(ตอนที่ 4) วิชชาลัยรวงข้าว จังหวัดพัทลุง

วิชชาลัยรวงข้าว จังหวัดพัทลุง[1]

จากสภาพพื้นที่ที่ตั้งของบ้านท่าช้าง ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน ตั้งอยู่เขตที่ลุ่มของจังหวัดพัทลุง เป็นทุ่งราบสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม สภาพพื้นที่เหมาะแก่การกสิกรรม อาชีพหลักของชาวบ้านคือการทำนา และด้วยวิถีการผลิตที่เน้นปลูกขายเพื่อขาย ทำให้ชาวนาที่นี้เร่งการผลิต ใช้สารเคมีทุกประเภท เพื่อให้ข้าวได้ผลผลิตสูงๆ แต่ผลที่ตามคือต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น กำไรในแต่ละปีจึงเหลือเพียงน้อยนิดชาวนาบางรายมีหนีสินจากการทำนา และที่สำคัญนั้นชาวนาบ้านท่าช้างต่างมีร่างการทรุดโทรมลงเรื่อยๆ อย่างไม่ทราบสาเหตุ

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำนาเป็นจุดเริ่มต้นของความพยายามที่จะทำให้ชุมชนของตนเองอยู่อย่างสมบูรณ์พุนสุข โดยเกิดจากคนในชุมชนเองที่ลุกขึ้นมาตั้งคำถาม ร่วมกันค้นหาคำตอบ และก่อนจะลงมือจัดการ เพื่อแก้ไขปัญหาและร่วมกันสร้างความสุขอย่างยั่งยืนให้เกิดแก่ชุมชน

จากจุดเริ่มที่เหมือนไร้ทางออก สู่ความสำเร็จที่ชาวชุมชนได้รับกันถ้วนหน้า คือ ชาวบ้านหามติร่วมที่จะเปลี่ยนแปลงพัฒนาชุมชนของตนเอง โดยขยับการดำเนินงานระดับชุมชนไปอีกขั้น จึงก่อตั้ง “วิชชาลัยรวงข้าว” ขึ้น เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน และทำมติประชาคมร่วมกันว่าจะทำเกษตรปลอดสารเคมี

ทางโครงการถอดบทเรียนชุมชนต้นแบบเกษตรและอาหารปลอดภัย เพื่อนำเสนอสมัชชาสุขภาพ ได้ลงพื้นที่เรียนรู้แลกเปลี่ยนกับคณะกรรมการวิชชาลัยรวงข้าว จังหวัดพัทลุง ถึงการเปลี่ยนแปลงของชุมชนบ้านท่าช้างที่ใช้การำเกษตรอินทรีย์ และการทำนาอินทรีย์มาสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่คนในชุมชนมีความสุขจากการทำนาอินทรีย์ และเข้าถึงอาหารปลอดภัยแก่คนในชุมชน จนขยายบทเรียนไปสู่แก่ชุมชน เครือข่ายอื่น ผ่านการดำเนินงานของวิชชาลัยรวงข้าว

ก่อนปีพ.ศ. 2522 – 2525 ชาวบ้านท่าช้างร้อยเปอร์เซ็นต์ทำเกษตรกรรมทำนาทำสวนตามความเหมาะสมของพื้นที่ สร้างรายได้จากการสานกระจูด เลี้ยงวัว ทำสวน และทำนา เป็นการทำเกษตรที่พึ่งตนเองไม่พึ่งเทคโนโลยีและสารเคมี ได้ข้าวประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่ ทำนาข้าวที่อาศัยน้ำฝนโดยใช้พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ทำนาไว้กินในครอบครัวส่วนที่เหลือก็นำไปแลกของใช้ของบริโภคอย่างอื่นที่ในชุมชนไม่มีและขาย ซึ่งข้าวสมัยนั้นขายได้ในราคาที่ถูกเพราะพื้นที่ราบลุ่มส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดในจังหวัดพัทลุงก็มีการทำนาปลูกข้าว

