การท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศน์และวัฒนธรรม ต.บ้านกลาง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี

ข้อมูลเพื่อการพัฒนาพื้นที่ตำบล ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเพื่อฟื้นฟูชายแดนใต้ (ชชต.)  ร่วมกับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สนับสนุนโดย ธนาคารโลก

Table of Contents

ชุดแนวคำถามและเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และวัฒนธรรมตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

  1. แหล่งท่องเที่ยว
  • ประวัติความเป็นมา
  • เนื้อที่
  • จำนวนผู้ใช้บริการ
  • ความสะอาดของพื้นที่
  • ข้อเสนอแนะการจัดการที่ผ่านมา
  • ปัญหา
  • *ช่วงเวลาของการท่องเที่ยว
  • *หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • *กลุ่มศิลปวัฒนธรรม
  • *ภูมิปัญญาองค์ความรู้
  • *ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น
  1. วิถีชีวิต
  • ประวัติความเป็นมา
  • ผู้นำ ผู้ที่สืบทอด
  • ช่วงเวลาของการละเล่น
  • ปัญหาและอุปสรรค
  • ข้อเสนอแนะ
  • วิธีการ
  1. อาชีพ
  • รายได้
  • การผลิต
  • ฤดูกาล
  • ปัญหา
  • ข้อเสนอแนะการจัดการที่ผ่านมา
  • *ฐานเรียนรู้
  • *ผลิตภัณท์ในพื้นที่
  • *องค์ความรู้
  1. โครงสร้างสาธารณูปโภคทรัพยากรในพื้นที่
  • ความปลอดภัย
  • การสัญจร
  • ปัญหาอุปสรรค
  • ข้อแสนอแนะ
  1. วิธีการศึกษา เครื่องมือ กลุ่มที่จะศึกษา
  • ช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลง (Timeline)
  • ปฎิทินประเพณีและวัฒนธรรม
  • ปฎิทินการประกอบอาชีพและการผลิต
  • ผังตำบล
  • พิกัด/ที่ตั้ง
  • สัมภาษณ์และแบบสอบถาม

 

ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

1) หาดชลารักษ์

หาดชลารักษ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 2  บ้านกลาง มีเนื้อที่  300 ไร่   หาดชลารักษ์อยู่ติดกับหาดบางมะรวด   ช่วงเวลาปรกติมีจำนวนผู้ใช้บริการประมาณ 2 ครอบครัวต่อวัน  ช่วงเวลาของการท่องเที่ยวคือช่วงเทศกาล

หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ : องค์การบริหารส่วนตำบล

ลักษณะทั่วไป : พื้นที่ชายฝั่ง มีหาดทรายขาว ล้อมรอบด้วยโขดหินและหุบเขาเตี้ยๆ บนเนินเขานับได้ว่าเป็นสถานที่ชมวิว ที่สวยงาม

การเดินทางและสิ่งที่อำนวยความสะดวก ในการเข้าถึงหาด สามารถเดินทางได้ด้วยรถยนต์สาธารณะ หรือรถยนต์ส่วนบุคคล ตลอดเส้นทางมีป้ายของชัดเจน และไม่เคยพบอุบัติเหตุ

ปัญหาที่ผ่านมา  คือ หน่วยงานภายนอกยังไม่มีการช่วยเหลือ  ขาดคนดูแล  จึงไม่มีการจัดการกับพื้นที่

ข้อเสนอแนะ หรือสิ่งควรปรับปรุง (อนาคต) : ต้องการให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยเน้นในเรื่อง สุขอนามัย บริการเยี่ยม พื้นที่สะอาด   และต้องการให้หน่วยงานภายนอกสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณ

 

2 ) หาดบางมะรวด

หาดบางมะรวด  ที่ตั้ง หมู่ที่  1  บ้านกลาง มีเนื้อที่ 300 ไร่  มีจำนวนผู้ใช้บริการประมาณ  5 ครอบครัว ต่อวัน  นิยมท่องเที่ยวช่วงเทศกาล

หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ : องค์การบริหารส่วนตำบล

ลักษณะทั่วไปพื้นที่ชายฝั่ง มีหาดทรายขาว

ประวัติความเป็นมาของหาด : แต่ก่อนบางมะรวดมีชื่อ ว่า คอลอบูวะห์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเขาปากคต ซึ่งสมัยก่อนเป็นสถานที่ของคนต่างประเทศและคนในประเทศมาค้าขายระหว่างกัน จะใช้ฐานเดินเรือเป็นหลักในการค้าขาย

หาดบางมะรวดเป็นสถานที่สาธารณะ ปัจจุบันได้มีการปรับปรุง ปรับทิวทัศน์ เพื่อจะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ประจำตำบลบ้านกลาง

การเดินทางและสิ่งที่อำนวยความสะดวก : สามารถเข้าถึงชายหาด ด้วยรถยนต์ส่วนตัว รถยนต์สาธารณะ ตลอดเส้นทางมีป้ายของทางชัดเจน  และไม่พบอุบัติเหตุบ่อย

ปัญหาที่ผ่านมา  หน่วยงานภายนอกยังไม่มีการช่วยเหลือ  และขาดคนดูแล   ที่ผ่านมาไม่เคยมีการจัดการ

ข้อเสนอแนะ หรือสิ่งควรปรับปรุง (อนาคต) :  ต้องการให้พื้นที่หาดบางมะรวดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยเน้นในเรื่อง สุขอนามัย บริการเยี่ยม พื้นที่สะอาด  และให้หน่วยงานภายนอกสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณ

 

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

  1. เจดีย์หลวงพ่อหนอน

เจดีย์หลวงพ่อหนอน  เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  ตั้งอยู่ที่ ม.3  เขาแก้ว  มีเนื้อที่ประมาณ 200ไร่ มีจำนวนผู้ใช้บริการ 30-40  คน ต่อเดือน  ช่วงเวลาของการท่องเที่ยวคือช่วงเทศกาล มีมามากกว่า 2,000 คนหน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ : อบต.และหน่วยงานทหารลักษณะทั่วไป ของพื้นที่เป็นเนินเขาสูง มีโบราณสถานซึ่งสมัยก่อนชาวบ้านในหมู่บ้านคนโบราณเขาได้ก่อสร้าง เกิดจากความร่วมมือและความสามัคคีกันเท่านั้น โดยการสร้างทุกอย่างล้วนแล้วมาจากชาวบ้านทุกคนซึ่งได้ทำการส่งอุปกรณ์การก่อสร้างต่างๆจะใช้วิธีการยื่นมือต่อมือแขนต่อแขนแสดงถึงความสามัคคีปรองดองในชุมชนประวัติความเป็นมา : บนยอดเขามีเจดีย์หลวงพ่อหนอนและพระพุทธรูปมีประวัติที่ไม่แน่ชัด แต่เล่าต่อกันมาว่าหลวงพ่อเป็นชาวบ้านสะทัง ตำบลหานธิ์ จังหวัดพัทลุง เป็นพระภิกษุก่อนหรือร่วมสมัยกับหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ เคยเดินทางไปกรุงศรีอยุธยาเป็นที่ปรึกษาการศึก ต่อมาได้ลาพระมหากษัตริย์ เดินทางกลับจังหวัดพัทลุง พายุได้พัดเรือสำเภามาขึ้นฝั่งที่หาดบางมะรวด อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี หลวงพ่อได้ธุดงค์มาตามป่าเขาลำเนาไพรจนกระทั่งมาถึงเขามะรวด หลวงพ่อเห็นเป็นที่เหมาะสมแก่การบำเพ็ญเพียร ได้ยึดเอาชะง่อนผาใกล้กับเขามะรวดเป็นที่บำเพ็ญญาณจนกระทั่งมรณภาพสำหรับสาเหตุที่เรียกพระท่านหนอนนั้นปกติท่านจะออกไปบิณฑบาตหรือไปทำธุระโดยการล่องเรือไปซึ่งจะมีฝูงปลาตามไปโดยท่านจะให้อาหารกับปลาทุกครั้ง วันหนึ่งฝูงปลาตามท่านมาอย่างเช่นเคย แต่วันนั้นท่านไม่มีเศษอาหารให้ปลาจึงเชือดเนื้อตัวเองให้ปลากินจนมือ และแขนเน่าเปื่อยมีแมลงวันมาตอมและหนอนขึ้น แต่ท่านก็ได้ใส่ไข่ขาวเอาไว้จนเกิดเป็นหนองด้านความเชื่อ : ชาวบ้านภูมิใจในชุมชนแห่งนี้เพราะแต่ก่อนชุมชนนี้เป็นทะเลและภูเขา ความเชื่อของคนอิสลามสมัยก่อนจะเรียกพระท่านหนอนว่า โต๊ะตีงี้ หมายถึงความศักดิ์สิทธิ์ที่สูง  เมื่อมีงานหรือการจัดงานเลี้ยงหรืองานแต่งงานต้องขอหรือบอกกล่าว ด้วยเครื่องบวงสรวงหรือดอกมะพร้าวและน้ำมะพร้าวอ่อนเพราะดอกมะพร้าวเป็นดอกที่บริสุทธิ์ ถ้าไม่ทำข้าวที่หุงจะไม่สุกหรือถ้ามีการเชือดวัวหรือควายเชือกที่มัดวัว ควายไว้ก็จะขาดทำให้วัวหรือควายหนีไป

