โปรแกรมฐานข้อมูลชุมชนและประชาสังคม Local Database Management (LDM)

Table of Contents

โปรแกรมที่ใช้บันทึกข้อมูล ประมวลข้อมูล เผยแพร่ และเก็บศึกษาฐานข้อมูลให้อยู่ในระบบออนไลน์ โดยผู้ใช้งานเป็นเจ้าของฐานข้อมูล และโปรแกรมนี้ถูกใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานของภาคประชาสังคม และภาคชุมชน ให้มีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง

https://www.csdi.or.th/database-community/ 

ฐานข้อมูลองค์กรชุมชนที่อยู่ในระบบ LDM

no. หมวดหมู่ ชื่อฐานข้อมูล หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1 ประชาธิปไตยชุมชน สภาองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
2 เศรษฐกิจฐานราก รักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
3 เศรษฐกิจฐานราก กลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP (5 ดาว) กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
4 เศรษฐกิจฐานราก วิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
5 เศรษฐกิจฐานราก กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
6 เศรษฐกิจฐานราก สถาบันการเงินชุมชน กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
7 เศรษฐกิจฐานราก ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ธนาคารการเกษตรเพื่อสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
8 เศรษฐกิจฐานราก หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
9 เศรษฐกิจฐานราก กลุ่มอาชีพสังกัดสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
10 สวัสดิการชุมชน องค์กรสวัสดิการชุมชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
11 สวัสดิการชุมชน องค์กรสาธารณประโยชน์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
12 สวัสดิการชุมชน ศูนย์อินเตอร์เน็ตชุมชน (USO NET) กลุ่มงานบริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึงและเพื่อสังคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
13 สวัสดิการชุมชน สวัสดิการชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
14 สิ่งแวดล้อม ป่าชุมชน กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมขาติและสิ่งแวดล้อม
15 สิ่งแวดล้อม รางวัลลูกโลกสีเขียว สถาบันลูกโลกสีเขียว มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
16 สุขภาวะชุมชน กองทุนสุขภาพตำบล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
17 สุขภาวะชุมชน ตำบลจัดการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทยต้นแบบ กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุข
18 สุขภาวะชุมชน ตำบลสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ความหมายของหมวดหมู่ของฐานข้อมูล LDM.in.th

  1. เศรษฐกิจฐานราก

เศรษฐกิจฐานราก คือ ระบบเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น ที่สามารถพึ่งตนเอง มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน มีคุณธรรม และเป็นระบบเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาด้านอื่นๆ ในพื้นที่ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ผู้คน ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ระบบเศรษฐกิจฐานรากเป็นระบบเศรษฐกิจแนวราบที่ส่งผลและสร้างความสัมพันธ์ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างผู้คนในชุมชนท้องถิ่น มิใช่เป็นเฉพาะเศรษฐกิจแนวดิงแบบปัจเจกแต่สามารถทำให้เกิดความร่วมมือ เกิดโอกาส และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเศรษฐกิจร่วมของชุมชนกับเศรษฐกิจของปัจเจก เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีลักษณะความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนสร้างความสัมพันธ์ทั้งในชุมชนท้องถิ่นและในระดับที่กว้างขวางอื่นภายนอก

ข้อมูลองค์กรชุมชนที่มีลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP, วิสาหกิจชุมชน, สถาบันการเงินชุมชน, ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ของ ธกส., โครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง ของมูลนิธิพลังยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด เป็นต้น

  1. สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมสิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตตลอดจนสิ่งที่เป็นทั้งที่ให้คุณและให้โทษ

ประเภทของสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1) สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural environment) สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า อากาศ ดิน น้ำ มนุษย์ สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมอื่นประกอบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย

– สิ่งที่มีชีวิต (Biotic Environment) หรือเรียกว่าสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environment) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีคุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งที่มีชีวิต เช่น พืช สัตว์ มนุษย์

– สิ่งที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) หรือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ อาจจะมองเห็นหรือมอง ไม่เห็น เช่น แร่ธาตุ อากาศ เสียง

2) สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Made Environment) ได้จากทรัพยากรดั้งเดิม แล้วมนุษย์เป็นผู้ดัดแปลงเช่น ถนน บ้านเมือง ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมเป็นนามธรรม (Abstract หรือ Social Environment) เช่น วัฒนธรรม ประเพณี การเมือง ศาสนา กฎหมาย

ข้อมูลองค์กรชุมชนที่อยู่ในหมวดสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ป่าชุมชน, โครงการลูกโลกสีเขียว ของสถาบันลูกโลกสีเขียว เป็นต้น

  1. ประชาธิปไตยชุมชน

ชุมชนคืออะไร? ชุมชนไม่ใช่หมู่บ้าน เพราะหมู่บ้านจำนวนมาก เช่น หมู่บ้านจัดสรรในเมืองใหญ่ ก็ไม่ได้มีความเป็นชุมชน แต่หมายถึงกลุ่มความสัมพันธ์ที่ผู้คนร่วมกันถักทอขึ้นมาผ่านจุดร่วมบางประการ เช่น ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม แบบแผนการผลิต ถิ่นที่อยู่สายเลือด หรือความคุ้นเคย โดยความสัมพันธ์เหล่านี้ถูกยึดเหนี่ยวไว้ด้วยพันธะความไว้วางใจและการดูแลซึ่งกันและกัน ฟังแล้วคล้ายระบบอุปถัมภ์ แต่ต่างตรงที่เขาดูแลกันในฐานะ ‘เพื่อนร่วมชะตากรรม’ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ต่างตอบแทน

ประชาธิปไตยชุมชน คือ การกระจายอำนาจการตัดสินใจทางนโยบายให้แก่หน่วยย่อย เช่น ชุมชน แนวคิดที่ได้ยินกันบ่อยๆ คือเรื่อง ‘สิทธิชุมชน’ ซึ่งหมายถึงสิทธิรวมหมู่ที่ให้คนในชุมชนเป็นเจ้าของร่วมกัน มีเนื้อหาครอบคลุมทั้งสิทธิในที่ดินทำมาหากิน สิทธิในการดูแลและใช้ประโยชน์จากทรัพยากร สิทธิในการธำรงภูมิปัญญาในการใช้ทรัพยากรตามวิถีทางของตน สิทธิในการได้รับการรับรองด้านการปกครองจากรัฐ และสิทธิในการปกป้องวัฒนธรรม

ข้อมูลองค์กรชุมชนที่อยู่ในหมวดประชาธิปไตยชุมชน ได้แก่ สภาองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เป็นต้น

  1. สวัสดิการชุมชน

สวัสดิการชุมชน คือ การสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นคงของคนในชุมชน ซึ่งหมายรวมถึงทุกอย่างที่จะทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งในรูปชองสิ่งของ เงินทุน น้ำใจ การช่วยเหลือเกื้อกูล เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นระบบการช่วยเหลือของคนในท้องท้องถิ่นที่มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ก่อให้เกิดรายได้ลดรายจ่าย นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน

ข้อมูลองค์กรชุมชนที่อยู่ในหมวดสวัสดิการชุมชน ได้แก่ องค์กรสวัสดิการชุมชน, องค์กรสาธารณประโยชน์, สวัสดิการชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน), ศูนย์อินเตอร์เน็ตชุมชน (USO NET) เป็นต้น

  1. สุขภาวะชุมชน

สุขภาวะชุมชน คือ การที่คนในชุมชนมีสุขภาพที่แข็งแรง สุขภาพจิตที่สมบูรณ์ มีชีวิตที่ยั่งยืน (กฎหมายกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ ปีพ.ศ.2544) เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ หมายความว่าต้องทำให้ชุมชนมีสุขภาวะทั้งหายทั้งใจ โดยให้สังคมทั่วไปมีสุขภาวะ โดยพูดไปถึงว่า ต้องเข้าไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสังคมนั้น สภาพแวดล้อมเพื่อให้ทุกอย่างเอื้ออำนวย การที่จะทำให้เกิดชุมชนสุขภาวะ คือ เราจะต้องปรับเปลี่ยนสังคมนั้น สิ่งแวดล้อมนั้น เป็นสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวย เพื่อเปลี่ยนให้เป็นสุขภาวะ

ข้อมูลองค์กรชุมชนที่อยู่ในหมวดสุขภาวะชุมชน ได้แก่ กองทุนสุขภาพตำบล, ตำบลจัดการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทยต้นแบบ, ตำบลสุขภาวะ เป็นต้น

ความหมายและคำจำกัดความของฐานข้อมูลในระบบ LDM.in.th

1. สภาองค์กรชุมชน

ความเป็นมาของพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน

ชุมชน เป็นสังคมฐานรากที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์การพัฒนาประเทศที่ผ่านมา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ชุมชนอ่อนแอ ประสบความยากจน เกิดปัญหาสังคม กระนั้นก็ดี ชุมชนมีการใช้ทุนทางสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา เพื่อการดำรงอยู่ ตลอดจนมีการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ

นอกจากนี้ยังจะนำไปสู่การสร้างระบบประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลให้ชุมชนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น ตามความหลากหลายของวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่น เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากเหตุการณ์ดังกล่าว จึงนำไปสู่ความคิดของการมีกฎหมายเพื่อรองรับการเกิดเวทีปรึกษาหารือของชุมชนที่มีสถานะที่ชัดเจนเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เป็นกฎหมายส่งเสริมไม่บังคับชุมชน สามารถดำเนินการเมื่อเกิดความพร้อมและเห็นพ้องต้องกัน รวมทั้งการคงความเป็นอิสระและความร่วมมือต่อกันของการทำงานในท้องถิ่น โดยในการดำเนินงานให้เกิด พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนมีลำดับความเป็นมา ดังนี้

1. ที่มา พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนปัจจุบัน มีพื้นที่ตำบลที่องค์กรชุมชน แกนนำธรรมชาติ ปราชญ์ชาวบ้าน แกนนำที่เป็นทางการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. และสถาบันในท้องถิ่น (วัด โรงเรียน สถานีอนามัย) ได้มีการทำงานพัฒนาด้านต่างๆ เช่น การทำแผนชุมชน การจัดสวัสดิการ การจัดกาทรัพยากรสิ่งแวดล้อม การจัดการทุนของชุมชน จัดให้มีสภาผู้นำชุมชน ฯลฯ มีเวทีแลกเปลี่ยนร่วมกันคิด ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ นำไปสู่การสร้างเป้าหมายร่วมกันของพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจากการทำงานในแนวทางดังกล่าว ได้ช่วยให้เกิดการจัดการตนเองร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น โดยที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เกิดความสัมพันธ์อันดีภายในชุมชนท้องถิ่น

จากการที่ชุมชนท้องถิ่นได้ร่วมกันจัดการตนเองตามแนวทางดังกล่าว และทำให้เกิดความเข้มแข็งส่งผลดีต่อชุมชนท้องถิ่นโดยรวม แกนนำชุมชนที่มีประสบการณ์ และคนทำงานพัฒนา จึงได้ร่วมกันยกร่าง พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชนขึ้นมา เพื่อให้มี พ.ร.บ. ที่จะช่วยหนุนเสริม สร้างการยอมรับการทำงานร่วมกันแบบสภาองค์กรชุมชน ทำให้กรณีตัวอย่างดี ๆ ที่ทำมาแล้วขยายออกไปพื้นที่อื่น พื้นที่ที่สนใจ และพร้อมจะร่วมกันสร้างสภาองค์กรชุมชน ที่ถือเป็นระบบประชาธิปไตยทางตรงจากฐานรากได้ร่วมกันทำเรื่องนี้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

2. กระบวนการร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนในปี 2549 เครือข่ายองค์กรชุมชนร่วมกับวิทยาลัยการจัดการทางสังคม จัดสรุปบทเรียน”ประชาธิปไตยชุมชน…การเมืองสมานฉันท์” และจัดเวทีสังคมสนทนา “การเมืองสมานฉันท์ สร้างสรรค์ชุมชนท้องถิ่น” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นได้มีการจัดเวทีระดมความคิดเห็นในระดับภูมิภาคทั้ง 8 ภาคเพื่อพัฒนาข้อเสนอของภาคประชาชนต่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง โดยสาระหลักเป็นการปรับเปลี่ยนกลไกการบริหารโดยกระจายอำนาจไปที่ชุมชนท้องถิ่น ให้มีอิสระในการจัดการตนเอง พร้อมกับพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อนำพาชุมชนและท้องถิ่นไปสู่การพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง จากนั้นในเดือน พ.ย.49 ผู้แทนองค์กรชุมชนทั่วประเทศจำนวน 200 คน ได้เข้าพบและนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชนต่อนายกรัฐมนตรี (พลเอกสุรยุทธ์ จุลลานนท์) ณ ทำเนียบรัฐบาล ต่อด้วยการยกร่างหลักคิดและเนื้อหาสาระ พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชน และได้จัดเวทีระดมความเห็นผู้นำชุมชนสี่ภาค และเกิดคณะทำงานเครือข่ายองค์กรชุมชนที่จะร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องนี้ ซึ่งภายหลังได้จัดตั้งเป็นสมัชชาองค์กรชุมชนแห่งประเทศไทย ( สอท.)

ต่อมาได้มีการจัดเวทีระดมความเห็นเกี่ยวกับร่างทั้งส่วนกลางและภูมิภาค 10 เวที สรุปเป็นร่าง พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นเสนอต่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในเดือนมีนาคม 2550 และในเดือนเมษายน ได้เสนอต่อคณะอนุกรรมาธิการความมั่นคงของมนุษย์ (ครูชบ ยอดแก้วเป็นประธาน และครูมุกดา อินต๊ะสารเป็นรองประธาน) ในคณะกรรมาธิการกิจการเด็กฯ สภานิติบัญญัติ (สนช.) ซึ่งครูหยุย (วัลลภ ตังคณานุรักษ์) เป็นประธาน ในช่วงเดือนเดียวกันก็ได้มีการสัมมนาเปิดภาพการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีเครือข่ายชุมชนจากทั่วประเทศเข้าร่วมกว่า 1,800 คน โดยรองนายกรัฐมนตรีไพบูลย์ วัฒนศิริธรรมและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ (นพ.พลเดช ปิ่นประทีป) เข้าร่วมเวที ซึ่งสรุปผลการสัมมนาเครือข่ายจะปฏิบัติการนำร่องสภาองค์กรชุมชน 200 ตำบล และจะผลักดันให้ พ.ร.บ. ผ่านในรัฐบาลชุดนี้ แต่หลังจากที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เสนอร่าง พ.ร.บ. เข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรี (5 มิถุนายน 2550) ปรากฏว่าใน

คณะรัฐมนตรีมีความเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่สนับสนุนแต่บางส่วนคัดค้าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา จากความเห็นที่มีทั้งการสนับสนุนและการคัดค้าน ทำให้สื่อมวลชนทำข่าวเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

ในช่วงเดือน มิถุนายน-สิงหาคม 2550 สถาบันวิชาการทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคมีการจัดเวทีระดมความเห็นเรื่องนี้อย่างกว้างขวางในส่วนของเครือข่ายชุมชนจึงได้ไปทำงานร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการความมั่นคงของมนุษย์ ในคณะกรรมาธิการกิจการเด็กฯ สภานิติบัญญัติ ซึ่งประธานสภานิติบัญญัติ (นายมีชัย ฤชุพันธ์) ได้มาช่วยซักถามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และปรับร่าง พ.ร.บ. จนสามารถเสนอ สนช. ได้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2550 โดยรองนายกไพบูลย์ฯ ไปรับร่างจาก สนช. จากนั้นกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ได้จัดระดมความเห็นหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับร่างที่จะเสนอโดยรัฐบาล (23 สิงหาคม 2550) แต่เมื่อยังมีผู้คัดค้านนายกรัฐมนตรีจึงเห็นสมควรให้ออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีไปก่อน โดยรัฐบาลไม่ได้ส่งร่างพ.ร.บ.ประกบร่างพ.ร.บ.ฉบับที่เสนอโดย สนช.เหมือนกฎหมายฉบับอื่น ๆ