จนมาในปีพ.ศ. 2534 การทำนาของชาวบ้านท่าช้างได้มีการปรับเปลี่ยนไปเมื่อหน่วยงานของรัฐเข้ามาส่งเสริมสนับสนุนปลูกข้าวลูกพันธุ์ผสม (กข. 33) ทำนาแบบนาตม นาดำ และนาหว่านแห้ง มีการนำเครื่องมือรถไถเข้ามาช่วยในการทำนา ได้ข้าวเพิ่มมากขึ้นเป็น 500 – 600 กิโลกรัมต่อไร่ และสามารถทำนาได้สองครั้งต่อปี ชาวบ้านมีรายได้จากการขายข้าวดีเพิ่มมากขึ้น แรงงานในการทำนาขาดแคลนต้องมีการจ้างวานในการเก็บเกี่ยวข้าว กรมส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนสารเคมีไล่แมลงศัตรูของข้าว ชาวบ้านสามารถขอการสนับสนุนได้อย่างไม่กำจัด จนเกิดการขยายการทำนาเกือบทุกพื้นที่ของชุมชน มีการเพิ่มพื้นที่ทำนาเพิ่มผลผลิตข้าวมีปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดแมลงเพิ่มขึ้นในพื้นที่ชุมชน มีคลองน้ำไหลผ่านชุมชนน้ำสบบูรณ์ที่ไหลมาจากเขาปู่-เขาย่า กรมชลเข้ามาทำไฟฟ้าจากพลังน้ำ เกือบสิบปีที่ชาวนาบ้านท่าช้างทำนาโดยใช้วิธีการนี้ทำให้เกษตรกรมีความจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มต้นทุนการทำนาให้สูงขึ้น บางปีชาวนาได้ผลผลิตข้าวต่ำเกิดจากโรคแมลง แล้งขาดน้ำ และราคาข้าวตกต่ำ จนทำให้เกษตรกรในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นหนี้จากการทำเกษตรกรทำนา

จนในปีพ.ศ. 2543 ทางกลุ่มผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชนร่วมกับกลุ่มชุมชนทะเลน้อย ไปศึกษาเรียนรู้เกษตรกรรมยั่งยืน การทำเกษตรกรรมทางเลือก การทำนาอินทรีย์ และเกษตรกรอินทรีย์จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมกับมีโครงการเกษตรนำร่อง ของเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกเข้ามาส่งเสริมการทำเกษตรทางเลือกจำนวน 3 แปลง ผสมกบความรู้ที่ได้ไปเรียนรู้มาจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช และยังได้ไปดูงานศึกษานอกพื้นที่จากกลุ่มสันติอโศก การทำน้ำปุ๋ยและหมักชีวภาพ การปรับปรุงดิน และการแปรรูปโดยใช้วัสดุในท้องถิ่น(สบู่เปลือกมังคุด)  ชาวบ้านกลับมาได้เริ่มมีการพบปะพูดคุยกันการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นที่มีมากมาทำปุ๋ยน้ำหมัก เพื่อนำของที่เหลือใช้และใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ ร่วมกลุ่มกันทำปุ๋ยและน้ำหมักอินทรีย์ไปใช้ในนาข้าว เพื่อลดต้นทุนในการทำเกษตรกรรม และคำนึงถึงเรื่องสุขภาพของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมชุมชน

ในปีพ.ศ. 2547 – 2549 ทาง สำนักงานกองทุนสนับสนุนวิจัยเพื่อท้องถิ่น (สกว.) ได้ร่วมกับชุมชนทำวิจัยโครงการศึกษาแนวทางฟื้นฟูการทำนาโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น(ท่าช้าง – ทะเลน้อย) ในพื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลา จากงานวิจัยท้องถิ่นโดยชุมชนได้เรียนรู้การและรับรู้จากข้อมูลการทำนาในอดีตจนถึงในยุคปัจจุบันขณะนั้น ชุมชนช่วยกันวิเคราะห์ถึงปัญหาและสิ่งที่ดีจากการทำนาข้าว จนเกิดชมรมสื่อแห่งปัญญาพัฒนายั่งยืนมีเกษตรกรเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการได้นำผลจากการวิจัยมาทอลองทำนาอินทรีย์จำนวน 2 ไร่ มีสมาชิกจำนวน 5 คนเข้าร่วม โดยทำนาใช้พันธุ์ข้าวพื้นบ้านมาเปรียบเทียบ มีการเก็บข้อมูลและสังเกตการใช้ปุ๋ย ซึ่งมีการทำปุ๋ยและน้ำหมักอินทรีย์ใช้เองในอัตรา 200 กิโลกรัมต่อ 2 ไร่ เมื่อเปรียบเทียบผลผลิตข้าวที่ได้กับแปลงนาที่ใช้ปุ๋ยและสารเคมี ปรากฏว่ามีผลผลิตข้าวเท่ากันประมาณ 500 กิโลกรัมต่อไร่ แต่การทำนาอินทรีย์สามารถลดต้นทุนในการผลิตลงได้เป็นอย่างมาก

จนในปีพ.ศ. 2550 ทางกลุ่มเกษตรกรทำนาอินทรีย์ได้ร่วมกับวิทยาลัยชุมชน จังหวัดพัทลุงร่วมกันทำนาข้าวอินทรีย์ทั้งระบบจำนวน 18 ไร่ ปลูกข้าวพันธุ์พื้นบ้าน ได้แก่ ข้าวสังหยด ข้าวเหนียวดำ และข้าวเล็บนก ตั้งแต่การเตรีมพื้นที่นาทำพิธีกรรมตามวัฒนธรรมท้องถิ่นมีการทำพิธีเบิกนา และยังร่วมกันพัฒนาสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมกับนาข้าวอินทรีย์ที่นำมาใช้สำหรับนาข้าว 18 ไร่ จนนำไปสู่การอบรมการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ให้แก่คนในชุมชนและเยาวชนจำนวน 2 รุ่น มีกลุ่มเยาวชนเข้ามาเรียนรู้การทำนาอินทรีย์ทั้งระบบ ก่อนการเก็บเกี่ยวมีการทำพิธีขวัญข้าวเป็นพื้นที่ให้คนในชุมชนมาเรียนรู้ในแปลงนาข้าวร่วมกัน จนชาวบ้านนำไปขยายผลสู่ชาวบ้านในชุมชนที่ไม่ได้เข้าร่วมทำนาอินทรีย์ทดลอง รวมกลุ่มกันจำนวน 30 คน ลงหุ้นจำนวน 100 หุ้น ไปหาวัสดุมาทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้กันเองในนาข้าวและสวนยาง และมีการนัดวันกันทำปุ่ยอย่างต่อเนื่อง

