การศึกษาศักยภาพและข้อจำกัดในการพัฒนาโกตาบารูสู่การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ต.โกตาบารู อ.รามัน จ.ยะลา

ข้อมูลเพื่อการพัฒนาพื้นที่ตำบล ต.โกตาบารู อ.รามัน จ.ยะลา

โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเพื่อฟื้นฟูชายแดนใต้ (ชชต.) ร่วมกับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สนับสนุนโดย ธนาคารโลก

Table of Contents

รายละเอียดการศึกษาครั้งนี้

ศักยภาพและข้อจำกัดในการพัฒนาโกตาบารูสู่การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

  1. พื้นที่ศึกษา

พื้นที่ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

  1. ระยะเวลาในการศึกษา

ระหว่างวันที่ 16-25 พฤษภาคม 2560

  1. วิธีการศึกษา

 

ข้อมูลบริบทพื้นที่

ลักษณะทางกายภาพ

1. ที่ตั้งและขนาด

เทศบาลตำบลโกตาบารูมีพื้นที่ประมาณ 17 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,386 ไร่ ซึ่งมีเขตพื้นที่ติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ     ติดต่อ ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

ทิศใต้            ติดต่อ ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

ทิศตะวันออก    ติดต่อ ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

ทิศตะวันตก      ติดต่อ ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

2 ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศโดยทั่วไปของเทศบาลตำบลโกตาบารู ด้านตะวันตกและด้านใต้เป็นภูเขาเหมาะสำหรับปลูกยางพาราและผลไม้ ด้านเหนือและด้านตะวันกออก มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนา

3 ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศของตำบลโกตาบารู มีลักษณะร้อนชื้น เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันออกตะวันออกเฉียงใต้ มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธุ์ถึงเดือนสิงหาคม และฤดูฝน ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนมกราคม มีฝนตกตลอดช่วงฤดูและมีฝนตกชุดมากที่สุด

ลักษณะของแหล่งน้ำ

น้ำอุปโภค-บริโภค

  • แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ประชาชนในพื้นที่ตำบลโกตาบารู ส่วนมากยังใช้น้ำบ่อ น้ำบ่อบาดาล น้ำประปาส่วนภูมิภาคา และน้ำประปาเทศบาลตำบลโกตาบารู
  • น้ำเพื่อการเกษตร
  • แหล่งน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตรในตำบลโกตาบารู ส่วนใหญ่ใช้น้ำฝน และน้ำจากลำธารเล็กๆ ที่ไหลผ่านพื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ คลองบาโงตาแย คลองโต๊ะนิ
  • แหล่งน้ำธรรมชาติ
  • ตำบลโกตาบารูมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ คลองบาโงตาแย คลองโต๊ะนิ ลำธารกือรี
  • คลองบาโงตาแย ต้นน้ำจากตำบลยะต๊ะไหลผ่านตำบลโกตาบารู โดยประชาชนใช้แหล่งน้ำนี้เพื่อการเกษตรน้อยมาก เฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้น

– คลองโตะนิ ไหลผ่านตำบลโกตาบารู และเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม และในปัจจุบันโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง แหล่งน้ำนี้จะแห้งขอดในห้วงเดือน เมษายน-ตุลาคม ของทุกปี

 ลักษณะของป่าไม้

ทรัพยากรธรรมชาติด้านป่าไม้ที่สำคัญของเทศบาลตำบลโกตาบารู ได้แก่ ป่าไม้เบญจ-พรรณไม้ที่พบได้แก่ ไม่หลุมพอ ไม้ตะเคียน ในบริเวณตำบลโกตาบารู ซึ่งในอดีตมีอยู่จำนวนมาก แต่เนื่องจากมีปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ทำให้พื้นที่ป่าลดน้อยลงมาก

ลักษณะของดิน

ลักษณะของดินเป็นดินร่วน ดินเหนียว พื้นที่ราบสูงเหมาะแก่การเกษตร ประเภทสวนยางพาราและสวนผลไม้ ส่วนบางพื้นที่ลุ่มเหมาะแก่การทำนาข้าว

 