ในส่วนของคณะกรรมาธิการกิจการเด็กฯ สนช. ก็ได้จัดสัมมนารับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้อง (27 สิงหาคม 2550) จากนั้นครูมุกดา อินต๊ะสาร ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน ให้ที่ประชุม สนช.พิจารณารับหลักการเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2550 ซึ่งได้มีผู้อภิปรายสนับสนุนสิบท่านคัดค้าน 1 ท่าน ที่ประชุมมีมติเห็นด้วย 61 เสียง ไม่เห็นด้วย 31 เสียง และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 22 ท่าน ไปพิจารณารายละเอียด ซึ่งในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2550 คณะกรรมาธิการวิสามัญโดยนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เป็นประธาน ได้พิจารณาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง 11 ครั้ง และนำเสนอ สนช. พิจารณาวาระที่สองและลงมติวาระที่สามในวันที่ 28 พ.ย. 50 ซึงที่ประชุม สนช. มีมติเห็นสมควรให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายอย่างเอกฉันท์ 83 เสียง

เพื่อให้การจดแจ้งการจัดตั้งชุมชนและการจดแจ้งการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 เป็นไปโดยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ เกิดผลลัพธ์ตาม เจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ สร้างระบบประชาธิปไตย และระบบธรรมาภิบาลสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จึงได้จัดทำ ประกาศฯ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ แบบการจดแจ้งการจัดตั้งชุมชนและการจดแจ้งการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551

2.      รักษ์ป่า สร้างคน ๘๔ ตำบล วิถีพอเพียง

โครงการรักษ์ป่า สร้างคน ๘๔ ตำบล วิถีพอเพียง เป็นโครงการที่บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้ดำเนินการให้มีขึ้นเพื่อเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในปี 2550 ปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการน้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ ให้เป็นรูปธรรมในตำบลต่าง ๆ โดยมีเป้าหมาย 84 ตำบลทั่วประเทศ เพื่อน้อมเกล้าถวายในปี 2554 ในวโรกาสที่จะทรงเจริญพระชนมายุครบ 7 รอบ หรือ 84 พรรษา ที่สำคัญ โครงการนี้เป็นการสานต่อจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิม พระเกียรติ ฯ 1 ล้านไร่ ที่ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี 2545 ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับในการดูแลรักษาป่าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาที่จิตใจของชุมชนให้ รักษ์ป่าและพัฒนาตนเองได้อย่างเข้มแข็งภายใต้วิถีพอเพียง อีกทั้งเป็นการสานต่อจากบทเรียนในการดำเนินงานโครงการรางวัลลูกโลกสีเขียวร่วมกับเครือข่ายสังคมชุมชน ในการเฟ้นหาคนดี ที่ดูแลสิ่งแวดล้อมดูแลดิน น้ำ ป่า ด้วยการมอบรางวัลเพื่อให้เป็นกำลังใจ

วัตถุประสงค์โครงการ
1.  เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2554 ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 7 รอบ หรือ 84 พรรษา
2.  เพื่อน้อมนำกระแสพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นหลักปฏิบัติให้แก่ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมครอบคลุมในทุกด้าน เกิดผลเป็นต้นกล้า
3.  ต้นแบบของชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
4.  เพื่อดำเนินโครงการต่อเนื่องจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ของ ปตท. มาสู่การพัฒนาคน  พัฒนาชุมชนใน 84 ตำบล  ทุกภูมิภาคทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการให้เป็นชุมชนต้นแบบที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจพลังงานสังคม  ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  ทั้งยังสามารถขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ ต่อไป
5.  เพื่อป้องกันพลังสร้างสรรค์ในการพัฒนาสังคมไทยให้เติบโตอย่างมั่นคง ยังยืน อยู่รอดได้ในทุกสถานการณ์  แม้ว่าจะเกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจในอนาคต

84 ตำบลมาจากไหน
การคัดเลือกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.  จากหมู่บ้าน ปตท. เครือข่ายรางวัลลูกโลกสีเขียวชุมชนใกล้หน่วยงาน ปตท. และกลุ่ม ปตท. เครือข่ายประชาสังคม  สวทช. ฯลฯ
2.  เปิดรับสมัครด้วยความสมัครใจของแต่ละตำบลโดยต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการที่ปรึกษาที่ ปตท. จัดตั้งขึ้น  โดยแต่ละตำบลที่เข้าร่วมโครงการต้องมีหมู่บ้านมากกว่าร้อยละ 50 พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมหรือมีผู้นำชุมชนที่พร้อมจะเข้าร่วม  หรือมีชุมชนสนับสนุนและมีปัจจัยเงื่อนไขที่เหมาะสมตามที่กำหนด

หลักในการดำเนินงาน
การขับเคลื่อนการทำงานตลอดทั้งโครงการ  ต้องยึดหลักการร่วมกันดังนี้
1.  น้อมนำพระราชดำริ “ปรัชญาพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติ
2.  ดำเนินงานด้วยความต้องการของชาวบ้านและชุมชนเป็นหลัก
3.  การมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  ทุกขั้นตอน
4.  ไม่เน้นเงินนำหน้า   เน้นสร้างความรู้ให้เกิดในชุมชนและยั่งยืน
5.  สรุปเป็นองค์ความรู้ของชุมชนร่วมกับ กลุ่ม ปตท. และเครือข่าย

เป้าหมายของโครงการ
ปตท. และกลุ่มภาคีเครือข่ายได้ศึกษาเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ กับชุมชนเพื่อกำหนดเป็นเป้าหมายและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้ทุกขั้นตอนสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกัน  โดยได้เป้าหมายร่วมกัน 8 เป้าหมาย เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง

เป้าหมายของ 84 ตำบลเศรษฐกิจพอเพียง

3.      กลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP (5 ดาว)

การดำเนินงานโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย (OTOP  Product  Champion : OPC)  เป็นโครงการตามนโยบายการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และการจัดระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (1 – 5 ดาว) ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ นำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดแผนการส่งเสริมและพัฒนาได้อย่างเหมาะสม  โดยใน ปี พ.ศ. 2559 คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ(กอ.นตผ)  มีมติการประชุมคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ   เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย  โดยกรมการพัฒนาชุมชนดำเนินการโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2559 (OTOP Product Champion : OPC)

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อจัดระดับผลิตภัณฑ์ (Product Level) ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development)
  2. เพื่อจัดระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ (Profile) ที่จะใช้ในการทำงานเชิงบูรณาการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  3. เพื่อเสริมสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไป จนสามารถใช้เป็นแหล่งสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน
  4. เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ผลิต/ผู้ประกอบการOTOP และชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

 กรอบการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย

  1. สามารถส่งออกได้ (Exportable) โดยมีความแกร่งของตราผลิตภัณฑ์ (Brand Equity)
  2. ผลิตอย่างต่อเนื่องและคุณภาพคงเดิม (Continuous & Consistant)
  3. ความมีมาตรฐาน(Standardization) โดยมีคุณภาพ (Quality) และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า (Satisfaction)
  4. มีประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ (Story of Product)

การจัดระดับผลิตภัณฑ์

การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ.2559 ผลการดำเนินการคัดสรรฯ จัดระดับผลิตภัณฑ์ มีระดับเดียว คือ ระดับประเทศเท่านั้น โดยใช้หลักเกณฑ์เฉพาะแต่ละประเภทผลิตภัณฑ์ (Specific Criteria) ซึ่งกำหนดคะแนนรวมไว้ 100 คะแนน ประกอบด้วย หลักเกณฑ์ในการพิจารณา 3 ด้าน คือ หลักเกณฑ์ด้านผลิตภัณฑ์และความเข้มแข็งของชุมชน หลักเกณฑ์ด้านการตลาดและความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ และหลักเกณฑ์ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะนำมากำหนดกรอบในการจัดระดับผลิตภัณฑ์ (Product Level) ออกเป็น 5 ระดับ ตามค่าคะแนน ดังนี้

  1. 1. ระดับ 5 ดาว (ได้คะแนนตั้งแต่ 90 -100 คะแนน) เป็นสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน หรือมีศักยภาพในการส่งออก
  2. 2. ระดับ 4 ดาว (ได้คะแนนตั้งแต่ 80 – 89 คะแนน) เป็นสินค้าที่มีศักยภาพ เป็นที่ยอมรับระดับประเทศ และสามารถพัฒนาสู่สากล
  3. 3. ระดับ 3 ดาว (ได้คะแนนตั้งแต่ 70 – 79 คะแนน) เป็นสินค้าที่มีคุณภาพระดับกลางที่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 4 ดาวได้
  4. 4. ระดับ 2 ดาว (ได้คะแนนตั้งแต่ 50 – 69 คะแนน) เป็นสินค้าที่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 3 ดาว มีการประเมินศักยภาพเป็นระยะ
  5. 5. ระดับ 1 ดาว (ได้คะแนนต่ำกว่า 50 คะแนน) เป็นสินค้าที่ไม่สามารถพัฒนาสู่ระดับ 2 ดาวได้ เนื่องจากมีจุดอ่อนมาก และพัฒนายาก

4.      วิสาหกิจชุมชน

            วิสาหกิจชุมชน (Community enterprise) หมายถึง กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า    การให้บริการหรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใด หรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน

ความหมายของวิสาหกิจชุมชนโดยสรุป คือ การประกอบการเพื่อการจัดการ “ทุนของชุมชน” อย่างสร้างสรรค์เพื่อการพึ่งตนเอง

ทุนของชุมชน” ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงเงิน แต่รวมถึงทรัพยากร ผลผลิต ความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม (กฎเกณฑ์ทางสังคมที่ร้อยรัดผู้คนให้อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เป็นพี่เป็นน้องไว้ใจกัน)

ลักษณะสำคัญของวิสาหกิจชุมชน  มีองค์ประกอบอย่างน้อย 7 ประการ

  1. ชุมชนเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการ
  2. ผลผลิตมาจากกระบวนการในชุมชน โดยใช้วัตถุดิบ ทรัพยากร ทุน
    แรงงานในชุมชน เป็นหลัก
  3. ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน
  4. เป็นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานภูมิปัญญาสากล
  5. มีการดำเนินการแบบบูรณาการ เชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
  6. มีกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจ
  7. มีการพึ่งพาตนเองของครอบครัวและชุมชนเป็นเป้าหมาย เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน หมายถึง คณะบุคคลที่รวมตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน ของวิสาหกิจชุมชนในเครือข่าย

พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

ความเป็นมา
ในชุมชนมีการรวมตัวกันเพื่อประกอบธุรกิจในระดับรากหญ้าอยู่มากมาย ซึ่งเป็นธุรกิจที่ยังมีขนาดไม่ถึงวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SME) หรือสหกรณ์ แต่เป็นธุรกิจที่สามารถช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศได้ในระดับหนึ่ง ธุรกิจในระดับนี้ยังมีปัญหาที่ประสบอยู่ คือ
– ไม่เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานรัฐหรือเอกชนอื่น ๆ เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับ
– การสนับสนุนจากภาครัฐไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริง เนื่องจากข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย และความต้องการไม่ชัดเจน รัฐบาลจึงกำหนดให้มีการออกกฎหมายรองรับการประกอบการ

หลักการ
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งจำนวนหนึ่งอยู่ในระดับที่ไม่พร้อมจะเข้ามาแข่งขันทางการค้า ให้ได้รับการส่งเสริมความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างรายได้ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การพัฒนาความสามารถในการจัดการ และพัฒนารูปแบบของวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ประกอบการของหน่วยธุรกิจที่สูงขึ้น

การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

กฎหมายกำหนดให้มีการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนอย่างครบวงจรระดับปฐมภูมิ ส่งเสริมการจัดตั้ง การให้ความรู้ การศึกษาวิจัย ในการนำทุนชุมชนมาใช้เหมาะสม การร่วมมือกันในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ระดับสูงขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การรักษาคุณภาพ การศึกษาวิจัยเทคโนโลยีและการตลาด การสร้างความเชื่อถือทางธุรกิจ และความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค การประสานงานแหล่งเงินทุน เพื่อให้สามารถเป็นผู้ประกอบการหรือพัฒนาไปสู่การประกอบธุรกิจขนาดย่อม และขนาดกลาง ต่อไป

การส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน รัฐจะให้การสนับสนุนการจัดตั้งการประกอบการ การตลาด ความสัมพันธ์และความร่วมมือกันระหว่างเครือข่าย หรือภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอื่น เพื่อขยายและสร้างความมั่นคงให้แก่กิจการวิสาหกิจชุมชน

กฎหมายกำหนดให้มีการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนอย่างครบวงจรระดับปฐมภูมิ ส่งเสริมการจัดตั้ง     การให้ความรู้ การศึกษาวิจัย ในการนำทุนชุมชนมาใช้เหมาะสม การร่วมมือกันในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ระดับสูงขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การรักษาคุณภาพ การศึกษาวิจัยเทคโนโลยีและการตลาด การสร้างความเชื่อถือทางธุรกิจ และความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค การประสานงานแหล่งเงินทุน เพื่อให้สามารถเป็นผู้ประกอบการหรือพัฒนาไปสู่การประกอบธุรกิจขนาดย่อม และขนาดกลาง ต่อไป

การส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน รัฐจะให้การสนับสนุนการจัดตั้งการประกอบการ การตลาด ความสัมพันธ์และความร่วมมือกันระหว่างเครือข่าย หรือภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอื่น เพื่อขยายและสร้างความมั่นคงให้แก่กิจการวิสาหกิจชุมชน

1.การรวมตัวกันของเกษตรกรในการประกอบธุรกิจในระดับชุมชน มีความมั่นคง ได้รับการรับรองตามกฎหมาย

2.การส่งเสริมความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาความสามารถในการจัดการ ตรงตามความต้องการที่แท้จริง

3.ระบบเศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ มีความพร้อมที่จะพัฒนาสำหรับการแข่งขันทางการค้าในอนาคต

5.      กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

จากกระบวนทัศน์ใหม่ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และความต่อเนื่องของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 กับปรัชญาของนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในการเสริมสร้างสำนึกความเป็นชุมชนและท้องถิ่น โดยชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคต และจัดการหมู่บ้านและชุมชนด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาของตนเอง และเกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้านและชุมชน เสริมสร้างการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน ราชการ เอกชน และประชาสังคม รวมถึงการกระจายอำนาจ ให้ท้องถิ่นและเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยพื้นฐาน และวัตถุประสงค์การจัดตั้งกองทุน 1 ล้านบาท เป็นแหล่ง เงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง สำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้หรือ เพิ่มรายได้ การลดรายจ่าย   การบรรเทาเหตุฉุกเฉินและจำเป็นเร่งด่วนและสำหรับการนำไปสู่การสร้างกองทุน สวัสดิการที่ดีแก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีขีดความสามารถในการจัดระบบการบริหารจัดการเงินทุนของตนเอง เสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในด้านการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่ม เพื่อการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านและชุมชนเมือง กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากของประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต และเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง

สำหรับในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 เป็นการมุ่งเสริมให้สังคมไทยอยู่เย็นเป็นสุข ด้วยวิธีปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนที่เข้มแข็งจึงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนา โดยที่ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาจะช่วยสนับสนุน ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถจัดกิจกรรมที่เป็นองค์ความรวม มีกระบวนการเรียนรู้ และการจัดการความรู้ร่วมกันของคนในชุมชนในรูปแบบที่หลากหลายตามภูมิสังคมด้วยทุนทางทรัพยากร และศักยภาพของชุมชน มีการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเองอย่างพอเพียง พึ่งพาตนเองได้ มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทั้งภายในและภายนอกชุมชน บนพื้นฐานการเคารพ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยสรุปได้เป็น 3 แนวทางหลัก

  1. 1. การบริหารจัดการกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง
  2. 2. การสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชน
  3. 3. การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการอยู่ร่วมกันกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสันติและเกื้อกูลกัน

 ปรัชญาของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

  • เสริมสร้างสำนึกความเป็นชุมชนและท้องถิ่น
  • ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคต และจัดการหมู่บ้านและชุมชนด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาของตนเอง
  • เกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้านและชุมชน
  • เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน ราชการ เอกชนและประชาสังคม
  • กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น และพัฒนาประชาธิปไตยพื้นฐาน

วัตถุประสงค์กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน สำหรับการลงทุน
• พัฒนาอาชีพ สร้างงาน
• สร้างรายได้ หรือ เพิ่มรายได้
• ลดรายจ่าย
• บรรเทาเหตุฉุกเฉิน และจำเป็นเร่งด่วน

2) ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีขีดความสามารถ
• จัดระบบเงินกองทุน
• บริหารจัดการเงินกองทุน

3) เสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตัวเองของหมู่บ้านและชุมชนเมือง
• การเรียนรู้
• การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่ม
• เสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง

4) กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก
• เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

5) เกิดศักยภาพ / ความเข้มแข็งของประชาชนในหมู่บ้าน / ชุมชนเมือง
• เศรษฐกิจ
• สังคม

วิสัยทัศน์ 
       “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นศูนย์กลาง และโครงข่ายการเรียนรู้
เงินทุน สวัสดิภาพ สวัสดิการ  และการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านและชุมชน พึ่งพาตนเอง
อย่างยั่งยืน ครัวเรือนสมาชิกมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง อบอุ่น  เข้มแข็งสู่การเป็นภูมิคุ้มกัน
ทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม”

พันธกิจ
1. สร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมฐานราก ด้วยความเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืนของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเพื่อเป็นกลไก ศูนย์กลาง และโครงข่ายการเรียนรู้ เงินทุน สวัสดิภาพ สวัสดิการ และการแก้ไขปัญหา

  1. 2.พัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือน และหมู่บ้านชุมชนไปสู่ระบบเศรษฐกิจแลสังคมของชาติ ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ยุทธศาสตร์

“เสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม และพัฒนาศักยภาพตนเอง ของกองทุน
ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

 ภายใต้ยุทธศาสตร์/แผนงบประมาณ

 ยุทธศาสตร์  : การแก้ไขความยากจน กระจายความเจริญสู่ชนบท และลดช่องว่างของรายได้
 แผนงบประมาณ: สนับสนุนการดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

6.      สถาบันการเงินชุมชน

การก่อเกิด

กรมพัฒนาชุมชน ส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่มีความเข้มแข็ง เป็นแกนหลักเชื่อมโยงกลุ่ม/องค์กร/กองทุนการเงิน ร่วมกันบริการจัดการกองทุน นำไปสู่การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

นิยาม

การรวมตัวของกลุ่ม/องค์กร/กองทุนการเงิน ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งที่จัดตั้งโดยภาคประชาชนและการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยการบูรณาการข้อมูลกองทุนชุมชนในพื้นที่ และบูรณาการเชื่อมโยงการบริหารจัดการเงินทุนในชุมชนให้สามารถใช้เงินทุนในชุมชนอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินและบริหารจัดการชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สถาบันการเงินชุมชน หมายถึง สถาบันการเงินของชุมชนที่จัดตั้งขึ้นโดยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อให้บริการทางการเงินที่สามารถตอบสนองความต้องการแก่ประชาชนในชุมชนซึ่งขาดโอกาสในการเข้าถึง และใช้บริการทางการเงินของสถาบันการเงินทั่วไป ตามวัตถุประสงค์หลักเกณฑ์ มาตรฐาน และรูปแบบ ซึ่งคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด

วัตถุประสงค์ของสถาบันการเงินชุมชน

  1. แหล่งเก็บออมเงินที่มีความมั่นคง ปลอดภัย และมีผลตอบแทนที่เหมาะสม
  2. แหล่งเงินทุน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและบรรเทาความเดือดร้อนทั้งในระดับบุคคล

ครัวเรือน และชุมชน

  1. เสริมสร้างสวัสดิการ และสวัสดิภาพของชุมชน
  2. เสริมสร้างวินัยทางการเงิน และให้คำปรึกษาทางการเงินแก่ชุมชน
  3. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ร่วมกับในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน

ความหลากหลาย

กองทุนชุมชนในหมู่บ้านตำบล

– กองทุนที่เกิดจากความร่วมมือของประชาชน ดำเนินการก่อตั้ง โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ เอกชนและประชาชน

– กองทุนที่เกิดจากการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐและเอกชน หรือ ภาคีการพัฒนาอื่น ๆ

กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ จึงกำหนดนโยบายสนับสนุนให้หมู่บ้าน/ชุมชน มีการจัดตั้งกลุ่ม/องค์กร/กองทุนการเงินเพื่อชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้ดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เรียนรู้การบริหารจัดการชุมชนร่วมกันจนสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยตนเอง นำไปสู่การการพัฒนาชุมชนเพื่อการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุน กข.คจ. กลุ่มอาชีพ กลุ่มผู้ใช้น้ำ องค์กรสตรี ฯลฯ และยังต้องสนับสนุนการดำเนินงานกองทุน ที่จัดตั้งตามนโยบายของรัฐ เช่น กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ. ) กองทุน SML ฯลฯ

สถาบันการจัดการเงินชุมชน   หมายถึง เป็นการรวมตัวของกลุ่ม องค์กร กองทุนการเงิน ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งที่จัดตั้งโดยภาคประชาชนและสนับสนุนจากภาครัฐ โดยการบูรณาการข้อมูลกองทุนชุมชนในพื้นที่และบูรณาการเชื่อมโยงการบริหารจัดการเงินทุนในชุมชน ให้สามารถใช้เงินทุนในชุมชนอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินและบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าหมาย  

เพื่อให้หมู่บ้าน/ชุมชน มีการบริหารจัดการกองทุนชุมชนและเงินทุนในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักในการดำเนินงาน คือ การบริหารจัดการหนี้ไปสู่ 1 ครัวเรือน 1 สัญญา

วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมการบูรณาการกลุ่ม องค์กร กองทุนการเงิน ให้มีการเชื่อมโยงการบริหารจัดการเงินทุนชุมชนให้เป็นระบบ มีความเป็นเอกภาพ สามารถแก้ไขปัญหาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้กับชุมชนอย่างแท้จริง

บทบาทหน้าที่

  1. 1. แก้ไขปัญหาหนี้สิน โดยการบริหารจัดการหนี้ครัวเรือนไปสู่ 1 ครัวเรือน 1 สัญญา
  2. 2. เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการบริหารจัดการเงินทุนในชุมชนให้เป็นระบบ และสามารถใช้เงินทุนในชุมชนอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกและชุมชน
  3. เป็นศูนย์กลางในการบูรณาการข้อมูลกองทุนชุมชนในหมู่บ้าน/ชุมชน

ประโยชน์ของการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน (ประชาชน/ชุมชนได้ประโยชน์อะไร)

  1. 1. กลุ่ม/องค์กร/กองทุนการเงิน มีการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพ คือ ร่วมกันบริจาคการเงินชุมชนอย่างเป็นระบบ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ป้องกันการสูญหายของเงินในชุมชน
  2. 2. แก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน ลดภาระหนี้สินของครัวเรือน โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน และเป็นการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนมีเงินทุนเพียงพอสำหรับการประกอบอาชีพ โดยไม่ต้องกู้ยืมกองทุน/หลายสัญญา (1 ครัวเรือน 1 สัญญา)

รูปแบบการดำเนินงาน สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน

  1. 1. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นแกนหลักในการจัดตั้ง
  2. 2. สมาชิก คือ กลุ่ม/องค์กรการเงินในชุมชน/หมู่บ้าน
  3. 3. คณะกรรมการสถาบันฯ จำนวน คณะ จากตัวแทนกลุ่ม/ผู้นำ/ผู้ทรงคุณวุฒิ (ร่วมกันบริหาร)
  4. 4. ระเบียบข้อบังคับสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน (ระเบียบกลางใช้ร่วมกัน)
  5. 5. บริหารจัดการหนี้ 1 ครัวเรือน 1 สัญญา

สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจัดตั้งขึ้นโดยมีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นแกนหลักในการจัดตั้ง ซึ่งกลุ่มออมทรัพย์ฯ ยังคงอยู่ และดำเนินกิจกรรมของกลุ่มตามปกติ ไม่มีการนำเงินทุนทั้งหมดของกลุ่มออมทรัพย์ฯ ไปรวมกับสถาบันการจัดการเงินทุน

7.      ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง

คณะกรรมการ ธ.ก.ส.มีมติเห็นชอบให้ดำเนินงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรไทย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นระบบต่อเนื่อง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2558 – 2560 งบประมาณปีละ 200 ล้านบาท รวม 600 ล้านบาท โดยเน้นพัฒนาเชื่อมโยงองค์ความรู้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่ง ใช้คนและชุมชนเป็นศูนย์กลางผ่านชุมชนต้นแบบและศูนย์เรียนรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม ประกอบด้วย 5 แผนงานหลัก คือ

แผนงานที่ 1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

แผนงานที่ 2 การพัฒนาต้นแบบเกษตรกรทันสมัย

แผนงานที่ 3 การพัฒนาต้นกล้าทายาทเกษตรกรมืออาชีพ

แผนงานที่ 4 การพัฒนาสหกรณ์ต้นแบบ และ

แผนงานที่ 5 การพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจชุมชน

สำหรับโครงการดังกล่าวจะบูรณาการความร่วมมือของภาคีโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคเกษตรไทยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่ประสบความสำเร็จสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วย ชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 8,000 ชุมชน ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส. 315 แห่ง เกษตรกรคนเก่ง ครูเกษตรกร และเกษตรกรทันสมัย 3,000 คน ทายาทเกษตรกร 600 คน สหกรณ์การเกษตร (สกก.) 1,034 แห่ง และสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด (สกต.) 77 แห่ง

โครงการดังกล่าว ประกอบด้วย 5 แผนงานหลัก คือ
แผนงานที่ 1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน พัฒนาเกษตรกรโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ พัฒนายกระดับตามบันได 3 ขั้น  คือ ขั้นที่ 1 การพึ่งพาตนเอง เรียนรู้การดำรงชีวิตที่มีความมั่นคงในระดับครัวเรือน ใช้บัญชีครัวเรือนเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ตนเอง นำไปสู่การเปลี่ยนกรอบความคิดและสมการชีวิตใหม่ ลดละเลิกอบายมุข เสริมสร้างอาชีพ ขั้นที่ 2 การพึ่งพาซึ่งกันและกัน เสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม โดยร่วมคิดร่วมกันวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับประโยชน์ก่อเกิดเป็นธุรกิจ ใช้แผนแม่บทชุมชนเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ ขั้นที่ 3 สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจชุมชน ขยายผลต่อยอดความร่วมมือระหว่างชุมชนทางด้านการผลิต การรวบรวม การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า การตลาด ใช้แผนธุรกิจชุมชนเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการชุมชน ซึ่ง ธ.ก.ส.มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนชุมชนให้เกิดการ  พัฒนาขั้นที่ 3 แล้ว จำนวน 6,000 ชุมชน สร้างเครือข่ายเรียนรู้ไปยังชุมชนข้างเคียงอย่างน้อยชุมชนต้นแบบ ละ 5 แห่ง นอกจากนั้นยังพัฒนาศูนย์เรียนรู้ นำร่อง 9 แห่งและขยายผลเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส. 84 แห่ง เพื่อเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เกษตรกรตามภูมิสังคม รวมกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักกปร.) จัดทำมาตรฐานกระบวนการศูนย์เรียนรู้ฯ ได้แก่ ผู้นำ แผนชุมชน การมีส่วนร่วม การประเมินผล การจัดการความรู้ การเน้นบุคลากร และฐานเรียนรู้เพื่อขยายผลไปสู่ไปสู่ศูนย์เรียนรู้ใน 3 มิติ มิติทางสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป้าหมายศูนย์เรียนรู้ทั้งหมด 315 แห่ง โดยใช้งบประมาณ 405 ล้านบาท
แผนงานที่ 2 การพัฒนาต้นแบบเกษตรกรทันสมัย (Smart Farmer) เพื่อสร้างต้นแบบเกษตรกรทันสมัยที่มีความสามารถในการพัฒนาอาชีพเกษตร การใช้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ให้เกิดประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม ขยายผลไปสู่เกษตรกรรายอื่น ๆ เป้าหมาย 3 ปี ปีละ 1,000 คน รวม 3,000 คน โดยใช้งบประมาณ รวม 30 ล้านบาท

แผนงานที่ 3 การพัฒนาต้นกล้าทายาทเกษตรกรมืออาชีพ โดยรับสมัครทายาทเกษตรกรที่สมัครใจ นำมาพัฒนาด้วยการปรับเปลี่ยนทัศนคติ การสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบอาชีพการเกษตร ฝึกปฏิบัติจริง ร่วมกับสถาบันการศึกษา จัดทำแผนธุรกิจ ลงมือปฏิบัติในแปลงเกษตรของตนเอง และสรุปผลการเรียนรู้ รวม 3 ปี ปีละ 200 คน รวมทั้งสิ้น 600 คน โดยใช้งบประมาณ 30 ล้านบาท
แผนงานที่ 4 การพัฒนาสหกรณ์ต้นแบบ พัฒนาสหกรณ์การเกษตร (สกก.) และสหกรณ์การตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) ให้สามารถทำหน้าที่ในการรวบรวมแปรรูป การตลาด ตลอดจนธุรกิจเครดิตให้สมาชิกเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการพัฒนา 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1สหกรณ์พึ่งตนเอง บริหารจัดการพึ่งตนเอง สามารถรักษาสถานการณ์ดำเนินงานที่มั่นคงมีผลประกอบการดี  ขั้นที่ 2 สหกรณ์การพัฒนา เป็นการพัฒนาสหกรณ์ให้สามารถดำเนินธุรกิจขาย เสริมสร้างความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของสมาชิกกับสหกรณ์อย่างสม่ำเสมอ ขั้นที่ 3 สหกรณ์ต้นแบบ เป็นสหกรณ์ที่สามารถบริหารการดำเนินธุรกิจ ได้ครบ 4 ด้าน ธุรกิจเครดิต ธุรกิจซื้อ ธุรกิจขาย และธุรกิจบริการ อย่างมีมาตรฐานบนพื้นฐานของหลักสหกรณ์ที่ดี สามารถเป็นต้นแบบให้สหกรณ์อื่น ๆ ได้ รวมทั้งสิ้น 1,111 แห่ง  โดยใช้งบประมาณ 75 ล้านบาท

และแผนงานที่ 5 การพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจชุมชน เป็นการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้นำ เกษตรกรคนเก่ง ครูเกษตรกร และวิทยากรฐานเรียนรู้ในศูนย์เรียนรู้ฯ คัดเลือกไปศึกษาดูงานในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ เช่นญี่ปุ่น ไต้หวัน สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐเกาหลี  เป้าหมาย ปีละ 200 คน รวม 600 คน โดยใช้งบประมาณ 60 ล้านบาท
การจัดทำโครงการดังกล่าว จะบูรณาการความร่วมมือของภาคีโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคเกษตรไทยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดย  มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่ประสบความสำเร็จในสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วย ชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 8,000 ชุมชน  ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส. จำนวน 315 แห่ง เกษตรกรคนเก่ง ครูเกษตรกร และเกษตรกรทันสมัย จำนวน 3,000 คน ทายาทเกษตรกร จำนวน 600 คน  สหกรณ์การเกษตร (สกก.) จำนวน 1,034 แห่ง และสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาด (สกต.) จำนวน 77 แห่ง ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าว จะประสานการทำงานร่วมกับเครือข่ายภาคีพัฒนา ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย สำนักงานขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กระทรวงมหาดไทย สถาบันการศึกษา สภาเกษตรกรแห่งชาติ และมูลนิธิอาจารย์จำเนียร สาระนาค (มจส.)

