ยุทธศาสตร์สังคม ว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน
นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป
ประธานคณะทำงานติดตามการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์รวมแสงเลเซอร์สนับสนุน ชุมชนเข้มแข็ง-ชุมชนสุขภาวะ
ยุทธศาสตร์ร่วมว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ที่มองว่าประเด็นสุขภาวะชุมชน หรือชุมชนเข้มแข็งนั้นมีหน่วงงานส่วนกลางที่ให้ความสนับสนุนและดำเนินการอยู่หลากหลายจึงต้องนำคำว่า “รวมแสงเลเซอร์” มาใช้เพื่อให้เกิดสำนึกในการร่วมมือกันสนับสนุนให้เกิดชุมชนเข้มแข็งอย่างรวดเร็วและมีพลังประดุจดังแสงเลเซอร์ แทนการทำงานแบบแยกส่วน
การทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์รวมแสงเลเซอร์ซึ่งอยู่ภายใต้การทำงานร่วมของคณะอนุกรรมการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จึงได้ตั้งทีมวิชาการเพื่อทำการศึกษาค้นคว้าเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒินักวิชาการ จากหลากหลายหน่วยงานเพื่อรวบรวม ถึงแนวคิด ทิศทาง ความเห็น ประสบการณ์การทำงานของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อร่วมกันมองประเด็น “ชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนสุขภาวะ”
การทบทวนเอกสารพบว่ามีหน่วยงานที่ทำงานส่งเสริมสนับสนุนชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนจัดการตนเอง ชุมชนสุขภาวะ ทั้งหน่วยงานส่วนระดับชาติและส่วนกลางพบว่ามีหน่วยงานจำนวน ๔๖-๔๗ องค์กร แต่ละหน่วยงานมีภารกิจของตนเองในการส่งเสริม สนับสนุนสุขภาวะชุมชนในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ป่าชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ การสนับสนุนทำวิสาหกิจชุมชน การพัฒนาการฟื้นฟูชุมชน เบื้องต้นรวบรวมทั้งหมด ๒๕ ประเภท ซึ่งมีข้อมูลองค์กรชุมชน ๑๕ ฐาน ราว ๓๐๗,๐๐๐ องค์กร ได้แก่
ประเภทของหน่วยงาน | หน่วยงานนโยบาย (๑๐) | หน่วยงานวิชาการ (๑๘) | หน่วยดำเนินการ(๑๘) |
ด้านสุขภาพ(๑๖) | ๑.คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
๒.กระทรวงสาธารณสุข
|
๑.สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดี
วิถีชีวิตไทย ๒.กรมควบคุมโรค ๓.กรมอนามัย ๔.กรมสุขภาพจิต ๕.กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย ๖.สำนักงานคณะ กรรมการอาหารและยา ๗.สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ๘.สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ ๙.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ๑๐.มูลนิธิสุขภาพไทย ๑๑.มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ |
๑.กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
๒.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ๓.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ |
ด้านเศรษฐกิจ(๙) | ๑.กระทรวงมหาดไทย
๒.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ๓.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
๑.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย | ๑.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
๒.ธนาคารออมสิน ๓.สำนักงานเศรษฐกิจพอเพียง ในสำนักนายกรัฐมนตรี ๔.สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ๕.สำนักงานคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี |
ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม(๑๓) | ๑.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
๒.สนง.สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ |
๑.กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
๒.สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ๓.สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน มหาวิทยาลัยชีวิต ๔.สำนักงานกองทุนส่งเสริมสวัสดิการสังคมแห่งชาติ |
๑.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
๒.เครือข่ายแผนชีวิตชุมชนพึ่งตนเองสี่ภาค ๓.กรมการพัฒนาชุมชน ๔.กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๕.สถาบันลูกโลกสีเขียว มูลนิธิพลังงานที่ยั่งยืน ๖.สำนักงานโครงการ๘๔ตำบลวิถีพอเพียง ปตท. ๗.มูลนิธิปูนซีเมนต์ไทย |
ด้านอื่นๆ(๘) | ๑.กระทรวงพลังงาน
๒.กระทรวงวัฒนธรรม ๓.กระทรวงยุติธรรม |
๑.สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ
๒.สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน |
๑.ศูนย์คุณธรรม
๒.กทม. ๓.สนง.สภาพัฒนาการเมือง |
จากการศึกษาครั้งนี้ ทีมนักวิชาการจึงไดเออกแบบเครื่องมือ ๗ ชิ้น ในการขับเคลื่อนยุทธ์ศาสตร์รวมแสงเลเซอร์ร่วมกันระหว่างองค์กรภาคีต่างๆ ประกอบด้วย
ชิ้นที่ ๑ มีเป้าหมายใหญ่ร่วมกัน คือมุ้งเน้นเสริมสร้าง “ชุมชนเข้มแข็ง” ให้ได้สัดส่วนร้อยละ ๕๐ และ “องค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง” อย่างน้อยร้อยละ ๖๐ ภายใน ๑๐ ปี
ชิ้นที่ ๒ การสร้างความเป็นเจ้าของร่วมโดยเริ่มจาก ๓๓ องค์กรภาคีที่ร่วมลงนามความร่วมมือเป็นเจ้าของร่วมกัน เมื่อมีผลงานแล้วทุกหน่วยงานสามารถนำมาอ้างอิงกับหน่วยงานของตนได้
ชิ้นที่ ๓ มีหลักการในการทำงานร่วม เป็นหลักการทำงานร่วมกันส่วนหนึ่ง เมื่อเราไปทำงานกับชุมชน ส่งเสริมสนับสนุนองค์กรชุมชน แต่ละแห่งมีหลักการของตนเอง เราจะมาหาหลักการร่วมกัน
ชิ้นที่ ๔ มีระบบฐานข้อมูลร่วมกันฐานข้อมูลและแผนที่ตั้งขององค์กรชุมชนทุกประเภทล้วนเป็นสิ่งจำเป็นในการวางแผน ดำเนินงาน คิดตามและประมวลผล ของทุกหน่วยงาน
ชิ้นที่ ๕ มียุทธศาสตร์ แผนร่วมกัน แนวทางและมาตรการหลักๆร่วมกัน จะช่วยให้การขับเคลื่อนไปในทิศทางและจังหวะก้าวที่สอดคล้องกัน
ชิ้นที่ ๖ มีเครื่องมือเทคโนโลยี เพื่อแบ่งปันกันระหว่างหน่วยงานถ่ายทอด และนำไปใช้ เช่นความรู้ หนังสือ ชุดความรู้
ชิ้นที่ ๗ คือ กลไกประสานงานร่วมกัน ซึ่งน่าจะมีกลไกรวมแสงเลเซอร์ ๓ ระดับ คือ ระดับชาติ ระดับ จังหวัด และกลไกสำคัญที่สุดคือระดับตำบล ถ้าระดับตำบลมี ๗๘,๐๐ ตำบล เป็นตัวรวมแสงเลเซอร์ไปสู่การปฏิบัติ
ระดับชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ริเริ่มสนับสนุนให้มีกลไกระดับชาติ ภายใต้โครงการการประชุมเช่นนี้อย่างต่อเนื่องภายหลังมติสมัชชาฯ การประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) การติดตามความก้าวหน้า และนวัตกรรมของแต่ละองค์กรด้วยการเล่าสู่กันฟัง พร้อมทั้งแลกเปลี่ยน ๒) สนับสนุนงบประมาณ แบ่งปันข้อมูลเพื่อจัดระบบฐานข้อมูล และรายงานในที่ประชุมให้รับทราบ รับฟังข้อแนะนำแลกเปลี่ยน นำมาสู่แนวคิดต่อยอด
ระดับจังหวัด องค์กรภาคี ๓ หน่วยงานเป็นผู้ริเริ่มขับเคลื่อน ประกอบด้วย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ (สปพส.) และสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) โดยร่วมกันจัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัด” หรือเรียกโดยย่อว่า “ศปจ.” ใน ๗๗ จังหวัด รวม ๗๗ ศูนย์ ดำเนินการราว ๑ ปี โดย ศปจ. มีภารกิจเป็นแกนกลางประสานระดับจังหวัด
ระดับตำบลและอำเภอ ในขณะนี้กลไกระดับชุมชนและอำเภอยังเป็นไปตามนโยบายขอองค์กรแม่ข่าย แต่จากนโยบาย สานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากของรัฐบาลซึ่ง ถือเป็นมิติหนึ่งของชุมชนเข้มแข็งชุมชนสุขภาวะ เป็นความร่วมมือกับรัฐบาลในการขับเคลื่อน โดยรวมจะเกื้อหนุนให้เกิดการก่อตั้งของกลไกระดับฐานล่างได้
ในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ที่ประชุมได้ให้ฉันทมติรับรองระเบียบวาระที่ ๓ แผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติ ว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน ในการจะร่วมมือกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้ไปสู่เป้าหมายร่วมกัน
อีกทั้ง เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๗ ได้มีการจัดพิธีการร่วมลงนามในปฏิญญาสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๖ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นี้ร่วมกัน โดยประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๕๖ (นายเจษฏา มิ่งสมร) และเลขาธิการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (นพ.อำพล จินดาวัฒนะ) ร่วม กับผู้แทนจากองค์กรภาคีเครือข่ายอีก ๓๓ หน่วยงานจากทั่วประเทศลงนามในปฏิญญาฯ ที่พร้อมให้ความร่วมมือสนับสนุนยุทธศาสตร์ฯ โดยมีเป้าหมายขับเคลื่อนการทำงานเพื่อให้องค์กรชุมชนเข้มแข็งในเชิงคุณภาพร้อยละ ๖๐ ภายใน ๑๐ ปีข้างหน้า ซึ่งมติดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อ
– สนับสนุนชุมชนท้องถิ่นส่วนใหญ่ของประเทศในการฟื้นฟูและพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งในเชิงคุณภาพอย่างทันต่อสถานการณ์
– ให้ประเทศมีนโยบายที่เอื้อต่อการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
– สร้างเสริมและรักษาสภาวะแวดล้อมทางสังคมให้สามารถหนุนเสริมภารกิจการพัฒนาระบบสุขภาวะชุมชนอย่างต่อเนื่อง
– สร้างสะสมและต่อยอดขยายผลองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการพัฒนาระบบสุขภาวะชุมชนที่เหมาะสมกับพลวัตรการเปลี่ยนแปลงของโลก
องค์กรภาคีได้มีการกำหนดภารกิจที่หน่วยงานภาคีและชุมชน จะร่วมกันเป็นเจ้าของ เจ้าภาพ และผู้ดำเนินงาน ในลักษณะของแผนงานและโครงการ ประกอบด้วย
๑) แผนงานประสานพลัง สร้างเอกภาพเครือข่ายองค์กรภาคี สนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาวะชุมชน มีโครงการรูปธรรม ดังนี้
(๑) โครงการพัฒนากลไกร่วมระหว่างองค์กรภาคีเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสุขภาวะชุมชน ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับชาติ
(๒) โครงการพัฒนาเครือข่ายระบบฐานข้อมูลองค์กรชุมชนให้ครอบคลุมข้อมูลองค์กรชุมชนและข้อมูลผู้นำชุมชนท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ทรงคุณวุฒิทางสังคม ทุกประเภท ทุกระดับทั่วประเทศ
(๓) โครงการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมและจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพสำหรับชุมชนในเขต กทม.
๒) แผนงานเฝ้าระวังผลกระทบทางนโยบาย ส่งเสริมและผลักดันแนวนโยบายชุมชนเข้มแข็ง และสังคมสุขภาวะ มีโครงการรูปธรรม ดังนี้
(๑) โครงการจัดตั้งทีมเฝ้าระวังผลกระทบทางนโยบายต่อชุมชนท้องถิ่น
(๒) โครงการติดตามผลงานความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติตามแผนพัฒนาประเทศ
๓) แผนงานเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมทางสังคมและทางนโยบาย ให้เอื้อต่อการพัฒนาระบบสุขภาวะชุมชน มีโครงการรูปธรรม คือ โครงการพัฒนาคลังสื่อเพื่อชุมชนเข้มแข็ง ที่มีคุณภาพหลากหลายและเป็นสมบัติสาธารณะ สามารถเข้าถึงได้ง่าย
๔) แผนงานพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม และการเรียนรู้ด้านชุมชนเข้มแข็ง และสังคมสุขภาวะ
(๑) โครงการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการส่งเสริมสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นสมัยใหม่และชุมชนเชิงความสัมพันธ์แบบอื่นๆ
(๒) โครงการประเมินสถานการณ์ความเข้มแข็งและปัญหาอุปสรรคของชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศและจัดทำรายงานประจำปีเผยแพร่ต่อสาธารณะ
(๓) โครงการพัฒนาคลังความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อชุมชนเข้มแข็ง
เพื่อให้เกิดการ ผลักดันการขับเคลื่อนมติข้างต้น สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามการขับเคลื่อนมติแผนยุทธศาสตร์ร่วมแห่งชาติ ว่าด้วยระบบสุขภาวะชุมชน เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์รวมแสงเลเซอร์สนับสนุนชุมชนเข้มแข็งและสังคมสุขภาวะขึ้น เพื่อทำหน้าที่เชื่อมร้อยให้เกิดการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ มติที่ ๖.๓ โดยคาดหวังว่าการเชื่อมร้อยนี้ จะนำไปสู่การประสานหลอมรวมการทำงานร่วมระหว่างกันของภาคี อันมีรูปธรรมเป็นการเชื่อมร้อยการทำงานในระดับพื้นที่ หรือเชิงประเด็น
ในช่วงการดำเนินงานกว่า ๑ ปีที่ผ่านมา คณะทำงานได้ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายที่ขับเคลื่อนงานมติฯ ได้จัดเวทีเพื่อพบปะพูดคุยในลักษณะฟอร์รั่ม (Forum) เป็นประจำทุก ๒ เดือน และได้มีการนำเสนอการดำเนินงานการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนสุภาวะ มาแล้วจำนวนทั้งสิ้น ๘ หน่วยงาน ได้แก่
ลำดับที่ ๑ โครงสร้างและความเชื่อมโยงการขับเคลื่อนงานสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
โดย แพทย์หญิงประนอม คำเที่ยง รองปลัดกระทรวงสาธารณะสุข (ปัจจุบัน) ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 และ เขตสุขภาพกรุงเทพมหานคร (ขณะนำเสนอ)
ลำดับที่ ๒ การรณรงค์ทางสาธารณสุขและการสร้างเสริมสุขภาพ/สุขภาวะของชุมชน กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
โดย คุณอรจิตต์ บำรุงสกุลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการแผนงานระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ การแพทย์แผนไทยและระบบสุขภาพชุมชน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ลำดับที่ ๓ ศูนย์ประสานงานภาคีเพื่อการพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา “การขับเคลื่อนด้านองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องกับงานสุขภาวะชุมชน”
โดย นายเจษฏา มิ่งสมร
รองประธานคณะทำงานติดตามการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์รวมแสงเลเซอร์สนับสนุนชุมชนเข้มแข็ง-ชุมชนสุขภาวะและหัวหน้าศูนย์ประสานงานภาคีเพื่อการพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา
ลำดับที่ ๔ การนำเสนอศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) เรื่อง “การขับเคลื่อนงานคุณธรรมเพื่อสร้างสุขภาวะชุมชน”
โดย นายยงจิรายุ อุปเสน
ผู้จัดการฝ่ายยุทธศาสตร์ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
ลำดับที่ ๕ ข้อมูลและการใช้โปรแกรมในการบริหารจัดการเพื่อรวมแสงเลเซอร์ในระดับพื้นที่
กรณีศึกษา : ศูนย์ประสานภาคีเพื่อการพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์
โดย นางสาวขวัญสุดา ขันธวิทย์
ผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงาน และ
นายสุรพงษ์ พรมเท้า คณะทำงานและหัวหน้าศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์
ลำดับที่ ๖ “การขับเคลื่อนงานธุรกิจเพื่อสังคมในการสร้างสุขภาวะชุมชน”กรณีศึกษา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
โดย นายไพโรจน์ ตัณฑิกุล
ผู้จัดการมูลนิธิอาจารย์จำเนียร สาระนาค
ลำดับที่ ๗ “การขับเคลื่อนงานธุรกิจเพื่อสังคมในการสร้างสุขภาวะชุมชน” กรณีศึกษา : ธนาคารออมสิน
โดย นายสมบุญ พัฒนดิลก ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาสังคและชุมชน ธนาคารออมสิน
ลำดับที่ ๘ นำเสนอ “การขับเคลี่อนงานด้านสุขภาพในการสร้างสุขภาวะชุมชน กรณีศึกษา “ลำสนธิโมเดล : ต้นแบบหมอประจำครอบครัว”
โดย นายแพทย์ สันติ ลาภเบญจกุล
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำสนธิ
ในการนำเสนอกระบวนการขับเคลื่อนการสร้างสังคมเข้มแข็ง สังคมสุขภาวะ นั้น พบว่า แต่ละหน่วยงานมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ ไว้อย่างชัดเจน แต่จากการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อคิดเห็นทุกครั้งกลับพบว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้น สามารถที่จะขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กับหน่วยงานอื่นๆ ได้และจะเกิดประโยชน์ในการพัฒนาหน่วยงานของตนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก หากจะได้มีการนำองค์ความรุ้ของหน่วยงานอื่นๆมาปรับประยุกค์ในงานของตน อาทิเช่น การนำหลักสูตรคุณธรรมไปใช้กับหน่วยงาน อสม. หรือ การนำเสนอประเด็นการขับเคลื่อนระดับพื้นที่หมอประจำครอบครัว กลับพบว่า หน่วยงานออมสิน หรือ ธกส. สามารถช่วยเหลือการฝึกวิชาชีพ และงบประมาณในการทำงานพื้นที่ เป็นต้น ดังนั้น กระบวนการรวมแสงเลเซอร์ระหว่างองค์กรภาคีตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ คงจะไม่ไกลเกินความจริงอีกต่อไป
เขตสุขภาพกระทรวงสาธารณสุขยุทธ์ศาสตร์รวมแสงเลเซอร์
แพทย์หญิงประนอม คำเที่ยง *
ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข
เขตสุขภาพที่ 10 และ เขตสุขภาพกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุขเป็นส่วนราชกาลที่มีภารกิจในการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยตรงกระทรวงมีโครงสร้างและกลไกการปฏิบัติงานใกล้ชิดกับประชาชนและชุมชนท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานีอนามัยและโรงพยาบาลชุมชนที่กระจายตัวอยู่ในตำบลและอำเภอกลไกดังกล่าวล้วนสามารถสนุบสนุนยุทธ์ศาสตร์รวมแสงเลเซอร์ได้เป็นอย่างดีนอกจากนั้นในปัจจุบันกระทรวงยังมีการจัดตั้งเขตสุขภาพจำนวน13เขตเพื่อเป็นกลไกประสานสนับสนุนโดยตรงอีกด้วย
อำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2554 หมวด 19 มาตรา 42 ได้ระบุว่า กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัยการฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ส่วนราชการในกระทรวงสาธารณสุข
ตามมาตรา 43 กระทรวงสาธารณสุข มีหน่วยงานราชการในสังกัด ประกอบด้วย ๑๐ ส่วน แบ่งเป็น ๓ สำนักงาน และ ๗ กรม ได้แก่ (๑) สำนักงานรัฐมนตรี (๒) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (๓) กรมการแพทย์ ๔) กรมควบคุมโรค ๕) กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ๖) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ๗) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ๘) กรมสุขภาพจิต ๙) กรมอนามัย ๑๐) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
โครงสร้างกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข มีสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นสำนักงานเลขานุการ โดยมีคณะกรรมการเขตบริหารสุขภาพดูแลงาน ๒ ส่วนคือ ส่วน
สำนักงานบริหารหากไม่นับรวมในส่วนสำนักงานบริหาร แบ่งโครงสร้างได้ ๓ กลุ่มงานหลัก ได้แก่
(๑) กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการแพทย์ ประกอบด้วย ๓ กรม ได้แก่ กรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต และกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
(๒) กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาการสาธารณสุข ประกอบด้วย ๒ กรม ได้แก่ กรมอนามัย และกรมควบคุมโรค
(๓) กลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนงานบริการสุขภาพ ประกอบด้วย ๓ กรม ได้แก่ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
โดยมีหน่วยงานในสังกัด ประกอบด้วย
- หน่วยงานในกำกับ ประกอบด้วย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และสถานบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
- องค์การมหาชน ประกอบด้วย โรงพยาบาลบ้านแพ้ว สถาบันรองรับคุณภาพสถานพยาบาล
- รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ องค์การเภสัชกรรม
การจัดตั้งเขตสุขภาพ
สำนักงานเขตสุขภาพ โครงสร้างการจัดตั้งเขตสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย ๕ กลุ่มงาน และมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
กลุ่มที่ ๑ งานยุทธศาสตร์และสารสนเทศ
มีบทบาทหน้าที่ในการทำแผนงานและยุทธศาสตร์ งานข้อมูลข่าวสาร งานเทคโนโลยีและสารสนเทศ งานควบคุม กำกับ และประเมินผล งานวิจัยและโครงสร้างพิเศษ
กลุ่มที่ ๒ กลุ่มงานบริหารการเงินและการคลัง
มีบทบาทหน้าที่ในการทำ งานบริหารการเงินและการคลัง งานบริหารและจัดการงบประมาณ งานบริหารเวชภัณฑ์และวัสดุการแพทย์ งานการเงินและบัญชี งานด้านงบลงทุน และงานวิเคราะห์การเงินการคลัง
กลุ่มที่ ๓ งานบริหารทรัพยากรบุคคล
มีบทบาทหน้าที่ในการทำแผนทรัพยากรบุคคล งานสรรหาและคัดเลือกบุคคลกร งานบริหารทรัพยากรบุคคล งานพัฒนาทรัพยากรบุคคล งานระบบสารสนเทศและร่วมบริการ และงานพัฒนาสายอาชีพและวางแผนสืบทอดตำแหน่ง
กลุ่มที่ ๔ งานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
มีบทบาทหน้าที่ในการทำงานยุทธศาสตร์ Service Plan งานบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพ งานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ งานขับเคลื่อน Service Plan และงานสร้างเสริมสุขภาพและควบคุมโรค
กลุ่มที่ ๕ งานอำนวยการ
มีบทบาทหน้าที่ในการทำงานบริหาร งานสารบรรณงานธุรการ งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ และยานพาหนะ และงานนิติกร
แผนภาพที่ โครงสร้างอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตสุขภาพ
แผนภาพที่ โครงสร้างสำนักงานเขตสุขภาพที่ ๑๐
๒) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยงานในราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีโครงสร้างการบริหาร ดังนี้
(๑) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
(๒) กลุ่มงานบริหารทั่วไป
(๓) กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข
(๔) กลุ่มส่งเสริมสุขภาพ
(๕) กลุ่มงานควบคุมโรค
(๖) กลุ่มนิติการ
(๗) กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข
(๘) กลุ่มงานประกันสุขภาพ
(๙) กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพและรูปแบบบริการ
(๑๐) กลุ่มงานทันตสาธารณสุข
(๑๑) กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล
(๑๒) กลุ่มงานอาชีวเวชศาสตร์ และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้กลุ่มงานกำหนดเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงโดยมีภาระงานและกำลังคนที่จะสามารถตั้งกลุ่มงานได้และในระหว่างที่ยังไม่ได้ตั้งกลุ่มงานให้บทบาทหน้าที่คงอยู่ในกลุ่มงานควบคุมโรคก่อน
๓) โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไประกอบด้วย ๖ กลุ่ม
(๑) กลุ่มภารกิจด้านอำนวยการ
(๒) กลุ่มภารกิจด้านปฐมภูมิ
(๓) กลุ่มภารกิจด้านพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ
(๔) กลุ่มภารกิจด้านบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ
(๕) กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล
(๖) กลุ่มภารกิจด้านผลิตบุคลากรทางการแพทย์ (เฉพาะที่มีการสอนนักศึกษาแพทย์ขั้นคลินิก)
๔) โรงพยาบาลชุมชน มีผู้อำนวยการ เป็นผู้บริหารสูงสุด และมี ๑๑ กลุ่มงาน
(๑) กลุ่มงานการจัดการ ประกอบด้วย นักจัดการทั่วไป เช่น การเงินบัญชี ธุรการ พัสดุ ช่างเทคนิค
(๒) กลุ่มงานเทคนิการแพทย์ ประกอบด้วย นักเทคนิคการแพทย์ เช่น นักเทคนิคการแพทย์ เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์
(๓) กลุ่มงานทันตกรรม ประกอบด้วย ทันตแพทย์
(๔) กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วย เภสัชกร
(๕) กลุ่มงานการแพทย์ ประกอบด้วย นายแพทย์
(๖) กลุ่มงานโภชนศาสตร์ ประกอบด้วย นักโภชนาการ
(๗) กลุ่มงานรังสีวิทยา ประกอบด้วย นักรังสีการแพทย์
(๘) กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู ประกอบด้วย นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด
(๙) กลุ่มงานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ ประกอบด้วย นักวิชาการสาธารณสุข
(๑๐) กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการด้านปฐมภูมิ ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข
(๑๑) กลุ่มการพยาบาล ประกอบด้วย พยาบาล
๕) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ประกอบด้วย ๒ กลุ่มงาน และส่วนโรงพยาบาล
(๑) กลุ่มงานบริหาร ประกอบด้วย นักวิชาการสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ธุรการ
(๒) กลุ่มงานวิชาการและสนับสนุนบริการ ประกอบด้วย นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
(๓) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเฉลิมพระเกียรติตำบล และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
เขตสุขภาพรายจังหวัด
จังหวัดที่อยู่ในเขตสุขภาพทั้งหมด ๑๓ เขต ประกอบด้วย
- เขต ๑ จำนวน ๘ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน
- เขต ๒ จำนวน ๕ จังหวัด ได้แก่ ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์
- เขต ๓ จำนวน ๕ จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี
- เขต ๔ จำนวน ๘ จังหวัด ได้แก่ นครนายก นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง
- เขต ๕ จำนวน ๘ จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี นครปฐม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี สมุทรสาคร
- เขต ๖ จำนวน ๘ จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว สมุทรปราการ
- เขต ๗ จำนวน ๔ จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด
- เขต ๘ จำนวน ๗ จังหวัด ได้แก่ นครพนม บึงกาฬ เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี
- เขต ๙ จำนวน ๔ จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์
- เขต ๑๐ จำนวน ๕ จังหวัด ได้แก่ มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ
- เขต ๑๑ จำนวน ๗ จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง สตูล
- เขต ๑๒ จำนวน ๗ จังหวัด ได้แก่ ตรัง นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล
- เขต ๑๓ จำนวน ๑ จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ
กองทุนสุขภาพตำบลเครื่องมือสนับสนุนชุมชนเข้มแข็ง
คุณอรจิตต์ บำรุงสกุลสวัสดิ์ *
ผู้อำนวยการแผนงานระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ด้านการแพทย์ การแพทย์แผนไทยและระบบสุขภาพ
ชุมชน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
บุคคลสำคัญที่วางแนวคิดงานระบบสุขภาพชุมชน ได้แก่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ที่มองภาพระบบสุขภาพชุมชนในระดับการปฏิบัติงานจริงในภาคสนาม ที่เน้นรูปธรรมการควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคติดต่อ (เอดส์และวัณโรค) การสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ การมีเศรษฐกิจพอเพียง อนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม สร้างชุมชนไม่ทอดทิ้งกันอันเป็นประเด็นที่อยู่ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน
ประเทศไทยกำลังจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น ระบบสุขภาพจึงต้องคำนึงถึงในปัจจุบันและอนาคต เพื่อรองรับผู้สูงอายุ การดูแลผู้พิการและผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การบริการสาธารณสุขระยะยาวสำหรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวยังขาดแคลนอย่างมาก รวมทั้งต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูง ระบบบริการที่ยังไม่ครอบคลุมและทั่วถึง อีกทั้ง กลุ่มเป้าหมายบางส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐได้
ในการระบบบริการสุขภาพเพื่อสุขภาวะชุมชน จะเน้นการบริการใน ๔ ด้าน ได้แก่
(๑) งานด้านการรักษา ประกอบด้วย งานปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ
(๒) งานการมีส่วนร่วม กับเครือข่ายต่างๆ เช่น เครือข่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เครือข่ายอาสาสมัคร เครือข่ายภาคประชาชน เป็นต้น
(๓) งานด้านส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูฯ เกี่ยวข้องกับกองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนส่งเสริมสุขภาพ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ กองทุนโรคเรื้อรัง และ
(๔) งานเชิงรุกในชุมชนท้องถิ่น ประกอบด้วย บริการปฐมภูมิ หมอครอบครัว กองทุน อบต.เทศบาล กองทุนฟื้นฟูจังหวัด ดังนั้น กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เป็นสิ่งกำหนดแนวทางการดำเนินงาน
กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เริ่มดำเนินการนับตั้งแต่ได้มีประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ทั้งนี้ในปีแรก มีองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลนำร่องจัดตั้งกองทุนรวม ๘๘๘ แห่ง
กองทุนฯ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน รวมทั้งยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง
เป้าหมายทิศทางในการขับเคลื่อนกองทุนหลักประกันสุขภาพ
สปสช. เป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ก้าวสู่ปีที่ ๑๔ และได้กำหนดสิทธิหลักประกันสุขภาพของ ประชาชนว่า “เกิดเป็นไทย เราดูแล” และในโอกาสก้าวสู่ปีที่ ๑๒ (๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๖) ตั้งเป้าหมายเดินหน้าคุ้มครองคนไทยไม่ต้องล้มละลายจากการเจ็บป่วย
สามารถแบ่งเป้าหมายการทำงานออกเป็น ๓ ระยะ ได้แก่ สำหรับการดำเนินงานในด้านกองทุนสุขภาพตำบลนั้นเป็นงานในด้านการเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนในระดับชุมชนท้องถิ่นซึ่งเริ่มต้นในปี ๒๕๔๙
- ระยะที่ ๑ (ปี ๒๕๔๙-๒๕๕๒) เป้าหมายเพื่อการจัดตั้งกองทุน เน้นบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการสร้างความร่วมมือในพื้นที่
- ระยะที่ ๒ (ปี ๒๕๕๓-๒๕๕๕) เป้าหมายทำให้กองทุนทำงานได้ เน้นบทบาทสนับสนุนของหน่วยงานสาธารณสุข เพื่อสร้างสุขภาวะในชุมชนและนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค
- ระยะที่ ๓ (ปี ๒๕๕๖-๒๕๖๐) เป้าหมายงานสร้างสุขภาวะในชุมชนดูแลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเป็นงานปกติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและหน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่โดยมีกองทุนเป็นฐานสนับสนุน โดยปี ๒๕๕๗ มีเป้าหมายการพัฒนาระบบสนับสนุนดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง รองรับสังคมผู้สูงอายุ
นอกจากนั้นในช่วง ๑๒ ปีของการทำงาน สปสช. ได้มีการทิศทางการขับเคลื่อนงานเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานพื้นที่ใน-นอก เช่น กระทรวงสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลในประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ยังเน้นกลไกการสนับสนุนติดตามที่เข้มแข็ง รวมทั้งกลไกการติดตาม การเป็นพี่เลี้ยงในพื้นที่ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของการดำเนินงานที่ตั้งไว้
จากบันทึกในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๕๘ พบว่า มีจำนวนคนพิการสะสม ๑,๑๓๒,๕๖๕ คน แบ่งเป็นจำนวนประเภทความพิการการด้านการเคลื่อนไหวสูงสุด จำนวน ๓๖๖,๒๕๘ คน (ร้อยละ ๓๒.๓๔) รองลงมาเป็นประเภทความพิการด้านการได้ยินหรือสื่อสาร จำนวน ๑๕๕,๙๒๔ คน (ร้อยละ ๑๓.๗๗) และคนพิการด้านอื่นๆดังนั้น สปสช. จึงได้จัดตั้งกองทุนสุขภาพในระดับจังหวัดขึ้นอีกโดยใช้ชื่อว่า กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ ในการดำเนินงานกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพระดับจังหวัด ได้ดำเนินการออกคำสั่งคณะกรรมการบริหารกองทุน จำนวน ๓๙ แห่ง จาก ๑๒ เขต การโอนเงินและสมทบเข้ากองทุนฯ ที่จัดตั้ง จำนวน ๓๙ แห่ง รวมวงเงิน ๑๐๑,๐๓๕, ๘๓๖.๑๐ บาท ระหว่างปี ๒๕๕๕-๒๕๕๘
กองทุนสนับสนุนตำบลการสนับสนุนระบบสุขภาพในพื้นที่ ภายใต้บทบาทกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
- จัดทำข้อมูลสุขภาพชุมชน แผนที่ยุทธศาสตร์ แผนสุขภาพชุมชน
- ดูแลเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน
- ป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เอดส์ วัณโรค
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของคนในชุมชน
- ประสานความร่วมมือกับหน่วยบริการและหน่วยงานในพื้นที่ จัดบริการสุขภาพชุมชน
วัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ - เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่
- เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่
กิจกรรมสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ อาจใช้จ่ายได้ภายใต้กรอบแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่คณะกรรมการอนุมัติ ดังนี้
- สนับสนุนส่งเสริมการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค รักษาพยาบาลเชิงรุก ของหน่วยบริการหรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่
- สนับสนุนให้กลุ่มประชาชนหรือองค์กรภาคประชาชน หรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ ดำเนินงานตามกิจกรรมโครงการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคให้แก่สมาชิก หรือประชาชนในพื้นที่
- สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมป้องกันแก้ไขปัญหากรณีเกิดโรคระบาดภัยพิบัติในพื้นที่
- สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มี ประสิทธิภาพ ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของรายรับปีงบประมาณ
- สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพรักษา พยาบาลปฐมภูมิเชิงรุกของศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ
บทบาทของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในการสนับสนุนส่งเสริมศูนย์ดูแลเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
- สนับสนุนศูนย์เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการให้มีกิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ในพื้นที่ ทั้งในศูนย์และนอกศูนย์มีกลไกการบริหารจัดการศูนย์
- สนับสนุนแผนงาน หรือโครงการและงบประมาณให้ศูนย์ดูแล เพื่อดำเนินกิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐม ภูมิเชิงรุกในพื้นที่ให้แก่เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเหมาะ สมและจำเป็น
- สนับสนุนและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงาน องค์กร อื่นและประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ให้มีส่วนร่วมพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการของศูนย์ดูแลในระยะยาวอย่างยั่งยืน และติดตาม สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