ทรัพยากรดิน

  • ลักษณะและสมบัติของดินที่พบในเทศบาลตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา แบ่งตามสภาพพื้นที่ได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มดินในพื้นที่ราบลุ่มที่มีการระบายน้ำเลวหรือค่อนข้างเลว คิดเป็นร้อยละ 58 กลุ่มดินในพื้นที่ดอนในเขตดินชื้นที่มีการระบายน้ำดีหรือดีปานกลาง คิดเป็นร้อยละ19.10 กลุ่มพื้นที่มีความลาดชันสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 41.63 และพื้นที่อื่นๆ อีกร้อยละ 0.67 ของพื้นที่มี รายละเอียดดังนี้

(1) กลุ่มดินในพื้นที่ราบลุ่มที่มีการระบายน้ำเลวหรือค่อนข้างเลว ประกอบด้วย กลุ่มดินเหนียวปนดินร่วน (กลุ่มชุดดินที่ 6/17) กระจายอยู่ทางด้านเหนือถึงตอนกลางพื้นที่ และกลุ่มดินร่วนละเอียด   (กลุ่มดิน 17p) กระจายตัวอยู่ทางด้านตะวันออกของพื้นที่

(2) กลุ่มดินในพื้นที่ดอนในเขตดินชั้นที่มีการระบายน้ำดีหรือดีปานกลาง ประกอบด้วยกลุ่มดินร่วน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 34 กระจายอยู่ทางด้านตะวันออกของพื้นที่

(3) กลุ่มพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงมาก ประกอบด้วย กลุ่มชุดดินที่ 62 กระจายอยู่ทางด้านใต้และทางด้านตะวันตกของพื้นที่

 

  • การตั้งถิ่นฐานและการใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน การตั้งถิ่นฐาน ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมีลักษณะเป็นชุมชนศูนย์กลางเดียว (Homocentric) โดยมีศูนย์กลางเดิมจะอยู่บริเวณชุมชนบ้านโกตาบารู ประชาชนมีการตั้งถิ่นฐานสองฟากของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4063 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4067 ถนนโต๊ะนิ ถนนประชาอุทิศ และกระจายเบาบางบริเวณ ที่ห่างไกลชุมชน    การใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน

(1)  การใช้ที่ดินประเภทที่พักอาศัย  กระจายตัวอยู่โดยรอบบริเวณถนนสายต่างๆ ภายในเขตเทศบาล และกระจายตัวแทรกอยู่กับย่านพาณิชยกรรมบริเวณสองฟากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4063  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4067 และถนนประชาอุทิศ

(2)  การใช้ที่ดินประเภทที่พักอาศัยกึ่งพาณิชยกรรม  กระจายตัวอยู่บริเวณสองฟากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4063 ถนนโต๊ะนิ ซอย 2 โดยส่วนใหญ่จะเป็นร้านขายของชำ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านขาย-ซ่อมรถยนต์ ร้านทอง ร้านขายเสื้อผ้าสำเร็จรูป ร้านขายอุปกรณ์เครื่องเขียน ร้านถ่ายรูป ร้านเสริมสวย ร้านอินเตอร์เน็ต และสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง (ปั๊มน้ำมันดำรงค์) เป็นต้น

(3)  การใช้ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม  ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมบริการ ได้แก่ ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ โรงงานทำอิฐบล็อก โรงสีข้าว ทำวงกบบานประตู-หน้าต่าง เป็นต้น

(4)  การใช้ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา  ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่บนถนนสายหลักของชุมชน  มีสถาบันการศึกษา จำนวน 3 แห่ง เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 1 จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านโกตาบารู ตั้งอยู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4063 และโรงเรียนบ้านนาเตย ตั้งอยู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4067 และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญ สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนศรีฟารีดาบารูวิทยา ตั้งอยู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4063 นอกจากนี้ยังมีศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลโกตาบารู ตั้งอยู่ถนนโต๊ะนิ

(5)  การใช้ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา  เทศบาลตำบลโกตาบารูมีวัด 1 แห่ง มัสยิด 9 แห่ง   มีสุเหร่า 6 แห่ง มีกูโบร์ 4 แห่ง และสุสานไทยพุทธ (ป่าช้า) 1 แห่ง กระจายอยู่ทั่วไปในเขตพื้นที่วางผัง