สำหรับชาวพุทธเมื่อถึงเดือน ๓ ของทุกปี ก็จะขึ้นไปนมัสการเจดีย์หลวงพ่อหนอนดังคำขวัญที่ว่า “เดือนสามของทุกปีขึ้นไหว้เจดีย์หลวงพ่อหนอน” ชาวบ้านเคยเห็นเป็นดวงไฟสีส้มขนาดใหญ่ลอยมาจากบนภูเขาเจดีย์พระท่านหนอนไปอีกฝั่งหนึ่งทางยะหริ่ง ปัจจุบันดวงไฟนั้นก็ยังมีให้เห็นอยู่ เคยมีชาวบ้านหลงทางและได้อธิษฐานขอหลวงพ่อหนอนในการนำทางปรากกฎเห็นเป็นประกายไฟและมีเสียงดังนำทางตามแสงไฟนั้นจนถึงปากทางเข้าหมู่บ้าน เหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านคือ มีการแต่งงานของบ่าวสาวคู่หนึ่ง แต่งงานโดยไม่ได้บอกกล่าวโตะตีงี้จึงทำให้ฝั่งเจ้าสาวเลือดออกเหมือนคนแท้งซึ่งสาเหตุชาวบ้านคาดว่าน่าจะไม่ได้ขออนุญาตจากท่านก่อน

สถูปหรือที่เก็บกระดูกของพระท่านหนอนเป็นเจดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นภายหลัง ในเจดีย์นี้เป็นที่เก็บสารีริกธาตุ ของพระอรหันตร์  (เก็บกระดูกของลูกศิษย์หรือสาวกของพระพุทธเจ้า) หลักฐานที่ยังคงมีอยู่ก็จะเป็นเตาหม้อบ่อน้ำที่ยังมีอยู่เป็นหลักฐาน สมัยก่อนทางขึ้นไปเจดีย์พระท่านหนอนขึ้นทางบ้านที่เรียกว่าหน้าตานอชาวจีนเพราะบริเวณนั้นเป็นทาเรือสำเภาจีน แต่ก่อนพื้นที่ตรงนี้เป็นทะเล สังเกตจากการขุดบ่อเจอหอยแต่ปัจจุบันนี้ก็ยังเจออยู่ขุดประมาณ 9 ถึง 10 เมตร

การเดินทางและสิ่งที่อำนวยความสะดวก :มีห้องสุขาและห้องอาบน้ำ การเดินทางสามารถมาได้ด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล มีป้ายบอกทางชัดเจน

ความปลอดภัยของการท่องเที่ยวนั้น มีเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ บางช่วงของปี

ปัญหาที่ผ่านมา ทางขึ้นเขาไม่สะดวก เป็นป่าทึบ

ข้อเสนอแนะ หรือสิ่งควรปรับปรุง (อนาคต) :  อยากให้มีท่อส่งน้ำและเสาไฟฟ้าแบบเป็นระบบและมีการอนุรักษ์รักษาตลอดไปเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว

 

