเพื่อนำมาติดในช่องลงคะแนนที่ตรงกับประเด็นหรือโครงการที่ตนเองต้องการและเรียงลำดับความสำคัญ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนสรุปผลการประชุมประชาคม และเชิญผู้บริหารท้องถิ่นปิดเวทีการประชุมประชาคม

เสียงแห่งสันติ สู่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ) ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) จัดโครงการสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ “หนุนเสริมการสื่อสารสันติภาพในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม” ภายใต้โครงการวิทยุภาษามลายู “บทเรียนสันติภาพ” โดยการสนับสนุนของโครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเพื่อฟื้นฟูชายแดนภาคใต้ (ช.ช.ต.) สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) เมื่อวันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2559 ณ ห้องประชุม ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ม.อ.ปัตตานี

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านการสื่อสารสันติภาพในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการเป็นตัวแทนครู นักจัดรายการวิทุยุ รายการเสียงตามสายและผู้ที่เกี่ยวข้องจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 25 ท่าน

นายอายุบ ปาทาน ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ บรรณาธิการอาวุโสศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch: DSW) และนายสะรอนี ดือเระ บรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ร่วมบรรยายในหัวข้อ “ทำความเข้าใจกระบวนการสันติภาพ” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพในพื้นที่ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีการแลกเปลี่ยน บอกกล่าวความคาดหวัง ความกังวล และความต้องการในการหนุนเสริมเพื่อให้เกิดกระบวนการสันติภาพในพื้นที่ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการบางคนได้กล่าวถึงความคาดหวังในเรื่องความต้องการความปลอดภัยในการใช้ชีวิตในพื้นที่ ความกังวลต่อความจริงจัง และจริงใจในกระบวนการพูดคุยเพื่อสร้างสันติภาพ และความต้องการการหนุนเสริมในเรื่องการดูแล แก้ไขปัญหาเยาวชนในพื้นที่ เป็นต้น

 

จากนั้นเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การผลิตรายการวิทยุแบบมืออาชีพ” โดย ผศ .ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา อาจารย์ประจำคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี(ม.อ.ปัตตานี) และผู้อำนวยการสถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการพัฒนาสู่การเป็นนักจัดรายการวิทยุ โดยโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามบางส่วนในพื้นที่ฯ มีประสบการณ์ และต้นทุนด้านทรัพยากรบุคคล ต้นทุนด้านวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดรายการวิทยุเสียงตามสายในโรงเรียนในเบื้องต้น หากยังมีความต้องการในการพัฒนาศักยภาพนักจัดรายการวิทยุเพื่อให้มีทักษะและความสามารถในการดึงดูดกลุ่มนักเรียน ผู้ฟังในโรงเรียนให้มากขึ้น