- สนับสนุนให้ศูนย์ดูแล เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่าย การพัฒนา ศักยภาพและเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการดำเนิน กิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษา พยาบาลปฐมภูมิเชิงรุกแก่เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการของกองทุน
องค์ประกอบคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีวาระ ๔ ปี ซึ่งคณะกรรมการฯ มีกระบวนการคัดเลือกเน้นการมีส่วนร่วม โปร่งใส ซึ่งมีองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ดังนี้
- ประธานกองทุนฯ คือ ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๒ คน
- หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่
- ปลัด องค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล หรือเจ้าหน้าที่ที่รับมอบ
- ผู้แทนศูนย์ประสานงานหลกัประกันสุขภาพประชาชน หรือหน่วยร้องเรียน ๑ คน
- ผู้แทนหมู่บ้าน/ชุมชน เลือกกันเองไม่เกิน ๕ คน
- ผู้แทนอาสาสมัคร ๒ คน
- สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล/สภาเทศบาล ๒ คน
ปัจจัยแห่งความสำเร็จกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
- การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนับแต่เริ่มต้น
- ระเบียบข้อบังคับที่ชัดเจนเป็นแนวปฏิบัติร่วม
- คณะกรรมการบริหารกองทุนมีศักยภาพในการบริหารจัดการ
- ยึดหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ ดำเนินการตรงตามวัตถุประสงค์
- ติดตาม วัดผล และรายงานผลอย่างมีประสิทธิภาพ
- การพัฒนานวัตกรรม ขยายผล สร้างเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง
การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต./เทศบาล
หลักการทำงานกองทุนนั้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โอนเงิน ๔๕ บาท/คน และองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาลร่วมสมทบไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐-๖๐ กองทุนสนับสนุนเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และงานปฐมภูมิเชิงรุก แผนสุขภาพชุมชน ประชาชน ชุมชนมีส่วนร่วม ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ สตรี และผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มเสี่ยง จากกองทุนหลักประกันสุขภาพร้อยละ ๑๕ ของรายรับกองทุนปีนั้น
ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๐ สปสช. ได้มีการบันทึกความร่วมมือร่วมกันหน่วยงานต่างๆ ที่ให้บริการด้านสุขภาพในเรื่องการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพและสวัสดิการชุมชนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันติบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ซึ่งทั้งเจ็ดฝ่ายจะร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพและสวัสดิการชุมชนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยเน้นเรื่องการแพทย์ฉุกเฉิน การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ และการดำรงชีวิต ตลอดจนส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่ มีสวัสดิการชุมชนรองรับและสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง โดยการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของบุคคลในพื้นที่
ผลการดำเนินงานกองทุนต่างๆ ดังนี้
ตัวอย่างกิจกรรมดีๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในชุมชนหลายๆ แห่งทั่วประเทศ อาทิ
• การมีรถพยาบาลเพื่อการเจ็บป่วยฉุกเฉิน
• การทำให้ชุมชนปลอดจากการจำหน่ายสุรา
• โครงการสานสัมพันธ์สายใยรักแห่งครอบครัว การเยี่ยม บ้านเยี่ยมใจ ใส่ใจผู้พิการ และบริบาลผู้สูงอายุ
• การป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เยียวยาทางกายและใจ ผู้ป่วยเรื้อรัง • ป้องกันโรคระบาดอย่างทันท่วงที
จากจุดเริ่มเล็กๆ นี้เอง บางชุมชนก้าวไกลไปถึงการจัดการสวัสดิการภาคประชาชนโดยไม่ต้องพึ่งพางบประมาณรัฐอีกด้วย เช่น ระดมทุนสร้างโรงพยาบาลสถานีอนามัย จัดหาแพทย์ประจำสถานีอนามัยตามวันเวลาที่กำหนด ตลอดจนสนับสนุนให้ลูกหลานในท้องถิ่นได้เรียนหมอ พยาบาล เพื่อให้กลับมาดูแลคนในชุมชนอีกด้วย
กล่าวคือ กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จะจัดตั้งประจำทุกพื้นที่ เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนการดำเนินงานสาธารณสุขชุมชนอย่างต่อเนื่อง จะเน้นงานสร้างสุขภาวะของประชาชนและชุมชน โดยเฉพาะการดูแลกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน อปท. หน่วยงานและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาคมและการสนับสนุนทางวิชาการจากหน่วยงานต่าง ๆ
กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพ
• ผลการดำเนินงานกองทุนฯ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๘
ผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๘ องค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาลที่เข้าร่วมกองทุนทั้งหมด ๗,๖๖๐ แห่ง จากทั้งหมด ๗,๗๗๖ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๗๙ และไม่พร้อมเข้าร่วม จำนวน ๑๖ แห่ง
จำนวนโครงการเมื่อแยกรายกิจกรรมการสนับสนุนพบว่าประเภทกิจกรรมสนับสนุนกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น มากร้อยละ ๓๘ จำนวน ๑๕,๓๗๕ โครงการฯ จำนวนงบประมาณ ๔๘๑.๕๖ ล้านบาท เมื่อแยกตามประเภทกลุ่มเป้าหมาย พบว่ากลุ่มเป้าหมายที่มีโครงการฯ มากที่สุดคือกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน ๕,๑๓๕ โครงการ จาก ๓๕,๑๑๔ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๓๘ แต่จำนวนงบประมาณสนับสนุนมากที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน ๒๐๓.๗๑ ล้านบาท จาก ๑,๒๘๐.๗๔ ล้านบาท
จากการติดตามประเมินผลกองทุนในปี ๒๕๕๗ จากการบันทึกข้อมูลทั้งหมด ๒,๙๙๘ แห่ง พบว่าจำนวนกองทุนที่มีศักยภาพสูงและเป็นศูนย์เรียนรู้ จำนวน ๘๖๑ แห่ง
- ผลการดำเนินงานกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพระดับจังหวัด ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๕๘
การจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพระดับจังหวัด ตามมาตรา ๔๗ ในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ด้วยหวังเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้พิการ ผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูดูแลอย่างครบวงจร เหมาะสม และต้องการให้ชุมชนมีระบบบริการฟื้นฟู เกิดรูปแบบการช่วยเหลือในระดับครอบครัว ชุมชนเชื่อมโยงกับหน่วยบริการให้ได้รับบริการขั้นพื้นฐานให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างอิสระ รวมทั้งมีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายหรือพัฒนากองทุนให้มีประสิทธิภาพ ไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนฯ ในรอบปี
ที่มาของเงินทุนมาจาก ๕ แหล่ง คือ (๑) กองทุนหลักประกันสุขภาพ (๒) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (๓) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๔) ทรัพย์บริจาค (๕) รายได้อื่นๆ
บริหารภายใต้คณะกรรมการที่มีอายุ ๒ ปี มีสัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรผู้พิการ พัฒนาสังคมจังหวัด/ท้องถิ่นจังหวัด ๔ คน ผู้แทนหน่วยบริการ/สาขาวิชาชีพ ๕ คน ผู้บริหาร/เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๔ คน และผู้บริหารเจ้าหน้าที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต สาขา จังหวัด จำนวน ๓ คน รวม ๑๖ คน ทำหน้าที่ในการบริหารกองทุน จัดทำแผนแผนพัฒนากองทุนบูรณาการกับภาคีในพื้นที่ จัดให้ผู้จำเป็นต้องฟื้นฟูเข้าถึงบริการ รับผิดชอบการจ่ายเงิน สรุปผลการดำเนินงาน และสามารถตั้งคณะทำงานขึ้นได้ตามความจำเป็น
ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัด
กลไกภาคประชาสังคมสนับสนุนชุมชนสุขภาวะ
โดย นายเจษฏา มิ่งสมร รองประธานคณะทำงานติดตามการขับเคลื่อน
แผนยุทธศาสตร์รวมแสงเลเซอร์สนับสนุนชุมชนเข้มแข็ง-ชุมชนสุขภาวะและหัวหน้าศูนย์ประสานงานภาคีเพื่อการพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา
กลไกการรวมแสงเลเซอร์สนับสนุนชุมชนเข้มแข็งจะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องอาศัยกลไก ๒ ระดับ ได้แก่ การรวมแสงระดับส่วนกลาง ซึ่งทำงานประสานกับหน่วยงานภาครัฐ และการรวมแสงระดับส่วนพื้นที่ ที่ผ่านศูนย์ภาคีการพัฒนาจังหวัด ดังนั้น ในการปลุกพลังจังหวัดเพื่อเปลี่ยนจังหวัด นั้นต้องอาศัยกลไกในระดับพื้นที่ ซึ่งเป็นการรวมแสงเลเซอร์ในระดับจังหวัด สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนาจึงได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สนับสนุนการดำเนินงานผ่านศูนย์ประสานงานภาคีการพัฒนาจังหวัด ๗๗ แห่ง/จังหวัด ภายใต้โครงการ Inspiring Thailand
โครงการ Inspiring Thailand เป็นความร่วมมือขององค์กรจากหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาคสังคม ภาคธุรกิจ ภาควิชาการ และภาครัฐ โดยมีความมุ่งหวังที่จะร่วมกันสร้างปฏิบัติการเพื่อปลุกพลัง สร้างสรรค์ประเทศไทยให้น่าอยู่ โดยมีความเชื่อว่าประเทศไทยจะน่าอยู่ได้ ต้องเริ่มคนตัวเล็กๆ ในสังคมมีวิสัยทัศน์ร่วม เพื่อการเป็นประเทศที่เติบโตแบบสมดุลและอย่างยั่งยืน โดยการร่วมมือกันขององค์กรทุกภาคส่วนในสังคม จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้ประเทศได้ ซึ่งองค์ประกอบโครงการประกอบด้วย ๔ ส่วนคือ
- การระดมความคิดของคนไทยทั้งสังคมเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ร่วมในการพัฒนาประเทศ
- การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ในการพัฒนาประเทศ จากทุกภาคส่วนของสังคม
- การสร้างปฏิบัติการเปลี่ยนประเทศไทย (ร้อยโครงการเปลี่ยนประเทศไทย)
- การสร้างค่านิยม ของคนไทยรุ่นใหม่ที่เป็นคนที่กระตือรือร้นและไม่นิ่งเฉย ต่อสังคม (Active citizen) โดยสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) รับหน้าที่ในการระดมความคิดของคนไทยทั้งสังคมในการสร้างวิสัยทัศน์ประเทศไทย
โดยที่ประชุมได้ทำความเข้าใจกับการทำงานของ ศปจ. และได้เชิญศูนย์ประสานภาคการพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรามานำเสนอภาพการดำเนินงานรวมแสงเลเซอร์ระดับพื้นที่
ศูนย์ประสานภาคีการพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา
โครงสร้างการขับเคลื่อนชุมชนที่เกี่ยวข้องกับงานสุขภาวะ
ฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดที่มีการรวมตัวของคนทำงานเพื่อสังคมมายาวนานกว่าสิบปี การทำงานจะแบ่งกันเป็นประเด็นต่างๆ ขึ้นตามสภาพและสถานการณ์ของพื้นที่ โดยแตกออกเป็น ๔ องค์กรภาคี ที่ทำงานขับเคลื่อนในพื้นที่ ได้แก่
(๑) สมาคมรักษ์ชุมชนคนแปดริ้ว มีประเด็นการทำงานเกี่ยวข้องกับการศึกษา สุขภาพ และผู้ประกอบการทางสังคม
(๒) เครือข่ายแปดริ้วเมืองยั่งยืน มีประเด็นการทำงานเกี่ยวข้องกับการจัดทำผังเมือง พื้นที่แรมซ่าไซต์ ผลกระทบจากนโยบายการพัฒนา และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๓) คณะทำงานเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นเครือข่ายที่ทำงานด้านประชาสังคมที่รวมตัวกันทั้งภาครัฐ เอกชน นักธุรกิจ สถาบันการศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย สำนักงานจังหวัด พัฒนาชุมชน พัฒนาสังคมจังหวัด (พมจ.) เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศ.น.) เกษตรจังหวัด หอการค้าจังหวัด ผู้นำชุมชน อาสาสมัครองค์กรชุมชน สภาอุตสาหกรรม ธรรมาภิบาลและที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัด สภาเกษตรฯ สภาองค์กรชุมชน กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ท้องถิ่นและท้องที่
(๔) เครือข่ายองค์กรชุมชนและองค์กรสาธารณประโยชน์ ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นของของมนุษย์ (อพม.) ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) เครือข่ายสวัสดิการชุมชน เครือข่ายยุติธรรมชุมชน เครือข่ายวัฒนธรรม
ทั้งนี้ ในการดำเนินการจัดตั้ง ศปจ.ฉช. จึงเป็นการผนึกกำลังของทุกกลุ่มที่ทำงานในระดับพื้นที่ได้มาเชื่อมประสานการทำงานร่วมกันมากยิ่งขึ้น การดำเนินงานต้องผ่านกระบวนการพูดคุยจนตกผลึกความคิดร่วมกัน ด้วยทุนองค์กรที่ทำงานร่วมกันมาอย่างยาวนานและต่างมีเอกภาพ จึงเป็นการผสมผสานระหว่างองค์กรเก่า-ใหม่ กลุ่มคน และหน่วยงานที่กระจายตัวให้รวมเป็นแสงเลเซอร์ในระดับพื้นที่ขึ้นมาได้ อีกทั้งเป็นการกระตุ้นการทำงาน การสร้างพันธมิตรการทำงาน โดยมีเป้าหมายร่วมเดียวกันคือการทำให้จังหวัดฉะเชิงเทราน่าอยู่
ระบบกลไกการขับเคลื่อนชุมชนที่เกี่ยวกับงานสุขภาวะ
จากการพูดคุยในเวทีร่วมนั้น ที่ประชุมได้เห็นพ้องต้องกันที่จะมีเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อทำงานร่วมกัน และได้จัดระบบกลไกการขับเคลื่อนออกเป็นประเด็น รวม ๔ ด้าน คือ (๑) ด้านเศรษฐกิจ (๒) สังคม (๓) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (๔) ด้านการเมือง การปกครอง ภาคีร่วมดำเนินการตามประเด็นงาน ดังรายละเอียด
(๑) สมาคมรักษ์ชุมชนคนแปดริ้ว (อาจารย์สุพัฒน์ ธนพิงค์พงษ์) มีสมาชิกประมาณ ๘๐ คน และประชุมร่วมกันทุกเดือนต่อเนื่องเป็นจำนวนกว่า ๑๐๐ ครั้ง นับแต่จัดตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (SIF) ซึ่งสมาคมฯ ดำเนินการครอบคลุมประเด็นดังนี้
– ด้านการศึกษา ดำเนินการ จัดการเรียน หลักสูตรผู้ประกอบการทางสังคม (ดร.ศักดิ์ ประสานดี) เป็นหลักสูตรที่ร่วมกับอาศรมศิลป์ มีนักศึกษาจบปริญญาตรี ๑๔ คน จำนวนผู้คนขับเคลื่อนงานราว ๘๐ คน
– ด้านสุขภาพ ดำเนินงานร่วมกับองค์กร ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สป.สช.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
– ด้านเศรษฐกิจ และความรับผิดชอบต่อสังคม ดำเนินงานร่วมกับองค์กร ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “คนดี” /พลังงานทดแทน
(๒) เครือข่ายแปดริ้วเมืองยั่งยืน (คุณกัญจน์ ฑัตติยกุล) จะจัดให้มีการประชุมประจำเดือนทุกวันที่ ๘ ต่อเนื่องมาประมาณ ๑๙ เดือน สมาชิกประมาณ ๔๐ คน ไม่มีรายได้จากแหล่งอื่นใด สนับสนุน จึงเป็นการรวมตัวของผู้ที่มีใจทำงานเพื่อสังคมอย่างแท้จริง ประเด็นที่ดำเนินการ ได้แก่
– ด้านผังเมือง (คุณบุญเก็ง เลขวิวัฒน์) การประกาศพื้นที่อุตสาหกรรม
– ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พรชัย วิสุทธาจารย์) ธรรมนูญลุ่มน้ำบางปะกง ๔๓ ท้องถิ่น ริมแม่น้ำระยะทาง ๑๒๒ กิโลเมตร ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา
(๓) คณะทำงานเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา (คปจ.ฉช) เป็นแหล่งรวบรวมผู้คน ก่อนจะเกิด ศปจ. คณะทำงานฯ รวมตัวแบบหลวม และมีภาคีภาครัฐเข้าร่วมเป็นคณะทำงานจำนวนมาก ประเด็นที่ดำเนินการ ได้แก่
– การเมือง การปกครองและการกระจายอำนาจ (สำนักงานพัฒนาการเมือง/สภาองค์กรชุมชนตำบล) มีการร่วมจัดทำแผนจังหวัดและแผนกลุ่มจังหวัด
– กระบวนการเรียนรู้และเวทีสาธารณะ (สภาพลเมือง)
– การขับเคลื่อนเชิงนโยบาย (สมัชชาพลเมือง)
(๔) เครือข่ายองค์กรชุมชนและองค์กรสาธารณประโยชน์ (สังคม) ทำงานร่วมกับ อสม. ซึ่งมีประเด็นที่ดำเนินการ ได้แก่
– ด้านการเข้าถึงสิทธิ
– ด้านพัฒนาสังคม ในเรื่องสวัสดิการสังคม และกองทุน
– ด้านเสริมสร้างความเข้มแข็งฐานราก สนับสนุนโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.)
จากการดำเนินงานทำให้ค้นพบเครือข่าย คณะทำงานร่วมใหม่ๆ และเห็นถึงการเชื่อมประสานภาคหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ระดับพื้นที่ เช่น ฐานเครือข่ายของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) อีก ๑๘ กลุ่มใหญ่
ผลการขับเคลื่อนชุมชนที่เกี่ยวกับงานสุขภาวะ
ศูนย์ประสานงานภาคีเพื่อการพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา ดำเนินการขับเคลื่อนการทำงานรวมแสงเลเซอร์ระดับจังหวัด ความคืบหน้า ดังนี้
(๑) สำนักงานศูนย์ประสานงานภาคีเพื่อการพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา (ศปจ.ฉช.) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑ ชั้น ๒ อาคารที่ว่าการอำเภอพนมสารคาม (อาคารไม้หลังเก่าอายุ ๑๐๐ กว่าปี) ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ๒๔๑๒๐ ภายในอาคารประกอบด้วย ๓ หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.), สำนักงานประมง และที่ทำการองค์กรชาวบ้าน อีกทั้ง ศปจ. ได้ทำงานร่วมกับ กศน. ประสานสำนักงานขนส่งจังหวัดเพื่อใช้สถานที่เป็นที่สอนการสอบใบขับขี่ เพื่อหารายได้บำรุงค่าสาธารณูปโภค และมีแนวคิดในการจัดทำธุรกิจเพื่อสังคมเป็นการหารายได้สนับสนุนสำนักงานอีกทาง
(๒) การสื่อสารองค์กร ศปจ. ได้มีสื่อสารหน่วยงานเพื่อสร้างความเข้าใจและเป็นช่องทางการสื่อสารข้อมูลการทำงาน ผ่านทางเว็บเพจ ไลน์ เฟสบุ๊ก
(๓) กิจกรรมที่ได้ดำเนินการตามโครงการปลุกพลังประชาสังคมจังหวัดเปลี่ยนไทย ได้แก่
– การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นการปฏิรูปประเทศไทย
– การจัดเวทีภาพอนาคตจังหวัดฉะเชิงเทราใน ๒๐ ปี ข้างหน้า
– การจัดทำแบบสอบถาม เป้าหมายร่วมเพื่อปวงชนชาวไทย ซึ่งเป็นการระดมความคิดเห็นของประชาชนต่อ ๓ ประเด็นหลัก ได้แก่ ความคิดเห็นต่อผลประโยชน์ร่วม ๘ ประการ เป้าหมายการพัฒนาที่ปวงชนชาวไทยต้องการและ ความคิดเห็นต่อ “ค่านิยม…เพื่อเปลี่ยนไทย”
แผนการดำเนินงานของศูนย์ฯ ในระยะถัดไป ได้แก่
– จัดเวทีสภาพลเมืองจังหวัด
– จัดตั้งสภาองค์กรชุมชน และสวัสดิการชุมชนเต็มพื้นที่ (๙๓ ตำบล ๑๐๘ ท้องถิ่น)
– การดูแลสุขภาพระยะยาว (Pre Long term Care) และระบบการทำงานเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพบูรณาการภาคี เน้นเป้าหมายผ่านกระบวนการชื่นชม และการจัดการความรู้แบบอิงบริบทของแต่ละสถานีที่ (District Health System : DHS) ทางศูนย์ฯ ชวนชุมชนร่วมคิดกิจกรรมเพื่อสร้างผู้สูงอายุคุณภาพ พร้อมทั้งเตรียมการก้าวสู่ผู้สูงอายุสำหรับกลุ่มคนวัย ๕๐ ปี โดยลดภาระคนวัยแรงงาน นอกจากนี้ยังหวังให้เกิดระบบสุขภาพที่มีส่วนร่วม
– แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ซึ่งข้อเสนอที่มีนั้นมีความก้าวหน้าต่อการพัฒนาพอควร รวมทั้งแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดปี ๒๕๕๙ คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ(กรอ.) เสนอให้ขยายเส้นทางรถไฟฟ้าถึงปากน้ำเพื่อการท่องเที่ยวจากสนามบินสุวรรณภูมิ-บางปู/บางน้ำผึ้ง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีเช่นกัน นอกจากนี้ยังกำหนดให้เป็นพื้นที่ขยายที่อยู่อาศัย
– แผนการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ อยู่ระหว่างการจัดวงพูดคุย และยังต้องการความรู้ในเรื่องนี้มาก มีกลุ่มไลน์รายงานการเกิดอุบัติเหตุตลอด ๒๔ ชั่วโมง
– ระบบเศรษฐกิจฐานราก เป้าหมายมิใช่เพียงการกระตุ้นเศรษฐกิจแต่ต้องการให้มีระบบการเงิน การคลังในชุมชนท้องถิ่น มากกว่าการออมทรัพย์ หรือสวัสดิการเท่านั้น แต่เป็นการจัดระบบการเงินชุมชน
แม้มีความสำเร็จทั้งเป็นรูปธรรมเกิดขึ้นดังที่กล่าวข้างต้น แต่ ศปจ. ฉะเชิงเทรายังพบปัญหาอุปสรรคอยู่มากโดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานและการทำงานร่วมเชิงเครือข่ายที่ไม่อาจสามารถบังคับ เป็นเรื่องของจิตอาสา และเลือกคนที่มีความรู้เหมาะสมพร้อมทั้งจัดการให้สามารถทำงานร่วมกันได้
เครือข่ายสังคมคุณธรรมเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ
นายยงจิรายุ อุปเสน
ผู้จัดการฝ่ายยุทธศาสตร์ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
ศูนย์คุณธรรม (องค์กรมหาชน)
เป็นองค์กรภาคีที่ร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์รวมแสงเลเซอรืสนับสนุนชุมชนเข้มแข็ง – ชุมชนสุขภาวะโดยเฉพาะต้องอิงในด้านที่เกี่ยวข้องกับประเด็นชุมชนคุณธรรม
๑. ความเป็นมาของศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) จัดตั้งเป็นหน่วยงานเฉพาะด้านตามนโยบายรัฐบาล เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๗ ในสังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร. สำนักนายกรัฐมนตรี โดยกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่หลักในการบริหารจัดการและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนประสานงานและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายองค์กรด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ให้มีพลังในการพัฒนาคุณภาพประชากรของชาติในด้านคุณธรรมจริยธรรม เพื่อรักษาดุลยภาพในการพัฒนาสังคมไทย มีคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์คุณธรรมโดยคำสั่ง สบร. ที่สามารถกำหนดเป้าหมายและนโยบายการบริหารงานด้วยตนเอง
พ.ศ. ๒๕๕๑ สบร. รับข้อสังเกตจากสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการ บริหารงานของ สบร. ตามมาตรา ๒๘ ซึ่งมีลักษณะองค์การมหาชนซ้อนองค์การมหาชน คณะกรรมการบริหาร สบร. จึงมีมติยุบเลิกประกาศจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะด้านและปรับสถานะของหน่วยงาน เฉพาะด้านเป็นส่วนงานภายใน และปรับภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) การบริหารงานในสถานะส่วนงานภายในขององค์การมหาชนดังกล่าว ส่งผลให้การปฏิบัติงานของศูนย์คุณธรรมไม่สอดคล้องกับภาระงานของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ คณะกรรมการบริหารสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ จึงเห็นควรให้ศูนย์คุณธรรมทำเรื่องขอแยกตัวออกมาเป็นองค์การมหาชน ดำเนินงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้แต่แรก โดยเริ่มดำเนินการขอจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน ผ่านสำนักงาน ก.พ.ร. ระหว่างพ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๔
พ.ศ. ๒๕๕๔ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ได้รับการจัดตั้งเป็น ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ในกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๔ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๔
ภารกิจ
ศูนย์คุณธรรมได้กำหนดภารกิจการดำเนินงานได้ ๔ ประการ ได้แก่
(๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมพลังของกลุ่มหรือเครือข่ายทางสังคม และประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนรวมถึงการจัดประชุมสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติที่สอดคล้องกับแนวทางหรือกรอบการดำเนินงานของคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อพัฒนาคุณธรรมความดีที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัย ค้นคว้า พัฒนาองค์ความรู้ สร้างองค์ความรู้ใหม่ รวบรวมองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ บริหารจัดการความรู้ เผยแพร่องค์ความรู้ด้านคุณธรรมความดี และเป็นศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบของการประพฤติปฏิบัติดีของบุคคลและการ เป็นคนดีของสังคม
(๓) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชนในการดำเนินการเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทางวิชาการและนวัตกรรมในกระบวนการพัฒนาคุณธรรมความดีในรูปแบบต่าง ๆ
(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมอื่นๆ และการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมทางสังคม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณธรรมความดี
๒. บทบาทสำคัญของศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ด้วยภารกิจข้างต้นศูนย์คุณธรรมได้กำหนดบทบาทการทำงาน ประกอบด้วย ๓ เรื่อง ได้แก่ (๑)การพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณธรรมความดีที่เหมาะกับบริบทสังคมไทย
(๒) การประสานสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือเครือข่ายในการพัฒนาคุณธรรมความดี
(๓) การจัดงานสมัชชาคุณธรรมทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่
๓. กระบวนการทำงานของศูนย์คุณธรรม
การทำงานศูนย์คุณธรรมได้เน้นการทำงานแบบ ๓ ประสานได้แก่ (๑) มุ่งเน้นการทำงานที่เป็นระบบ Research Communicate Network (RCN) โดยเชื่อมโยงการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ การพัฒนาหลักสูตร และฝึกอบรม การส่งเสริมการปฏิบัติการนำร่อง หรือสร้างต้นแบบ เมื่อได้ผลจึงนำไปสู่การขยายผล ให้เกิดการปฏิบัติในองค์กรหรือพื้นที่ทั่วไป ประสานกับการส่งเสริมเครือข่ายองค์กรคุณธรรมแต่ละประเภท ให้มีความสามารถในการดำเนินงานภายในข่ายของตนเอง และยกระดับความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกันในระดับที่สูงขึ้นและใช้กระบวนการสื่อสารสาธารณะ เพื่อสร้างการเรียนรู้สู่สังคม (๒) เน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กรคุณธรรม โดยศูนย์คุณธรรม มีบทบาทในการเชื่อมประสาน สานพลังทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ทำให้เกิดพลังเชิงบวก ในการขับเคลื่อนสังคมคุณธรรม โดยผ่านกระบวนการสมัชชาคุณธรรม และ (๓) ดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมความดีใน ๒ ระดับ ทั้งในระดับปฏิบัติที่ส่งเสริมให้เครือข่ายองค์กรต่างๆ ดำเนินงาน และพัฒนาไปสู่ระดับนโยบาย
๔. ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน กิจกรรม ภายใต้บทบาทการทำงานข้างต้น สามารถสรุปกิจกรรมที่ศูนย์คุณธรรม ดำเนินการเอง การสนับสนุนและส่งเสริมนั้น มี ๕ ส่วน คือ
๔.๑ การพัฒนางานวิจัยและองค์ความรู้ ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานทางการศึกษา ภาครัฐและเอกชน ขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมคุณธรรมความดี มุ่งสร้างและพัฒนางานวิจัย ชุดความรู้ ไปสู่การจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม ปัจจุบันมีงานวิจัยและองค์ความรู้ราว ๒๐๐ เรื่องพร้อมกับการส่งเสริมปฏิบัติการสร้างต้นแบบ สู่การขยายผล ทั้งองค์กรและพื้นที่ เชื่อมร้อยเครือข่าย ยกระดับความร่วมมือ รวมทั้งการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างการเรียนรู้สู่สังคม ตัวอย่างสำคัญ ได้แก่
๔.๑.๑ งานวิจัย“กระบวนการสร้างโรงเรียนต้นแบบด้านคุณธรรมจริยธรรม” งานวิจัย “เด็กดีสร้างได้ คุณธรรมทุกพื้นที่…ความดีทั้งโรงเรียน”
๔.๑.๒ ผลิต วารสารวิชาการคุณธรรมความดี ฉบับแรกได้เริ่มเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๕ และผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง ที่รวบรวมทั้ง งานวิจัย การขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่และส่วนกลาง บทวิจารณ์หนังสือที่น่าสนใจ ที่มีความหลากหลายน่าสนใจ
๔.๑.๓ ผลิตหลักสูตรและการฝึกอบรมเพื่อใช้กับกลุ่มต่างๆ ตัวอย่าง เช่น หลักสูตร “การบริหารจัดการโครงการส่งเสริมคุณธรรมความดี” ได้มีการฝึกอบรมผู้บริหารสถานศึกษาและองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนเข้าร่วม ๒๙ รุ่น รวม ๑,๒๐๕ คน หลักสูตร “ผู้นำเยาวชนจิตอาสา” ได้อบรมแกนนำเยาวชนไปแล้ว ๑๓ รุ่น มีหน่วยงานเข้าร่วม ๓๖ องค์กรรวม ๑,๖๑๖ คน เป็นต้น
๔. ๒ การส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายทางสังคม ศูนย์คุณธรรมได้ประสานการทำงานอย่างต่อเนื่องกับหน่วยงานภาคีต่างๆ จนเกิดเครือข่ายที่เป็นรูปธรรมการทำงานร่วมกันกับ ๖ เครือข่าย ได้แก่
๔.๒.๑ เครือข่ายศาสนา ได้เชื่อม ๓ ศาสนาหลัก ได้แก่ ศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม จำนวน ๓๑ องค์กร พัฒนาหลักสูตรศาสนิกสัมพันธ์เป็นหลักสูตรกลางของเครือข่าย
๔.๒.๒ เครือข่ายชุมชนคุณธรรม ได้ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนคุณธรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๘๖ ชุมชน ในพื้นที่ ๑๕ จังหวัด รวมทั้ง ร่วมกับ ศูนย์คุณธรรมได้ร่วมกับ ๕ ภาคี/เครือข่าย ได้แก่ (๑) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (๒) สมาคมนักสร้างสุขภาวะองค์กร (๓) มูลนิธิหัวใจอาสา (๔) มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย (๕) เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนภาคตะวันตก และ ลงนามบันทึกความร่วมมือส่งเสริมชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง เพื่อชุมชนเข้มแข็งเป็นสุข สู่สังคมคุณธรรมในพื้นที่ภาคตะวันตก จำนวน ๑๐๐ ตำบลจาก ๗ จังหวัด
๔.๒.๓ เครือข่ายโรงเรียนคุณธรรม ศูนย์คุณธรรมได้สนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรและจัดฝึกอบรมให้กับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ (๑) การพัฒนาโรงเรียนคุณธรรมในโครงการกองทุนเพื่อการศึกษา ตามแนวทางพระราชดำริ จำนวน ๑๓๗ โรงเรียน ร่วมกับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) (๒) การสร้างต้นแบบ๑๐ แหล่งเรียนรู้โรงเรียนต้นแบบด้านคุณธรรม รวมทั้งได้ขยายผล ๑๓๗ โรงเรียน ร่วมกับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (๓) จัดทำหลักสูตรและอบรมศาสนิกสัมพันธ์แก่นักเรียนนายสิบ ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และ (๔) จัดอบรมโครงการคุณธรรมจริยธรรมในโครงการโรงเรียนกองทุน ร่วมกับสำนักงานผู้ตรวจกาแผ่นดิน มศว. และ ปปช.
๔.๒.๔ เครือข่ายภาคธุรกิจ ประกอบด้วย องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และภาคีเครือข่าย ๑๓ องค์กร ร่วมพัฒนาและจัดหลักสูตร “เยาวชนไทยไร้คอร์รัปชัน” จำนวน ๓ รุ่น ใน ๒๗ มหาวิทยาลัย รวม ๑๕๐ คน
๔.๒.๕ เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร่วมกันพัฒนาตัวชี้วัดความซื่อตรงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งจัดอบรมและส่งเสริมให้ อปท. นำไปใช้ในพื้นที่ ๑๗๒ องค์กร
๔.๒.๖ เครือข่ายสื่อมวลชน จัดทำหลักสูตรจริยธรรมสื่อมวลชนมีภาคีสื่อเข้าร่วม ๑๘ องค์กร
๔. ๓ ดำเนินงานส่งเสริมคุณความดีในระดับปฏิบัติ และระดับนโยบาย การจัดประชุมสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ถือเป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์ ซึ่งจัดต่อเนื่องรวม ๗ ครั้ง มีองค์กรภาคีร่วม ๕๒ องค์กร และ ๗ เครือข่าย การจัดประชุมสมัชชาฯ ก่อให้เกิด
- เกิดแผนพัฒนาความซื่อตรงแห่งชาติ ๒๕๕๕-๒๕๕๙
- เกิดปฏิญญาการรวมพลังขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมสู่การปฏิรูปประเทศไทย
- เกิดการพัฒนาสังคมคุณธรรมพื้นที่จังหวัดคุณธรรม ๕ จังหวัดนำร่อง
- เกิดหลักเกณฑ์การยกย่อง เชิดชู คุณธรรมความดี สังคม รางวัลคุณธรรม
- เกิดการผลักดันเรื่องการมีคุณธรรม จริยธรรมเป็นวาระสำคัญของการปฏิรูปประเทศ ผ่านสภาปฏิรูปแห่งชาติ ๒๕๕๘
๔.๔ เชื่อมโยงเครือข่ายคุณธรรมความดีระดับจังหวัด (จังหวัดคุณธรรม) ศูนย์คุณธรรมได้ประสานพลัง กำหนดเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ในลักษณะประชารัฐอย่างเป็นรูปธรรมใน ๔ พื้นที่นำร่อง ได้แก่ จังหวัดพิจิตร บุรีรัมย์ ราชบุรี และพัทลุง ซึ่งเชื่อมประสานการทำงานกับเครือข่ายที่มีอยู่ในพื้นที่ในการขับเคลื่อนงาน
- จังหวัดพิจิตรได้ขับเคลื่อนภายใต้แนวคิด “ปัญหาที่อยากแก้…ความดีที่อยากทำ ใน ๑๑ เครือข่าย ๖๐ องค์กร
- จังหวัดบุรีรัมย์ขับเคลื่อนแนวคิด “บุรีรัมย์สันติสุข ธรรมนูญหมู่บ้าน ๙ ดี” ขยายในพื้นที่ ๒๐๐ หมู่บ้าน เกิดรูปธรรม ๙ หมู่บ้านต้นแบบ
- จังหวัดราชบุรี ได้รวมพลัง ๘ เครือข่าย ๔๐ องค์กร ประสานงานจัด “งานตลาดนัดความดี” อันเป็นการสร้างกระแสการตื่นตัว เข้าร่วมจังหวัดคุณธรรม
- จังหวัดพัทลุง ได้ขับเคลื่อนแนวคิด “เมืองลุง เมืองบายใจ มีวินัยบนความพอเพียง” โดยร่วมกับ ๓๑ ชุมชน/ตำบล ร่วมกับ ๑ โรงพัก ในการสร้างวินัยด้านการจราจร ด้านสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยด้วยการต่างกายด้วยพื้นเมือง
จากการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรม กล่าวคือ เป็นการรวมผู้คนเป็นไปโดยง่าย ทั้งยังได้สร้างความเป็นเจ้าของร่วม ถือเป็นมิติใหม่ในการทำงาน นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดยังได้ประกาศเป็นนโยบายราชการจังหวัดและจัดตั้งกลไกการขับเคลื่อนงาน อีกทั้ง มีองค์กรที่ร่วมขับเคลื่อนการส่งเสริมจังหวัดคุณธรรมมากกว่า ๓๐ องค์กร/หน่วยงาน ปีแรกเน้นการเชื่อมโยงเครือข่าย ปีที่สองมุ่งผลักดันให้เกิดแผนระดับจังหวัด โดยมีจังหวัดที่สนใจอยากเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มอีก ๒๕ จังหวัด ซึ่งได้ร่วมทำกิจกรรมที่เป็นไปตามบริบทพื้นที่อันเกี่ยวข้องกับคุณธรรมความดี เช่น จังหวัดอ่างทอง กับกิจกรรม “ตลาดนัดความสุขชุมชนคนอ่างทอง”, จังหวัดหนองคาย กับกิจกรรม “ตลาดนัดความดีฟื้นวิถีสองฝั่งโขง”, จังหวัดภูเก็ต กับกิจกรรม “ภูเก็ตเกาะสวรรค์” เป็นต้น แต่ยังพบข้อจำกัดบางประการที่ทำให้บางจังหวัดยังไม่สามารถการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องเชิงพื้นที่
๔.๕ ผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ ศูนย์คุณธรรม ได้จัดกิจกรรมและผลิตสื่อประชาสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ เช่น การประกวดวรรณกรรม การผลิตรายการโทรทัศน์ สารคดี หนังสืออิเลกทรอนิกส์ จดหมายข่าว เป็นต้น เผยแพร่ผ่านช่องทางที่หลาก เช่น ห้องสมุด แอปพิเคชั่น เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค เป็นต้น
ด้านฐานข้อมูลนั้นทางศูนย์คุณธรรม ได้ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลองค์กรและบุคคล โดยเน้นมิติส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ซึ่งมีแบบบันทึกข้อมูล จำนวนเป้าหมายเบื้องต้น ๑,๐๐๐ องค์กร ทั้งนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาโปรแกรม และเห็นว่าน่าจะสามารถเชื่อมโยงฐานข้อมูลองค์กรระหว่างกันได้
ะบบบานข้อมูลองค์กรชุมชนเครื่องมือรวมแสงเลเซอร์
กรณีศึกษา : ศูนย์ประสานภาคีเพื่อการพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์
โดย นางสาวขวัญสุดา ขันธวิทย์
ผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงาน เป็นองค์กร