ปีพ.ศ. 2552 ทางศูนย์วิจัยข้าว จังหวัดพัทลุง เล้งเห็นถึงความพยายามการปรับเปลี่ยนและประสบการณ์ของกลุ่มเกษตรกรทำนาอินทรีย์โดยใช้พันธุ์ข้าวท้องถิ่น จึงสนับสนุนให้กลุ่มไปทำแปลงเม็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน พร้อมกันจัดทำโครงการสนับสนุนในระดับจังหวัดให้จัดสร้างโรงปุ๋ยอินทรีย์ มีสมาชิกจำนวน 5 คนเข้ามาบริหาร สนับสนุนการศึกษาดูงานและอบรมการทำนาอินทรีย์ และลงตรวจแปลงนาอินทรีย์ โดยกรมส่งเสริมวิชาการเกษตร กระทั่งในปีพ.ศ. 2553 กลุ่มได้รับการสนับสนุน โครงการลดมลพิษทำนาปลอดภัยจาก สสส. (ทำต่อเนื่อง 3 ปี)  โดยการทำนาข้าวอินทรีย์ปล่อยปลาในนาข้าวเพื่อกำกัดวัชพืชและดูแลระบบนิเวศนาข้าว จนทำเป็นหลักสูตรของกลุ่ม มีการขยายผลทำปุ๋ยหมักอินทรีย์สูจรของชาวบ้านร่วมกับวิทยาลัยชุมชนจังหวัดพัทลุง และกรมพัฒนาชุมชน วิเคราะห์ทางเลือกทดลองหลายสูตรจนได้สูตรของกลุ่มที่ลงตัวเหมาะสมกับนาข้าวอินทรีย์ยกระดับเป็นการทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด มีการร่วมกับทางอนามัยตรวจเลือดหาสารเคมีตกค้างจากคนในชุมชนพบว่ามีทั้งเสี่ยงและปลอดภัย มีการทำกิจกรรมชวนน้องลงนาให้เรียนรู้ระบบการทำนาอินทรีย์ มีสมาชิกทำนาอินทรียืเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 20 ราย ทำนาอินทรีย์จำนวน 20 ไร่ ปัจจุบันกลุ่มมีสมาชิกเข้ามาเรียนรู้จำนวน 150 คน และสมาชิกจำนวน 12 คนได้รับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์และสมาชิกจำนวน 10กว่ารายได้รับรองมาตรฐานผักอินทรีย์ จากการเปลี่ยนแปลงของสมาชิกทำนาข้าวอินทรีย์จำนวน 12 ราย เกษตรกรมีการพึ่งพาตนเองได้มีรายได้เพิ่มจากการทำนาข้าวอินทรีย์ เกษตรกรสามารถกำหนดราคาข้าวได้เองผู้บริโภคมีความพึงพอใจ มีสุขภาพโดยรวมที่ดีขึ้น จนสมาชิกสามารถไปเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้การทำนาข้าวอินทรีย์ได้

จากในปีพ.ศ. 2555 ความรู้ประสบการณ์ของกลุ่มเป็นที่จักยอมรับการทำนาอินทรีย์ การถ่ายทอดไปสู่กลุ่มสนใจอื่นๆ และเป็นที่เรียนรู้ของคนทั้งในชุมชนและนอกชุมชน รวมทั้งหน่วยงานของรัฐ  ทางกลุ่มจึงได้รับการสนับสนุนจากกรมการข้าว ให้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ในชื่อ วิชชาลัยรวงข้าว จังหวัดพัทลุง ขึ้นเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม และยังร่วมกับ สปก.จังหวัดพัทลุง ทำหลักสูตรเกษตรกรรมทางเลือกอบรมให้ความรู้เกษตรกรจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช ตรัง และกระบี่ เข้ามาเรียนรู้การทำนาระบบอินทรีย์ เรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน เรียนรู้จากการปฏิบัติลงแปลงจริง แล้วมาแลกเปลี่ยนวิเคราะห์ร่วมกัน จนแต่ละกลุ่มไปขยายแนวคิดต่อจัดตั้งทำเป็นโรงเรียนชาวนาขึ้นในพื้นที่ ในปัจจุบันวิชชาลัยรวงข้าว จังหวัดพัทลุง ยังเป็นแหล่งศึกษาดูงาน ให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่สนใจ หน่วยงานภาครัฐ และนักศึกษามาอย่างต่อเนื่อง

โดยทางกลุ่มยังมีการแบ่งงานความรับผิดชอบให้สมาชิกเข้ามาร่วมกันทำงานใช้ปรัชญาในการดำเนินงาน คือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ได้มีโครงสร้างการดำเนินงานที่ประกอบไปด้วย คือ