8.      หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

 

ความเป็นมาของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

ภารกิจกรมการพัฒนาชุมชน ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกระทรวงมหาดไทย  กรมการพัฒนาชุมชนมีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมความรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยสนับสนุนให้มีการจัดทำและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย จัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน ตลอดจนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดหน้าที่ ประการหนึ่งในการพัฒนาระบบและกลไกในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การอาชีพ การออมและการบริหารจัดการเงินทุนของชุมชนเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ ของชุมชน ผู้นำชุมชน องค์การชุมชนและเครือข่ายองค์การชุมชน บริหารจัดการให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
จากภารกิจข้างต้น กระทรวงมหาดไทยจึงไว้วางใจมอบหมายภารกิจให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากกระบวนการพัฒนาชุมชนมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือปฏิบัติงานตามหลัก ความพอประมาณ ความมีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ด้วยการใช้ความรู้ ความชอบธรรมและคุณธรรม ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองบนความพอเพียง โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกกรมและรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะกรมการปกครอง และกรมส่งเสริมการปกครอง

กรอบแนวคิด แนวคิดในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
            จากภารกิจของกรมฯ และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงมหาไทย กรมฯ จึงได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาขยายผลในกระบวนการทำงาน โดยการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยเกณฑ์ประเมิน6ด้าน คือ ลดรายจ่าย(ทำสวนครัว ปลอดอบายมุข) เพิ่มรายได้(มีอาชีพ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม) ประหยัด(มีการออม มีกลุ่มออมทรัพย์ฯ) การเรียนรู้(สืบทอดภูมิปัญญา มีการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม(ใช้วัตถุดิบในชุมชนประกอบอาชีพ ปลูกต้นไม้) เอื้ออารีต่อกัน(ช่วยเหลือคนจน รู้รัก สามัคคี) ต่อมา กรมการพัฒนาชุมชน ได้ขยายผลการทำงานสู่ความยั่งยืน โดยทำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นต้นแบบ มีศักยภาพ 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด คือ
ด้านจิตใจและสังคม(สามัคคี มีข้อตกลงข้อมูลหมู่บ้าน มีกองทุน ยึดหลักประชาธิปไตย มีคุณธรรม/จริยธรรม ชุมชนปลอดอบายมุข
ด้านเศรษฐกิจ(จัดทำบัญชีครัวเรือน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ รวมกลุ่มพัฒนาอาชีพ การออมมีกลุ่มในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน)
ด้านการเรียนรู้(มีและใช้ข้อมูลชุมชน ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างคุณค่า มีศูนย์เรียนรู้ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับหมู่บ้าน สร้างเครือข่ายการพัฒนา
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ฯ มีกลุ่ม/องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม มีการใช้พลังงานทดแทนและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
แบ่งศักยภาพการพัฒนาหมู่บ้าน เป็น 3 ระดับ คือ
ระดับ “พออยู่” เป็นต้นแบบในการใช้ชีวิตพึ่งตนเอง เน้นการปฏิบัติทำกิน ทำใช้ในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และมีการออม
ระดับ “อยู่ดี กินดี” เป็นต้นแบบในการบริหารจัดการพัฒนาในรูปกลุ่ม การพัฒนารายได้ด้วยระบบกลุ่ม เพื่อเพิ่มรายได้และขยายโอกาสคนในชุมชน
ระดับ “มั่งมี ศรีสุข” เป็นต้นแบบการบริหารการพัฒนาในรูปแบบองค์กรเครือข่าย เพื่อใช้ศักยภาพในการดำเนินการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เพื่อขยายโอกาสในการประกอดอาชีพและส่งเสริมการจัดสวัสดิการในกับคนในหมู่บ้านชุมชน
*** ทั้ง 3 ระดับนี้ สามารถพัฒนาไปได้ทั้งในระดับของตนเอง หรือพัฒนาเป็นระดับ หรือ ขั้นต่อกันไป

การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยกรมการพัฒนาชุมชน

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัส ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต แก่พสกนิกรชาวไทย มาโดยตลอดเวลานานกว่า 30 ปี ในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ได้ทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแส โลกาภิวัฒน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือปฏิบัติตามหลัก ความพอประมาณ ความมีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ด้วยการใช้ความรู้ ความชอบธรรมและคุณธรรม ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองบนความพอเพียง

ตั้งแต่ปี 2549 กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาขยายผลในกระบวนการทำงาน เป็นระยะ ดังนี้

ระยะแรก ปี 2549-2551 ดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยเกณฑ์ประเมิน 6 ด้าน คือ

  • ด้านการลดรายจ่าย (ทำสวนครัว ปลอดอบายมุข)
  • ด้านการเพิ่มรายได้ (มีอาชีพสุจริต ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม)
  • ด้านการประหยัด (มีการออม มีกลุ่มออมทรัพย์ฯ)
  • ด้านการเรียนรู้ (สืบทอดภูมปัญญา มีการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง)
  • ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ใช้วัตถุดิบในชุมชนประกอบอาชีพ ปลูกต้นไม้)
  • ด้านการเอื้ออารีต่อกัน (ช่วยเหลือคนจน รู้รัก สามัคคี)

ระยะต่อมา ตั้งแต่ปี 2552-ปัจจุบัน ได้ขยายผลการทำงานสู่ความยั่งยืนโดย พัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็น หมู่บ้านต้นแบบ มีศักยภาพ 4 ด้าน 32 ตัวชี้วัด คือ

ด้านจิตใจและสังคม (สามัคคี มีข้อตกลงข้อมูลหมู่บ้าน มีกองทุน ยึดหลักประชาธิปไตย มีคุณธรรม/จริยธรรม ชุมชนปลอดอบายมุข) 7 ตัวชี้วัด

ด้านเศรษฐกิจ (จัดทำบัญชีครัวเรือน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ รวมกลุ่มพัฒนาอาชีพ มีการออมมีกลุ่มในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน) 5 ตัวชี้วัด

ด้านการเรียนรู้ (มีและใช้ข้อมูลชุมชน ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างคุณค่า มีศูนย์เรียนรู้ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับหมู่บ้าน สร้างเครือข่ายการพัฒนา) 7 ตัวชี้วัด

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ฯ มีกลุ่ม/องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม มีการใช้พลังงานทดแทนและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)         4 ตัวชี้วัด

กรมการพัฒนาชุมชน ได้เลือก หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ที่ถูกจัดระดับด้วยเกณฑ์ชี้วัดของกระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด มาพัฒนาเป็น หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ในแต่ละระดับ   ด้วยกระบวนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ตามขั้นตอนในแต่ละระดับ ดังนี้

ระดับ “พออยู่ พอกิน” ผ่านเกณฑ์ จำนวน 10-16 ตัวชี้วัด เป็นต้นแบบการใช้ชีวิตพึ่งตนเอง ทำกิน ทำใช้ในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และมีการออม ด้ายกิจกรรม ดังนี้

  1. ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (ครัวเรือนพัฒนา)
  2. ครัวเรือนพัฒนาจัดทำแผนชีวิต นำเข้าสู่เวทีการทบทวนแผนชุมชน
  3. ครัวเรือนพัฒนาปฏิบัติกิจกรรมตามแผนชีวิต
  4. เพิ่มพูนทักษะการดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามศักยภาพและความสนใจ
  5. จัดเวทีสรุปผลการพัฒนาครอบครัว ในภาพรวม ส่งเสริมความเป็นครัวเรือนต้นแบบ จัดทำเป็นเอกสารองค์ความรู้ เพื่อเผยแพร่ขยายผล
  6. ประเมินความสุขมวลรวมของชุมชน (GVH)

ระดับ “อยู่ดี กินดี” ผ่านเกณฑ์ จำนวน 17-22 ตัวชี้วัด เป็นต้นแบบในการบริหารจัดการพัฒนาในรูปกลุ่ม เพื่อเพิ่มรายได้และขยายโอกาสให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วยกิจกรรม ดังนี้

  1. ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (กลุ่มต่างๆ)
  2. ปรับปรุง/ทบทวนแผนพัฒนากลุ่ม และบรรจุไว้ในแผนชุมชน
  3. ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนพัฒนากลุ่ม
  4. เพิ่มพูนทักษะการบริหารจัดการกลุ่ม
  5. จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานของกลุ่มในภาพรวม ส่งเสริมความเป็นครัวเรือนต้นแบบ จัดทำเป็นเอกสารองค์ความรู้ เพื่อเผยแพร่ขยายผล
  6. ประเมินความสุขมวลรวมของชุมชน (GVH)

ระดับ “มั่งมี ศรีสุข” ต้องผ่านตัวชี้วัด ครบทั้ง 4 ด้าน 32 ตัวชี้วัด เป็นต้นแบบการบริหารการพัฒนาในแบบองค์กรเครือข่าย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยในหมู่บ้าน ด้วยกิจกรรม ดังนี้

  1. ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (กลุ่มต่างๆ)
  2. ปรับปรุง/ทบทวนแผนพัฒนากลุ่ม และบรรจุไว้ในแผนชุมชน
  3. ปฏิบัติกิจกรรมตามแผนพัฒนากลุ่ม
  4. เพิ่มพูนทักษะการบริหารจัดการกลุ่ม
  5. จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานของกลุ่มในภาพรวม ส่งเสริมความเป็นกลุ่มต้นแบบ จัดทำเป็นเอกสารองค์ความรู้ เพื่อเผยแพร่ขยายผล
  6. ประเมินความสุขมวลรวมของชุมชน (GVH)

การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จึงเป็นการนำหมู่บ้านที่มีความพร้อม มีผล

การปฏิบัติ ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อให้เป็นสถานที่เรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ สำหรับหมู่บ้านอื่นๆ ที่ยังไม่ได้เริ่มต้นในการพัฒนาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

การแยกประเภทหมู่บ้านเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย “พออยู่ พอกิน” “อยู่ดี กินดี” และ มั่งมี ศรีสุข” เพื่อใช้เป็นต้นแบบการเรียนรู้ ให้กับหมู่บ้านที่มีพื้นฐาน หรือสถานการณ์ของหมู่บ้านใกล้เคียงกัน สามารถเรียนรู้ เลียนแบบได้ โดยไม่ต้องใช้ความความรู้ความชำนาญ ที่แตกต่างกันมาก

การจัดกิจกรรมในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ส่งผลในภาพรวม ดังนี้

  1. พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน บทบาทของผู้นำ ให้เป็น แกนนำ หรือหัวเรี่ยวหัวแรงหลัก ในการนำประชาชนในหมู่บ้าน ให้ลุกขึ้นทำ กิจกรรม เพื่อจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
  2. ส่งเสริม สนับสนุนให้ครัวเรือน นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน มีการจัดทำ บัญชีครัวเรือน จัดทำ แผนชีวิต โดยมี ครอบครัวพัฒนา เป็นต้นแบบ ขยายผล การปฏิบัติสู่ครัวเรือนข้างเคียง
  3. ส่งเสริมให้ผู้นำ จัด กระบวนการจัดทำแผนชุมชน สร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคิด ตัดสินใจ กำหนดเป้าหมายการทำงานโดยคนในชุมชนเอง ผลักดันและสร้างความรับผิดชอบให้เกิดกับคนในชุมชน ในการบริหารจัดการกิจกรรม ตามแผนการพัฒนา ซึ่งสามารถบูรณาการกิจกรรมต่างๆ จากทุกหน่วยงานโดยมี แผนชุมชนเป็นเครื่องกำกับการพัฒนา
  4. เมื่อได้ดำเนินการมีประสบการณ์ มีความรู้ จึงจัดทำเป็นชุดความรู้ มี หลักสูตรสำหรับการถ่ายทอดความรู้ จัดเป็น แหล่งเรียนรู้ หรือ ศูนย์เรียนรู้ เพื่อการขยายผลในฐานะหมู่บ้านต้นแบบต่อไป
  5. ผลการจัดโครงการ กิจกรรมต่างๆ นอกจากจะจัดขึ้นเพื่อการป้องกัน แก้ปัญหา อนุรักษ์ เพิ่มมูลค่าให้กับชุมชนแล้ว ยังสามารถสร้างความรู้สึกที่ดี ความพึงพอใจ ความสุขซึ่งสามารถวัดได้ ด้วยการประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข” หรือ ความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน (Gross Village Happiness : GVH)
  6. การจัดโครงการ กิจกรรมต่างๆ สามารถสร้างภาวะผู้นำ ทักษะการจัดการ สร้างและพัฒนากลุ่มต่างๆ ในชุมชน ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
  7. การทำงานในหมู่บ้านด้วยคน คณะเดียว/กลุ่มเดียว อาจเกิดข้อจำกัดในการปฏิบัติ เช่น ขาดทรัพยากร ความรู้ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญยังไม่มาก ต้องอาศัยผู้ที่มีประสบการณ์ ความชำนาญหรือแม้กระทั่งการพึ่งพา แลกเปลี่ยนทรัพยากรจากภายนอก ซึ่งสามารถสร้างความสัมพันธ์เป็นเครือข่ายระหว่างกันทั้งกับหน่วยงาน/องค์กร/หมู่บ้านอื่นๆ เป็นการยกระดับการทำงานที่กว้างออกไป และทำงานที่ยากและท้าทายเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้นได้ เพราะมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

 

9.      กลุ่มอาชีพสังกัดสหกรณ์

*ที่มา : http://web.cpd.go.th

“สหกรณ์” (Cooperatives)
สหกรณ์ คือ “องค์การของบรรดาบุคคล” ซึ่งรวมกลุ่มกันโดยสมัครใจในการดำเนินวิสาหกิจที่พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุมตามหลักประชาธิปไตย เพื่อสนองความต้องการ (อันจำเป็น) และความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม”

“สหกรณ์” ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542  หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542

ดังนั้น สหกรณ์จึงตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่แก้ปัญหาในด้านการทำมาหากินที่เหมือน หรือคล้ายๆ กัน หรือความต้องการบริการที่เหมือนกันและเป็นปัญหาที่สมาชิกแต่ละคนไม่สามารถแก้เองได้ตามลำพัง หรือตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินการ ให้สมาชิกได้รับประโยชน์ในการประกอบอาชีพของตนมากกว่าที่แต่ละคนเคยได้จากการดำเนินกิจการเองตามลำพัง

สถานภาพสหกรณ์

  • สหกรณ์เกิดขึ้นได้ เมื่อมีการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ต่อนายทะเบียนสหกรณ์ หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น
  • เมื่อจดทะเบียนแล้ว สหกรณ์มีสถานภาพเป็น “นิติบุคคล”
  • สหกรณ์เป็นนิติบุคคลในภาคเอกชน ไม่สังกัดส่วนราชการใดๆ

ทำไมต้องมีการจัดตั้งสหกรณ์

  • สหกรณ์เป็นที่รวมของผู้มีปัญหาคล้ายๆ กัน คนที่รู้ปัญหาดี คือ ตัวผู้มีปัญหานั่นเอง ฉะนั้น การแก้ปัญหาได้ดีที่สุดก็ คือ การรวมคนที่มีปัญหานั้นมาช่วยกันแก้ไข
  • สหกรณ์เป็นองค์การที่มีกฎหมายรองรับ เป็นนิติบุคคลที่ถาวร เป็นอิสระ มีส่วนราชการเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนตามความจำเป็น
  • สหกรณ์มีวิธีการแบ่งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นโดยธรรม เป็นแบบของสหกรณ์โดยเฉพาะ มีลักษณะที่สมาชิกเป็นเจ้าของ และผู้ใช้บริการในขณะเดียวกัน
  • ประโยชน์ที่จะได้รับจากสหกรณ์มีดังต่อไปนี้
  • การรวมกันเป็นสหกรณ์ ทำให้มีผลในการต่อรองทั้งในด้านการซื้อและการขายสินค้า ที่สมาชิกผลิตได้ และฝึกคนให้รู้จักการพึ่งตนเอง
  • ทำให้ชุมชนมีความสามัคคี ปรองดอง อันจะนำความเจริญมาสู่ประเทศชาติได้ สหกรณ์ส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการอยู่ร่วมกันโดยสันติ การสหกรณ์เป็นวิธีการที่อุ้มชูผู้ที่ยากจนให้มีฐานะดีขึ้น โดยมิได้ทำลายคนมั่งมี จึงมีลักษณะเป็นสันตินิยมหรือส่งเสริมสันติภาพ
  • สหกรณ์เป็นแหล่งจัดหาเงินทุนมาให้สมาชิกกู้ยืมไปลงทุนในการประกอบอาชีพหลัก
  • สหกรณ์ช่วยส่งเสริมความรู้ด้านการประกอบอาชีพแก่สมาชิก เช่น แนะนำให้สมาชิกรู้จักพัฒนาการผลิตด้วยวิธีการเกษตรสมัยใหม่ จำหน่ายผลผลิตให้ได้ในราคาสูงขึ้น เป็นต้น
  • ส่งเสริมความเสมอภาคกันและเป็นประชาธิปไตย โดยให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ในการออก เสียงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการสหกรณ์
  • สหกรณ์ฝึกคนให้มีความรู้ ประสบการณ์ รู้จักการประหยัดทรัพย์และสนับสนุนด้านเงิน ทุน การผลิต ควบคุมการใช้เงินทุนให้เป็นไปตามแผน รวมกันซื้อปัจจัยการผลิตและรวมกันขายผลิตผล ทำให้คนในชุมชนนั้นๆ มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  • การดำเนินงานของสหกรณ์

