การบริหารจัดการน้ำเพื่อการทำนา ต.โฆษิต อ.ตากใบ จ.นราธิวาส

ข้อมูลเพื่อการพัฒนาพื้นที่ ต.โฆษิต อ.ตากใบ จ.นราธิวาส

โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเพื่อฟื้นฟูชายแดนใต้ (ชชต.) ร่วมกับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

สนับสนุนโดย ธนาคารโลก

Table of Contents

วิธีการศึกษา

การบริหารจัดการน้ำเพื่อการทำนาตำบลโฆษิต

วิธีการศึกษาการบริหารจัดการน้ำเพื่อการทำนาตำบลโฆษิต

  • การจัดทำกรอบแนวคิด
  • การจัดทำแนวคำถาม
  • สนทนากลุ่ม focus group
  • เดินสำรวจ survey
  • สังเกต observe
  • สรุปข้อมูล

 

ข้อมูลพื้นที่ตำบลโฆษิต

ประวัติความเป็นมา

ความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนตำบลโฆษิต

อบต. โฆษิตได้รับการจัดตั้งเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540โดยมีเนื้อที่ 19.844 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,402.500 ไร่

คำขวัญองค์การบริหารส่วนตำบลโฆษิต

ชายแดนมาเลย์     เสน่ห์ชนงามตา

รักใคร่ศาสนา           การค้ารุ่งเรือง

เลื่องลืองานปัก         ปศุสัตว์ หลุมพี

ของดีโฆษิต             พิชิตความยากจน

 

ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการชุมชน

ตำบลโฆษิตจัดตั้งเป็นตำบลเมื่อปี พ.ศ.2522 โดยแยกเขตการปกครองออกจากตำบลพร่อน มีเขตปกครอง 5 หมู่บ้าน คือ

หมู่ที่ 1 บ้านสะหริ่ง   โอนจากหมู่ที่ 5  ตำบลพร่อน

หมู่ที่ 2 บ้านบอฆอ    โอนจากหมู่ที่ 6   ตำบลพร่อน

หมู่ที่ 3 บ้านปะลุกา   โอนจากหมู่ที่ 10  ตำบลพร่อน

หมู่ที่ 4 บ้านโคกมือบา โอนจากหมู่ที่ 7   ตำบลพร่อน

หมู่ที่ 5 บ้านปลักปลา  โอนจากหมู่ที่ 9   ตำบลพร่อน

 

ประวัติหมู่บ้านในตำบลโฆษิต

หมู่ที่ 1 บ้านสะหริ่ง  

เดิมชื่อบ้านสะหริ่งนั้นมาจากคำว่า “สือริง” ซึ่งแปลว่า แห้ง ซึ่งต้นกำเนิดคำว่า “สือริง” มาจากชื่อหมู่บ้าน  ในรัฐกลันตันประเทศมาเลเซียเมื่อหลายปีมาแล้ว ประมาณ ปีพ.ศ. 2426 ชาวบ้านสือริง  รัฐกลันตัน ได้เข้ามาบุกเบิกป่าเพื่อทำเป็นที่ทำกินและเรียกว่า “สือริง” และ ในปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่า  “สือริง”แต่ทางราชการเรียกว่าบ้านสะหริ่ง

หมู่ที่ 2 บ้านบอฆอ

สาเหตุที่เรียกว่า “บ้านบอฆอ” เนื่องมาจาก   เดิมภายในหมู่ บ้านมีต้นไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า “ต้นฆอ” ซึ่งมีลักษณะคดงอชาวบ้าน   จึงเรียกว่า “ต้นฆองอ” ต่อมาคำว่า “ฆองอ” ได้เรียกเพี้ยนเป็น “บอฆอ”และ   ใช้เรียกชื่อหมู่บ้านเป็นบ้านบอฆอจนถึงทุกวันนี้

หมู่ที่ 3  บ้านปะลุกา

เดิมบริเวณที่ตั้งบ้านปะลุกาปัจจุบันได้มีชาว  บ้านมาบุกเบิก    ตั้งบ้านเรือนนั้นเป็นป่าละเมาะและป่าพรุมีลักษณะเป็นป่าเตี้ย ๆ หมู่บ้านข้างเคียงจึง  เรียกว่า “บ้านบลูกา” ซึ่งแปลว่า ป่าละเมาะ ซึ่งต่อมา   ได้เรียกเพี้ยนเป็น “บ้านปะลุกา” จนถึงทุกวันนี้

หมู่ที่ 4 บ้านโคกมือบา

เดิมบริเวณที่ตั้งบ้านโคกมือบาในปัจจุบันนั้น   ในพื้นที่มีต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อ “ต้นงือบา” หรือ