2. วัดเทพนิมิตร

วัดเทพนิมิต  เป็นวัดเก่าแก่  ตั้งอยู่ที่ ม.5 บ้านกลาง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี มีเนื้อที่ประมาณ  20 ไร่ ช่วงเวลาของการท่องเที่ยว ตามเทศกาลและวันสำคัญของทางศาสนาเท่านั้น    หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ หน่วยทหารพราน 4214  ลักษณะทั่วไปเป็น พื้นที่ราบประวัติความเป็นมา  แต่เดิมวัดเทพนิมิตมีชื่อว่าวัดบ้านกลางเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในอำเภอปะนาเระ โดยระยะเวลาการสร้างวัดไม่ปรากฏแน่ชัด สันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นอุโบสถหลังปัจจุบันนี้สร้างตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยพ่อท่านสีแก้ว ต่อมาท่านมรณภาพ พระอาจารย์หัวมวยกับอาจารย์จุ้ย ช่วยกันสร้างต่อ แต่ท่านทั้งสองออกธุดงค์เสียก่อน พระอธิการสุกจึงดำเนินมาจนแล้วเสร็จ ให้นายจันทร์ มาเขียนภาพ จิตรกรรมภายในอุโบสถ อุโบสถหลังนี้มีขนาด 12.5 เมตร ยาว 20.5 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีประตูเข้าด้านหน้าสองประตู ด้านหลังหนึ่งประตู มีหน้าต่างด้านละ 5 บาน โดยมีซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นปูนปั้น ทรงมงกุฎ หลังคาลดชั้น 3 ชั้น มีปีกนกรอบ มุ้งกระเบื้องดินเผา ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ฐานอาคารก่ออิฐถือปูน มีชานรอบ ผนังอุโบสถก่ออิฐถือปูน ภายในเขียนภาพจิตรกรรมด้วยสีฝุ่นเรื่องพุทธประวัติทศชาติชาดก พระพุทธบาท พระมาลัย พระยาฉัททันต์  ยักษ์และลิงในเรื่องรามเกียรติ์ โดยมีจารึกประกอบภาจิตรกรรม ตอนหนึ่ง ระบุว่า “จาฤกไว้เมื่อ จุลสักราช ๑๒๒๕ ปีกุญเบญจศก “ (พ.ศ. ๒๔๐๖)   ปัจจุบัน กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานวัดเทพนิมิต ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๑๒๗ ง. ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ หน้า ๕การเดินทางและสิ่งที่อำนวยความสะดวก  มีห้องสุขาและห้องอาบน้ำ ความสะดวกในการเข้าถึงโดยรถยนต์สาธารณะและรถยนต์ส่วนบุคคล มีป้ายบอกเส้นทางชัดเจน และไม่เคยมีเหตุร้ายเกิดขึ้นปัญหาที่ผ่านมา  ไม่มีเจ้าโอวาสและพระสงฆ์ประจำการ ไม่มีผู้ดูแลรักษาการจัดการที่ผ่านมา  จะมีพระทำการแทน จากวัดบ้านนอกข้อเสนอแนะ หรือสิ่งควรปรับปรุง (อนาคต) อยากให้มีการดูแล บำรุงรักษา อนุรักษ์เอกลักษณ์ของวัด ตลอดไป

 

3. วัดศรีสุดาจันทร์

วัดศรีสุดาจันทร์  เป็นโบราณสถาน ที่ตั้งอยู่ที่  ม. 4 ป่ากะพ้อ มีเนื้อที่ 4 ไร่  มีผู้มาประมาณ 100 คน ต่อเดือน ช่วงเวลาของการท่องเที่ยว คือ ช่วงเทศกาล วันสำคัญ  ลักษณะทั่วไป เป็นพื้นที่ราบประวัติความเป็นมา  แต่เดิมมีชื่อว่า วัดฤาษีสุดาจันทร์  ปัจจุบัน มีชื่อว่า วัดศรีสุดาจันทร์ การเดินทางและสิ่งที่อำนวยความสะดวก  มีห้องสุขาและห้องอาบน้ำ  ความสะดวกในการเข้าถึง โดยรถยนต์สาธารณะ และรถยนต์ส่วนตัว มีป้ายบอกทางชัดเจน  แต่มีภัยธรรมชาติบ้างปัญหาที่ผ่านมา  พระบิณฑบาตไม่ได้  สถานที่เคยร้าง พระไม่มีการจัดการที่ผ่านมา  มีการปรับปรุงใหม่ข้อเสนอแนะ หรือสิ่งควรปรับปรุง (อนาคต)  อยากให้สถานการณ์สงบเพื่อพระได้บิณฑบาต