  • วิชชาลัยรวงข้าว ศูนย์ผลิตข้าวอินทรีย์ครบวงจร
  • แปลงวิจัยพัฒนาข้าวพื้นบ้าน
  • กลุ่มออมทรัพย์
  • สวัสดิการชุมชน
  • กองทุนเพื่อการเกษตรยั่งยืน
  • กลุ่มข้าวอินทรีย์ วิถีพนางตุง
  • กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ บ้านท่าช้าง
  • กลุ่มผักเป็นยา
  • กลุ่มเยาวชน
  • วิสาหกิจชุมชนชมรมสื่อแห่งปัญญาพัฒนาเกษตรยั่งยืน

 

ความสำเร็จพึงพอใจ

  • วิชชาลัยรวงข้าว เป็นแหล่งศูนย์การเรียนรู้ข้าวอินทรีย์ครบวงจร
  • การรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มเพื่อการต่อยอกพัฒนางานเกษตรอินทรีย์และข้าวอินทรีย์
  • วิชชาลัยรวงข้าวจัดกระบวนการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงในแปลง เป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนเด็กในโรงเรียนท้องถิ่น และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย
  • หน่วยงานภาครัฐและคนภายนอกให้การยอมรับ และขยายผลบอกต่อ จนทำให้กลุ่มเติบโตขึ้น
  • คนในชุมชนมีข้าวบริโภคที่ปลอดภัน มีสุขภาพที่ดีขึ้นและสิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น

 

ปัญหาที่เกิดขึ้น

  • สมาชิกผลิตข้าวอินทรีย์ได้เยอะขายได้น้อยกว่าเดิม และกลุ่มยังขาดช่องทางการตลาดในการระบายผลิตข้าวของสมาชิก
  • การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว ทั้งสบู่ น้ำมันรำข้าว สมาชิกยังขาดความรู้และการเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูปข้าว

 

เป้าหมายการดำเนินงานต่อ

  • การยกระดับเพิ่มมูลค่าจากข้าวแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวให้สามารถดูแลสมาชิกได้
  • การตลาดระบายผลผลิตข้าวอินทรีย์และสินค้าแปรรูปของกลุ่ม
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้ได้รับ อย. และมาตรฐาน
  • การปรับปรุงสถานที่ผลิตแปรรูปของกลุ่มให้มีคุณภาพ
  • ส่งเสริมขยายเกษตรกรในชุมชนให้ปรับเปลี่ยนมาทำนาข้าวอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น และขยายเครือข่ายการทำนาข้าวอินทรีย์
  • ให้บ้านท่าช้างเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยทั้งข้าวอินทรีย์และผักอินทรีย์
  • รณรงค์ให้ความรู้วิถีเกษตรอินทรีย์และการอนุรักษ์ แก่ชุมชนท่าช้าง ชุมชนชายคลอง ชุมชนมะกอกใต้ และชุมชนทะเลน้อย
  • พัฒนาเยาวชนคนเก่งสืบสานการทำนาภูมิปัญญาภาคใต้
  • สนับสนุนส่งเสริมให้คนรุ่นหลังเข้ามาเรียนรู้และเชื่อมโยงการทำงานต่อของวิชชาลัยรวงข้าว

 

วิชชาลัยรวงข้าว จังหวัดพัทลุง มีการนำปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานของกลุ่ม จนประสบความสำเร็จจากการรวมกลุ่มทดลองทำด้วยตนเอง มีความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จนสามารถนำมาเป็นประสบการณ์บทเรียนที่สามารถถ่ายทอดให้กับผู้อื่นขยายผลไปอย่างกว้างขวาง และยังสามารถสร้างสุขให้กับชุมชนอยู่อย่างยั่งยืน

[1] คณะกรรมการวิชาลัยรวงข้าว จังหวัดพัทลุง วันที่ 30 ตุลาคม 2559

[2] รูปปกจาก http://www.sathai.org/autopagev4/show_page.php?topic_id=1357&auto_id=34&TopicPk=