ภาษาไทยเรียกว่า “ต้นหลุมพอ” ขึ้นอยู่มากและลักษณะพื้นดินบริเวณนั้นเป็นที่ราบค่อนข้างสูงจึงเรียกว่า “โคกงือบา”  ซึ่งต่อมาในปัจจุบันเพี้ยนเป็น  “บ้านโคกมือบา”

หมู่ที่ 5 บ้านปลักปลา

เดิมเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2468 เรียกว่า “กูแบอีแก” ซึ่งแปลว่ามีบึงใหญ่กลางหมู่บ้านและมีปลาชุกชุม ต่อมาปี พ.ศ. 2509 ทางราชการได้สร้างโรงเรียนขึ้นในหมู่บ้าน ซึ่ง จะตั้งชื่อว่าโรงเรียนกูแบอีแก ก็จะซ้ำกับโรงเรียนในเขตอำเภอสุไหงโก-ลก จึงได้ตั้งชื่อโรงเรียนบ้านปลักปลา ซึ่ง  มีความหมายเช่นเดียวกับบ้านกูแบอีแก และก็ใช้เรียกชื่อหมู่บ้านมาจนถึงทุกวันนี้

 

สภาพทั่วไป ขององค์การบริหารส่วนตำบลโฆษิต

  1. ที่ตั้ง 

    ตำบลโฆษิตตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอตากใบไปทางทิศใต้  15 กิโลเมตร

  2. เนื้อที่

    มีเนื้อที่ทั้งหมด  19.844  ตารางกิโลเมตร หรือ 12,402.500 ไร่

  3. ภูมิประเทศ 

    โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม  ซึ่งพื้นที่ ใช้เป็นที่ตั้งชุมชน และพื้นที่เกษตรกรรม โดยมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ คลองปูยูไหลผ่านทางทิศเหนือของตำบลเป็นแนวเขตระหว่างตำบลโฆษิตและตำบลเกาะสะท้อนส่วนทางทิศตะวันออก มีแม่น้ำสุไหงโก-ลก ไหลผ่าน เป็นแนวเขตแดนระหว่างตำบลโฆษิตกับประเทศมาเลเซีย มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้

    ทิศเหนือ    ติดต่อกับตำบลเกาะสะท้อน
    ทิศใต้         ติดต่อกับตำบลนานาคและอำเภอสุไหงโก-ลก
    ทิศตะวันออก      ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย
    ทิศตะวันตก        ติดต่อกับตำบลพร่อน  และอำเภอสุไหงปาดี

  4. จำนวนหมู่บ้าน

    อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ดังนี้

    หมู่ที่ 1    บ้านสะหริ่ง
    หมู่ที่ 2   บ้านบอฆอ
    หมู่ที่ 3   บ้านปะลุกา
    หมู่ที่ 4   บ้านโคกมือบา
    หมู่ที่ 5    บ้านปลักปลา

  5. ลักษณะชุมชนและการตั้งถิ่นฐาน 

    การตั้งถิ่นฐานของราษฎรในตำบลโฆษิต จะมีการตั้งบ้านเรือนกระจายไปตามเส้นทางคมนาคมภายในหมู่บ้าน และเกาะกลุ่มกันในบริเวณที่มีมัสยิด  วัด โรงเรียน และพื้นที่ที่มีการบริการสาธารณูปโภค-สาธารณูปการต่าง ๆ  ตลอดจนกระจายไปตามพื้นที่การเกษตรในหมู่บ้าน

  6. จำนวนประชากร

    ประชากรทั้งสิ้น  6,984 คน  แยกเป็น ชาย   3,444  คน หญิง  3,540 คน

    จำนวนครัวเรือน  1,385  ครัวเรือน  มีความหนาแน่นเฉลี่ย   351 คน/ ตร.กม.

  7. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

ด้านทรัพยากรธรรมชาติในตำบลโฆษิต สามารถจำแนกได้ดังนี้

  1. ทรัพยากรที่ดิน การใช้ทรัพยากรที่ดินในเขต ตำบลโฆษิต ส่วนใหญ่จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร
  2. ทรัพยากรน้ำ พื้นที่ในตำบลโฆษิต จะมีแม่น้ำปูยู ซึ่งไหลผ่านหมู่ที่ 1,2,3 และมีแม่น้ำ โก-ลก ซึ่งไหลผ่าน   หมู่ที่  3  นอกจากนี้ยังมีคลองที่สำคัญ ได้แก่ คลองโต๊ะแดง คลองพี คลองโกคลองโคกยาง ซึ่งแหล่งน้ำเหล่านี้ราษฎรในตำบลโฆษิตได้ใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์ การประมง และใช้ในการอุปโภค บริโภค
  1. ทรัพยากรป่าไม้ ตำบลโฆษิต มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ได้แก่ ป่าพรุโต๊ะแดง ซึ่งเป็นป่าพรุ ที่ตั้งอยู่ในเขตของหมู่ที่ 5 บ้านปลักปลา