 

 

วิถีชีวิต

ประเพณี และเทศกาล

 

 

 

 

 

อาชีพ

ปฏิทินฤดูกาล

 

กลุ่มอาชีพ

1. อาชีพทำน้ำตูเวาะ/น้ำตาลโตนด

ในพื้นที่ชาวบ้านทำอาชีพทำน้ำตาลโตนดประมาณ 10 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ที่อยู่ในหมู่ 5 บ้านกลาง ซึ่งชาวบ้านจะยึดอาชีพทำน้ำตูเวาะเป็นหลัก และอาชีพทำนาเป็นรอง
การผลิต ใช้วิธีการปีนขึ้นต้นตาล เพื่อเก็บน้ำตูเวาะ โดยกรีดยอด จากนั้นเอาตูเก(กระบอกไม้ไผ่) รองรับน้ำหวานที่หยดออกมา ซึ่งใช้เวลาในการกรองน้ำ ข้ามวัน จากนั้นขึ้นไปเอาตูเกลง และนำน้ำตูเวาะใส่ภาชนะเพื่อนำมาขาย ซึ่งน้ำตูเวาะสามารถทำน้ำตาลโตนดได้ โดยการเอาน้ำตูเวาะไปต้มในกระทะจนเดือดและข้น ใช้เวลาประมาณ 7-8 ชั่วโมงในการต้ม เพื่อจะได้น้ำตาลโตนด ซึ่งน้ำตูเวาะในพื้นที่ไม่ต้องมีพ่อค้าคนกลางมาซื้อ เพราะมีลูกค้ามาซื้อไม่ขาดสาย
รายได้ น้ำตูเวาะ 40-60 ถุงต่อวัน เฉลี่ยวันหนึ่งได้ 200-400 บาทต่อวัน และน้ำตาลโตนด ลิตรละ 80 บาท 200 บาทต่อวัน
ฤดูกาล ช่วงเก็บเกี่ยวผลเดือน ม.ค – มิ.ย และ ก.ย-ธ.ค

2. สวนมะพร้าว

ชาวบ้านทำอาชีพมะพร้าว ประมาณ 30 % ในพื้นที่
การผลิต ชาวบ้านรับซื้อจากชาวบ้านในพื้นที่และนอกพื้นที่ ราคาอยู่ที่ขนาดของลูกมะพร้าว จากนั้นจะนำไปขายให้พ่อค้าคนกลางที่ต้องการซื้อ เช่น ขายให้พ่อค้าที่อยู่ยะลา เป็นต้น
ฤดูกาล มะพร้าวสามารถสร้างผลผลิตได้ทุกเดือน เว้นแต่ช่วงน่าแล้งลูกมะพร้าวก็จะเล็ก และราคาก็จะแพงขึ้น
รายได้ 2000-3000 บาทต่อสัปดาห์
ปัญหา ช่วงน่าแล้งไม่มีลูกมะพร้าว

3. ประมง

การผลิต ชาวบ้านจะออกตั้งแต่ตี ห้า กลับ สิบเอ็ดโมง โดยใช้ทุน การซื้อน้ำมัน 150 บาทต่อเที่ยว โดยระยะทางการหาปลา 7 ไมล์ทะเล โดยใช้วิธีการตกเบ็ด อวนกุ้ง อวนปลาทู ใช้แสงไฟในการหาปลาหมึก และเครื่องมือ การปักไม้ไผ่เป็นช่องในการล่อปลาเข้า (บูบู )ซึ่งยังใช้วิธการของคนสมัยโบราณบางส่วน
รายได้ ขั้นต่ำ 3000 บาท สูงสุด 8000 บาท
ฤดูกาล ช่วงหน้าฝน มรสุม ในเดือน 10 11 12 จะมีกุ้ง ปลาแดง ส่วนใหญ่ เยอะมาก จะเป็นช่วงที่ชาวบ้านจะได้รายได้ดี แต่ส่วนใหญ่งดออกทะเลเพราะมันอันตราย ช่วงปกติ จะเป็นพวกปลาทู ปลาอินทรีย์ หมึก
ปัญหา แนวทางนโยบายรัฐบาลปัจจุบันได้กำหนดขอบเขตการประมงสำหรับเรือพาณิชย์อย่างชัดเจนในการไม่ข้ามเขตชาวประมงพื้นบ้าน และปราบการประมงที่ผิดกฎหมาย
ข้อเสนอ อยากให้รัฐแจกเครื่องมือการประมงให้ชาวบ้าน