(6)  การใช้ที่ดินประเภทสวนสาธารณะและสถานที่พักผ่อน  เทศบาลตำบลโกตาบารูมี 3 แห่ง สวนสาธารณะสวนวันนอร์อยู่ติดกับสำนักงานเทศบาลตำบลโกตาบารู สวนสุขภาพโต๊ะนิ ตั้งอยู่ถนนโต๊ะนิและสนามกีฬา (บ้านพักเกษตร) ตั้งอยู่ถนนบ้านพักเกษตร ซอย 1

(7)  การใช้ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้  มีป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเทือกเขากาลอ อยู่ทางด้านตะวันตกของผังชุมชนเทศบาลตำบลโกตาบารู

(8) การใช้ที่ดินประเภทสถาบันราชการ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ  ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่สองฟากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4063 ได้แก่ สำนักงานเทศบาลตำบลโกตาบารู สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลตำบลโกตาบารู โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารู หน่วยผสมเทียมรามัน (กรมปศุสัตว์) เป็นต้น และสถานีตำรวจภูธรโกตาบารู ตั้งอยู่บนถนนโต๊ะนิ

(9)  การใช้ที่ดินประเภทเกษตรกรรม  พื้นที่ส่วนใหญ่จะกระจายตัวอยู่โดยรอบ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา และนาข้าว นอกจากนี้ยังมีสวนผลไม้ ได้แก่ ทุเรียน เงาะ ลองกอง มะพร้าว เป็นต้น กระจายอยู่ทั่วไปในเขตพื้นที่วางผัง

(10) พื้นที่อื่นๆ  เช่น ถนน ซอย ลำคลอง ลำธาร เป็นต้น

 

2 ด้านการเมือง/การปกครอง

1) เขตการปกครอง

จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลโกตาบารู มีจำนวน 4 หมู่บ้าน คือ

 

เทศบาลตำบลโกตาบารู มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง คือ

ทิศเหนือ         ติดต่อเขตหมู่ที่ 2 ตำบลบาโงย

ทิศใต้             ติดต่อภูเขาบือมัง ตำบลบือมัง และตำบลยะต๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

ทิศตะวันออก     ติดต่อลำธารกือรี และหมู่ที่ 2  ตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

ทิศตะวันตก      ติดต่อตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

การเลือกตั้ง  เทศบาลตำบลโกตาบารูได้มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีตำบลโกตาบารูพร้อมสมาชิกสภาเทศบาลตำบลโกตาบารู ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2557

 

3 ประชากร

ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

 

 

4 การประกอบอาชีพ

การประกอบอาชีพ อาชีพหลักของคนชุมชนโกตาบารู คือ ทำสวนกรีดยางพารา ปลูกพืชผัก ส่วนอาชีพรอง คือ ค้าขายและรับจ้างทั่วไป ทั้งนี้มีอาชีพของกลุ่มแม่บ้านกลุ่มสตรีที่เข้มแข็ง คือ การทำมะพร้าวคั่ว ขายแก่ท้องตลาดที่ต้องการ นับเป็นหนึ่งอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับกลุ่มสตรีในชุมชนนี้ เงินที่ได้จากการขายมีการแบ่งส่วนที่เป็นของกลุ่มเก็บไว้เป็นทุนกับส่วนที่เป็นค่าตอบแทน ทำให้มีการออมเงินของกลุ่มสตรีกลุ่มนี้ด้วย แม้ว่าจะเจอกับอุปสรรคของการทำงานบ้างคือ ถ้าอยู่ในช่วงของมะพร้าวแพงก็จะลดปริมาณการส่งออกน้อยลง ทำให้ลูกค้าที่ต้องการขาดหายไป และสมาชิกในกลุ่มมีเวลาว่างไม่ตรงกันด้วยทำให้บางครั้งต้องหยุดทำมะพร้าวคั่ว แต่มะพร้าวที่ทำนั้นมาจากต้นสดๆของสมาชิกในกลุ่มเองและได้ซื้อมาจากตำบลที่ใกล้เคียงในการมาทำมะพร้าวคั่วขายอีกด้วย

  • รับราชการ ได้แก่ สำนักงานเทศบาลตำบลโกตาบารู หน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลตำบลโกตาบารู สถานีตำรวจภูธรโกตาบารู โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารู หน่วยผสมเทียมรามัน เป็นต้น
  • อุตสาหกรรม ประเภทอุตสาหกรรมบริการ ได้แก่ ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ โรงงานทำอิฐบล็อกโรงสีข้าว ทำวงกบบานประตู-หน้าต่าง เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ชุมชน