นายสุรพงษ์ พรมเท้า หัวหน้าศูนย์
ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์
สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI.) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน เป็นองค์กรที่ไม่แสวงกำไร มีเป้าหมายการดำเนินงานสำคัญอย่างหนึ่งคือการสร้างประชาสังคมจังหวัดให้เข้มแข็ง ได้ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้ร่วมกับ สสส. และองค์กรภาคีอื่นๆ จัดทำแผนงาน “แรงบันดาลใจ ประเทศไทยมิติใหม่ (INSPIRING THAILAND)” ซึ่งประกอบด้วย 5 โครงการหลัก
ในแผนงานดังกล่าว LDI รับผิดชอบดำเนินโครงการ“กระบวนการจัดทำเป้าหมายแห่งชาติ”ในการพัฒนาร่วมกันเพื่อให้มีความเป็นเอกภาพในการพัฒนาประเทศในระยะยาว (๒๐ ปีข้างหน้า) อีกทั้งได้ร่วมมือกับศูนย์ประสานภาคีการพัฒนาจังหวัด ในการจัดทำเป้าหมายร่วมจังหวัดเพื่อเปลี่ยนไทย ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๗ – ธันวาคม ๒๕๕๘
ในเวทีการประชุมเครือข่ายยุทธศาสตรืรวมแสงเลเซอร์ฯ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนาได้เชิญผู้แทนจาก จังหวัดเพชรบูรณ์มานำเสนอกรณีตัวอย่างในการดำเนินงานนำเสนอต่อที่ประชุมโครงการเป้าหมายร่วมแห่งชาติ
โครงการเป้าหมายร่วมแห่งชาติ มีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์รวมแสงเลเซอร์ใน ๒ ประเด็น ได้แก่
๑. การจัดทำฐานข้อมูลองค์กรชุมชน
องค์กรชุมชนเป็นหน่วยจัดการย่อยของชุมชนที่เกิดจากการรวมกลุ่มสมาชิกในชุมชนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันและมีความประสงค์ร่วมกัน องค์กรบางส่วนได้รับการจัดตั้งจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน บางส่วนเป็นกลุ่มที่เกิดจากชุมชนรวมตัวกันขึ้นมาเอง
การรวบรวมจัดทำฐานข้อมูลองค์กรชุมชนที่สามารถแสดงให้เห็นถึงจำนวน ประเภทหน่วยงาน และการกระจายตัวขององค์กรชุมชน ตลอดจนรายชื่อผู้นำและกรรมการขององค์กรชุมชนนั้นๆด้วย เพื่อสามารถนำข้อมูลประกอบการวางแผนเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพ
ในการจัดทำฐานข้อมูลองค์กรชุมชน ประกอบด้วยการออกแบบโปรแกรมฐานข้อมูลองค์กรชุมชน จัดทำคู่มือ การรวบรวมจัดเก็บข้อมูลจากหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านพัฒนาชุมชน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการบันทึกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ ถือเป็นการสร้างและพัฒนาบุคลากรซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของศูนย์ประสานงานภาคีเพื่อการพัฒนา (ศปจ.) รวม ๗๗ ศูนย์ จากการดำเนินการได้สร้างนักสารสนเทศประจำศูนย์จังหวัดละ ๒ คน รวม ๑๕๔ คน (ในเบื้องต้น)
จากผลการรวบรวมข้อมูลจากองค์กรภาคีและบันทึกฐานข้อมูลเข้าระบบโปรแกรม เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ จำนวนฐานข้อมูลองค์กรชุมชนจำนวน ๑๕ ฐาน จาก ๑๑ หน่วยงาน/องค์กร มีจำนวน ๑๗๔,๙๘๐ ข้อมูล ระบบยังออกแบบให้ทุกจังหวัดสามารถบันทึก แก้ไข และเรียกรายงานข้อมูลระดับจังหวัด และภาพรวมของประเทศได้อีกด้วย
๒. การจัดเวทีเป้าหมายร่วมจังหวัดใน ๒๐ ปีข้างหน้า
เวทีจัดทำเป้าหมายร่วมแห่งชาติ ในอีก ๒๐ ปี LDI. ดำเนินการจัดเวทีเป้าหมายร่วมระดับจังหวัด ร่วมกับศูนย์ประสานงานภาคีการพัฒนาจังหวัดทั้ง ๗๗ จังหวัด ที่ได้มีการจัดตั้งกลไกเพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับภาคีต่างๆในระดับพื้นที่ ให้จัดเวทีจัดทำเป้าหมายร่วมจังหวัดละ ๑ ครั้งเป็นอย่างน้อย และมีเวทีพิเศษ 3 จังหวัดชายแดนใต้อีก 1 เวที โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ การอบรมวิทยากรกระบวนการ ทีมวิชาการ LDI. ได้วางกรอบและเนื้อหาการอบรม ระยะเวลา ๓ วัน ๒ คืน เพื่ออบรมกับทีมวิทยากรกระบวนการจำนวน ๕ คนต่อจังหวัด แบ่งเป็น ๔ ภาคโดยทีมวิชาการส่วนกลางได้ทำข้อมูลระดับประเทศสถานการณ์จริง Fact&Figure ๗ ด้านของ ๒ ช่วงระยะเวลาเป็นกรณีศึกษาร่วมกัน เพื่อนำมาเปรียบเทียบหาแนวโน้มใน ๒๐ ปีข้างหน้า อีกทั้ง ได้มอบหมายให้แต่ละจังหวัดจัดทำข้อมูล Fact&Figure ให้แล้วเสร็จและนำไปใช้ต่อในเวทีระดับจังหวัดต่อไป
ข้อมูลทั้ง ๗ ด้านได้แก่
ด้านที่ ๑ เศรษฐกิจ
ด้านที่ ๒ สังคม
ด้านที่ ๓ ทรัพยากรธรรมชาติแลละสิ่งแวดล้อม
ด้านท ี่ ๔ การเมืองการปกครอง
ด้านที่ ๕ ความมั่นคงภายใน
ด้านที่ ๖ คุณธรรมจริยธรรม
ด้านที่ ๗ อื่นๆ เช่น ประเด็นร้อนในจังหวัด เป็นต้น
ขั้นตอนที่ ๒ การจัดเวทีเป้าหมายร่วมจังหวัด เมื่อแต่ละจังหวัดได้รับทราบถึงวิธีการจัดเวทีแล้ว สิ่งที่ดำเนินการต่อไปคือ
(๑) จัดทำข้อมูลพื้นฐานและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัด
(๒) การจัดประชุมคณะทำงานจังหวัดเพื่อวางแผนกำลังคนในช่วง ก่อน ระหว่าง หลังการจัดเวที
(๓) เตรียมทีมวิชาการจัดทำข้อมูลสถานการณ์จริงเปรียบเทียบ ๒ ช่วงระยะเวลา ๗ ด้าน และเอกสารนำเสนอในเวที
(๔) กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะเชิญเข้าร่วมกิจกรรมในเวทีที่ต้องครอบคลุมตาม ประเด็น และมีความรู้หรือเกาะติดสถานการณ์ในจังหวัด
(๕) จัดเวทีเป้าหมายร่วมจังหวัดตามกำหนดการที่ได้แจ้งไว้
ขั้นตอนที่ ๓ การนำผลการจัดเวทีไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับจังหวัด ศปจ.จังหวัดจะนำสถานการณ์ แนวโน้ม และข้อมูลข้อเท็จจริงนำปฏิบัติการต่อ
(๑) การสร้างกระแสจังหวัด ปลุกพลังทุกภาคส่วนลุกขึ้นมาจัดการกับ สถานการณ์ปัญหาที่พบ
(๒) นำเสนอต่อผู้มีอำนาจในระดับจังหวัด เช่นผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วน หอการค้า หัวหน้าสถานศึกษา เป็นต้น
(๓) การติดตามการขับเคลื่อนเป้าหมายร่วมระดับจังหวัด
กรณีศึกษา : ศูนย์ประสานภาคีการพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์
ศูนย์ประสานภาคีการพัฒนาจังหวัด ตัวย่อ คือ ศปจ. โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมาย เป็นพื้นที่กลางในการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างภาคสังคมในพื้นที่กับภาครัฐที่เป็นหลักในการทำงาน และบูรณาการพลังขับเคลื่อนภาคพลเมืองใน ๗๗ จังหวัดของประเทศไทย โดยกลไกหลักจะเป็นการทำงานระดับพื้นที่ มีบทบาทภารกิจ ทำ Mapping ผู้ประสานงานเครือข่ายระดับจังหวัด ประกอบด้วยประชาสังคม สายสมัชชาสุขภาพ สายชุมชน สายท้องถิ่น สายธุรกิจ สายสื่อมวลชน สายสมัชชาปฏิรูป สายสมัชชาคุณธรรม ฯลฯ และบันทึกลงระบบฐานข้อมูลองค์กรชุมชนให้เป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งตรวจสอบให้มีความถูกต้อง ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น โดยที่ประชุมได้คัดเลือกจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นกรณีตัวอย่างการบริหารจัดการเพื่อการรวมแสงเลเซอร์ระดับพื้นที่
ศูนย์ประสานงานภาคีการพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ (ศปจ.พช.) ตั้งอยู่ที่ สถาบันการเรียนรู้ภาคประชาสังคมจังหวัดเพชรบูรณ์ เลขที่ 2/44-45 ถ.สามัคคีชัย ต.ในเมือง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67000 มีนายสุรพงษ์ พรมเท้าเป็นหัวหน้าศูนย์ฯ อีกทั้งมีทีมงานระดับจังหวัดซึ่งประกอบด้วย นักวิทยากรกระบวนการจังหวัด นักวิชาการ นักไอที เจ้าหน้าที่ธุรการ เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานในจังหวัด
การจัดทำเวทีเป้าหมายร่วมจังหวัดนั้น สิ่งที่ ศปจ. ต้องดำเนินการ
กระบวนการกำหนด “เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดใน20ปีข้างหน้า”
เวทีเป้าหมายร่วมจังหวัดเพชรบูรณ์ จัดขึ้นในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558 ณ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ผู้เข้าร่วมเวที 87 คน ประกอบด้วย นักวิชาการ ภาคประชาสังคม ท้องถิ่น/ ท้องที่ อสม. เยาวชน คณะทำงาน ภาคธุรกิจ เอกชน และ หน่วยราชการ โดยส่วนหนึ่งได้คัดเลือกผู้แทนจากกลุ่มองค์กรชุมชนที่ทำงานในพื้นที่ (ข้อมูลจากฐานข้อมูลองค์กรชุมชนเข้มแข็ง) ได้มีการนำเสนอข้อมูล ๗ ด้าน (Fact&Figure) จาก ๒ ช่วงระยะเวลามาเปรียบเทียบข้อมูล หรือนำข้อค้นพบที่น่าสนใจมานำเสนอในเวทีระดับจังหวัด ทั้งนี้ ข้อมูลและผลที่เกิดจากเวทีเป็นเป้าหมายการดำเนินงานของจังหวัดในอีก 20 ปีข้างหน้า มีรายละเอียด ดังนี้
องค์กรชุมชนเข้มแข็ง จังหวัดเพชรบูรณ์ (3,527 แห่ง)
หมวด | กลุ่ม / หน่วยงาน | สังกัด | เมือง | หล่มสัก | หล่มเก่า | น้ำหนาว | เขาค้อ | ชนแดน | วังโป่ง | หนองไผ่ | บึงสามพัน | วิเชียรบุรี | ศรีเทพ | ไม่ระบุ | จังหวัด |
1. เศรษฐกิจฐานราก | 1.1 ผู้ประกอบการ OTOP 5 ดาว | กรมการพัฒนาชุมชน ก.มหาดไทย | 3 | 5 | 1 | 0 | 1 | 1 | 2 | 2 | 7 | 1 | 0 | 0 | 23 |
1.2 วิสาหกิจชุมชน | กรมส่งเสริมการเกษตร ก.เกษตรและสหกรณ์ | 231 | 127 | 146 | 16 | 53 | 221 | 56 | 401 | 152 | 119 | 68 | 0 | 1,590 | |
1.3 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง | สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ | 232 | 262 | 98 | 30 | 72 | 139 | 64 | 142 | 123 | 189 | 106 | 0 | 1,457 | |
1.4 สถาบันการเงินชุมชน | ธกส. | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 36 | 36 | |
1.5 ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง | ธกส. | 3 | 0 | 1 | 0 | 2 | 1 | 1 | 0 | 1 | 0 | 0 | 0 | 9 | |
2. สวัสดิ การชุมชน | 2.1 องค์กรสวัสดิการชุมชน | พม. | 2 | 4 | 5 | 0 | 3 | 3 | 0 | 6 | 0 | 6 | 1 | 0 | 30 |
2.2 โครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบลวิถีพอเพียง | มูลนิธิพลังงานที่ยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) | 0 | 0 | 1 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 1 | |
2.3 กองทุนสวัสดิการชุมชน | พม. /พอช. | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 1 | 0 | 0 | 0 | 1 | 0 | 0 | 2 | |
2.4 กองทุนสุขภาพตำบล | สปสช. | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | – | |
2.5 กองทุนรอบโรงไฟฟ้า | สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | – | |
2.6 ศูนย์อินเตอร์เน็ตชุมชน USOnet | กสทช. | 0 | 1 | 0 | 0 | 0 | 2 | 1 | 1 | 0 | 1 | 0 | 0 | 6 | |
3. สิ่งแวด ล้อมชุมชน | 3.1 โครงการป่าชุมชนที่กรมป่าไม้อนุมัติ ปีงบประมาณ 2543-2556 | กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | 28 | 24 | 12 | 2 | 11 | 26 | 13 | 19 | 4 | 11 | 1 | 0 | 151 |
3.2 ชุมชนลูกโลกสีเขียว | สถาบันลูกโลกสีเขียว | 0 | 0 | 0 | 1 | 1 | 1 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 3 | |
4. สุขภาพชุมชน | 4.1 ตำบลจัดการสุขภาพดีวิถีไทย ระดับดีเยี่ยม ประจำปี 2557 | 4.1 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สธ. | 1 | 2 | 1 | 0 | 0 | 0 | 1 | 0 | 0 | 0 | 1 | 0 | 6 |
5. ประชา ธิปไตยชุมชน | 5.1 สภาองค์กรชุมชน | สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน | 0 | 63 | 59 | 0 | 0 | 3 | 22 | 27 | 0 | 0 | 1 | 0 | 175 |
6. องค์กรประชาสังคม | 6.1 องค์กรสาธารณประโยชน์ | พม. | 4 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 34 | 38 |
7. อื่นๆ | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | – | ||
รวม | 16 หน่วย | 504 | 488 | 324 | 49 | 143 | 398 | 160 | 598 | 287 | 328 | 178 | 70 | 3,527 |
ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดเพชรบูรณ์
จังหวัดเพชรบูรณ์ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง พื้นที่มีลักษณะยาวเริ่มต้นจากจังหวัดลพบุรีไปจรดจังหวัดเลย ระยะทางประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร กลาง มีพื้นที่ขนาด12,668 ตร.กม. หรือประมาณ 7.9 ล้านไร่ (ขนาดใหญ่ลำดับที่ 9 ของประเทศ) มีแม่น้ำป่าสักเป็นสายสำคัญ มีประชากร 995,102 คน 332,737 ครัวเรือน แบ่งการปกครองเป็น 11 อำเภอ, 117 ตำบล 1,430 หมู่บ้าน องค์กรปกครองท้องถิ่น 128 แห่ง (อบจ.1, ทม.1, ทต. 22, อบต. 102)
ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน พบว่า เพชรบูรณ์มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน, ครัวเรือน 80.99% มี ไฟฟ้าใช้, ปริมาณไฟฟ้าจำหน่าย 899 ,356,715.41 ล้านกิโลวัตต์/ชั่วโมง ครัวเรือน 98.3% มีน้ำประปาใช้ ปริมาณน้ำประปา จำหน่าย 8,175,703 ล้าน ลบ.ม./ปี ผลิตเองในจังหวัด 100% มีโทรศัพท์บ้าน 12.16% ของครัวเรือน โทรสาร 4.46 % ของครัวเรือน คอมพิวเตอร์ 19.70% ของครัวเรือน และมีอินเตอร์เน็ท 7.70% ของครัวเรือน
โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัด (พ.ศ.2556) พบว่า GPP (ผลิตภัณฑ์มวลรวม) 74,286 ล้านบาท GPP/หัวประชากร 79,061 บาท/คน/ปี ลำดับที่ 54 ของประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 77,412 บาท/คน/ปี (2555) เท่ากับ 1,649 บาท กำลังแรงงาน 485,476 คน อีกทั้ง ประชากรที่มีงานทำ 485,422 คน มีผู้ว่างงาน 232 คน คิดเป็น 0.05% ส่วนจำนวนครัวเรือน “ยากจน” (มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัด 30,000 บาท/คน/ปี) ข้อมูลสำรวจ 239,125 ครัวเรือน (พ.ศ.2557) พบว่า ผ่านเกณฑ์ 238,758 ครัวเรือน คิดเป็น 99.85% ไม่ผ่านเกณฑ์ 367 ครัวเรือน คิดเป็น 0.15 % หนี้สินครัวเรือนในจังหวัด (เฉลี่ย) 103,320 บาท/ครัวเรือน/ปี เป็น ลำดับที่ 13 ของภาคเหนือ (137,059 บาท) และเป็นลำดับที่ 61 ของประเทศ (163,087 บาท) ด้านการท่องเที่ยว พบว่า มีนักท่องเที่ยวรวม ในปี 2556 จำนวน 1,141,086 คน แบ่งเป็นชาว ไทย 1,136,928 คน/ต่างชาติ 4,158 คน
เป้าหมายปี 2575 หนี้สินต่อครัวเรือนไม่เกิน จำนวน 200,000 บาท/ครัวเรือน/ปี
แนวทางการดำเนินงาน สู่เป้าหมายร่วม 2575 :
1.เพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง
- สร้างเศรษฐกิจชุมชนที่มีคุณธรรมจริยธรรม
ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต จังหวัดเพชรบูรณ์มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 995,102 คน แบ่งเป็นเพศ ชาย 493,994 คน หญิง 501,108 คน จำนวนครัวเรือน 332,737 ครัวเรือน รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย19,918 บาท/ครัวเรือน/ปี (พ.ศ. 2556) ลำดับที่ 53 ของประเทศ (25,194บาท/ครัวเรือน/ปี) จำนวนประชากรของจังหวัดรวมทั้งสิ้น 995,102 คน ชาย 493,994 คน หญิง 501,108 คน จำนวนครัวเรือน 332,737 ครัวเรือน รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย19,918 บาท/ครัวเรือน/ปี (พ.ศ. 2556) ลำดับที่ 53 ของประเทศ (25,194บาท/ครัวเรือน/ปี)
อัตราการคลอดบุตรของมารดาอายุ 15-19 ปี ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี (เป้าหมาย ไม่เกิน 50 ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน) ปี พ.ศ. 2545 ร้อยละ 41 ปี พ.ศ. 2554 ร้อยละ 50.5
เป้าหมายปี 2557 ไม่เกินร้อยละ 45
แนวทางการดำเนินงาน สู่เป้าหมายร่วม 2575 :
- สนับสนุนถุงยางอนามัยให้เข้าถึงวัยรุ่นมากขึ้น
- โรงพยาบาลควรเพิ่มการคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวร
- บังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดในสถานประกอบการ เช่น สถานเที่ยวกลางคืน ร้านค้าจำหน่ายสุรา –บุหรี่
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรที่ดิน (ปี 2551) พบว่า จังหวัดเพชรบูรณ์มีเนื้อที่รวม 7.91 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ถือครองการเกษตร 3.2 ล้านไร่ (40 %) พื้นที่ป่าไม้ 2.54 ล้านไร่ (32%) พื้นที่นอกการเกษตร 2.17 ล้านไร่ (28 %) อีกทั้ง มีป่าสงวนแห่งชาติ 13 แห่ง ป่าอนุรักษ์ 7 แห่ง แหล่งน้ำ 7 อ่าง 3 ฝาย ความจุน้ำ 135.88 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 163,500 ไร่ ส่วนทรัพยากรที่ดิน (ปี 2551) พบว่า เนื้อที่รวมของจังหวัดมี 7.91 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ถือครองการเกษตร 3.2 ล้านไร่ (40 %) พื้นที่ป่าไม้ 2.54 ล้านไร่ (32%) พื้นที่นอกการเกษตร 2.17 ล้านไร่ (28 %) จำนวนป่าสงวนแห่งชาติ 13 แห่ง ป่าอนุรักษ์ 7 แห่ง แหล่งน้ำ 7 อ่าง 3 ฝาย ความจุน้ำ 135.88 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 163,500 ไร่
สถานการเหมืองแร่ มี 3 บริษัท ได้รับอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำ-เงิน ในเขตรอยต่อ 3 จังหวัดพร้อมกันในปี 2549 จำนวน 59 แปลง 507,996 ไร่ อุทกภัยบ้านน้ำก้อ: เหตุเกิด : วันที่ 10 สิงหาคม 2544 – 18 สิงหาคม 2544 มีผู้เสียชีวิต 131 รายราษฎรได้รับความเดือดร้อน 8,889 คน 1,749 ครัวเรือน ประมาณมูลค่าความเสียหาย 112,417,933 บาท ส่วนปริมาณขยะที่เกิดขึ้น 900 ตัน/วัน ขนไปกำจัด 322 ตัน/วัน กำจัดที่ถูกต้อง 103 ตัน/วัน (ตกค้างสะสม 11.40 ล้านตัน ในเวลา 1 ปี)
จำนวนพื้นที่ป่าไม้ (ไร่) ปี 2545 จำนวน 2,281,625 ไร่ ปี 25455 จำนวน 2,544,030 ไร่
เป้าหมายปี 2575 จำนวน 3,000,000 ไร่
แนวทางการดำเนินงาน สู่เป้าหมายร่วม 2575 :
- ลดการบุกรุกป่า 5 แสนไร่ปลูกต้นไม้ 20 ล้านต้น สร้างแหล่งรองรับน้ำ 1 พันล้าน ลบ.ม.