4. ทำนา

การผลิต ชาวบ้านตำบลบ้านกลางจะทำ นาปรัง กับนาปี
› นาปรัง จะเริ่มดำนาตั้งแต่ เดือน 10 – 3 เริ่มเก็บเกี่ยว เดือน 5 ใช้ระยะเวลา 6 เดือน จะมีปีละครั้ง
› นาปี จะเริ่มดำนาตั้งแต่ เดือน 8 – 10 เริ่มเก็บเกี่ยว เดือน 2 – 5 ใช้ระยะเลา 4 เดือน จะมีปีละ 2 ครั้ง
ส่วนใหญ่ปลูกข้าวเพื่อกิน
ปัญหา เรื่องหอยเชอรี และเรื่องหนอนกินใบต้นข้าว

 

การเปลี่ยนแปลงในตำบล

ช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลง (TIME LINE) ในตำบลบ้านกลาง

จุดสำคัญของพื้นที่

สถานีและจุดสำคัญของพื้นทีตำบลบ้านกลาง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี

 

 

แนวทางในการพัฒนา : ความคิดเห็นของผู้บริหารและหน่วยงาน

ผู้นำท้องถิ่น

นายก อบต.ตำบลบ้านกลาง  ได้ให้กล่าวถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศน์และวัฒนธรรมว่า  ปัจจุบันกำลังพัฒนาภูมิทัศน์แถวหาดเพื่อให้อำนวยความสะดวกแก่ชาวบ้านและผู้มีท่องเที่ยว ได้แก่ น้ำประปา สถานที่ละหมาด ถนน ศาลา ห้องน้ำ  ลานจอดรถ สวนสาธารณะ สวนสุขภาพ วงเวียน ที่พัก บุกเบิกเส้นทางถนนเพิ่มแสงสว่างให้กับสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับพื้นที่และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวน่าอยู่และสวยงาม

โดยมีแนวทางการพัฒนาได้แก่

  • สร้างพิพิธภัณฑ์ / ฐานเรียนรู้ เช่น เรือกอและจำลอง อุปกรณ์เรือสมัยก่อน สัญลักษณ์ของทางเดินเรือ ประวัติความเป็นมาของหิน ประวัติความเป็นมาของกูโบร์ของคนสมัยก่อน
  • ส่งเสริมกลุ่มสหกรณ์ในพื้นที่เพื่อ เสริมรายได้ให้ ชาวบ้านซึ่งจะมีกลุ่มสตรีเป็นผู้รับผิดชอบ
  • สร้างสะพานข้ามคลอง สองฝั่ง

โดยคาดการณ์ว่าแนวโน้มอนาคต จะมีคนมาท่องเที่ยว ประมาณ 500 คน/ต่อวัน

 

สำนักงานการท่องเที่ยว จังหวัดปัตตานี

ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของของบ้านกลาง ปานาแระ

บ้านกลางมีเเหล่งท่องเที่ยวหลายจุด มีลักษณะสวยงาม ทั้งหาดบางมะรวด หาดราชรักษ์   เจดีย์สถูปพระท่านหนอน  โดยได้ดำเนินการพัฒนาส่วนของน้ำบ่อหาดเเฆแฆ

ปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่

  • ไกล ระยะทาง
  • ภาพลักษณะไม่ดี
  • ความปลอดภัย
  • สำนึกของคน
  • ความสะอาด
  • ความอันตรายในสถานการณ์
  • ท้องถิ่นไม่ดูแล
  • พัฒนาไม่มีทิศทาง
  • ชุมชนไม่ร่วมกันรักษา

ถ้าแก้ปัญหาเหล่านี้ยังไม่ได้ก็มาไปก็ไม่คุ้มค่าทำในเวลาก็ไม่มีคนมีคนมาเที่ยว

Download ไฟล์ PDF การท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศน์และวัฒนธรรม ต.บ้านกลาง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี