เรียนรู้จากครูชื่อเสน่ห์ จามริก โดย เจตนา นาควัชระ

ผมรู้จักกับท่านอาจารย์เสน่ห์มานานมาก ตั้งแต่ผมยังเป็นเด็กมัธยมต้น ท่านเป็นเพื่อนสนิทของพี่ชาย คือ พจนา นาควัชระ ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกัน เรียนเตรียมธรรมศาสตร์และเรียนปริญญาตรีพร้อมกัน ท่านมาที่ บ้านบ่อยๆ ผมทราบดีว่าท่านเรียนเก่งมาก จบธรรมศาสตร์บัณฑิตก่อนเวลา 4 ปีเพียงคนเดียวในรุ่นของท่าน ท่านกับพี่ชายผมมีความสนใจร่วมกันหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องเล่นปิงปอง และเรื่องดนตรี ซึ่งแม้ท่านจะ ไม่ไดเ้ ป็นนักดนตรี แต่ท่านก็ชอบฟัง และติดตามให้กาลังใจเพื่อนฝูงที่เล่นดนตรีอยู่ตลอดเวลา พี่ชายผมตั้งวง สมัครเล่น และผมก็ถูกลากเข้าไปเป็นนักร้อง (เด็ก) ประจาวง ร้องทั้งเพลงไทยสากล และร้องทั้งเพลงฝรั่ง (ที่ ผมไม่เข้าใจเนื้อร้อง!) เมื่อไม่กี่ปีมานี้ท่านยังราลึกถึงความหลังให้ผมฟัง ซึ่งผมเองก็ลืมไปแล้ว นั่นคือ เวลาที่ ผมร้องเพลงตอนเด็กนั้น ไมโครโฟนปรับลงต่าได้ไม่พอ ผมจึงต้องร้องเพลงโดยแหงนหน้าขึ้นไปหาไมโครโฟน ไมค์ลอยไม่มีในสมัยนั้น

ผมไดพ้ บท่านอีกครั้งที่เมือง Manchesterประเทศอังกฤษ เมื่อตอนผมไปเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัยที่ โรงเรียน Tutorial College ที่นั่น พี่ชายผมก็ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน เรื่องดนตรี กลับเข้ามาเป็นตัวผูกพันกับนาควัชระ 2 คนนี้อีก คือเราเป็นแฟนเพลงประจาของวงดนตรีคลาสสิก Hallé Orchestra เขามีคอนเสิร์ตสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เราก็ไปฟังทั้ง 2 ครั้ง เสียเงินเพียง 2 ชิลลิง กับ 6 เพนนี โดย บังเอิญเมื่อตอนอาจารย์เสน่ห์เตรียมจะไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส ท่านไปเรียนภาษาฝรั่งเศสภาคฤดูร้อนที่ Geneva ผมก็ไปที่เดียวกับท่าน ต่อมาอีกปีหนึ่งเมื่อท่านจบปริญญาตรีแล้ว ท่านไปเรียนภาษาฝรั่งเศสที่เมือง Tours ผมก็ไปที่เดียวกับท่านอีกเช่นกัน ผมได้คุยกับรุ่นพี่ผู้นี้นานกว่าใครอื่นทั้งหมด ผมเหมาเอาว่าความคิดทาง สังคมและการเมืองที่เป็นกลางๆ นั้น ผมได้อิทธิพลมาจากอาจารย์เสน่ห์อย่างไม่ต้องสงสัยเลย ทั้งๆ ที่ผมไม่ เคยเรียนธรรมศาสตร์และไม่เคยเรียนรัฐศาสตร์และกฎหมายอย่างท่าน

ผมขาดการติดต่อกับท่านไปหลายปีในช่วงที่ท่านไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส มาได้ข่าวภายหลังว่า ข้าราชการเลวๆ ประทุษร้ายท่านด้วยประเด็นทางการเมืองก่อนที่ท่านจะเรียนจบปริญญาเอก ความจริงพี่ชาย

ผมก็โดนหางเลขเช่นกัน เมื่อไปประชุมเยาวชนที่มอสโก แต่ผู้ดูแลนักเรียนไทยที่อังกฤษแยกออกว่าอะไรเป็น อะไร เขาเลยรอดตัวไป ตัวผมเองก็ได้ข่าวภายหลังว่าสมัยที่ผมเรียนปริญญาตรีที่อังกฤษ ก็มีผู้กล่าวหาว่าผม ฝักใฝ่กับฝ่ายที่เป็นอันตรายต่อบ้านเมืองไทยในสมัยนั้น ผมคงต้องโทษอาจารย์เสน่ห์ว่า ที่เราพยายามจะเป็น ตัวของตัวเอง โดยไม่เข้ากับฝ่ายใดนั้น ทาให้เราตกที่นั่งลาบาก คนส่วนใหญ่มักจะเอาป้ายที่มีสีมาคล้องคอ เราตลอดเวลา แล้วทะเลาะกับป้ายเหล่านั้น โดยที่ไม่ใส่ใจจะหาความจริงว่าเราคิดอย่างไร ผมชื่นชมเพื่อน ของพี่ชายคนนี้มาตั้งแต่เด็ก ผู้ซึ่งเป็นตัวอย่างให้ผมได้คิดว่า การเป็นตัวของตัวเองในทางความคิดเป็นอย่างไร

เมื่อผมกลับมาเมืองไทยได้ไม่กี่ปีท่านก็เมตตาให้โอกาสผมได้เข้าไปร่วมงานในโครงการที่สาคัญของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อท่านได้รับแต่งตั้งจากอธิการบดีในขณะนั้น คือ พระเจ้าวรวงค์เธอ กรมหมื่น นราธิปพงศ์ประพันธ์ ให้เป็นประธานกรรมการร่างหลักสูตรวิชาพื้นฐานทั่วไปขึ้นใหม่ มี “คนนอก” 3 คนที่ ได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นกรรมการ คือ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช, ศ. พิเศษ ม.ล. บุญเหลือ เทพยสุวรรณ และผม อาจารย์เสน่ห์เป็นประธานที่ใจกว้างมาก รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และพยายามประสานประโยชน์ของ หลายๆ ฝ่าย ตอนนั้นผมเป็นอาจารย์หนุ่มไฟแรง เสนอความคิดไปหลายอย่างที่เป็นอุดมคติ โดยไม่ใส่ใจว่า จะทาได้จริงหรือไม่ เราประชุมกันบ่อยครั้งมาก ผมอาจจะเป็นผู้รับมากกว่าผู้ให้ในด้านของความรู้ แต่สิ่งหนึ่ง ที่เกินเลยไปจากเนื้อหาของวิชาการก็คือ การที่ความคิดที่ต่างกันมาปะทะกัน แล้วเราจะหาทางออกได้ อย่างไร ผมได้เรียนรู้จากงานของคณะกรรมการชุดนั้น อีกหลายสิบปี เมื่อผมได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุม อธิการบดีให้เป็นประธานกรรมการด้านหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป (รวมทั้งกิจการนักศึกษา) ผมจึงสานึกได้ว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้อานิสงส์จากหลักสูตรฉบับที่อาจารย์เสน่ห์และคณะกรรมการชุดนั้นสร้างขึ้น ทา ให้ก้าวไปได้ไกลกว่ามหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยเฉพาะในด้านของการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป ของ แถมที่ได้จากการประชุมร่วมกับ “ท่านผู้ใหญ่” เป็นเวลาร่วมปีก็คือสิ่งที่ผมเรียกว่า “ศิลปะในการครองตัวยาม แก่” ผมเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “How to grow old gracefully.” และก็คงต้องกล่าวว่าได้วิชาแถมแนวที่ 2 ตามมาด้วยคือ “How not to grow old gracefully.” ขอบพระคุณอาจารย์เสน่ห์ที่ให้โอกาสเหล่านี้ โดย ที่ท่านไม่ได้ตั้งใจ

ในด้านของการบริหารงาน วิชาการอาจารย์เสน่ห์สร้างคุณูปการไว้มากในฐานะผู้อานวยการสถาบัน ไทยคดีศึกษา ในยุคนั้นความสนใจทางวิชาการอยู่ในวงกว้าง ปาฐกถา อภิปราย และสัมมนาของสถาบันฯ เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นงานบุกเบิกทางวิชาการ คนรุ่นผมยังจาเอกสารโรเนียวเย็บเล่มด้วยปกสีแสดเหล่านั้นได้ ในขณะเดียวกันวารสารธรรมศาสตร์ก็เข้ามารองรับดัวยการเผยแพร่งานที่เป็นกึ่งวิชาการไปสู่ผู้อ่านทั่วไป ผม