- เกิดศูนย์เรียนรู้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน 200 หมู่บ้าน 200 ป่าชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง
- จัดตั้งองค์กรจัดการป่าเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างจิตสำนึก
ด้านการเมืองการปกครอง จำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (128 แห่ง) แบ่งเป็น อบจ. 1 แห่ง อบต. 102 แห่ง เทศบาลเมือง 3 แห่ง เทศบาลตำบล 22 แห่ง มีประชาการไปใช้สิทธิ์ของพลเมือง เลือกตั้ง สส. พบว่า ปี พ.ศ. 2551 ใช้สิทธิ์ 68.97 % ปี พ.ศ.2555 ใช้สิทธิ์ 72.12 % ในปี 2557 มีการใช้สิทธ์ 41.36 % ส่วน สว. นั้น พบว่า ปี พ.ศ. 2551 ใช้สิทธิ์ 49.96 % และในปี พ.ศ. 2557 ใช้สิทธิ์ 39.13 %
ด้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบที่ได้รับรางวัล พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ปี 2546 รางวัลที่ 1 อบต.ดงมูลเหล็ก รางวัลดีเด่นด้านสตรีและครอบครัว ปี 2549 ได้แก่ เทศบาลเมือง หล่มสัก อบต.ได้รางวัลด้านคุณธรรมจริยธรรม ปี 2553 ได้แก่ อบต.ปากดุก อบต. ด้านการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชน ปี 2553ได้แก่ อบต.วังบาล และ อบต.ที่ได้รางวัลดีเด่นด้านลานวัฒนธรรมปี 2553 ได้แก่ อบต. ศรีเทพ
ร้อยละการใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั่วไป ในปี 2545 มีผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ร้อยละ 60 ปี 2555 ร้อยละ72.12
เป้าหมายในปี 2575 ต้องมีผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งอย่างน้อย ร้อยละ 85
แนวทางการดำเนินงาน สู่เป้าหมายร่วม 2575 :
ประชาชนมีความเข้าใจในสิทธิหน้าที่ของความเป็นพลเมือง,นักการเมืองเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต, หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
ด้านความมั่นคงภายใน พบว่า มีจำนวนคดียาเสพติดต่อประชากร 100,000 คน พบว่า ปี 2555 ปี 2556 ปี 2557 และ ปี 2558 มีคดีเกิดขึ้น 3,324 ราย 8,015 ราย 4,678 ราย และ 2,159 ราย ตามลำดับ
จำนวนคดียาเสพติด/100,000 ประชากร (ราย )
ปี 2545 จำนวน 2,960 ราย ปี 2555 จำนวน 3,217 ราย
(นักค้ายาเสพติด 780 รายหมายจับยาเสพติด 89 รายตรวจสอบทรัพย์สิน 110 ราย
ผู้เสพ/ผู้ติด 2,238 ราย)
เป้าหมายปี 2575 จำนวนคดียาเสพติด ไม่เกินจำนวน 2,000 ราย
แนวทางการดำเนินงาน สู่เป้าหมายร่วม 2575 :
- สร้างภูมิคุ้มกัน (เข้าใจถึงโทษภัยของยาเสพติด)
- สร้างผู้นำรุ่นใหม่(เด็กและเยาวชน)ให้เกิดขึ้น เป็นต้นแบบของสังคม
- ทำให้เกิดการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลให้ทั่วถึง
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ จำนวนรวมของ วัด สำนักสงฆ์ โบสถ์ มัสยิด จำนวน 753 แห่ง แบ่งเป็น วัด 228 แห่ง, สำนักสงฆ์ 489 แห่ง โบสถ์คริสตจักร จำนวน 33 แห่ง และมัสยิด จำนวน 3 แห่ง สำหรับข้อมูลด้านจำนวนพระสงฆ์ พบว่า มีพระภิกษุ จำนวน 5,264 รูป และสามเณร จำนวน 587 รูป ด้านชุมชนพึ่งตนเอง มีต้นแบบ ๓ แห่ง ได้แก่ ตำบลภูน้ำหยด อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ตำบลบัววัฒนา อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ และตำบลสระประดู่ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
องค์กรต้นแบบด้านธรรมาภิบาล (แห่ง) ปี 2545 – แห่ง ปี 2555 จำนวน 3 แห่ง ชุมชนพึ่งตนเอง
1.ตำบลภูน้ำหยด อำเภอวิเชียรบุรี
2.ตำบลบัววัฒนา อำเภอหนองไผ่
3.ตำบลสระประดู่ อำเภอวิเชียรบุรี
เป้าหมายปี 2575 จำนวน 11 แห่ง จังหวัดเพชรบูรณ์อย่างน้อยมี 1 แห่งต่ออำเภอ
แนวทางการดำเนินงาน สู่เป้าหมายร่วม 2575 :
สนับสนุนให้เกิดพื้นที่จัดการตนเองในทุกมิติ ด้วยการมีส่วนร่วมทุกๆองค์กรทุกภาคส่วนและประชากรที่อยู่ในพื้นที่ เพื่อสร้างวัฒนธรรมในการพึ่งตนเองและพึ่งพากันในชุมชน
ตัวอย่างการขับเคลื่อนกิจกรรมภายหลังเวทีเป้าหมายร่วม
จากการนำเสนอเวที ประเด็นที่ที่ประชุมเห็นความสำคัญ และกำลังขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องคือประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่กำลังถูกทำลายลง โดยเฉพาะพื้นที่ป่าไม้ พบว่า พ.ศ. ๒๕๕๘ พื้นที่เขาที่ถูกบุกรุกจนกลายเป็นเขาหัวโล้น 560,125.66ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 26.40 ของพื้นที่ป่าไม้ในจังหวัด หรือกรณีที่ดินบนเขาค้อและภูทัพเบิก พื้นที่ทำการเกษตรกำลังกลายเป็นที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว
อ.เทพ เพียมะลัง เป็นนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม จ.เพชรบูรณ์ ที่ติดตามการทำลายทรัพยากรธรรมชาติมาโดยเฉพาะ ได้มีการนำเสนอภาพป่าไม้ธรรมชาติกำลังกลายเป็นที่ดินทำการเกษตร (ไร่ข้าวโพด) ได้มีการนำเสนอปัญหาผ่านทางเฟสบุ๊ค จนรายการทีวีได้นำเสนอภาพจากเฟสบุ๊ค จนสร้างกระแสตื่นตัวในระยะต่อมา
กิจกรรมโครงการฟื้นฟูจากภูผา-สู่มหานที โดยเรือข่ายคนต้นน้ำ “เพชรบุระตามรอยพ่อของแผ่นดิน”
ภายหลังเวทีเป้าหมายร่วมจังหวัดด้วยข้อมูลข้อเท็จจริงแล้วนำไปสู่แผนและการร่วมกันแก้ปัญหาจากเขาหัวโล้นให้เป็นเขาหัวจุกและสร้างโคก/หนอง/นา ซึ่งในที่ประชุมให้ความสนใจและร่วมกันสร้างเป็นนโยบายระดับจังหวัดต่อไป
ธนาคารต้นไม้ รูปธรรมธุรกิจเพื่อสังคมของ ธกส.
นายไพโรจน์ ตัณฑิกุล*
ผู้จัดการมูลนิธิอาจารย์จำเนียร สาระนาค
“ธนาคารต้นไม้”… การจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมหรือพื้นที่ป่าสาธารณะนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การผลักดันให้เกษตรกรและประชาชนปลูกและดูแลต้นไม้ให้ยืนต้นเติบโตภายในที่ดินของตนเอง โดยไม่ตัดต้นไม้เลยนั้นเป็นเรื่องยาก และมีความท้าทายยิ่งกว่า โครงการ “ธนาคารต้นไม้” ได้ฉีกกฎการปลูกป่าในรูปแบบเดิมที่เคยปฏิบัติกันมาในอดีตโดยการสร้างจิตสำนึกรักษ์ป่าไม้ให้กับชุมชน เริ่มต้นจาก “การปลูกต้นไม้ในใจคน” นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ กล่าว
นายไพโรจน์ ตัณฑิกุล เป็นหนึ่งในสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมการประชุม คณะทำงานรวมแสงเลเซอร์เป็นประจำทุกเดือน ได้นำเรื่องราวนวัตกรรมการปลูกต้นไม้ในใจคนมานำเสนอต่อที่ประชุม ซึ่งได้รับเสียงตอบรับจากสมาชิกท่านอื่นๆ อย่างมาก ในวงประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกิจกรรมซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของสังคมไทยและโลก จุดเริ่มของโครงการคือ การทำให้การปลูกต้นไม้เป็นการแก้ไขปัญหาหนี้สิน แต่สามารถเชื่อมโยงสู่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมประเทศและนำไปสู่สิ่งแวดล้อมของโลก ซึ่งเป็นกระบวนการดำเนินงานที่น่าสนใจ
ความเป็นมาและแนวคิดธนาคารต้นไม้
จากวิกฤติการณ์สิ่งแวดล้อมโลกที่เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ประกอบกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น เกิดการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติกลายเป็นที่อยู่อาศัย ภูมิอากาศที่แปรปรวนทำให้เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ น้ำแล้ง น้ำท่วม น้ำเค็มหนุนจนทำการเกษตรไม่ได้ อีกทั้ง ในพื้นที่เกษตรกรรมต้องประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำทำการเกษตร น้ำท่วม หรือแม้ในแหล่งน้ำที่ใช้บริโภคก็มีสารเคมีเจือปน รวมทั้ง ปัญหาทางสังคม ศาสนา การเมือง แล้วสังคมจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สังคมกลับมามีความมั่นคงอีกครั้ง
จากจุดเริ่มต้นของคำว่า “ปลูกต้นไม้ในใช้หนี้” เป็นเพียงคำพูดของนายประยงค์ รณรงค์ ปราชญ์ผู้ใช้ชีวิตอยู่กับเกษตรกรรมธรรมชาติตลอดชีวิตจากตำบลไม้เรียง จังหวัดนครศรีธรรมราช และเป็นผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาผู้นำชุมชนในปี ๒๕๔๗ ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่เป็นแรงผลักให้ ธกส. ต้องจัดทำโครงการวิจัยหนี้สินภาคครัวเรือนของเกษตรกรในชนบทไทย ทำให้ทราบว่า เกษตรกรมีหนี้สินต่อครัวเรือนเฉลี่ย ๑๖๗,๕๗๙ บาท มีค่าใช้จ่ายในภาคเกษตรเฉลี่ย ๗๕,๐๔๓ บาท ค่าใช้จ่ายนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย ๑๒๑,๐๓๐ บาท หรือรวมเป็นค่าใช้จ่าย ๓๖๓,๖๕๒ บาท แต่เกษตรกรกลับมีรายได้เฉลี่ย ๑๔๐,๐๗๖ บาท หรือมีหนี้สินมากว่ารายได้ถึง ๒.๕๙ เท่า
ธนาคารต้นไม้ ด้วยวิถีพอเพียงแบบ ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง อีกทั้งลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซค์ในอากาศ ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วมีการทำลายสิ่งแวดล้อมสูง และมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมที่กำหนดปริมาณการปล่อยก๊าซเมื่อเกินกำหนต้องทดแทนด้วยการซื้อป่าธรรมชาติ การบริจาคเงินให้แก่หน่วยงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
ธ.ก.ส. จึงได้ร่วมกับคณะกรรมการผู้นำชุมชนแห่งชาติ ริเริ่มแนวคิดการส่งเสริการปลูกต้นไม้ใช้หนี้เพื่อแก้ปัญหาความยากจนเป็นแนวคิดสู่การแก้ปัญหาทุกระดับที่ดำเนินการในรูปแบบโครงการโดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเกษตรกร เพื่อลดและหมดหนี้สิน รวมถึงการไม่มีหนี้สินใหม่ การปลูกต้นไม้จึงเทียบกับสมการทางการเงิน ทรัพย์สิน = หนี้สิน + ทุน หรือ ปลูกต้นไม้เพิ่ม = ทรัพย์สินเพิ่ม = หนี้สินลด การมีต้นไม้เพิ่มขึ้นยังสร้างความชุ่มชื่นอุดมสมบูรณ์ โดยส่งเสริมให้มีการปลูกต้นไม้ตามแนวทางพระราชดำริ ปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยลดพื้นที่การทำเกษตรเชิงเดี่ยวลงแต่ยังคงรายได้เท่าเดิมและสามารถพึ่งตนเองได้ โดยสร้างระบบการจัดการทรัพยากรชุมชนร่วมกัน จนเกิดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ธนาคารต้นไม้” เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๔๙
โครงการธนาคารต้นไม้ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้ทางรัฐบาลยกระดับและผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติว่าด้วยการปลูกต้นไม้ใช้หนี้ ภายใต้ยุทธศาสตร์การพึ่งพาตนเองและควมมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย พลังงาน อาหารและยา เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐
ด้าน ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวถึงพระเจดีย์แห่งการพัฒนาที่ต้องสร้างฐานรากที่มั่นคง และนวัตกรรมชุมชนจะเชื่อมโยงทุกเรื่อง เป็นมหาบูรณาการ ซึ่งธนาคารต้นไม้จึงเป็นหนึ่งนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาความยากจนและสร้างความเข้มแข็งได้เช่นกัน
บันได ๕ ขั้นสู่ความพอเพียง มั่งคั่ง ยั่งยืน
การขับเคลื่อนโครงการธนาคารต้นไม้ที่ยึดแนวทาง บันได ๕ ขั้นสู่ความพอเพียง มั่งคั่ง ยั่งยืน กล่าวคือ ขั้นที่ ๑ ขั้นร่วมคิด ขั้นที่ ๒ ขั้นร่วมทำ ขั้นที่ ๓ ร่วมตรวจสอบ ขั้นที่ ๔ ร่วมรับผิดชอบ และขั้นที่ ๕ ร่วมรับผลประโยชน์
ผลที่ได้รับจากโครงการไม่แค่ระดับปัจเจกเท่านั้น แต่ส่งผลสะเทือนถึงระดับโลก อาทิ การสร้างกระบวนการออมจากฐานเงินเป็นฐานทรัพยากรธรรมชาติ มูลค่าที่ได้นำไปแก้ปัญหาหนี้สิน ลดความยากจน ดำเนินชีวิตบนหลักพอเพียง ตลอดจนเป็นมรดกแก่ลูกหลาน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในการช่วยเหลือ พึ่งพา แก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำ มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม หลากหลาย ลดการใช้สารเคมี เกิดความสมดุลของระบบนิเวศ ลดปัญหาโลกร้อน
การดำเนินงาน
การดำเนินงานธนาคารต้นไม้ ธ.ก.ส. ได้มีแนวทาการขับเคลื่อนโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง มีองค์กรรัฐเป็นผู้สนับสนุน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานโดยอาศัยการจัดเวทีเพื่อเรียนรู้การทำงานจากเวทีเรียนรู้เรื่องธนาคารต้นไม้เพื่อ “ปลูกต้นไม้ในใจคน” สร้างจิตสำนึกรักการปลูกต้นไม้ไม่ได้เป็นเพียงการปลูกต้นไม้แต่เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการปลูกต้นไม้ตั้งแต่การเพาะกล้าพันธุ์ การเตรียมดิน การดูแลรักษา
บันได ๕ ขั้นสู่ความพอเพียง มั่งคั่ง ยั่งยืน
การขับเคลื่อนโครงการธนาคารต้นไม้ที่ยึดแนวทาง บันได ๕ ขั้นสู่ความพอเพียง มั่งคั่ง ยั่งยืน กล่าวคือ ขั้นที่ ๑ ขั้นร่วมคิด ขั้นที่ ๒ ขั้นร่วมทำ ขั้นที่ ๓ ร่วมตรวจสอบ ขั้นที่ ๔ ร่วมรับผิดชอบ และขั้นที่ ๕ ร่วมรับผลประโยชน์
ผลที่ได้รับจากโครงการไม่แค่ระดับปัจเจกเท่านั้น แต่ส่งผลสะเทือนถึงระดับโลก อาทิ การสร้างกระบวนการออมจากฐานเงินเป็นฐานทรัพยากรธรรมชาติ มูลค่าที่ได้นำไปแก้ปัญหาหนี้สิน ลดความยากจน ดำเนินชีวิตบนหลักพอเพียง ตลอดจนเป็นมรดกแก่ลูกหลาน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในการช่วยเหลือ พึ่งพา แก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำ มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม หลากหลาย ลดการใช้สารเคมี เกิดความสมดุลของระบบนิเวศ ลดปัญหาโลกร้อน
การตรวจสอบและประเมินมูลค่าต้นไม้ การกำหนดราคากลางที่ใช้ประเมินมูลค่าต้นไม้ ซึ่งได้ร่วมมือกับกรมป่าไม้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ องค์การมหาชน (ส.พภ.) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้กำหนดเกณฑ์การประเมินมูลค่าเนื้อไม้ โดยจำแนกต้นไม้ออกเป็น ๔ กลุ่ม ตามอัตราการเจริญเติบโตและมูลค่าเนื้อไม้ นอกจากนี้ยังมีการจัดทำโฉนดต้นไม้ ในระบบดาวเทียม การประกวดธนาคารต้นไม้ระดับภาค
ชนิดพรรณไม้ ๔ กลุ่ม
กลุ่มที่ ๑ ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตเร็ว รอบตัดฟันสั้นถึงปานกลาง มูลค่าของเนื้อไม้ต่ำ เช่น มะฮอกกานี กระถินเทพณรงค์ สะเดาเทียม
เกณฑ์การประเมินมูลค่าต้นไม้ พบว่า เมื่ออายุ ๑ ปี โดยเฉลี่ยจะมีเส้นรอบวงต้นที่สูง ๑๓๐ เซนติเมตรประมาณ ๑๕.๔๐ เซนติเมตร และมีมูลค่าเฉลี่ย ๖ บาท แต่เมื่อผ่านไป ๒๕ ปี จะมีเส้นรอบวง ๑๓๙.๕๔ เซนติเมตร และมีมูลค่า ๖,๘๗๗ บาท
กลุ่มที่ ๒ ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้ค่อนข้างสูง เช่น ยางนา ยมหอม จำปาทอง สน 2 ใบ/3 ใบ
เกณฑ์การประเมินมูลค่าต้นไม้ พบว่า เมื่ออายุ ๓ ปี โดยเฉลี่ยจะมีเส้นรอบวงต้นที่สูง ๑๓๐ เซนติเมตรประมาณ ๓.๑๔ เซนติเมตร และมีมูลค่าเฉลี่ย ๑ บาท แต่เมื่อผ่านไป ๒๕ ปี จะมีเส้นรอบวง ๑๕๕.๖๖ เซนติเมตร และมีมูลค่า ๔,๒๑๒ บาท แต่ถ้าอยู่ถึง ๕๐ ปี จะมีมูลค่าเพิ่มเป็น ๘,๗๘๗ บาท
กลุ่มที่ ๓ ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูง เช่น สัก มะปิน
เกณฑ์การประเมินมูลค่าต้นไม้ พบว่า เมื่ออายุ ๑ ปี โดยเฉลี่ยจะมีเส้นรอบวงต้นที่สูง ๑๓๐ เซนติเมตรประมาณ ๘.๘๐ เซนติเมตร และมีมูลค่าเฉลี่ย ๑๗ บาท แต่เมื่อผ่านไป ๒๕ ปี จะมีเส้นรอบวง ๙๗.๑๑ เซนติเมตร และมีมูลค่า ๕,๘๓๘ บาท แต่ถ้าอยู่ถึง ๕๐ ปี จะมีมูลค่าเพิ่มเป็น ๓๗,๓๖๐ บาท
กลุ่มที่ ๔ ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตช้า รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูงมาก เช่น พะยูง ชิงชัน มะค่าโมง ตะเคียนทอง เคี่ยม
เกณฑ์การประเมินมูลค่าต้นไม้ พบว่า เมื่ออายุ ๓ ปี โดยเฉลี่ยจะมีเส้นรอบวงต้นที่สูง ๑๓๐ เซนติเมตรประมาณ ๓.๐๘ เซนติเมตร และมีมูลค่าเฉลี่ย ๐.๔๐ บาท แต่เมื่อผ่านไป ๒๕ ปี จะมีเส้นรอบวง ๗๑.๙๗ เซนติเมตร และมีมูลค่า ๗,๗๖๖ บาท แต่ถ้าอยู่ถึง ๕๐ ปี จะมีมูลค่าเพิ่มเป็น ๒๓,๐๐๑ บาท