สภาพด้านเศรษฐกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลโฆษิต

ประชากรตำบลโฆษิต ส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่  ได้แก่

การทำนาเลี้ยงสัตว์ ทำสวนผลไม้  ทำสวนมะพร้าว  ทำสวนยางพารา  ปลูกพืชผักสวนครัว และพืชไร่อื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพรอง ได้แก่ การค้าขาย การรับจ้างและอาชีพอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย แรงงานภาคเกษตรกรรมในตำบลโฆษิตส่วนใหญ่ใช้แรงงานจากสมาชิกในครัวเรือน และบางครัวเรือนที่มีสมาชิกไม่พอเพียงจะทำการจ้างแรงงานที่มีอยู่ในตำบลเข้ามาช่วยในฤดูกาลผลิต และเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลผลิตจะมีแรงงานว่างจากภาคเกษตรไปทำการรับจ้างแรงงานทั่วไปในจังหวัดใกล้เคียง และในประเทศมาเลเซีย

สภาพทางสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลโฆษิต

ประชาชนในเขตตำบลโฆษิต ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม การประพฤติปฏิบัติประจำวันของชาวมุสลิมจะถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

ด้านการศึกษา

  • ศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
  1. ศูนย์อบรมเด็กเล็กก่อนเกณฑ์มัสยิดตักวา หมู่ที่ 1 บ้านโคกนิบง
  2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่บ้านปศุสัตว์เกษตร-มูโนะ หมู่ที่ 4 บ้านปศุสัตว์เกษตร – มูโนะ
  • โรงเรียนสังกัด สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน)
  1. โรงเรียนบ้านสะหริ่ง       หมู่ที่  1  เปิดสอนชั้นอนุบาล – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
  2. โรงเรียนบ้านปะลุกา      หมู่ที่  3  เปิดสอนชั้นอนุบาล – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
  3. โรงเรียนบ้านโคกมือบา หมู่ที่  4  เปิดสอนชั้นอนุบาล – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
  4. โรงเรียนบ้านปลักปลา   หมู่ที่  5  เปิดสอนชั้นอนุบาล – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
  • โรงเรียนตาดีกา  –  มัสยิด
  1. โรงเรียนตาดีกานูรูลฟีรเดาส           หมู่ที่  1  ชุมชนบ้านโคกนิบง  –  มัสยิดตักวา
  2. โรงเรียนตาดีกาสีนารันบืรทีวี           หมู่ที่  1  ชุมชนบ้านโคกไทร  –  มัสยิดดารุสลาม โกะบือรา
  3. โรงเรียนตาดีกานูรุลฮูดา                  หมู่ที่  1  บ้านสะหริ่ง    –  มัสยิดนูรุลฮูดา
  4. โรงเรียนตาดีกานูรุสฮีดายะห์           หมู่ที่  3  บ้านปะลุกา  –   มัสยิดอีบาดะห์
  5. โรงเรียนตาดีกาตัรบียาตูคดีนียะห์    หมู่ที่ 4  บ้านโคกมือบา –   มัสยิดโคกมือบา
  6. โรงเรียนตาดีกานุรฮีดายะห์              หมู่ที่  5  บ้านปลักปลา   –   มัสยิดอัลฮีดายะห์

ด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม

ตำบลโฆษิต  อำเภอตากใบ ตั้งอยู่ในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น ทางภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 90 นับถือศาสนาพุทธประมาณร้อยละ 10   เอกลักษณ์ที่สำคัญของประชากรในแถบนี้  คือ

1. การแต่งกาย   ผู้ชายนิยมนุ่งโสร่งหรือกางเกงขายาว สวมเสื้อแขนยาวถึงข้อมือและสวมหมวกกาปีเยาะ ส่วนผู้หญิงก็จะสวมเสื้อแขนยาวถึงข้อมือและนุ่งผ้าคลุมข้อเท้าตามข้อบัญญัติศาสนา