เสียดายโลกใบเก่าที่วารสารธรรมศาสตร์วางอยู่บนแผงหนังสือพิมพ์ริมถนน เคียงกับ สตรีสาร สกลุไทย ลลนา สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฯลฯ เท่ากับเป็นการยืนยันว่า วิชาการไม่ใช่สมบัติของคนกลุ่มน้อยในรั้วมหาวิทยาลัย แต่เป็นสมบัติทางปัญญาที่น่าจะชี้ทางให้สังคม (งานเขียนชิ้นแรกของผมที่เกี่ยวกับ “สุนทราภรณ์วิชาการ” ก็ ลงพิมพ์ที่นั่น) งานของอาจารย์เสน่ห์เองอาจไม่สื่อความต่อผู้สนใจในระดับทั่วไปนัก แต่บทบาทของท่านใน ฐานะนักวิชาการและนักคิดเป็นสิ่งที่วงการวิชาการต้องการและรับฟัง ผมเรียนรู้จากท่านว่า การแสดง ปาฐกถานา (keynote) ควรเป็นอย่างไร นั่นก็คือไม่ใช่การเสนอข้อมูลดิบที่มาจากการวิจัยที่ยังไม่ได้รับการ กลั่นกรอง แต่เป็นการตกผลึกความคิดที่ปาฐกนามาตั้งเป็นประเด็น แล้วอภิปรายในแนวที่ชวนให้เกิดการคิด ตาม คิดต่อ และ/หรือ คิดแย้ง ผมยังจาปาฐกถานาซึ่งที่ประชุมอธิการบดีเชิญท่านให้แสดงในหัวข้อ “มหาวิทยาลัยกับความยากจน” (น่าสังเกตว่าที่ประชุมอธิการบดีในสมัยนั้นเป็นกลุ่มของผู้บริหารงานวิชาการ ที่ชอบตีโจทย์ยากๆ!) อาจารย์เสน่ห์เริ่มต้นด้วยพุทธปรัชญา และลงท้ายด้วยการปลุกจิตสานึกให้สมาชิกของ ประชาคมอุดมศึกษา (ไม่ว่าในสาขาใด) ต้องขบคิดว่า เราทุกคนมีภาระหน้าที่ที่จะช่วยกันสร้างสังคมที่เปี่ยม ด้วยความยุติธรรมอย่างไร

ครั้งหนึ่งผมรับเป็นตัวแทนของคณะกรรมการของสภาการศึกษาฯ ที่ว่าดัวย “สังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง กับการศึกษา” ไปเชิญให้ท่านเขียนหนังสือด้านการศึกษาจากมุมมองของท่านเอง ท่านก็เลือกหัวข้อ “การเมืองกับการศึกษาของไทย” (2526) ข้อสรุปของท่านที่ว่าด้วยการเริ่มต้นของระบบโรงเรียนที่เป็น ทางการมิได้ให้ภาพที่น่าชื่นชมนัก นั่นก็คือว่า ระบบโรงเรียนของไทยเราคิดขึ้นเพื่อสนองชนชั้นสูงเป็นปฐม หลังจากนั้นจึงมีการแบ่งเศษเลยให้กับประชาชน ท่านผู้ใหญ่ในวงการศึกษาของไทยอ่านแล้วไม่สบายใจ จึง มอบให้ผมติดต่อเชิญอาจารย์เสน่ห์มาหารือกันเป็นการส่วนตัวว่าจะปรับให้สารอันหนักหน่วงนี้ ให้เบาลงได้ หรือไม่ อาจารย์เสน่ห์มีความมั่นใจว่าท่านตีความจากหลักฐานเชิงประจักษ์ซึ่งเป็นเช่นนั้น จึงขอไม่แก้ ท่าน ผู้ใหญ่ก็ใจกว้างพอที่จะเคารพจุดยืนของนักวิชาการ และหนังสือเล่มนั้นก็ยังส่งสารที่ว่านั้นมายังมหาชนตาม ความคิดของผู้แต่ง วัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ดูจะเข้มแข็งในอดีตมากกว่าในปัจจุบัน!

เมื่อนักวิชาการต้องปรับตัวให้มาทางานบริหาร ดังเช่นการที่อาจารย์เสน่ห์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรอง อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในสมัยที่อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์เป็นอธิการบดี ท่านก็ต้องพบกับ ความจริงที่โหดร้ายเหมือนกับที่กวีฝรั่งเศส โบเดอแลร์ (Baudelaire) ได้กล่าวเอาไว้ คือ “การกระทามิได้เป็น ญาติสนิทกับความใฝ่ฝัน” (l’action n’est pas la sœur du rêve.) ท่านพยายายจะปกป้องมิให้ลูกศิษย์ของ

ท่านต้องปะทะกับพลังทางการเมืองอันโหดเหี้ยม แต่ในที่สุดศิษย์ก็ไปไกลจนท่านกู่ไม่กลับเสียแล้ว โศกนาฏกรรมทางการเมืองที่โหดร้ายที่สุดจึงเกิดขึ้น

บาดแผลอันนั้นผมทราบดีว่ายังฝังอยู่ในใจท่านตลอดมา แต่ท่านไม่สิ้นหวัง ไม่ยอมหยุด ท่านยังทา หน้าที่สร้างปัญญาและให้แสงสว่างต่อไป ผมเริ่มต้นด้วยเรื่องของดนตรี และก็จะขอจบในแนวที่พ้องกัน ด้วย คาถามว่า “แล้วจะร้องเพลงให้ใครฟัง” คาตอบก็คงจะเป็นว่า “ช่างหัวมัน” (ซึ่งได้กลายเป็นคาขลังไปแล้ว)

เจตนา นาควัชระ

————————-