(1) แหล่งทำแหวน

(2) กลุ่มสาธารณสุขพัฒนาทำขนม

(3) เสื่อทำจากกก

(4) มะพร้าวคั่ว

5 การศึกษา

  • โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน ๒ แห่ง
    • โรงเรียนบ้านโกตาบารู ตั้งอยู่ที่ ถนนยะลา-โกตา
    • โรงเรียนบ้านนาเตย ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 บ้านนาเตย
  • โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
    • โรงเรียนศรีฟารีดาบารูวิทยา ตั้งอยู่หมูที่ 1 เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
  • โรงเรียนตาดีกา จำนวน 5 แห่ง
    • โรงเรียนตาดีการาวฎอตุลยันนะห์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
    • โรงเรียนตาดีกานะห์ฏอตุลอัฏฟาล ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
    • โรงเรียนตาดีกานูรุลกุรอาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
    • โรงเรียนตาดีกาดารุสอามารีฟ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3
    • โรงเรียนตาดีกามานารอตุลฮูดา ตั้งอยู่หมู่ที่ 5
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  จำนวน 1 แห่ง
    • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอัลมูบารัค ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
  • สถานที่ศึกษาปอเนาะ จำนวน 3 แห่ง
    • สถานศึกษาปอเนาะอัลญีลุลอิสลาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
    • สถานศึกษาปอเนาะดารุลมาอารีฟวิทยา ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
    • สถานศึกษาปอเนาะตัลมีซุลกุรอาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 4

 

6 สาธารณสุข

การให้บริการด้านสาธารณสุขในเขตเทศบาล มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 1 แห่ง ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 4063 ใกล้สถานีดับเพลิง (งานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย) สำนักงานเทศบาลตำบลโกตาบารู ให้บริการแก่ประชาชนในเขตเทศบาล และบริเวณใกล้เคียง ให้การรักษาโดยแพทย์และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ผู้ที่เจ็บป่วยทั่วไป ทันตกรรม เป็นต้น ปัจจุบันในเขตเทศบาลตำบลโกตาบารูมีสถานพยาบาลเอกชน (คลินิก) แพทย์แผนปัจจุบันเพื่อรักษาโรคทั่วไปให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลโกตาบารูและตำบลใกล้เคียง จำนวน 2 แห่ง

นอกจากนี้เทศบาลตำบลโกตาบารูมีโครงการบริการรับส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลกรณีฉุกเฉินโดยอาสาสมัครกู้ชีพกู้ภัยฉุกเฉินเพื่อบริการประชาชนในตำบลโกตาบารู

 

7 ระบบบริการพื้นฐาน 

การคมนาคมขนส่ง  มีเส้นทางคมนาคมขนส่งสะดวก ระหว่างเขตเทศบาลตำบลโกตาบารูกับอำเภอ และชุมชนต่างๆ โดยทางรถยนต์ มีถนนสายหลักที่สำคัญ ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 4063 ตอนยะลา- โกตาบารูระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ทางหลวงหมายเลข 4071 ถนนโกตาบารู – พิเทน เชื่อมระหว่างชุมชนโกตาบารูกับอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี และอำเภอเมืองยะลา ระยะทางห่างจากอำเภอรามัน ประมาณ 25 กิโลเมตร ทางหลวงหมายเลข 4066 ถนนโกตาบารู – รามัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ทางหลวงหมายเลข 4067 ถนนโกตาบารู – บ้านแบหอ

 

8 ปฏิทินการผลิตตำบลโกตาบารู

 

9 สถานที่สำคัญ

จากการสัมภาษณ์นางเปรมจิตร์ ไม้จันทร์ เลขานายกเทศบาลโกตาบารู ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่สำคัญในโกตาบารู รายละเอียดดังนี้

10 ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน

จากการสัมภาษณ์

 

11 ประวัติความเป็นมาและลำดับเหตุการณ์สำคัญของโกตาบารู

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในหัวข้อประวัติศาสตร์ชุมชนและลำดับเหตุการณ์สำคัญ มีรายละเอียดดังนี้