2. พิธีถือศีลอด (ถือบวช) ในเดือนรอมฎอนหรือเดือนที่ 9 ของปีฮิจเราะห์ศักราช ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามทุกคน จะถือศีลอดเป็นเวลา 1 เดือน ทั้งนี้เพื่อให้ชาวมุสลิมได้รู้สึกถึงความอดอยาก และยากจน

3. ประเพณีมาแกปูโละ มาแกปูโละเป็นภาษาถิ่น แปลว่ากินเหนียวจะใช้ในหลายโอกาส  เช่น แต่งงานและเข้าสุหนัต

4. การเข้าสุหนัต เป็นหลักการของศาสนาอิสลาม ที่ถือหลักความสะอาด คือ การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ซึ่งกระทำแก่เด็กชายที่มีอายุ 2-10 ปี ภาษาถิ่นเรียกว่ามาโซะยาวี

5. วันรายอฮัจจ์ยี เป็นวันที่ชาวไทยมุสลิม ได้ทำพิธีละหมาดร่วมกันในเวลาเช้า หลังจากนั้นจะร่วมกัน   กรุบาน (เชือดสัตว์ เช่น โค แพะ แกะ) เพื่อจัดเลี้ยงแก่คนยากจน หรือจัดเลี้ยงตามบ้าน โดยเชิญมิตรสหายมารับประทานอาหารร่วมกัน

6. ขนบธรรมเนียมการเคารพ  ชาวมุสลิมเมื่อพบปะกันก็จะกล่าวอัสลามูลัยกูม” (ขอ ความสันติจงมีแด่ท่าน)  และมีการรับว่าอาลัยกูมมุสลาม” (ความสันติจงมีแด่ท่านเช่นกัน) และยื่นมือสัมผัสกันบางครั้งก็ยกมาลูบหน้าบางครั้งก็มาแตะบริเวณหน้าอก

7. งานถวายเทียนพรรษา  งานทอดกฐิน  งานทอดผ้าป่า เป็นกิจกรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของศาสนาพุทธซึ่งจะจัดเป็นประจำทุกปี ณ วัดโฆษิต  หมู่ที่  2  บ้านบอฆอ

8. วันผู้สูงอายุ และวันครอบครัว  โดยจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ70 ปีขึ้นไป โดยจัดที่วัดโฆษิต

9. งานวันเด็กแห่งชาติ  เป็นกิจกรรมที่ให้ความสำคัญกับเด็กซึ่งจัดในวันเสาร์ที่2  ของเดือนมกราคมของทุกปี  โดย อบต.โฆษิต จะจัดกิจกรรมวันเด็กให้แก่เด็กในตำบลโฆษิต 

ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน

  1. ซีละ คือ ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ที่มีลักษณะคล้ายมวยไทย และมีลักษณะคล้ายมวยปล้ำรวมกัน (มีการแตะ ถีบ ต่อย และมีการปล้ำให้ล้มกันด้วย)
  2. ลิเกฮูลู ปกติมักจะเล่นในหมู่บ้านเนื่องในงานเข้าสุหนัต มีความหมายตามพจนานุกรม KamusDewanของ Dr.TeukuInkanda ๒ ประการคือ
    1. หมายถึง   เพลงสวดพระเจ้า ปกติเป็นการขับร้องเนื่องในเทศกาลกำเนิดพระนบี ชาวมุสลิม เรียกงานเมาลิด เลยเรียกการสวดดังกล่าวนี้ว่า ดิเกร์เมาลิด ซึ่งคำว่าดิเกร์ เป็นศัพท์เปอร์เซีย
    2. หมายถึง กลอนเพลงโต้ตอบ นิยมเล่นกันเป็นกลุ่มเป็นคณะเรียกว่า ลิเกฮูลู

ชุมชนในเขตตำบลโฆษิต

หมู่ที่ 1 บ้านสะหริ่ง

–  ชุมชนบ้านโคกไทร

–  ชุมชนบ้านโคกนิบง

–  ชุมชนบ้านสะหริ่งใน

หมู่ที่ 2  บ้านบอฆอ-  ชุมชนบ้านบอฆอ

–  ชุมชนบ้านตะโล๊ะ

หมู่ที่ 3  บ้านปะลุกา

–  ชุมชนบ้านปะลุกา

หมู่ที่ 4  บ้านโคกมือบา

–  ชุมชนบ้านโคกมือบา

–  ชุมชนบ้านโคกทราย

–  ชุมชนบ้านโคกละไม

–  ชุมชนบ้านซีโปร์

–  ชุมชนหมู่บ้านปศุสัตว์ – เกษตรมูโนะ

หมู่ที่ 5  บ้านปลักปลา

–  ชุมชนบ้านโคกเบียด

–  ชุมชนบ้านปลักปลา

การบริการพื้นฐาน

การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานในตำบลโฆษิต  ในปัจจุบันถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา ถนน   ไฟฟ้า  ประปา  ฯลฯ  ประชาชนจะได้รับการบริการอย่างทั่วถึง จะมีแต่บางส่วนเท่านั้นที่จะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มเติม