โครงการเงินออมธนาคารต้นไม้
ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายรัฐบาล การส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม (CSR.) ธ.ก.ส.จึงได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ฝากเงินในโครงการเงินออมธนาคารต้นไม้ ในอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์บวกอัตราพิเศษมอบให้ กับกองทุนธนาคารต้นไม้ เงินสนับสนุนกองทุนมาจากผู้ฝากเงินที่เปิดบัญชีกับ ธกส. ในโครงการเงินออมธนาคารต้นไม้เริ่มต้นที่ ๑๐,๐๐๐ บาท โดยธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ ๑.๕๕ ต่อปีแก่ผู้ฝากเงิน และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนต้นไม้ของชุมชน ร้อยละ ๐.๒๕ ต่อปี เพื่อนำไปจัดทำโครงการเกี่ยวกับการปลูกป่าและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามที่ผู้ฝากเงินสนใจตามพื้นที่ที่ธนาคารจัดขึ้น
ผลประโยชน์ร่วมจากโครงการ
นอกจากนี้ กองทุนต้นไม้ยังช่วยเหลือเกษตรกรในกรณีต่างๆ ให้กับสมาชิก เช่น จ่ายค่าชดเชยความเสียหายจากภัยพิบัติและภัยอื่นๆ รวมถึงค่าบริการด้านสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ปลูก ดูแลรักษาต้นไม้ ปกป้องผืนป่า และดูแลระบบนิเวศ และค่าตอบแทนต้นไม้ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบและประเมินคุณค่า เป็นต้น
อีกทั้ง ยังสนับสนุนด้านการเงินแก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการธนาคารต้นไม้ผ่าน “สินเชื่อสีเขียว” (Green credit) สมาชิกสามารถใช้บริการสินเชื่อจากธนาคารเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพเกษตรกรโดยอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนเชิงสังคมเพื่อการปลูก ดูแลต้นไม้ หรือปรับการผลิตจากพืชเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรทฤษฏีใหม่ โดยใช้ต้นไม้เป็นหลักประกัน นำมูลค่าต้นไม้มากำหนดวงเงินสินเชื่อได้ไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของมูลค่าต้นไม้
ในอนาคต “ธนาคารต้นไม้” ยังมีรายได้จากการพัฒนาตนเองเป็น “แหล่งคาร์บอนเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Offset) และการขายคาร์บอนเครดิต ตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ที่องค์กรภาคธุรกิจมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการชดเชยการปล่อยก๊าซสู่ชั้นบรรยากาศ
รวมทั้ง ธ.ก.ส. มีนโยบายส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรสมาชิก โดยเป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากธนาคารต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำ “วิสาหกิจชุมชนด้านการเพราะชำกล้าไม้” หรือกลุ่ม “วิสาหกิจชุมชนการผลิตถ่านและน้ำส้มควันไม้” เพื่อเป็นการสร้างอาชีพ รายได้ โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ควบคู่ไปพร้อมๆ กัน
การสนับสนุนของ ธ.ก.ส. เมื่อได้กลุ่มคนที่สนใจหลากหลายกลุ่ม จึงเกิดการเชื่อมโยงชุมชนเป็นเครือข่ายกลุ่มคนปลูกต้นไม้ระดับอำเภอ/ลุ่มน้ำ/จังหวัด/ภาค/ประเทศ ซึ่งเป็นไปตามบริบทของชุมชนและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้ ธ.ก.ส.ได้ให้การสนับสนุนโครงการธนาคารต้นไม้ในทุกๆ ขั้นตอน รวมทั้ง จัดตั้งฝ่ายพัฒนาลูกค้าและชนบทรับผิดชอบโครงการให้ดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายต่อไป
ผลการดำเนินงานธนาคารต้นไม้
๑. ปลูกฝังแนวคิด “ปลูกต้นไม้ในใจคน” ผ่านเวทีที่ดำเนินการในชุมชน จำนวน ๗,๘๖๖ ชุมชน มีผู้เข้าร่วมรวม ๓๐๙,๐๑๔ คน
๒. ทะเบียนธนาคารต้นไม้ทั่วประเทศ จำนวน ๕,๖๒๔ ชุมชน จำนวนสมาชิก ๙๑,๐๙๘ คน มีต้นไม้จำนวน ๙,๔๐๑,๖๓๙ ต้น
๓. วิทยากรธนาคารต้นไม้ทั่วประเทศ จำนวน ๓,๑๘๐ คน
๔. มีคณะกรรมการธนาคารต้นไม้ระดับภาคและระดับประเทศ
๕. จัดประกวดรางวัลธนาคารต้นไม้ระดับภาค
๖. กองทุนธนาคารต้นไม้ตามระเบียบฉบับที่ ๔๓
๗. เก็บคาร์บอนไดออกไซค์ในอากาศ ๑๔๒,๙๕๔.๙๔ ตันคาร์บอนต่อปี ลดคาร์บอนไดออกไซค์ในอากาศ ๕๒๔,๑๐๗.๑๗ ตันคาร์บอนต่อปี
ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนธนาคารต้นไม้ ปี ๒๕๕๘
๑. มุ่งสนับสนุนจัดตั้งธนาคารต้นไม้ทั่วประเทศ ๖,๘๐๐ ชุมชน สมาชิก ๑๗๐,๐๐๐ ครัวเรือน ปลูกต้นไม้ ๑๗,๐๐๐,๐๐๐ ต้น
๒. ครอบคลุมพื้นที่
– พื้นที่ต้นน้ำ ๒๕ ลุ่มน้ำหลัก ๔,๖๐๐ ชุมชน สมาชิก ๑๓๒,๕๐๐ คน ต้นไม้ ๑๓,๗๒๐,๐๐๐ ต้น
– พื้นที่กลางน้ำและปลายน้ำ ๑,๑๐๐ ชุมชน สมาชิก ๓๗,๕๐๐ คน ต้นไม้ ๓,๒๘๐,๐๐๐ ต้น
๓. สมทบสนับสนุนกองทุนธนาคารต้นไม้ ๔๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๔. ระดมเงินออมธนาคารต้นไม้เพื่อสนับสนุนกองทุนธนาคารต้นไม้ “ฝากเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ ๑ ไร่
๕. พัฒนาวิทยากรธนาคารต้นไม้ จำนวน ๑,๕๐๐ คน
๖. เชื่อมโยงเครือข่ายธนาคารต้นไม้ ระดับจังหวัด/ภาค/ประเทศ
๗. รางวัลธนาคารต้นไม้ระดับจังหวัด/ภาค/ประเทศ
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรขับเคลื่อนงานชุมชน จนได้รับรางวัลรัฐวิหสาหกิจยอดเยี่ยมต่อเนื่องเป็นปีที่ ๒ รางวัลชนะเลิศการประกวดผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงรางวัลลูกโลกสีเขียวปี ๒๕๕๐ จากการดำเนินงานธนาคารต้นไม้ ทั้งหมดล้วนเป็นความภาคภูมิใจขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง
สรุป
ธนาคารต้นไม้ ดำเนินการร่วมกับชุมชนสร้างให้ต้นไม้มีมูลค่าเป็นทรัพย์สิน ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ปลูกต้นไม้นอกป่า หากดำเนินการต่อเนื่องประเทศไทยจะเป็นมหาอำนาจคาร์บอนเครดิต ซึ่งยังไม่มีประเทศใดที่ดำเนินการ แนวคิดธนาคารต้นไม้เป็นการแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยาว ซึ่งเป็นการบูรณาการเชิงผลประโยชน์ นอกจากธนาคารแล้วยังเห็นว่าภาคธุรกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐในทุกระดับ สามารถดำเนินการภายใต้แนวคิดเช่นนี้ได้เช่นกัน การสร้างกลไกในรูปแบบของกลุ่มซึ่งมีระบบสมาชิก ที่ทำให้หน่วยงานสามารถยอมรับ สร้างการเปลี่ยนแปลงวิถีเกษตรเชิงเดี่ยวในเกษตรกรระดับเล็ก เห็นว่าจะเป็นไปได้ดีหากจะสร้างแรงจูงใจเชิงนโยบายแก่กลุ่มใหญ่
สถาบันการเงินชุมชน รูปธรรมธุรกิจเพื่อสังคมของธนาคารออมสิน
คุณสมบุญ พัฒนดิลก*
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาสังคมและชุมชน ธนาคารออมสิน
ธนาคารออมสิน ได้กำหนด วิสัยทัศน์องค์กรไว้ว่า “เป็นผู้นำในการส่งเสริมการออม เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเสริมสร้างความสุข และอนาคตที่มั่นคงของประชาชน” นับเป็นโอกาสที่ดี ที่ผู้แทนจากธนาคารออมสิน คุณสมบุญ พัฒนดิลก ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิก Forum โดยส่งผู้แทนเข้าร่วมเรียนรู้ และได้ร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินงาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นอกเหนือจากการทำธุรกรรมทางการเงิน เป็นการต่อยอดการทำงานที่สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
“สถาบันการเงินชุมชน” เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ดำเนินการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและความเข้มแข็งแก่องค์กรการเงินชุมชนเพื่อเป็นแหล่งออมเงินและแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ รวมถึงการจัดสวัสดิการแก่ชุมชนในทุกพื้นที่ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล
ธนาคารออมสิน กับการสนับสนุนสังคมและชุมชน
ธนาคารออมสิน มีพันธกิจองค์กรอยู่ ๕ ประการ ได้แก่ (๑) ส่งเสริมการออม และสร้างวินัยทางการเงิน (๒) สนับสนุนการลงทุนและการพัฒนาประเทศ (๓) ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (๔) ให้บริการทางการเงินครบวงจรที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน และ (๕) เป็นธนาคารเพื่อสังคม
จากวิสัยทัศน์และพันธกิจข้างต้น ธนาคารออมสินในฐานะหน่วยงานที่มีความมั่นคงทั้งทางด้านความรู้ วิทยาการ และงบประมาณ จึงได้ดำเนินนโยบายสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งแก่องค์กรการเงิน ทั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สถาบันการเงินชุมชน กลุ่ม และบุคคล ในรูปแบบของเงินทุนสนับสนุน องค์ความรู้ เครื่องมืออุปกรณ์ (หน่วยพัฒนาสถาบันการเงินชุมชน ๓ : ข้อมูล ณ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘) ได้แก่
ธนาคารออมสินได้สนับสนุนการทำงานของกองทุนหมู่บ้านหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน ๖๓,๕๑๕ แห่ง ใน ๔ ภาค พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีกองทุนหมู่บ้านที่ธนาคารออมสินดูแลจำนวน ๒๕,๗๕๐ แห่ง รองลงมาคือ ภาคกลาง ๖,๑๖๑ แห่ง ถัดมาคือภาคเหนือ ๑๓,๙๔๑ แห่ง และภาคใต้ ๗,๖๖๓ แห่ง ภารกิจที่ดำเนินการ คือ
๑. สนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีทั้งคอมพิวเตอร์และโปรแกรม ๓๐,๘๔๒ แห่งกระจายไปทั่วประเทศ ให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนสวัสดิการ สหกรณ์ประเภทต่าง ๆ
๒. พัฒนาศักยภาพผ่านอบรมเพิ่มประสิทธิภาพแก่สถาบันการเงินชุมชนสู่สถาบันการเงินชุมชนโดยได้พัฒนาระบบบริการทางการเงินออนไลน์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) จำนวน ๕,๐๐๐ แห่ง หวังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ หาช่องทางให้เกิดรายได้ให้แก่ชุมชนผ่านระบบ ออนไลน์ ให้สามารถบริการเติมเงินมือถือ รับฝากและถอนออนไลน์ เงินกู้ออนไลน์ โอนเงิน-รับเงิน ชำระบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ชำระเบี้ยประกัน เป็นต้น๓. การอบรมให้ความรู้ทางการเงินให้แก่ผู้นำและผู้ประสานงานระหว่าง องค์กรการเงินชุมชน จำนวน ๕,๐๐๙ แห่ง
๔. จัดประกวดสถาบันการเงินชุมชนดีเด่น เพื่อคัดเลือก ค้นหาสถาบันการเงินชุมชนดีเด่น สามารถเป็นต้นแบบ โดย มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทำการคัดเลือกสถาบันการเงิน นำเสนอแก่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ มีสถาบันการเงินชุมชนดีเด่น จำนวน ๑๕๑ แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง
๕. การอบรมให้ความรู้ทางการเงินแก่สมาชิกองค์กรชุมชน ซึ่งจะจัดขึ้นทุกปี มีหลักสูตรการให้ความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy)
๖. การส่งเสริมสนับสนุนการออมสำหรับกลุ่มเฉพาะ “ยิ่งกู้ยิ่งรวย กับพี่วิน ๑๐๑” กลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างมีรายได้รายวันไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ บาท แต่ขาดการวางแผนการใช้เงินเพื่ออนาคต ธนาคารจึงร่วมกับกลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างซอยลาดพร้าว ๑๐๑ สนับสนุนการออมเงินในรูปแบบเงินสัจจะร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และมีการจัดสวัสดิการซื้อประกันอุบัติเหตุ การอบรมให้รู้การคิดดอกเบี้ยเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของการกู้ในระบบกับการกู้นอกระบบ รวมถึงการบริหารจัดการหนี้การปรับโครงสร้างหนี้ ด้วยคำสอนของพ่อ และท่านอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม นอกจากนี้ยังโครงการสนับสนุนการออมสินแก่นักโทษ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพหลังพ้นโทษ และได้ประสานกับสมาคมเฟรนซาย เพื่อให้เลือกอาชีพที่ใช้เงินลงทุนไม่มากนัก
การดำเนินงานเรื่ององค์กรการเงินชุมชน ธนาคารออมสิน ได้อบรมให้ความรู้อยู่เป็นระยะๆ มีการจัดอบรมหลักสูตรบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชน ที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยการบริหารความเสี่ยง การตรวจสอบ การควบคุมภายใน และการเสริมเรื่องธรรมาภิบาลแก่คณะกรรมการ
สิ่งจำเป็นในการทำงานไม่ใช่แต่เพียงการบริการจัดการองค์กรเท่านั้น กล่าวคือแต่ละหน่วยงานต้องมีการจัดประชุมทุกเดือนเพื่อรายงายสถานะทางการเงิน เงินออม เงินกู้ รายรับ
งค์กรการเงินชุมชน คือ องค์กรการเงินภาคประชาชนที่จำกัดขอบเขตอยู่ภายในชุมชน มีระบบการออม การปล่อยเงินกู้ การบริหารจัดการธุรกิจ โดยอาศัยความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมภายในชุมชนเป็นเครื่องมือหลักในการบริหารจัดการ และมีเป้าหมายคือเพื่อสร้างสวัสดิการและการพึ่งพาตนเองของสมาชิก
รายจ่าย รายงานกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เป็นปัจจุบัน และปัญหาและอุปสรรคหรือสิ่งที่ดีงามของสมาชิก เช่น สภาพหนี้สิน สภาพเศรษฐกิจในชุมชนเพื่อให้สมาชิกได้รับทราบ แต่สิ่งที่ต้องควบคู่กับการทำงานคือ การมีธรรมาภิบาลของหน่วยงาน
อีกทั้งได้มีการจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำงาน อย่างเช่น คู่มือการบริหารจัดการองค์กรชุมชน คู่มือโปรแกรมบัญชีแยกประเภท MGL คู่มือการใช้โปรแกรมธนาคาร MBS เป็นต้น อีกทั้ง มีการจัดศึกษาเรียนรู้การทำงานพื้นที่ที่มีการจัดการองค์กรการเงินชุมชนที่เป็นระบบ เช่น กลุ่มสัจจะออมทรัพย์จังหวัดตราด ของพระอาจารย์สุบิน ปณีโต วัดไผ่ล้อม นอกจากนี้ยังมีการกำหนดให้มีการประชุมประจำเดือนแบบมีเงื่อนไขการพูดคุยหารือ เช่น จำนวนเงินออมปัจจุบัน จำนวนเงินกู้ บัญชีรับ-จ่าย ปัญหาอุปสรรค การตรวจสอบและการควบคุมภายใน เป็นต้น
ข้อจำกัด
องค์กรการเงินชุมชน คือ การจัดสวัสดิการพบว่าทุกกลุ่มจัดการแบบเกิดแก่เจ็บตายเงินจึงไม่เพียงพอ ประชาชนกว่าร้อยละ ๖๐ มีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง จากเหตุผลนำเงินทุนระยะสั้นให้สมาชิกกู้ระยะยาว และรับจำนอง จำนำ โดยคิดว่าหลักประกันเพียงพอ จึงทำให้องค์กรขาดสภาพคล่องในที่สุด อีกทั้ง องค์กรการเงินหาคนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารจัดการได้น้อย แต่หากต้องจัดจ้างบุคลากรประจำไม่มีงบประมาณมากพอ การขาดการประชุมที่ต่อเนื่องทำให้ไม่ทราบสถานะการเงินขององค์กร การจัดเก็บเอกสารที่ไม่เป็นระเบียบ และมีหลายแห่งกลัวการตรวจสอบงบประมาณจากสรรพากร รวมถึงการจัดการเงินด้วยบุคคลเดียวไม่มีการหมุนเวียนงาน
ข้อดีของสถาบันการเงินชุมชน
สถาบันการเงินชุมชนเติมเต็มช่องว่างของสถาบันการเงินในระบบ ซึ่งทำให้ผู้ที่ขาดโอกาสเข้าถึงการออม และการกู้ยืม หลากหลายกลุ่มตัวอย่างเช่น
(๑) เด็กบนที่ราบสูง การส่งเสริมการออมในกระบอกไม้ไผ่แก่เด็กบนพื้นที่สูง ซึ่งสามารถนำมาฝากที่สถาบันการเงินชุมชนได้ หรือลูกหลานมาทำงานในเมืองและต้องการส่งเงินให้กับพ่อแม่ซึ่งอาศัยในพื้นที่ห่างไกลสามารถฝาก-รับผ่านองค์กรชุมชน
(๒) กลุ่มผู้คนที่ขาดคุณสมบัติการกู้ยืม เช่น ผู้ที่อาศัยในพื้นที่สูงไม่มีบัตรประชาชน ไม่มีหลักทรัพย์
(๓) กลุ่มผู้พิการที่ขาดเงินลงทุนประกอบอาชีพ หรือต้องการมีอสังหาริมทรัพย์
(๔) กลุ่ม ๙ ชนเผ่า บนที่ราบสูง
(๕)ฺ การต่อยอดทางการค้ากับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและ OTOP ในการส่งเสริม พัฒนาอาชีพ ภูมิปัญญา เพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืน อย่างเช่น การเป็นแหล่งทุนให้ผลิตกิมจิส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียและไต้หวัน เป็นต้น
(๖) องค์การเงินชุมชนยังเป็นองค์กรสำคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
รวมถึงการช่วยเหลือในสถานการณ์ภัยในช่วงวิกฤตน้ำท่วมที่สถาบันการเงินสามารถทำได้รวดเร็วกว่าธนาคาร บางแห่งยังไม่มีการคิดดอกเบี้ยเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน
แผนดำเนินการขับเคลื่อนสนับสนุนในปี ๒๕๕๙ เน้นการให้ความรู้ทางการเงินแก่ครู ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายทั้งนี้ได้ประสานกับธนาคารแห่งประเทศไทยในเบื้องต้น
สรุป
องค์กรการเงินชุมชนไม่เป็นแต่เพียงการบริหารทางการเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างคน สร้างความคิด และสร้างความมั่นคงให้กับชุมชน การบริการทางการเงินอาจจะเป็นเพียงหนึ่งรูปแบบที่เรารู้จัก แต่ธนาคารออมสินยังได้ขยายกิจกรรมหรือบริการให้ครบคลุม แก้ปัญหาให้กับทุกกลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนไทยในพื้นที่ต่างๆ ที่เข้าไม่ถึงสิทธิ ซึ่งสามารถนำมาสนับสนุนการทำงานรวมแสงเลเซอร์กับภาครัฐที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแต่ไม่สามารถสนับสนุนบริการได้อย่างทั่วถึง
ลำสนธิโมเดล ต้นแบบหมอประจำครอบครัวบูรณาการชุมชนเข้มแข็งระดับอำเภอ
โดย นายแพทย์ สันติ ลาภเบญจกุล
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำสนธิ
อำเภอลำสนธิ เป็นพื้นที่ทุระกันดาร การเดินทางเป็นไปอย่างยากลำบาก จึงกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับนายแพทย์หนุ่มจากเมืองกรุงที่เดินทางไปทำงานจนไม่กลับออกจากพื้นที่เลย “ลำสนธิ นับเป็นพื้นที่มีเสน่ห์ในการทำงานอย่างยิ่ง ตลอด ๑๕ ปี คุณหมอสันติ ค่อยๆ ซึมซับรับรู้เรื่องราวสารทุกข์สุขดิบของชาวบ้านจากการลงชุมชนก่อเกิดคำถามในใจมากมาย และยังเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่ได้ค้บพบสิ่งดีๆ “คนแก่” “เด็ก” จุดประกายความมุ่งมั่น ทำอย่างไรจะให้ทุกอย่างดีขึ้น? เป็นคำถามที่มี และคำตอบหนึ่งที่ชัดคือ ต้องไม่ทำแบบเดิมเป็นแน่” เป็นประโยคที่ทางหมอสันติ กล่าวให้ที่ประชุมรับทราบความรู้สึกต่อการทำงาน
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอลำสนธิ มีพื้นที่รวม ๔๔๗.๐ ตารางกิโลเมตร และตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดลพบุรี และอำเภอลำสนธิ ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอภักดีชุมพร และอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ด้านทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ และอำเภอเทพารักษ์ และอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ทางทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
การปกครอง
ลำสนธิ อำเภอหนึ่งใน ๑๑ อำเภอของจังหวัดลพบุรี อดีตแยกออกจากอำเภอชัยบาดาล และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๙ เป็นต้นมา อำเภอลำสนธิ ประกอบด้วย ๖ ตำบล ๔๙ หมู่บ้าน และมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๖ แห่ง รายละเอียดดังนี้
ลำดับ | ตำบล | จำนวนหมู่บ้าน | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
๑ | ลำสนธิ | ๖ | องค์การบริหารส่วนตำบลลำสนธิ |
๒ | ซับสมบูรณ์ | ๗ | องค์การบริหารส่วนตำบลซับสมบูรณ์ |
๓ | หนองรี | ๑๓ | องค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี |
๔ | กุดตาเพชร | ๑๒ | องค์การบริหารส่วนตำบลกุดตาเพชร |
๕ | เขารวก | ๖ | องค์กรบริหารส่วนตำบลเขารวก |
๖ | เขาน้อย | ๕ | องค์การบริหารส่วนตำบลเขาน้อย |
อำเภอลำสนธิมีประชากรรวม ๑๖,๐๐๖ คน ประกอบด้วย ๕,๐๖๔ หลังคาเรือน มีจำนวนผู้สูงอายุ ๑,๗๐๒ คน และเป็นผู้ป่วยเรื้อรังสูงอายุ จำนวน ๔๙๙ คน และมีผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ๒๔ คน ผู้พิการ ๒๐๙ คน เด็กอายุไม่ถึง ๖ เดือน จำนวน ๑,๒๕๒ คน และสตรีตั้งครรภ์ จำนวน ๑๑๑ คน
การคมนาคม
อำเภอลำสนธิสามารถเดินทางได้ ๓ ทาง ทางบก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ สถานีขนส่งและสถานีรถไฟ ทางน้ำ ท่าเรือขนส่งโดยสารและแพขนานยนต์ และทางอากาศ สนามบินของทหารอากาศ ๑ แห่ง
สถานพยาบาล
สถานพยาบาลในอำเภอลำสนธิมีจำนวน ๑๕ แห่ง ประกอบด้วยโรงพยาบาล ๖ แห่ง สถานีอนามัย ๘ แห่ง และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ๑ แห่ง
เศรษฐกิจ
ผู้คนในอำเภอลำสนธิประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตรกรโดยมากปลูกพืชไร่ อย่างอ้อย ข้าวโพด มันสัมปะหลัง และเลี้ยงโคนม มีอาชีพเสริมด้วยการรับจ้างทั่วไป มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือคลองลำสนธิ และลำพญากลาง ในพื้นที่มีธนาคาร ๑ แห่ง คือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
จำนวนฐานข้อมูลองค์กรชุมชนเข้มแข็ง
ข้อมูลองค์กรชุมชนเข้มแข็งในพื้นที่อำเภอลำสนธิ จำนวนรวม ๑๖๐ องค์กร ประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชน จำนวน ๔๕ แห่ง, กองทุนหมู่บ้าน จำนวน ๓๐ แห่ง, กองทุนสวัสดิการชุมชน ๖ แห่ง, องค์กรสวัสดิการชุมชน จำนวน ๔ แห่ง, ตำบลจัดการสุขภาพ (ระดับคุณภาพ) จำนวน ๑ แห่ง ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๑ แห่ง ชุมชนรางวัลลูกโลกสีเขียว ๑ แห่ง และป่าชุมชน จำนวน ๑๘ แห่ง
ข้อค้นพบที่สำคัญการขับเคลื่อนงาน
หมอสันติ ได้กล่าวถึงการทำงานตลอด ๑๕ ปี ได้ค้นพบข้อคิดในการทำงานสำคัญ ๓ ประการ คือ
๑) “ชีวิตผู้คนเป็นตัวตั้ง” การทำงานไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ขอบเขตของพื้นที่ ตำบล อำเภอ หรือจังหวัดเท่านั้น แต่กลับเป็นชีวิตของผู้คนในพื้นที่เป็นสำคัญ
๒) “รวบรวมทรัพยากร” การเริ่มลงมือทำ ไม่ว่าจะเรื่องราวใดๆ เพียงผู้คนเดียวสำเร็จได้ยาก ดังนั้นการพยายามรวบรวมทรัพยากรที่เกี่ยวข้องจึงสำคัญ เมื่อหลายฝ่ายเข้ามาสนับสนุนจึงเกิดโครงสร้างการทำงานที่มีชีวิตผู้คนเป็นเป้าหมาย สามารถร่วมกันออกแบบบนสถานการณ์สู่การคลี่คลายทุกข์แก่ผู้คนเหล่านั้น
๓) “เรื่องที่ทำมีเสน่ห์ดึงดูด” เรื่องที่ทำต้องมีความหมายพอที่ดึงดูดให้ผู้คนมาร่วม ไม่ใช่แค่ฐานอำนาจคำสั่ง แต่เป็นฐานการทำงานร่วมกัน รับรู้ถึงความปิติที่ได้ทำ ความสวยงามเหล่านี้ทำให้เรื่องราวขยายออกไป เป็นเสน่ห์ดึงดูด และคนในพื้นที่รู้สึกว่าเป็นเรื่องของตนเอง
กระบวนการทำงาน
ด้วยกายภาพของพื้นที่อำเภอลำสนธิ มีลักษณะยาวห่างจากตัวเมืองลพบุรีราว ๑๒๐ กิโลเมตร จึงเป็นทั้งข้อดีและข้ออ่อน คือ
๑) ปลอดจากการตรวจสอบ จึงมีอิสระต่อการทำงานสูง
๒) ข้าราชการไม่ต้องการมาประจำ จึงมีความไม่เป็นทางการสูง ซึ่งเป็นพลังที่สวยงาม การทำงานจึงรวดเร็ว และง่าย
๓) ความเป็นชนบท ชาวบ้านมีทรัพยากรน้อย ระบบพึ่งพากันและกันในชุมชนจึงยังคงมีอยู่มาก
ปี ๒๕๔๙ งานแรกเริ่มจากประเด็นผู้สูงอายุ ขณะนั้นสถานการณ์ของลำสนธิ มีจำนวนผู้สูงวัย ๓,๐๐๐ กว่าคน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๖ เน้นใน ๒ เรื่อง คือ การดูแลทางการแพทย์ และการดูแลกิจวัตรประจำวัน เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถช่วยเหลือตนเองได้ หลายกรณีที่ให้การช่วยเหลือพบว่ามีความน่าสงสารมาก เช่น
๑) กรณีคุณยายบู่ ขาดนัดการพบแพทย์ จึงลงไปเยี่ยมเยียนติดตาม พบสภาพของคุณยายไม่ได้อาบน้ำเนื้อตัวส่งกลิ่น และถูกจัดให้อยู่ในบริเวณท้ายครัว ช่วงแรกรู้สึกตำหนิลูกหลานอย่างมาก ในตอนท้ายทราบว่าการจัดให้คุณยายอยู่บริเวณท้ายบ้านเพื่อให้ง่ายต่อการทำความสะอาด คุณยายเล่าให้ฟังว่ามีลูกหลายคน ส่วนใหญ่เข้าไปทำงานกรุงเทพฯ อยู่กับลูกหนึ่งคนและต้องออกไปทำงานรับจ้าง จึงไม่มีเวลาดูแลคุณยาย
๒) กรณีคุณป้าบุญช่วย แม้จะมีผู้ดูแลแต่ผู้ที่ดูแลนั้นต้องเลี้ยงเด็กเล็กอีกหลายคน การดูแลจึงทำได้ไม่มาก
คนข้างหลัง
จำนวนผู้ถูกทอดทิ้งมีมากในอำเภอ พบตัวเลข ๓๐๐-๔๐๐ คน ที่เข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุข ภาพคนแก่อยู่กับคนแก่ คนหัวงอกเลี้ยงหัวล้าน ครอบครัวเล็กลง เกิดคำถามทำอย่างไรซึ่งยุคสมัยนั้นไม่มีตัวอย่างพอที่จะเป็นทางออกสำหรับการจัดการเรื่องเหล่านี้ได้
“น้องแม็ค” เด็กพิการ ที่เป็นกรณีศึกษาของการดูแลตลอด ๒ ปี ก่อนที่จะเสียชีวิต ได้ทำให้เกิดบทเรียนรู้สำคัญถึงการดูแลโดยเน้น “ความเป็นเพื่อนมนุษย์” มากกว่า “ความเป็นหมอ” ผู้ป่วยเหล่านี้อยากอยู่บ้านและเลือกที่จะตายที่บ้าน จึงต้องยึด “ครอบครัวเป็นฐานการดูแล” หากจำเป็นจึงไป “โรงพยาบาล” แต่เท่านั้นก็ยังไม่เพียงพอ ต้องมี “Health Center/Secter?” “Social Center/Secter?” เพราะผู้ป่วยที่อยู่ในสภาพติดเตียง-ติดบ้าน ต้องการการพยาบาล กายภาพ การดูแลด้านอาหารโภชนาการ สุขอนามัย รวมถึงจิตใจ
ดังนั้นระบบการดูแลจึงต้องมี ๑) ครอบครัว เพื่อให้การดูแลในชีวิตประจำวัน เช่น ป้อนข้าว ใส่เสื้อ อาบน้ำ เป็นต้น ๒) ระบบบริการสุขภาพ Social Center ๓) การออกแบบบริการที่สอดคล้องกับกิจวัตร และไม่บริการแบบสุ่ม หน่วยเสริมประกอบด้วยทีมสังคม และทีมสาธารณสุข ที่สุดจึงเกิดแนวคิด “คนลำสนธิไม่ทอดทิ้งกัน” ผู้คนรู้สึกว่าเป็นเรื่องของคนทุกคน Health Center ในการดำเนินการมีโรงพยาบาลลำสนธิ และโรงพยาบาลสุขภาพตำบล ซึ่งในส่วนหลังนับเป็นหัวใจ เนื่องจากใกล้ชิดกับชุมชนที่สุด แต่พบว่าหน่วยระดับตำบลขาดทรัพยากร บุคคล ความรู้ทางการแพทย์ เวชภัณฑ์ หากโรงพยาบาลระดับอำเภอให้การสนับสนุนจะเกิดพลัง
Social Center อีกส่วนที่ สำคัญคือท้องถิ่นที่สามารถเข้ามาสนับสนุนด้านต่างๆ เพื่อการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในพื้นที่ลำสนธิได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานท้องถิ่นเป็นอย่างดี การเชื่อมร้อยกับโรงพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยด้วยระยะเวลา ความต่อเนื่อง บุคลากร อุปกรณ์ หลายกรณีพบว่าผู้ป่วยสามารถมีอาการดีขึ้นสามารถดูแลตนเองได้
นักบริบาลชุมชน งานหรือหัวใจ
เมื่อทำงานไประยะหนึ่งแล้ว กลับพบว่า การทำงานของฝ่ายสาธารณสุขเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ การติดขัดด้วยการเดินทาง งบประมาณ ในการนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล โรงพยาบาลจึงเกิดเกิดแนวคิดใหม่ในการสร้างกลไกการดูแลรูปแบบอาสาสมัคร หรือที่เรียกว่า “นักบริบาลชุมชน”
การทำงานในระยะแรกพบข้อจำกัด เนื่องจากอาสามัครส่วนใหญ่เป็นคนในชุมชนและต้องหารายได้ยังชีพในแต่ละวัน จึงพยายามออกแบบการสนับสนุนดูแลผู้ป่วยตามกิจวัตร กล่าวคือ การลงไปดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ เป็นการนำหมอเข้าไปหาคน นำการรักษาไปสู่ผู้ป่วยแทน การทำงานระยะแรกจึงทำไม่ค่อยจะได้ผลนัก แต่เมื่อได้มีการพูดคุยทำความเข้าใจกับหน่วยงานท้องถิ่นท้องที่ การทำงานจึงเริ่มเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
ท้องถิ่นได้จัดสรรงบประมาณการสนับสนุนค่าตอบแทนแก่อาสาสมัคร นักบริบาลชุมชน จำนวนหนึ่งโดยเริ่มจากรายละ ๒,๐๐๐ บาทต่อเดือน ปัจจุบันราว ๕,๐๐๐ – ๖,๐๐๐ บาท ซึ่งกลับพบว่าเงินจำนวนดังกล่าวนั้น ได้ถูกนำไปใช้ในการซื้อของเยี่ยมผู้ป่วย อาหารการกิน เครื่องใช้ ค่าเดินทาง ดังนั้น “การเป็นอาสาสิ่งที่ทำให้อยู่ได้เพราะเห็นถึงความหมายของการช่วยเหลือ”
การทำหน้าที่ “นักบริบาลชุมชน” ต้องพิถีพิถันกับการเลือกอาสาสมัครโดยต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจดี แข็งแรง และอยู่ในพื้นที่ชุมชน เป็นงานที่หนักและต้องเสียสละอย่างมาก สำหรับลำสนธิขณะนี้มีจำนวน ๓๖ คน ทั้งหมดต้องผ่านกระบวนการอบรม และทำงานภายใต้การดูแลของโรงพยาบาล ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ เป็นต้นมา
นักบริบาล ไม่ได้จำกัดการดูแลไม่เพียงเฉพาะผู้ป่วย เท่านั้น ยังให้ความสำคัญกับญาติที่ดูแลผู้ป่วยด้วย ที่ต้องแบกรับความเครียดเหล่านั้น เช่น ผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่ต้องคอยเอาใจใส่ตลอดเวลา แม้จะเป็นเวลาเพียงน้อยนิดก็ทำให้ญาติผู้ป่วยได้หลับเต็มตา มีเวลาทำกิจกรรมส่วนตัวได้ หรือ มีช่วงเวลาในการหารายได้ เป็นต้น นอกจากระบบสนับสนุนบุคลากรดูแลแล้ว ยังมีเรื่องของอุปกรณ์การแพทย์ที่สามารถยืมใช้ในเวลาจำเป็น เนื่องจากเครื่องมือบางอย่างมีราคาสูง เช่น เตียง เครื่องดูดเสมหะ เมื่อผู้ป่วยหาย หรือเสียชีวิต อุปกรณ์เหล่านี้จะถูกส่งต่อยังผู้ป่วยรายอื่นๆ ต่อไปกองทุนเพื่อการช่วยเหลือ
กองทุนเพื่อการช่วยเหลือ เป็นการจัดตั้งขึ้น เพื่อจัดซื้ออุปกรณที่จำเป็นต่อผู้ป่วย อาทิเช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูป หลอด สายงาน รวมถึงการปรับสภาพบ้าน ห้องน้ำ ให้เหมาะกับการใช้ชีวิต และการดูแลผู้ป่วยในบ้าน โดยคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เข้ามาร่วมออกแบบปรับสภาพแวดล้อมของบ้าน รวมถึงการสนับสนุนด้านงานวิชาการ งานวิจัย ส่วนงบประมาณการก่อสร้างจะอาศัยแรงงานอาสาสมัครในชุมชน ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงพื้นที่แล้วเสร็จราว ๒๐๐ – ๓๐๐ หลังคาเรือน
การทำงานย่อมมีข้อติดขัด ในช่วงแรกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการ แต่ไม่มีระเบียบรองรับจึงไม่สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้
“ระยะสุดท้าย ตายที่บ้าน” ภาพและเรื่องราวสู่การวางระบบเครือข่ายสนับสนุนด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วย กลายเป็นความสำเร็จที่ทรงพลัง ประสบการณ์นำไปสู่การขยายต่อ และไม่ใช่เรื่องยากสำหรับลำสนธิต่อไป
สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มีครอบครัวดูแล ต้องจัดหาพื้นที่รองรับ ขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้ แต่ยังมีจำนวนค่อนข้างน้อย เบื้องต้นได้ประสานกับหน่วยงานเอกชนสนับสนุนการก่อสร้างอาคารสำหรับดูแลในระยะยาว ด้านกลุ่มเด็กเล็ก มีศูนย์เด็กของท้องถิ่นดูแล
สังเคราะห์บทเรียนการทำงาน
ภายหลังรับฟังประสบการณ์การขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพในการสร้างสุขภาวะชุมชน กรณีศึกษา ลำสนธิโมเดลต้นแบบหมอประจำครอบครัว ที่ประชุมได้ร่วมแสดงความชื่นชม และให้กำลังใจนายแพทย์สันติ ลาภเบญจกุล และร่วมกันสังเคราะห์ประเด็นสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของลำสนธิโมเดลนั้น ประกอบไปด้วย
ประเด็นที่ ๑ องค์ประกอบ ลำสนธิโมเดลดำเนินการได้จริงภายใต้งบประมาณไม่มากนักแต่กลับสามารถดูแลผู้ป่วย ด้วยระบบจิตอาสาจนเกิดความเข้มแข็ง องค์ประกอบสำคัญคือ
๑. เครือข่ายสถาบันบริการสุขภาพ
๒. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนตามอำนาจหน้าที่ และเห็น คุณค่าของงาน และเป็นผลงานร่วมกัน
๓. ชุมชน และครอบครัว
๔. องค์กรธุรกิจ การพัฒนาบทบาทธุรกิจอาจพัฒนาสู่ความเป็นกองทุน/ มูลนิธิ
ประเด็นที่ ๒ การออกแบบดำเนินการครอบคลุมทั้งพื้นที่ ซึ่งองค์กรภาคประชาชนส่วนใหญ่อาจจะไม่สามารถดำเนินการครอบคลุม ในเชิงพื้นที่ตำบลหรืออำเภอ
ประเด็นที่ ๓ การสานต่อพัฒนาการการทำงาน “จิตอาสา” จากเพียงอาสาสมัครดูแลผู้ป่วย พัฒนาระบบสู่การเป็น “สัมมนาชีพ”
ประเด็นที่ ๔ กลไกสนับสนุนกลาง หลายกองทุน อาทิ
๑. กองทุน ภายใต้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
๒. กองทุนสวัสดิการชุมชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
๓. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.)
๔. มูลนิธิชุมชน/ธุรกิจ
ประเด็นที่ ๕ ภาคีความร่วมมือ ประเด็นนโยบายที่นำเสนอผ่านคณะกรรมการ/หน่วยงานต่างเพื่อร่วมผลักดันนโยบายระดับชาติ เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองแห่งชาติ สมัชชาผู้สูงอายุ เป็นต้น