จากการสัมภาษณ์นายวอลำยาน อีซบซี ผู้เฒ่าชราเชื้อสายปาทานตำบลโกตาบารู อายุ 85 ปี ซึ่งบอกเล่าด้วยภาษาไทยว่า

โกตาบารูเดิมในสมัยนั้นเป็นอำเภอ โดยมีนายอำเภอเป็นคนดูแลอำเภอนี้ ซึ่งชาวบ้านได้เรียกชื่อนายอำเภอคนนี้ว่า นายอำเภอลูกเสือ (อาเนาะรีมา) นายอำเภอคนนี้มีอำนาจที่เด็ดขาด ตามคำบอกเล่าของดาดา ได้เล่าว่าในสมัยนั้นชาวบ้านจะใช้ช้างในการเดินทาง และใช้รถเกวียนที่ลากโดยวัว และใช้ในการสัญจรไปมา ซึ่งต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนอำเภอจากโกตาบารู เป็นอำเภอรามัน และย้ายที่ทำการอำเภอไปอยู่ที่ตำบลกายูบอเกาะนั้น ชาวบ้านจากที่นี่เป็นคนขนสิ่งของจำเป็นที่ต้องโยกย้ายเพื่อจัดตั้งอำเภอใหม่ที่รามัน โดยใช้รถเกวียนเป็นพาหานะในการขนย้าย ซึ่งตัวดาดาเองก็เป็นหนึ่งในจำนวนของชาวบ้านที่ช่วยกันขนย้ายสิ่งของ ระยะเวลาในการเดินทางไปยังเมืองรามันในสมัยนั้น ต้องเดินทาง 2 วัน และก่อนย้ายอำเภอนั้น ทางดาดาเล่าเหตุการณ์สำคัญว่ามีทหารญี่ปุ่นเดินทางผ่านมาที่นี่ด้วย โดยในตอนนั้นดาดามีอายุเพียง11ปี

ในยุคแรกๆของที่นี่ มีกำนันที่เป็นผู้หญิงถึง 2 คน โดยคนแรกมีชื่อเรียกกันว่า กำนันบูตอ และคนที่สองมีชื่อว่า กำนันเนือง โดยทั้งสองคนเป็นชาวไทยพุทธ เนื่องจากสมัยนั้นการศึกษาจะมีแต่คนไทยพุทธที่เรียนหนังสือ และสมัยก่อนนั้น การแจ้งเกิด หรือแจ้งตายนั้นกำนันจะเป็นคนจัดการทั้งหมด

และจากการสอบถามต่อในเรื่องของประวัติของเจ้าเมืองโต๊ะนิ เจ้าเมืองเก่าที่นี่ ดาดาได้เล่าว่าชาวบ้านที่นี่จะให้ความเคารพและช่วยกันดูแลสุสานของเจ้าเมือง ตามคำบอกเล่าต่อๆกันมานั้นสุสานแห่งนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ ใครที่เข้าไปขโมยข้าวของหรือสมบัติเก่าก็จะถูกวิญญาณของเจ้าเมืองตามไปทำร้าย ในตอนนั้นมีญาติของเจ้าเมืองเก่าโต๊ะนิเป็นผู้ดูแลสุสานแห่งนี้ โดยมีชื่อเรียกกันว่า โต๊ะเปาะแต หลังจากนั้นต่อมาได้ย้ายครอบครัวไปอยู่ที่เบตง ปัจจุบันมีเชื้อสายโต๊ะนิหลงเหลืออยู่ โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านนาเตาะ ตำบลบือมัง อำเภอรามัน

 

12 เส้นทางประวัติศาสตร์

 

ศึกษาโอกาสและข้อจำกัดในการพัฒนาพื้นที่

ใช้วิธีการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม (Focus group) ตัวแทนกลุ่มประชาชนและกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยใช้เครื่องมือ การวิเคราะห์ SWOT ผลการวิเคราะห์มีดังนี้

1) จุดแข็ง (Strength)

  • เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีเรื่องเล่าและอัตลักษณ์ที่สามารถถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้
  • มีวัฒนธรรมที่โดดเด่นและหลากหลาย เช่น ไทย จีน มุสลิม และปากีสถาน
  • มีสถานที่สำคัญและเอื้อต่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ได้ เช่น วังเก่า สุสานโต๊ะนิ น้ำตกโต๊ะนิ เขาโต๊ะจา (ทับท่าน) มัสยิดปากีสถาน วัด และสุสานจีน
  • หน่วยงาน แกนนำ และประชาชนในพื้นที่มีความพร้อมและทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

 

2) จุดอ่อน (Weakness)

  • ประเด็นเรื่องการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวยังไม่ได้มีการบรรจุเข้าในแผนของหน่วยงาน
  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ยังไม่มีการทำงานแบบบูรณาการ
  • หน่วยงานยังไม่ได้มีการฟื้นฟู/บูรณะสถานที่ต่าง ๆ ทำให้ยังไม่สามารถเชิญชวนให้คนมาท่องเที่ยวได้
  • ยังไม่มีการรักษาความปลอดภัยของแหล่ง/สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ทำให้คนทั้งในและนอกพื้นที่ไม่กล้าเข้ามาชมสถานที่ต่าง ๆ ของตำบล

 

3) โอกาส (Opportunity)

  • ตำบลโกตาบารูอยู่ในช่วงของการปรับระบบการเมืองการปกครอง จากเทศบาลตำบลโกตาบารูเป็นอำเภอโกตาบารู (ภายในปี 2560-2561)
  • เป็นศูนย์กลางการคมนาคม เพราะอยู่ตรงกลางระหว่างจังหวัดยะลากับจังหวัดนราธิวาส และเส้นทางการคมนาคมในอนาคตทางหน่วยงานมีแผนจะสร้างถนน 4 แลน ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางได้อย่างสะดวก
  • มีความพร้อมในเรื่องของสถานที่สำหรับการเล่นกีฬา ได้แก่ สนามหญ้าเทียมและสนามฟุตซอลยาง ทำให้สามารถรองรับการทำกิจกรรมการเล่นกีฬาในพื้นที่ได้
  • มีคนภายนอกเข้ามาท่องเที่ยวตามสถานที่สำคัญ เช่น สวนสาธารณะ (สวนวันนอร์) สุสานโต๊ะนิ เป็นต้น และมีชาวมาเลเซียมาเยี่ยมเยียนทุกปี

 

4) อุปสรรค (Threat)

  • ขาดการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟู/บูรณะสถานที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
  • ไม่สามารถรับรองความปลอดภัยในการเดินทางเข้าสู่ตำบลโกตาบารูได้ 100% เนื่องจากยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ข้างเคียง

 

แนวทางในการพัฒนาพื้นที่สู่การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

 

ใช้วิธีการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม (Focus group) ตัวแทนกลุ่มประชาชนและกลุ่มเจ้าที่ของรัฐ โดยใช้เครื่องมือ การวิเคราะห์แนวโน้มอนาคต ผลการวิเคราะห์มีดังนี้

  • ความร่วมมือของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการทำงานแบบบูรณาการ
  • มีการบรรจุประเด็นเรื่องการท่องเที่ยวให้อยู่ในแผน 4 ปีของเทศบาล และแผนของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • มีการวางนโยบายตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น และผลักดันนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง
  • มีงบประมาณสนับสนุนและมีความต่อเนื่อง
  • ต้องมีการสร้างความเข้าใจและร่วมมือกันทำงานอย่างจริงจัง ตั้งแต่ประชาชนในพื้นที่ แกนนำ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ลงพื้นที่สำรวจสภาพความเป็นจริง เพื่อประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาต่อไป
  • จัดทำป้ายและมีการบูรณะสถานที่สำคัญต่าง ๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในพื้นที่

ภาคผนวก

  • ตารางการลงพื้นที่เก็บข้อมูล

  • รายชื่อคณะทำงานเก็บข้อมูล

    (1) นางสาวสุไรยา  วานิ

    (2) นางสาวอาแอเสาะ ดอเลาะ

    (3) นางสาวนูรไอนีย์ เจะดือราแม

    (4) นางสาวแวอัสมีร์ แวมะนอ

    (5) นายอัฟฏอล จุฬาภิวัฒน์

    (6) นายไซนุลอารีฟีน

 

Download ไฟล์ PDF การศึกษาศักยภาพและข้อจำกัดในการพัฒนาโกตาบารูสู่การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์  ต.โกตาบารู อ.รามัน จ.ยะลา