สหกรณ์ดำเนินกิจการภายใต้กรอบแห่งกฎหมายทั้งปวง แต่ต้องไม่ขัดกับข้อบังคับสหกรณ์และพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 ซึ่งกำหนดให้สหกรณ์มีอำนาจกระทำการตามวัตถุประสงค์ ดังนี้

  • ดำเนินธุรกิจการผลิต การค้า การบริการ และอุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์ของสมาชิก
  • รับฝากเงินประเภทออมทรัพย์ หรือประเภทประจำจากสมาชิก หรือสหกรณ์อื่นได้ตามระเบียบสหกรณ์
  • จัดให้ได้มา หรือจำหน่ายไป ซึ่งกรรมสิทธิ์ หรือทรัพยสิทธิในทรัพย์สินโดยหลักแห่งนิติกรรมและสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  • ให้กู้ ให้สินเชื่อ ให้ยืม ให้เช่า ให้เช่าซื้อ รับจำนอง หรือรับจำนำ ซึ่งทรัพย์สินแก่สมาชิก หรือของสมาชิก
  • ให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงินได้ตามระเบียบของสหกรณ์
  • ให้สวัสดิการหรือการสงเคราะห์แก่สมาชิกและครอบครัว
  • ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่สมาชิก
  • ขอหรือรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากทางราชการ หน่วยงานของต่างประเทศ หรือบุคคลอื่น
  • ดำเนินการอย่างอื่นที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์

โครงสร้างของสหกรณ์
          สหกรณ์ตั้งอยู่บนรากฐานของประชาธิปไตย สมาชิกทุกคนเป็นเจ้าของสหกรณ์ แต่ทุกคนไม่สามารถร่วมบริหารกิจการของสหกรณ์ได้ จึงต้องมีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้บริหารงานแทน ซึ่งตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 กำหนดให้มีคณะกรรมการดำเนินการไม่เกิน 15 คน มีอำนาจหน้าที่ เป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนสหกรณ์ในกิจการทั้งปวง

เพื่อให้กิจการสหกรณ์ดำเนินการอย่างกว้างขวาง และให้บริการแก่สมาชิกอย่างทั่วถึง คณะกรรมการดำเนินการควรจัดจ้างผู้จัดการที่มีความรู้ความสามารถมาดำเนินธุรกิจแทน และผู้จัดการ อาจจัดจ้างเจ้าหน้าที่โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อช่วยเหลือกิจการสหกรณ์ด้านต่างๆ ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงปริมาณธุรกิจและการประหยัดเป็นสำคัญ

สิทธิพิเศษของสหกรณ์

  • สหกรณ์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน สำหรับการได้มา การจำหน่าย การยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ หรือการยึดหน่วง ซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวเนื่องอสังหาริมทรัพย์
  • สหกรณ์ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • เอกสารที่สหกรณ์ทำขึ้นบางอย่างได้รับการยกเว้นไม่เสียค่าอากรแสตมป์

ปัจจัยที่จำเป็นสำหรับสหกรณ์

ปัจจัยจำเป็นที่จะทำให้สหกรณ์ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน คือ

1. ผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์และกรรมการดำเนินการ ต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในหลักการสหกรณ์สหกรณ์เป็นการรวมคน ดังนั้นคนที่มารวมกันจำเป็นต้องเข้าใจถึงความมุ่งหมาย ในการรวมกัน รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ รวมทั้งหลักและวิธีการสหกรณ์จึงจะทำให้ดำเนินกิจการได้โดยราบรื่น มีความมั่นคงและเข้มแข็ง สามารถอำนวยประโยชน์ให้สมาชิกได้สมความมุ่งหมาย ดังนั้น ควรอบรมให้บุคคลที่จะมารวมกันตั้งสหกรณ์รู้เรื่องดังกล่าวด้วย

2. ทุนดำเนินงานสหกรณ์ ทุนดำเนินงานได้มาจากค่าหุ้น เงินรับฝาก เงินกู้ยืม เงินช่วย เหลือจากบุคคลอื่นๆ และกำไรที่สะสมไว้ ผู้ริเริ่มตั้งสหกรณ์จึงควรประมาณการไว้ว่าจะได้เงินทุนเป็นจำนวนเท่าใด จะได้มาจากไหน และถ้าไม่เพียงพอจะหาเพิ่มเติมได้โดยวิธีใด

3. ปริมาณธุรกิจที่เพียงพอ สหกรณ์ต้องมีรายจ่ายจากการดำเนินธุรกิจ รายจ่ายบาง ประเภทคงที่ไม่ว่าจะทำธุรกิจมากน้อยเท่าใด เช่น เงินเดือน ค่าสึกหรอ เป็นต้น ดังนั้น สหกรณ์จะต้องทำธุรกิจให้มาก พอจนมีรายได้คุ้มกับรายจ่าย ผู้ริเริ่มตั้งสหกรณ์จึงต้องประมาณดูว่าสหกรณ์สมควรทำธุรกิจกับสมาชิกในด้านไหนมากน้อยเพียงใด ตลอดจนการโฆษณาเชิญชวนหรือชักชวนให้สมาชิกมาทำธุรกิจกับสหกรณ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

4. ผู้จัดการสหกรณ์ สหกรณ์ต้องทำธุรกิจ ต้องมีผู้รับผิดชอบการดำเนินงานและควบคุม กิจการของสหกรณ์อย่างใกล้ชิด ผู้จัดการสหกรณ์ต้องทำงานให้สหกรณ์เต็มเวลา ควรมีประสบการณ์ ในการดำเนินธุรกิจ มีความสามารถซื่อสัตย์ ขยันขันแข็ง และมีความรู้ในหลักการวิธีการสหกรณ์ ผู้ริเริ่มตั้งสหกรณ์จึงจำเป็นต้องพิจารณาคัดเลือกหาคนที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมมาปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการสหกรณ์

5. ความต้องการของกลุ่มบุคคลที่จะรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ จะต้องเป็นความต้องการที่แท้จริง ของกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันเป็นสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เขาเหล่านั้นไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง

สหกรณ์ที่ตั้งขึ้นโดยมีปัจจัยต่างๆ ดังที่กล่าวแล้ว จะสามารถดำเนินกิจการต่อไป ได้ถูกต้อง และตั้งอยู่บนพื้นฐานอันมั่นคงสืบไป

สิทธิของสมาชิกสหกรณ์
สิทธิ คือ อำนาจของบุคคลที่กฎหมายคุ้มครองสำหรับในสหกรณ์นั้น สิทธิ คือ อำนาจของสมาชิกที่จะกระทำการใดๆ ได้ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 ข้อบังคับหรือระเบียบของสหกรณ์ ดังเช่น

1. เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น และความต้องการของตนต่อที่ประชุมใหญ่ ตลอดจนสามารถซักถามข้อข้องใจสงสัย ข้อเสนอแนะ และออกเสียงในที่ประชุมใหญ่ได้เท่าเทียมกัน คือ หนึ่งคนต่อหนึ่งเสียง จะมอบให้คนอื่นออกเสียงแทนไม่ได้

2. ออกเสียงเลือกตั้งกรรมการดำเนินการ และมีสิทธิได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการดำเนินการ ในที่ประชุมใหญ่ได้

3. สอบถามการดำเนินงานของสหกรณ์ จากคณะกรรมการดำเนินการหรือจากเจ้าหน้าที่ ของสหกรณ์ได้ เสมอ รวมทั้งมีสิทธิที่จะขอตรวจดูเอกสารและรายงานการประชุมต่างๆ ที่เกี่ยวกับสหกรณ์ได้ ตามที่ข้อบังคับกำหนด

จะเห็นได้ว่า สมาชิกสหกรณ์มีความสำคัญต่อความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของสหกรณ์เป็นอย่างมาก สมาชิกเป็นทั้งเจ้าของและลูกค้าของสหกรณ์ จึงต้องควบคุมดูแลกิจการของสหกรณ์ด้วย สมาชิกต้องสนใจใช้สิทธิของตนอย่างเต็มที่ ทั้งในด้านเข้าไปมีส่วนในการดำเนินงานของสหกรณ์ และทำธุรกิจ กับสหกรณ์อย่างแข็งขันด้วยความสามัคคีสหกรณ์จึงจะเจริญก้าวหน้า มิฉะนั้นแล้ว สหกรณ์จะประสบความ ล้มเหลวในที่สุด

หน้าที่ของสมาชิก
หน้าที่ คือ สิ่งที่สมาชิกสหกรณ์จะต้องปฏิบัติหรือกระทำตาม หากไม่ปฏิบัติตามหน้าที่แล้ว สมาชิกสหกรณ์ย่อมจะมีความผิด ซึ่งอาจจะถูกลงโทษหรือบางครั้งอาจจะทำให้สหกรณ์ไม่เจริญเท่าที่ควร หรือสมาชิกจะเสียประโยชน์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมด้วย หน้าที่ของสมาชิก มีดังนี้
1. ปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ และมติที่ประชุมใหญ่
2. เข้าร่วมประชุมทุกๆ ครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุมใหญ่ของสหกรณ์ เพราะทำให้สมาชิกได้ทราบถึงผลการดำเนินงานของสหกรณ์
3. มีความสามัคคีกลมเกลียว ซื่อสัตย์ และเสียสละเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม
4. ให้ความร่วมมือส่งเสริมกิจการสหกรณ์ โดยถือหุ้นเพิ่มขึ้น หรือฝากเงินเพิ่ม หรือใช้บริการของสหกรณ์
5. ควบคุมดูแลกิจการของสหกรณ์ โดยเสนอข้อคิดเห็นในที่ประชุมใหญ่ เลือกสมาชิกที่ดีและเหมาะสมเป็นกรรมการของสหกรณ์
6. เลือกผู้ตรวจสอบกิจการ เพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของสหกรณ์
7. ประพฤติตนในทางที่ถูกที่ควร เป็นต้นว่า มีใจกว้างยอมรับวิธีการใหม่ๆ ที่จะช่วยให้สหกรณ์ก้าวหน้า
8. ทำธุรกิจกับสหกรณ์ด้วยความภักดี พยายามสนใจและใช้บริการของสหกรณ์และชักชวนคนอื่นให้เข้ามาเป็นสมาชิกสหกรณ์

จะเห็นได้ว่า การที่สหกรณ์จะเจริญรุ่งเรือง สามารถให้บริการสมาชิกได้สมความมุ่งหมายที่ตั้งไว้นั้น สมาชิกมีบทบาทที่สำคัญมาก สมาชิกจึงควรใช้สิทธิปฏิบัติหน้าที่ให้เต็มที่และถูกต้อง

สหกรณ์บริหารจัดการอย่างไร
เมื่อนายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์แล้ว สหกรณ์มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยสมบูรณ์ สามารถบริหารจัดการองค์กรได้ตามที่กำหนดในข้อบังคับและกฎหมาย มีคณะกรรมการดำเนินการส หกรณ์ เป็นผู้แทน สหกรณ์ใช้อำนาจหน้าที่บริหารจัดการภายในองค์กรสหกรณ์และในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภาย นอก สามารถแบ่งการบริหารจัดการเป็น 2 ระยะ ดังนี้

ระยะชั่วคราว

  • คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์มีอำนาจหน้าที่และสิทธิเสมือนเป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์นั้น กล่าวคือ เป็นผู้แทนของสหกรณ์ดำเนินกิจการได้โดยชอบ
  • บุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิก ได้สิทธิเป็นสมาชิกของสหกรณ์นั้น นับแต่วันรับจดทะเบียนสหกรณ์ และได้ชำระค่าหุ้นตามจำนวนที่จะถือครบถ้วน
  • ภายใน 90 วัน นับแต่วันรับจดทะเบียนสหกรณ์ คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ต้องนัดสมาชิกประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ตามที่กำหนดในข้อบังคับสหกรณ์และคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ต้องมอบหมายการงานทั้งปวงให้กับคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์

ระยะถาวร

หลังจากคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ได้รับมอบหมายการดำเนินงานจากคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์แล้ว สหกรณ์ดำเนินกิจการอย่างถาวรสืบต่อไป จนกว่าจะเลิกสหกรณ์

10. องค์กรสวัสดิการชุมชน (พม.)

“องค์กรสวัสดิการชุมชน” หมายความว่า องค์กรภาคประชาชนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดสวัสดิการสังคมให้แก่สมาชิกในชุมชน หรือปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมของเครือข่ายองค์กรสวัสดิการชุมชน และได้รับการรับรองให้ดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมตามพระราชบัญญัตินี้

“ชุมชน” หมายความว่า กลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกัน และมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างเป็นปกติและต่อเนื่อง โดยเหตุที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน หรือมีอาชีพเดียวกัน หรือประกอบกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน หรือมีวัฒนธรรม ความเชื่อ หรือความสนใจร่วมกัน

องค์กรสวัสดิการชุมชน

มาตรา 40/1 องค์กรภาคประชาชนที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดสวัสดิการสังคมให้แก่สมาชิกในชุมชนหรือที่ได้รวมตัวเป็นเครือข่ายองค์กรสวัสดิการชุมชน ตามมาตรฐานที่คณะกรรมการกำหนด โดยคำนึงถึงความหลากหลายทางภูมิสังคมของแต่ละชุมชนท้องถิ่นอาจยื่นคำขอต่อคณะกรรมการให้รับรองเป็นองค์กรสวัสดิการชุมชนได้

การยื่นคำขอและการรับรองเป็นองค์กรสวัสดิการชุมชนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

ในการรับรององค์กรสวัสดิการชุมชนนั้น คณะกรรมการอาจกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ให้องค์กรสวัสดิการชุมชนถือปฏิบัติด้วยก็ได้

เมื่อมีการรับรองให้องค์กรใดเป็นองค์กรสวัสดิการชุมชนแล้ว ให้จดแจ้งการรับรองเป็นองค์กรสวัสดิการชุมชนในทะเบียนองค์กรสวัสดิการชุมชน และให้สำนักงานประกาศการรับรองในราชกิจจานุเบกษา โดยระบุชื่อองค์กรสวัสดิการชุมชนนั้น

มาตรา 40/2 องค์กรสวัสดิการชุมชนอาจได้รับการสนับสนุนในการจัดสวัสดิการสังคมหรือการปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม

การสนับสนุนตามวรรคหนึ่ง ให้นำความในมาตรา 35 มาตรา 36 และมาตรา 37 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 40/3 ในกรณีที่ปรากฏว่าองค์กรสวัสดิการชุมชนใดมีพฤติการณ์ในการจัดสวัสดิการสังคมที่ไม่สุจริต หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดหรือไม่มีผลงานตามมาตรฐานที่คณะกรรมการกำหนด อาจถูกเพิกถอนการรับรองได้ และให้นำความในมาตรา 38 มาตรา 39 และมาตรา 40 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 40/4 หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรสาธารณประโยชน์อาจให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรสวัสดิการชุมชนตามควรแก่กรณี

11. องค์กรสาธารณประโยชน์

องค์กรสาธารณประโยชน์” หมายความว่า องค์กรภาคเอกชนที่ได้รับการรับรองให้ดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมตามพระราชบัญญัตินี้

 

องค์กรสาธารณประโยชน์

มาตรา34 มูลนิธิ หรือสมาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดสวัสดิการสังคมหรือองค์กรภาคเอกชนที่มีผลงานเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมตามมาตรฐานที่คณะกรรมการกำหนดอาจยื่นคำขอต่อคณะกรรมการให้รับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ได้

การยื่นคำขอและการรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

ในการรับรององค์กรสาธารณประโยชน์นั้นคณะกรรมการอาจกำหนดเงื่อนไขใดๆ ให้องค์กรสาธารณประโยชน์ถือปฏิบัติด้วยก็ได้

เมื่อมีการรับรองให้องค์กรใดเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์แล้ว ให้จดแจ้งการรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ในทะเบียนองค์กรสาธารณประโยชน์ และให้สำนักงานประกาศการรับรองในราชกิจจานุเบกษา โดยระบุชื่อองค์กรสาธารณประโยชน์นั้น

มาตรา 35 องค์กรสาธารณประโยชน์อาจได้รับการสนับสนุนในการจัดสวัสดิการสังคม ดังต่อไปนี้

(1) เงินอุดหนุนจากกองทุนตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

(2) การช่วยเหลือจากสำนักงานในด้านวิชาการและการพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์กรสาธารณประโยชน์ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

(3) การช่วยเหลืออื่นๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา 36 โครงการที่จะขอรับเงินอุดหนุนจากกองทุนต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้

(1) เป็นโครงการด้านการจัดสวัสดิการสังคมที่มีผลต่อการป้องกัน การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาสังคม

(2) เป็นโครงการที่ไม่ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนางานสวัสดิการสังคม และ

(3) เป็นโครงการที่มีการดำเนินงานมาแล้ว โดยมีทุนอยู่บางส่วน หรือเป็นโครงการใหม่

มาตรา 37 ให้องค์กรสาธารณประโยชน์ที่ได้รับเงินอุดหนุนจากกองทุนตามมาตรา 35 (1) จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา 38 ในกรณีที่ปรากฏว่าองค์กรสาธารณประโยชน์ใดมีพฤติการณ์ในการจัดสวัสดิการสังคมที่ไม่สุจริต หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดหรือไม่มีผลงาน ตามมาตรฐานที่คณะกรรมการกำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) มีหนังสือแจ้งให้องค์กรสาธารณประโยชน์นั้นชี้แจงข้อเท็จจริงหรือความเห็นในการปฏิบัติงาน หรือส่งผู้แทนมาชี้แจงหรือให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นมาประกอบการพิจารณา

(2) มีหนังสือแจ้งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ส่งวัตถุ เอกสาร หรือพยานหลักฐานอื่นมาประกอบการพิจารณา

มาตรา 39 ให้คณะกรรมการมีอำนาจเพิกถอนการรับรององค์กรสาธารณประโยชน์เมื่อได้รับรายงานจากพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรณีอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) องค์กรสาธารณประโยชน์ใดมีพฤติการณ์ตามมาตรา 38 และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้สอบสวนพฤติการณ์ดังกล่าวแล้วปรากฏว่าองค์กรสาธารณประโยชน์นั้นได้กระทำการโดยไม่สุจริต หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด หรือไม่มีผลงานตามมาตรฐานที่คณะกรรมการกำหนด

(2) องค์กรสาธารณประโยชน์ใดได้รับรับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 38 (1) แล้วไม่ปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

มาตรา 40 เมื่อมีการเพิกถอนการรับรององค์กรสาธารณประโยชน์ใด ให้สำนักงานประกาศรายชื่อองค์กรสาธารณประโยชน์นั้นในราชกิจจานุเบกษา และให้องค์กรสาธารณประโยชน์ที่ถูกเพิกถอนการรับรองส่งเงินอุดหนุนที่ได้รับไปคืนแก่สำนักงานตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

การยื่นคำขอรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์

พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมมีจุดประสงค์เพื่อให้การรับรองและส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิ สมาคม หรือองค์กรภาคเอกชนที่มีผลงานเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคม ให้เข้ามามีส่วนร่วมและได้รับการส่งเสริมสนับสนุนตามกฎหมายในลักษณะเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ใครสามารถยื่นคำขอรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ 1) มูลนิธิหรือสมาคมที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือตามกฎหมายอื่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดสวัสดิการสังคม
2)องค์กรภาคเอกชนเป็นองค์กรที่มิใช่ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรอื่นของรัฐ และเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรในการดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม
คุณสมบัติของมูลนิธิหรือสมาคม 

  • ดำเนินกิจการและมีผลงานจัดสวัสดิการสังคมอย่างต่อเนื่องจนถึงวันยื่นคำขอไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  • มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่จะยื่นไม่น้อยกว่า ๖ เดือน
  • มีบุคลากร/อาสาสมัครปฏิบัติงานประจำหรือมีที่ปรึกษา มีความรู้เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์
  • มีการกำหนดสาขาในการจัดสวัสดิการสังคมที่ดำเนินการอย่างชัดเจนเช่นการศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การฝึกอาชีพ การประกอบอาชีพ นันทนาการ การบริการสังคมและกระบวนการยุติธรรม
  • มีการกำหนดลักษณะ/รูปแบบ/วิธีการในการดำเนินการจัดสวัสดิการสังคม เช่นการส่งเสริม การพัฒนา การสงเคราะห์ การคุ้มครอง การป้องกัน แก้ไข และการบำบัดฟื้นฟู
  • มีการส่งเสริมและสนับสนุน ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา และองค์กรอื่น ได้มีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคม

คุณสมบัติขององค์กรภาคเอกชน 
1) ดำเนินกิจการและมีผลงานจัดสวัสดิการสังคมอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันยื่นคำขอไม่น้อยกว่า 1ปี
2) มีส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมหรือมูลนิธิหรือสมาคมที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือตามกฎหมายอื่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดสวัสดิการสังคม รับรองผลการดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคม
ตามหนังสือรับรองผลการดำเนินงานด้านการจัดจัดสวัสดิการสังคมในกรณีองค์กรภาคเอกชนมิได้เป็นนิติบุคคล
(ขอแบบหนังสือจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด)
3) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่จะยื่นไม่น้อยกว่า 1 ปี
4) มีบุคลากร/อาสาสมัครปฏิบัติงานประจำหรือมีที่ปรึกษา มีความรู้เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์
5) มีการกำหนดสาขาในการจัดสวัสดิการสังคมที่ดำเนินการอย่างชัดเจนเช่นการศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การฝึกอาชีพ การประกอบอาชีพ นันทนาการ การบริการสังคมและกระบวนการยุติธรรม
6) มีการกำหนดลักษณะ/รูปแบบ/วิธีการในการดำเนินการจัดสวัสดิการสังคม เช่นการส่งเสริม การพัฒนา การสงเคราะห์ การคุ้มครอง การป้องกัน แก้ไข และการบำบัดฟื้นฟู
7) มีการส่งเสริมและสนับสนุน ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา และองค์กรอื่น ได้มีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคม

ขั้นตอนการยื่นคำขอ
1) กรอกแบบคำขอรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์กรณีมูลนิธิหรือสมาคม (ก.ส.ค 1) หรือกรอกแบบคำขอรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์กรณีองค์กรภาคเอกชน (ก.ส.ค 2) ทั้งนี้ขอแบบดังกล่าวได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
2) เอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นพร้อมกับแบบในข้อ 1
กรณีมูลนิธิ/สมาคม
– สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีคำรับรองว่าถูกต้อง
-สำเนาข้อบังคับหรือระเบียบหรือตราสารและสำเนาใบอนุญาตจัดตั้งมูลนิธิหรือสมาคม
-รายชื่อคณะกรรมการของมูลนิธิ /สมาคม
– สำเนางบดุล/สำเนารายงานสถานะการเงิน -แผน/โครงการที่จะดำเนินการต่อไป
– ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา๖เดือน
– เอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการกำหนดสาขาของงานสวัสดิการสังคม การกำหนดลักษณะหรือรูปแบบและวิธีการในการดำเนินงาน รวมทั้งเอกสารหลักฐานในการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา และองค์กรอื่น ได้มีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคม

กรณีองค์กรภาคเอกชน 
– สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีคำรับรองว่าถูกต้อง
– สำเนาข้อบังคับหรือระเบียบขององค์กรเอกชน
– สำเนารายงานสถานะการเงิน ซึ่งประธานกรรมการหรือหัวหน้าผู้บริหารให้คำรับรอง -แผน/โครงการที่จะดำเนินการต่อไป
– ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 1 ปี
– เอกสารหลักฐานที่แสดงถึงการกำหนดสาขาของงานสวัสดิการสังคม การกำหนดลักษณะหรือรูปแบบและวิธีการในการดำเนินงาน รวมทั้งเอกสารหลักฐานในการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา และองค์กรอื่น ได้มีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคม
3) บุคคลที่ยื่นคำขอ กรณีมูลนิธิ/สมาคม ต้องเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนมูลนิธิ/สมาคมหรือผู้ได้รับมอบฉันทะจากมูลนิธิ/สมาคมยื่นด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือกรณีองค์กรภาคเอกชนยื่นคำขอด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ สถานที่ยื่น  ส่วนภูมิภาค สำนักพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ส่วนกลาง สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร

12. ศูนย์อินเตอร์เน็ตชุมชน (USO NET)

การจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (Universal Service Obligation : USO) เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553  มาตรา 27 (12) กำหนดให้ กสทช. มีอำนาจกำหนดมาตรการให้มีการกระจายบริการด้านโทรคมนาคมให้ทั่วถึงและ    เท่าเทียมกันตามมาตรา 50 ซึ่งให้ กสทช. จะต้องมีหน้าที่กำหนดแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม โดยในแผนฉบับดังกล่าวอย่างน้อยจะต้องมีการกำหนดพื้นที่ดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลาดำเนินการ พร้อมทั้งประมาณค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าว

 

การดำเนินการจัดให้มีบริการ USO ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2553)

ต่อมา กทช. ได้จัดทำประกาศ กทช. เรื่อง แผนปฏิบัติการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมประจำปี 2553 ขึ้น และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2553 เพื่อใช้กำหนดภารกิจและพื้นที่เป้าหมายในการจัดให้มีบริการ USO ตามประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดให้มีบริการ USO ฉบับที่ 2 ดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ คณะกรรมการ กทช. ได้กำหนดเป้าหมายและภารกิจให้ผู้รับใบอนุญาตต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

  • จัดให้มีบริการโทรศัพท์โดยทั่วถึงระดับชุมชน ตามพื้นที่ซึ่งคณะกรรมการ กทช. กำหนด รวมไปถึงการบำรุงรักษาโทรศัพท์สาธารณะ USO ที่ได้ดำเนินการจัดตั้งไปแล้ว ตามการจัดให้มีบริการ USO ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2548 – 2552)
  • จัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตระดับชุมชนตามพื้นที่ซึ่งคณะกรรมการ กทช. กำหนดโดยการดำเนินการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตประจำชุมชน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการนั้นได้โดยสะดวก ทั้งนี้ การจัดให้มีบริการดังกล่าวอาจรวมไปถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ตลอดจนการจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานของผู้ใช้บริการ
  • จัดให้มีบริการโทรศัพท์สาธารณะและอินเทอร์เน็ตในหน่วยงานสาธารณะ ตามที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ การจัดให้มีบริการดังกล่าวอาจรวมไปถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ตลอดจนการจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานของบุคลากรของหน่วยงานสาธารณะนั้น และผู้มารับบริการให้สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้
  • ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการจัดหาและพัฒนาเทคโนโลยีด้านอุปกรณ์และบริการโทรคมนาคม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนพิการ เด็ก คนชรา และผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้สามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวรวมถึงการสนับสนุนด้านอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะความรู้ด้านโทรคมนาคม ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อให้สามารถใช้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานได้

อย่างไรก็ตาม การจัดให้มีบริการตามข้อ (1) (2) และ (3) ดังกล่าวให้หมายรวมถึงการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างเหมาะสมด้วย สำหรับการจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตระดับชุมชนและภายในหน่วยงานสาธารณะนั้น คณะกรรมการ กทช. ได้กำหนดลักษณะของหน่วยงานที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกเป็นพื้นที่จัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ต และกำหนดเงื่อนไขการจัดตั้งศูนย์อินเทอร์เน็ต ตามลักษณะของพื้นที่เป้าหมาย หน่วยงานที่รับผิดชอบ และกลุ่มเป้าหมายทางสังคม ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • ศูนย์อินเทอร์เน็ตโรงเรียน

คณะกรรมการ กทช. กำหนดพื้นที่เป้าหมายเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตฯ ดำเนินการจัดให้มีโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตในโรงเรียนทั่วประเทศ จำนวน 520 แห่ง ซึ่งโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกเป็นพื้นที่เป้าหมาย มีข้อกำหนดและเงื่อนไขที่สำคัญ อาทิเช่น เป็นโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ชนบท มีความขาดแคลนคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ หรือมีแต่ไม่เพียงพอต่อกิจกรรมการเรียนการสอน และไม่เคยได้รับงบประมาณสนับสนุนเกี่ยวกับการจัดหาคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตจากกระทรวงศึกษาธิการ หรือหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา

  • ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน

คณะกรรมการ กทช. กำหนดพื้นที่เป้าหมายเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตฯ ดำเนินการจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตระดับชุมชน จำนวน 379 แห่ง โดยคณะกรรมการ กทช. เห็นว่าการกำหนดพื้นที่เป้าหมายเพื่อจัดตั้งศูนย์อินเทอร์เน็ตระดับชุมชนในพื้นที่แห่งใดนั้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของศูนย์อินเทอร์เน็ตและคุ้มค่าต่องบประมาณที่ดำเนินการ ควรพิจารณาจากความต้องการของประชาชนในพื้นที่และความพร้อมของพื้นที่เป็นหลัก โดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ที่มีความต้องการศูนย์อินเทอร์เน็ตแสดงความจำนงโดยสมัครใจพร้อมยื่นแบบฟอร์มขอรับมายังสำนักงาน กสทช. เพื่อพิจารณาคัดเลือกเป็นพื้นที่เป้าหมาย โดยมีข้อกำหนดและเงื่อนไขที่สำคัญต่างๆ ดังนี้

  • คุณสมบัติของหน่วยงานที่ขอรับ ต้องมีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐหรือนิติบุคคล เช่น สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร เช่น มูลนิธิ สมาคม ศาสนสถาน เป็นต้น
  • หน่วยงานที่ขอรับ ต้องมีความพร้อมด้านต่างๆ คือ มีพื้นที่รองรับการจัดตั้งศูนย์อินเทอร์เน็ต มีบุคลากรดูแลศูนย์อินเทอร์เน็ต และมีหน่วยงานที่แสดงตนเป็นผู้รับผิดชอบศูนย์และสนับสนุนงบประมาณให้แก่ศูนย์อินเทอร์เน็ตได้ หรือมีการรวมกลุ่มของประชาชนในพื้นที่เพื่อให้การสนับสนุน
  • หน่วยงานที่ขอรับ ต้องมีการกำหนดแนวทางต่างๆ ในการบริหารจัดการศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน เพื่อให้ศูนย์อินเทอร์เน็ตเกิดความยั่งยืนและเอื้อประโยชน์โดยตรงต่อประชาชนในพื้นที่
  • พื้นที่ขอรับการจัดตั้งศูนย์อินเทอร์เน็ตในระดับตำบล ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ดำเนินการของกระทรวง ICT ซึ่งดำเนินการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนไปแล้ว และไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ดำเนินการจัดให้มีบริการศูนย์อินเทอร์เน็ตโรงเรียนของสำนักงาน กสทช. รวมทั้ง ยังไม่มีร้านค้าของเอกชนเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ต (อินเทอร์เน็ตคาเฟ่) บริเวณใกล้เคียง หรือมีแต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่
  • ศูนย์อินเทอร์เน็ตเพื่อสังคม