1) การคมนาคม

มีถนนสายหลัก 1 สายคือทางหลวงจังหวัดหมายเลข 4057 (อำเภอตากใบอำเภอ   สุไหงโกลก)   ผ่านตำบลเจ๊ะเห ,ตำบลพร่อน,และผ่านตำบลโฆษิตในหมู่ที่ 1 , 2 และ 4  ผ่านตำบลนานาค  ไปอำเภอสุไหงโกลก

ถนนเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนลาดยาง ,คอนกรีตเสริมเหล็ก,หินคลุก และลูกรัง

2) ไฟฟ้า

ประชาชนในตำบลโฆษิตทุกหมู่บ้านได้รับบริการไฟฟ้าอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

3) การโทรคมนาคม/ติดต่อ

  โทรศัพท์   สำนักงานโทรศัพท์ อ.ตากใบ  เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์ในเขตตำบลโฆษิต ไม่สามารถให้บริการอย่างทั่วถึง ประชาชนมีความต้องการใช้บริการเป็นจำนวนมาก

ไปรษณีย์อนุญาตของชุมชนประจำตำบลโฆษิต (หมู่ที่ 1)

4) การสาธารณสุข

การบริการทางด้านการสาธารณสุข ในเขตตำบลโฆษิต ประชาชนสามารถรับบริการได้จาก สถานีอนามัยประจำตำบล  เปิดบริการทุกวัน ในวันและเวลาราชการ ให้บริการรักษาโรคและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ประชาชน บริการรักษาพยาบาลฟรี

สถานีอนามัยบ้านโคกมือบา หมู่ที่ 4บ้านโคกมือบา  บริการราษฎร หมู่ที่ 2,3,4  ตำบลโฆษิต

สถานีอนามัยบ้านโคกยาง หมู่ที่ 5 .พร่อน บริการราษฎร หมู่ที่ 1,5 ตำบลโฆษิต

 

ศักยภาพของหน่วยงาน

ด้านการเมืองการบริหาร 

1)  โครงสร้างการเมืองการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลโฆษิต ประกอบด้วย

(1)  สภาองค์การบริหารส่วนตำบล  ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จำนวน 10 คน ทำหน้าที่นิติบัญญัติ และตรวจสอบการบริหารงานของนายก อบต.

(2) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  จำนวน1 คน และมีรองนายก อบต. ที่มาจากการแต่งตั้งของนายก อบต.จำนวน 2 คน  มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ  4  ปี

2) ส่วนการบริหาร  แบ่งเป็น  4  ส่วน ดังนี้

(1)  สำนักงานปลัด อบต.               

(2)  กองคลัง

(3)  กองช่าง          

(4)  กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

 

ข้อมูลการศึกษาการบริหารจัดการน้ำเพื่อการทำนา

ศักยภาพพื้นที่

1.ผังตำบลโฆษิต

 

2.ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน

 

3.แผนภูมิแสดงการใช้ประโยชน์ที่ดิน

 

4. ข้อมูลการถือครองที่ดินในตำบลโฆษิต

 

กระบวนการผลิตข้าว

1) ปฏิทินฤดูกาลทำนา ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

 

2) รายจ่ายในการทำนา อัตราส่วน 1 ต่อไร่

3) ข้อมูลการปลูกข้าวนาปี 2559 ต.โฆษิต อ.ตากใบ จ.นราธิวาส


การจัดการน้ำเพื่อการทำนา

1) ผังแสดงเส้นทางน้ำในการทำนาของตำบลโฆษิต

2) คลองระบายน้ำของชลประทานที่รับผิดชอบในพื้นที่ตำบลโฆษิต

3) ข้อมูลพื้นที่การเกษตรในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลุ่มน้ำโก-ลก (ทั้งในเขตและนอกเขตชลประทาน)

กระบวนการผลิตข้าว

โครงการนาแปลงใหญ่ตำบลโฆษิต

หน่วยงานและกลุ่มองค์กรในพื้นที่

ข้อมูลกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผลิตข้าวซ้อมมือบ้านบอฆอ

 

Download ไฟล์ PDF การบริหารจัดการน้ำเพื่อการทำนา ต.โฆษิต อ.ตากใบ จ.นราธิวาส