คณะกรรมการ กทช. ได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ และกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ในการทดลองดำเนินการจัดให้มีบริการศูนย์อินเทอร์เน็ตเพื่อสังคมภายในหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบกลุ่มเป้าหมายทางสังคม ได้แก่ คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และ      ผู้มีรายได้น้อย โดยเบื้องต้นได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายจัดให้มีบริการศูนย์อินเทอร์เน็ตเพื่อสังคม      จำนวน 40 แห่งทั่วประเทศ พร้อมจัดให้มีอุปกรณ์พิเศษ คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์สำหรับคนพิการภายในศูนย์อินเทอร์เน็ตด้วย โดยหน่วยงานที่ได้รับคัดเลือกเป็นพื้นที่เป้าหมายดังกล่าวสามารถแบ่งตามประเภทกลุ่มเป้าหมายทางสังคม ได้ดังนี้

ลำดับ ประเภทศูนย์อินเทอร์เน็ตเพื่อสังคม จำนวน (แห่ง)
1. จัดให้มีบริการศูนย์อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ด้อยโอกาส 17
2. จัดให้มีบริการศูนย์อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้สูงอายุ 1
3. จัดให้มีบริการศูนย์อินเทอร์เน็ตสำหรับคนพิการ         22
รวมทั้งหมด 40

ส่วนรูปแบบวิธีการดำเนินงานยังคงยึดแนวทางที่สำนักงานเคยดำเนินการมา คือการเปิดโอกาสให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมสามารถเลือกระหว่างการจัดให้มีบริการตามเป้าหมายที่ กทช. กำหนด หรือเลือกจ่ายเงินเข้า “กองทุนพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ” ในอัตราร้อยละ 4 ต่อปีของรายได้สุทธิ

โดยในปี พ.ศ.2553 กทช. ได้พิจารณาเห็นชอบแผนการจัดให้มีบริการ USO  ของ         ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม จำนวน 6 บริษัท ได้แก่

1)     บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT)

2)     บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT)

3)     บริษัท ทริปเปิลที บรอดแบนด์ จำกัด (มหาชน) (3BB)

4)     บริษัท จัสเทล เน็ทเวิร์ค (JASTEL)

5)     บริษัท เอไอเอ็น โกลบอลคอม จำกัด (AIN) และ

6)     บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด (SBN)

โดยสรุปผลการดำเนินงานของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมตามภารกิจที่ คณะกรรมการ กทช. มอบหมาย ในมิติเชิงพื้นที่ได้ดังนี้

ภารกิจ เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน  (มิติเชิงพื้นที่)
1. บำรุงรักษาโทรศัพท์ USO ระยะที่ 1 29,745 เลขหมาย 100%
2. ติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะในชุมชน 1,555 หมู่บ้าน 100%
3. จัดให้มีบริการศูนย์อินเทอร์เน็ตโรงเรียน 520 แห่ง ดำเนินการแล้วเสร็จประมาณ 36%
4. จัดให้มีบริการศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชนและศูนย์อินเทอร์เน็ตเพื่อสังคม 419 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ

ข้อมูล ณ พฤศจิกายน พ.ศ.2555

 

 

13. สวัสดิการชุมชน

ความเป็นมา

สังคมไทยมีพื้นฐานวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันแบบช่วยเหลือเกื้อกูลกันมายาวนาน  มีสวัสดิการแบบธรรมชาติที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเอื้ออาทร เคารพซึ่งกันและกันระหว่างคนกับคน และคนกับธรรมชาติ เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไปบทบาทของชุมชนในการดูแลกันและกันก็ลดลง  แต่หลังจากสังคมไทยประสบภาวะวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540  ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ส่วนหนึ่งได้ร่วมกันปรึกษาหารือเพื่อร่วมกันฟื้นฟูระบบคุณค่าเดิม ทุนทางสังคมที่มีอยู่มาช่วยเหลือเกื้อกูลกันในลักษณะของการจัดสวัสดิการจากฐานทุนด้านต่าง ๆที่มีอยู่ของชุมชน เช่น สวัสดิการจากฐานกลุ่มออมทรัพย์  องค์กรการเงิน  วิสาหกิจชุมชน ความเชื่อทางศาสนา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ

ในปี 2548 ขบวนองค์กรชุมชนที่ทำงานเกี่ยวกับองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชนได้ยกระดับกองทุนสวัสดิการโดยการริเริ่มจัดตั้งกองทุนสวัสดิการระดับตำบล โดยให้มีการสมทบงบประมาณจากสามฝ่าย(1 : 1 : 1) คือ ทุนจากการออมสมทบของสมาชิกในชุมชน ทั้งในรูปแบบออมทรัพย์เดิม  หรือสัจจะลดรายจ่ายวันละบาท การสมทบจากรัฐบาลกลางและการสมทบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ปี 2553  ปัจจุบันมีกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล/เมืองทั่วประเทศ 4,500 กองทุน สมาชิกรวม 3.41 ล้านคน

“สวัสดิการชุมชน” คือ การสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นคงของคนในชุมชน ซึ่งหมายรวมถึงทุกอย่างที่จะทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งในรูปของสิ่งของ เงินทุน น้ำใจ การช่วยเหลือเกื้อกูล เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นระบบการช่วยเหลือเกื้อกูลของคนในท้องถิ่น ที่มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต  ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ก่อให้เกิดรายได้ลดรายจ่าย นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน

แนวความคิดสำคัญ

  • เงินเป็นเครื่องมือ ไม่ใช่เป้าหมายการพัฒนาจัดสวัสดิการและสร้างความอยู่ดีมีสุขของประชาชนโดยใช้ฐานทุนที่มีอยู่ภายในมาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
  • ช่วยเหลือทุกคนอย่างเท่าเทียมไม่สร้างความแยกแยก
  • พัฒนาอย่างองค์รวมเชื่อมโยงกับกิจกรรมและกลุ่มองค์กรอื่นๆในชุมชน เป็นส่วนหนึ่งของ “ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง”
  • ทำจากสิ่งที่เป็นจริงตามสภาพเศรษฐกิจ สังคมในชุมชน ไม่ลอกเลียนคนอื่นเขามาทั้งชุด
  • พึ่งตนเองและการช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยยึดหลัก“ ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี “
  • กระบวนการดำเนินงานสอดคล้องกับวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ทุกคนเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับเป็นการจัดสวัสดิการของชุมชน โดยชุมชน  เพื่อชุมชน

 

 

ลักษณะการดำเนินการของกองทุนสวัสดิการชุมชน

  • เป็นกองทุนที่มี สมาชิก ทำงานให้บริการสมาชิกและ/หรือคนอื่นๆในชุมชนตามที่สมาชิกตกลงร่วมกัน
  • เงินกองทุน มาจากการสมทบของสมาชิก การบริจาคสมทบของหน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการระดมทุนเพิ่มเติมด้วยวิธีการต่างๆ ปัจจุบันกองทุนส่วนใหญ่สมาชิกสมทบวันละ1 บาทหรือปีละ 365 บาท แต่ก็มีกองทุนบางส่วนที่ใช้การระดมทุนด้วยวิธีการอื่นๆ เช่น จากผลกำไรกลุ่มออมทรัพย์  ฯลฯเงินสมทบดังกล่าวจะไม่คืนเงินเมื่อสมาชิกลาออก
  • การบริหารจัดการ สมาชิกจะเลือกคณะกรรมการ มาบริหารกองทุน โดยมีระเบียบกองทุนเกี่ยวกับสมาชิก การสมทบเงิน และการจ่ายเงินสวัสดิการ เป็นเครื่องมือในการทำงาน
  • การช่วยเหลือสมาชิก ประเภทสวัสดิการที่จัด จำนวนเงินช่วยเหลือ เป็นไปตามกติการ่วมและฐานะการเงินของแต่ละกองทุน

ชุมชนจัดสวัสดิการชุมชนได้กี่ประเภท

ปัจจุบันกองทุนสวัสดิการชุมชนสามารถจัดสวัสดิการได้กว่า 10  ประเภท ตั้งแต่การคลอดบุตร เจ็บป่วย ช่วยเหลือผู้สูงอายุ คนพิการ คนด้อยโอกาส ทุนการศึกษา ช่วยงานสาธารณะประโยชน์ในชุมชน  ช่วยเหลือผู้ประสบภัย เงินยืมไม่มีดอกเบี้ยสำหรับสมาชิก ทุนอาหารกลางวันนักเรียน เงินบำนาญ ฯลฯ ทั้งนี้ตามความพร้อมของเงินกองทุน

 

ทำอย่างไรให้กองทุนสวัสดิการประสบความสำเร็จ

ความสำเร็จของกองทุนสวัสดิการชุมชนคือ สามารถให้การช่วยเหลือสมาชิกได้อย่างกว้างขวาง ต่อเนื่อง ครบถ้วน สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินการและสามารถดำเนินการได้อย่างยั่งยืน เป็นเครื่องมือสร้างหลักประกันทางสังคมที่สำคัญของชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชนจะประสบความสำเร็จเพราะ

  • ความเข้าใจความเชื่อมั่นในแนวคิดอุดมการณ์สวัสดิการชุมชน   ทีเน้นเรื่องการพึ่งตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ตามแนวคิด ”ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี”  ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงทุนภายใน  จัดสวัสดิการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และปัญหาความต้องการของชุมชน  ทั้งสวัสดิการที่ใช้เงินกองทุนและสวัสดิการที่เป็นการดูแลช่วยเหลือกันโดยไม่ต้องใช้เงิน
  • จำนวนสมาชิก สมาชิกที่เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนครอบคลุมประชากรทั้งตำบล  กระจายทุกช่วงวัย  เพราะยิ่งมีสมาชิกมาก เงินสมทบจะมีมาก ความเสี่ยงในการที่จ่ายเงินสวัสดิการจะยิ่งน้อยลงเพราะมีการกระจายความเสี่ยงออกไปมากขึ้นกองทุนที่มีสมาชิกน้อยจะมีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนที่มีสมาชิกมาก
  • มีความมั่นคงทางการเงิน เพราะสมาชิกจ่ายเงินสมทบครบถ้วน สม่ำเสมอ  มีการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ มีรายรับจากแหล่งอื่นๆของกองทุนอย่างต่อเนื่อง  สัดส่วนการจ่ายสวัสดิการให้สมาชิกและค่าใช้บริหารจัดการสัมพันธ์กับรายรับ  เน้นการพึ่งพาทุนภายในชุมชนท้องถิ่นเป็นสำคัญ
  • การบริหารจัดการเปิดเผยโปร่งใส ระบบบัญชีการเงินถูกต้องทันเวลาและสมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินการ  เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ผลการดำเนินงานสู่สมาชิก  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณะอย่างต่อเนื่อง

การสนับสนุนจากรัฐบาล

รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ ในช่วงแรกเป็นการให้การสนับสนุนเพื่อการจัดตั้ง พัฒนาและสมทบเงินบางส่วน ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา รัฐบาลให้การสนับสนุนโดยสมทบเงินเข้ากองทุนตามจำนวนสมาชิกที่มีอายุครบ 1 ขึ้นไปในอัตราวันละ 1 บาทต่อคนหรือปีละ 365 บาท  และได้มีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 29 มิถุนายน 2553 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)และองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) พิจารณาสมทบงบประมาณกองทุนสวัสดิการชุมชนได้ตามฐานะการคลังของแต่ละ อปท.

หลัก 8 ประการของร่าง พรบ.สวัสดิการชุมชน

ในช่วงของการปฏิรูปประเทศที่ผ่านมา  เรื่องที่เกี่ยวกับการออมและสวัสดิการเป็นประเด็นที่ถูกเสนอเข้าสู่การปฏิรูปหลายแนวคิดด้วยกัน ซึ่งทุกแนวคิดต่างก็มีจุดขายที่ชัดเจนเหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ “การสร้างหลักประกันให้เกิดความมั่นคงในชีวิตกับประชาชน” ไม่ว่าจะเป็นพรบ.การออมแห่งชาติ พรบ.สวัสดิการสังคม พรบ.สวัสดิการชุมชน ฯลฯ

ร่าง พรบ.สวัสดิการชุมชนเป็นเรื่องเดียว  ที่ถูกเสนอจากภาคประชาชนโดยผ่านการปฏิบัติจริงในพื้นที่ทั่วประเทศมาแล้วเป็นเวลานานไม่น้อยกว่า 9 ปี และมีที่มาอันเป็นฐานรากของการจัดสวัสดิการชุมชนมาไม่น้อยกว่า 30 ปี  ซึ่งประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานนี่เอง  ชาวบ้านจึงมีความเชื่อมั่นว่า “สวัสดิการชุมชน” มีหลักการ แนวคิด แนวทางการทำงานเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง 8 ประการดังนี้

  1. 1.กองทุนสวัสดิการชุมชนตั้งอยู่บนหลัก “การพึ่งตนเอง” ของคนในชุมชนเนื่องจากชาวบ้านเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดในประเทศที่เข้าไม่ถึงระบบสวัสดิการ ต่างจากเจ้าหน้าที่รัฐและลูกจ้างเอกชน ที่มีระบบสวัสดิการรองรับ จึงมีแนวคิดที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยการจัดสรรผลกำไรจากองค์กรการเงินชุมชนมาจัดเป็นสวัสดิการให้กับสมาชิก  หรือสะสมเงินร่วมกันเป็นกองทุนสวัสดิการเฉพาะอย่าง เช่น กองทุนฌาปนกิจ ฯลฯ  ซึ่งจากฐานความคิดนี้  ในปี พ.ศ. 2547  ได้พัฒนาไปสู่การสะสมเงินเพียงคนละ 365 บาท/ปี  เพื่อไปจัดเป็นสวัสดิการครบวงจรชีวิต  จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน  นี่คือแนวคิดแห่งการพึ่งตนเอง  เป็นแนวคิดที่มาจากภาคประชาชนเอง  ในปี พ.ศ. 2553 ได้เป็นนโยบายของรัฐบาลโดยรัฐสมทบเท่ากับที่ชาวบ้านสมทบ  เพื่อให้กองทุนมีเงินทุนมากพอที่จะนำไปจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกได้ในจำนวนที่เหมาะสม

ดังนั้นในร่าง พรบ. สวัสดิการชุมชน ยังคงยึดหลักการพึ่งตนเองคือการสมทบจากสมาชิกและหลักการสมทบจากรัฐอยู่เช่นเดิม  แต่การสมทบจากรัฐต้องมีเวลาสิ้นสุด มิเช่นนั้นเงินจากรัฐจะเป็นตัวทำลายความคิดแห่งการพึ่งตนเองของชุมชน  ซึ่งประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ชุมชนตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

  1. 2.กองทุนสวัสดิการชุมชน เป็นกองทุนที่ประชาชนเป็นผู้คิด ผู้บริการจัดการ ผู้สมทบ และผู้รับประโยชน์เอง  หรือพูดง่ายๆ ว่า “ประชาชนเป็นเจ้าของกองทุนสวัสดิการชุมชน” นั่นเอง  ซึ่งความเป็นเจ้าของนี้เกิดจากการที่ประชาชนเป็นผู้จ่ายเงินเข้ากองทุนไม่ว่ายากดีมีจนจ่ายเงินสมทบเท่าๆ กัน  ชาวบ้านจึง “เป็นผู้ให้อย่างมีคุณค่า”  เพราะเงินเพียงหนึ่งบาทต่อวัน/คน หากนำมารวมกันจะช่วยเหลือคนได้จำนวนมาก ช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ผู้ด้อยโอกาส และเพื่อนในตำบลให้ได้รับสวัสดิการเหมือนกับคนอื่นๆ ในสังคม นี่คือการให้อย่างมีคุณค่าอย่างแท้จริง  ในขณะที่เมื่อได้รับสวัสดิการ ก็รับอย่างมีศักดิ์ศรีเพราะสวัสดิการที่รับก็เป็นเงินที่ตนเองร่วมสมทบด้วยเช่นกัน
  2. 3.กองทุนสวัสดิการชุมชน ในความหมายของชาวบ้านมิได้จำกัดเฉพาะกองทุนที่เป็นตัวเงินเท่านั้น แต่มีความหมายกว้างกว่านั้นประการแรก การที่คนในสังคมมีความเอื้ออาทรต่อกัน ช่วยเหลือกัน ไม่ทอดทิ้งไม่นิ่งดูดายนั่นเป็นสวัสดิการชุมชนที่สำคัญ ด้วยเหตุนี้กองทุนสวัสดิการชุมชนจึงได้จัดสรรเงินจำนวนหนึ่งเพื่อช่วยเหลือสังคมในยามยาก เช่น ช่วยเหลือยามมีภัยพิบัติ ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส คนพิการ ให้เข้าถึงระบบสวัสดิการชุมชนเหมือนคนอื่นๆ ฯลฯ เป็นการเอื้ออาทรระหว่างคนกับคน

ประการที่สอง  ชาวบ้านมีความเชื่อว่าคนกับธรรมชาติต้องอยู่คู่กัน  เพราะในอดีตธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ ป่าไม้ แม่น้ำลำคลองที่อุดมสมบูรณ์ล้วนจ่ายสวัสดิการในรูปแบบของการเป็นแหล่งอาหาร และอากาศที่บริสุทธิ์ให้กับทุกคนตลอดมา  ดังนั้นกองทุนสวัสดิการชุมชนจึงเชื่อมโยงและจัดสรรเงินกองทุนให้เกิดการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเสมอมา เป็นการเอื้ออาทร และพึ่งพาต่อกันระหว่างคนกับธรรมชาติ

  1. 4.กองทุนสวัสดิการชุมชนเป็นกองทุนที่ชาวบ้านเป็นเจ้าของและเป็นผู้บริการจัดการใกล้ชิดเข้าใจปัญหาของชาวบ้านที่สุด ดังนั้นจึงมีระบบการบริการจัดการที่คล่องตัว ทำให้ชาวบ้านได้รับสวัสดิการอย่างรวดเร็วทันใจสมาชิกป่วยก็ไปจ่ายกันถึงโรงพยาบาล สมาชิกเสียชีวิตก็จ่ายให้ลูกหลานผู้รับประโยชน์กันถึงงานบำเพ็ญกุศลศพ และที่กองทุนประเภทอื่นไม่มี ก็คือจะรู้กันหมดว่าสมาชิกคนไหนกำลังเดือดร้อนและต้องการความช่วยเหลือเรื่องอะไร ทำให้กองทุนสามารถให้ความช่วยเหลือสมาชิกได้อย่างทันการและตรงกับความต้องการของสมาชิก
  2. 5.กองทุนสวัสดิการชุมชน ช่วยลดภาระด้านงบประมาณให้กับรัฐบาลได้จำนวนมากเมื่อเทียบกับสวัสดิการอื่นๆ ที่รัฐจัดให้ประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสวัสดิการแบบให้เปล่าช่วยเหลือคนได้จำนวนไม่มากและต้องใช้งบประมาณแต่ละปีจำนวนมหาศาล  แต่กองทุนสวัสดิการชุมชนรัฐเป็นเพียงผู้สมทบ  จึงใช้งบประมาณไม่มากแต่ช่วยเหลือคนได้จำนวนมาก  โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันมีกองทุนสวัสดิการชุมชน 5,800 กองทุน มีเงินรวมกันกว่า 6 พันล้านบาท  ในจำนวนนี้เป็นเงินของชาวบ้านถึง 64% ที่เหลือเป็นเงินสมทบจากรัฐบาล เงินสมทบจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และอื่นๆ
  3. 6.  กองทุนสวัสดิการชุมชน ทำให้ชาวบ้านมีวินัยทางการเงินรู้คุณค่าและรู้จักประหยัดอดออมเพื่อส่งเงินสมทบเข้ากองทุนถึงแม้จะเป็นเงินเพียงเล็กน้อยสำหรับคนทั่วไปแต่เงินจำนวนเล็กน้อยนี้จะมีคุณค่าอย่างมากสำหรับตนเองและเพื่อนบ้านซึ่งมีผู้เปรียบเปรยว่า “เงินหมื่นบาทถ้าอยู่ที่เราก็มีค่าเพียงหมื่นบาทและช่วยเหลือได้เฉพาะตัวเราเองและครอบครัวเท่านั้นแต่เงินเพียงหนึ่งบาทที่สมทบเข้ากองทุนสวัสดิการจะมีค่านับล้านบาท และมีค่ามีประโยชน์ต่อคนทั้งตำบล”
  4. 7.  กองทุนสวัสดิการชุมชนสามารถเชื่อมโยงภาคีพัฒนาต่างๆ ในตำบล ซึ่งมีเป้าหมายเหมือนกันให้มาร่วมกันทำงานไม่ว่าจะเป็นองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่ต้องการจะจัดสวัสดิการให้กับชุมชนอย่างทั่วถึงแต่ขาดงบประมาณ ก็สามารถจัดสรรงบประมาณบางส่วนเข้าร่วมสมทบได้  หรือเป็นโอกาสให้กับภาคธุรกิจเอกชนในท้องถิ่นที่ต้องการเข้ามาช่วยเหลือสังคมอย่างยั่งยืนก็สามารถเข้ามาทำงานร่วมกับกองทุนสวัสดิการชุมชนได้ซึ่งก็มีภาคธุรกิจเอกชนจำนวนมากเข้ามาสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน เช่น การสมทบของ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด กับ กองทุนสวัสดิการตำบลที่วัง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช  การสมทบของกิจการโรงแรงต่างๆ ที่มีต่อกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลป่าตอง จ.ภูเก็ต  เป็นต้น
  5. 8.  ประการสุดท้ายก็คือ กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็งทั้งนี้เพราะชาวบ้านเป็นผู้คิด ผู้กำหนดระเบียบ โดยสร้างระบบบริหารเองทั้งหมด หรือพูดให้ตรงประเด็นก็คือ “ชาวบ้านเป็นเจ้าของกองทุนสวัสดิการชุมชน”  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งอันเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างประชาธิปไตยฐานรากที่เข้มแข็งนั่นเอง

หลัก  8 ประการดังกล่าวข้างต้น ชาวบ้านใช้เวลาในการสั่งสมประสบการณ์ ความคิด อุดมการณ์ มายาวนาน เป็นแนวทางแห่งการพึ่งตนเอง เพียงเพื่อให้ประชาชนคนธรรมดามีหลักประกันอันมั่นคงเหมือนกับคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคม

14. ป่าชุมชน

การส่งเสริมการจัดทำ  “โครงการป่าชุมชน”

วิถีชีวิตของชุมชนในชนบทไทยส่วนใหญ่ ผูกพันอยู่กับพื้นที่ป่ามาเป็นระยะเวลายาวนานมีการอาศัยพึ่งพิงทรัพยากรป่าไม้ในการดำรงชีวิต แต่ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา การพัฒนาประเทศและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีการใช้ทรัพยากรต่างๆ เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตจำนวนมาก ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้ที่ถูกใช้เกินกว่าศักยภาพ มีการบุกรุกแผ้วถางเปลี่ยนพื้นที่ป่าไม้เป็นที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไม้อย่างถาวร เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรอื่นๆตามมา เช่น ทำให้ขาดแคลนน้ำ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้ทำการเกษตรไม่ได้ผล นอกจากนี้การบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ยังก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงและบ่อยครั้งระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ปฏิบัติงานด้านป่าไม้กับราษฎรที่อาศัยทรัพยากรป่าไม้ในการดำรงชีวิต

จากปัญหาดังกล่าวทำให้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินการ จากเดิมที่ให้รัฐมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติเพียงฝ่ายเดียวเป็นการกระจายอำนาจโดยให้ราษฎรและองค์กรชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม เช่น ให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายในการคุ้มครองดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

กรมป่าไม้ในฐานะหน่วยงานภาครัฐ ได้ตอบสนองต่อแนวทางดังกล่าว โดยได้นำไปแปลงสู่การปฏิบัติเป็นแผนงานของกรมป่าไม้ในเรื่องการมีส่วนร่วมระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ หรือที่เรียกว่า “การส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน” โดยการจัดทำโครงการป่าชุมชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน “การส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน” จึงเป็นภาพรวมการทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้หรือเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ ร่วมกับราษฎรในชุมชนและเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายอื่นๆ องค์กรต่างๆในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งเริ่มตั้งแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลาง กรมป่าไม้เริ่มวางแนวคิด จัดทำพิจารณาขอรับการจัดสรรงบประมาณจัดส่งให้เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ไปปฏิบัติงานพื้นที่ในกิจกรรมใดๆร่วมกับราษฎรในชุมชน และประสานการดำเนินงานกับเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายอื่นๆ ให้เข้าร่วมหรือให้การสนับสนุน จนเกิดผลในการจัดการป่าไม้ในรูปแบบการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนที่ปฏิบัติทั้งงานในชุมชน หมู่บ้าน งานในพื้นที่ที่ได้รับอนุมัติโครงการป่าชุมชนตามกฎหมายให้ประสบผลสัมฤทธิ์ ไปสู่เป้าหมายหลัก คือ ป่ายั่งยืน ประชาชนได้รับประโยชน์

วัตถุประสงค์การดำเนินโครงการ

  1. เพื่อร่วมกันจัดการป่าไม้โดยให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ ควบคุม ดูแลรักษา หรือบำรุงป่า พัฒนาสิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์ภายใต้หลักการความยั่งยืน
  2. เพื่อการพัฒนาป่าไม้และสร้างความเข้มแข็งของชุมชนควบคู่กันไปตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ให้ชุมชนสงบสุข พร้อมด้วยความสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ ดิน และน้ำ
  3. เพื่อบริหารจัดการป่าอันเป็นประโยชน์ต่อการรับผลผลิตมาลดรายจ่ายในครัวเรือน เป็นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น

15. รางวัลลูกโลกสีเขียว สถาบันลูกโลกสีเขียว

รางวัลลูกโลกสีเขียว เป็นโครงการต่อเนื่อง จากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ ปตท. ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2542 เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 72 พรรษา ด้วยความร่วมมือของผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ โดยมีเป้าหมายสนับสนุนและให้กำลังใจ แก่ผลงานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของบุคคลและกลุ่มบุคคล ที่ทำด้วยแรงกาย แรงใจ และด้วยความมุ่งมั่น เป็นความดีที่สมควรได้รับการยกย่องและเผยแพร่เป็นแบบอย่างต่อไป

นับจากปีแรกจนถึงปัจจุบัน รางวัลลูกโลกสีเขียว มีผลงานประเภทชุมชน บุคคล กลุ่มเยาวชน งานเขียน ความเรียงเยาวชน สื่อมวลชน และรางวัล “สิปปนนท์ เกตุทัต 5 ปี แห่งความยั่งยืน” ได้รับ รางวัลลูกโลกสีเขียว ไปแล้วทั้งสิ้น 249 รางวัล โดยผู้ได้รับรางวัลยังคงมุ่นมั่นสร้างสรรค์ผลงาน ในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และขยายเครือข่ายแห่งการอนุรักษ์ออกไปมากขึ้นกว่าเดิม และนอกจากการค้นหาผลงานอนุรักษ์ ที่ควรค่าแก่การยกย่องเชิดชูแล้ว รางวัลลูกโลกสีเขียว ยังสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยการจัดเวที “เครือข่ายลูกโลกสีเขียว” ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค และกิจกรรม “เพื่อนลูกโลกสีเขียว” ที่สัญจรเผยแพร่องค์ความรู้ในการจัดการป่า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

ปีนี้ รางวัลลูกโลกสีเขียว เดินเข้าสู่ปีที่ 10 เป็นทศวรรษแรกแห่งการเติบโต เพื่อยืนเคียงข้างกับผู้มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำความดีให้แก่ส่วนรวม

เป็นจุดหมายหนึ่ง ของเส้นทางการทำงานที่ยังคงทอดยาวสุดสายตา

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมผลงานสร้างสรรค์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นที่สนใจและเกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง
  • เพื่อเป็นเวทีให้โอกาสและเป็นกำลังใจแก่ผู้ที่ศึกษา หรือปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • เพื่อรวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้ในด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  • เพื่อกระตุ้นให้สังคมสนใจ และให้ความสำคัญด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
  • เพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ ทั้งในด้านแนวความคิด ทัศคติ และแนวทางปฏิบัติ นำไปสู่การมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาผลงาน

ประเภทชุมชน

  • เป็นชุมชน หรือเครือข่ายชุมชน ที่อนุรักษ์ทรัพยากรดิน น้ำ ป่า ครอบคลุมมิติของการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และการคงอยู่ของระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
  • เป็นชุมชน หรือเครือข่ายชุมชน ที่ใช้ความรู้ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม คุ้มค่า ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เกิดประชาสังคม และมีการจัดการชีวิตตามปรัชญาความพอเพียง
  • ในกรณีที่เป็นเครือข่ายชุมชน ต้องมีกิจกรรมที่มีความเชื่อมโยงและมีเป้าหมายร่วมกันในด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติทรัพยากรดิน น้ำ ป่า อาทิ การอนุรักษ์ลุ่มน้ำ เป็นต้น
  • ในกรณีที่เป็นชุมชนเมือง ต้องดำเนินกิจกรรมในการสร้างป่าในเมือง และกิจกรรมสร้างสรรค์ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม อาทิ การจัดการปัญหาภาวะมลพิษด้านน้ำ อากาศ และขยะ รวมไปถึงกิจกรรมการเสริมสร้างจิตสำนึก และการสร้างประชาสังคม
  • ผลงานในทุกกรณีสามารถเป็นแบบอย่างเพื่อการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติต่อไปได้

ประเภทบุคคล

  • เป็นบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีผลงานหรือผลักดันให้เกิดผลงานด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ที่สัมพันธ์กับชีวิตผู้คน ครอบคลุมมิติของการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและการคงอยู่ของระบบนิเวศอย่างยั่งยืน และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันอย่างน้อย 5 ปี
  • ผลงานอนุรักษ์ต้องเป็นผลงานที่เริ่มต้นด้วยความมุ่งมั่น มีเจตนาดี และเป็นที่ยอมรับของชุมชน และเป็นผู้มีวิถีชีวิตสอดคล้องกับแนวทางปรัชญาความพอเพียง
  • สามารถเป็นแบบอย่างเพื่อการเรียนรู้ และนำมาปฏิบัติต่อไปได้

ประเภทกลุ่มเยาวชน

เป็นกลุ่มเยาวชนไทยที่อายุไม่เกิน 25 ปี มีการดำเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า หรือจัดการปัญหาภาวะมลพิษ และมีกิจกรรรมสอดคล้องกับแนวทางปรัชญาความพอเพียง และเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นหรือชุมชนของตนเอง

ประเภทงานเขียน

  • เป็นงานเขียนภาษาไทยที่สร้างสรรค์ด้วยตนเอง มิใช่งานแปลหรือดัดแปลงจากผลงานผู้อื่น สามารถเป็นงานเขียนที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่สู่สาธารณะแล้ว หรืองานที่เขียนขึ้นใหม่
  • มีเนื้อหาสาระเชิงสร้างสรรค์ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรดิน น้ำ ป่า ครอบคลุมมิติของการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและการคงอยู่ของระบบนิเวศอย่างยั่งยืน และสอดแทรกด้วยแนวคิดปรัชญาความพอเพียง
  • ในกรณีที่เป็นงานเขียนประเภทบทความหรือสารคดี ต้องนำเสนอข้อเท็จจริงถูกต้อง ใช้อ้างอิงได้ และหากมีเนื้อหาสาระที่อ้างอิงถึงบุคคล ต้องสามารถตรวจสอบได้
  • ในกรณีที่ใช้นามปากกา ต้องแจ้งชื่อจริง นามสกุลจริง และแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของผลงาน โดยส่งสำเนาผลงานที่ตีพิมพ์ในสื่อต่างๆ มาด้วย และหากผู้เขียนมิได้ส่งผลงานเข้าประกวดเอง ผลงานนั้นต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนก่อน
  • ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ส่งได้เพียง 1 ผลงาน

ประเภทเรียงความเยาวชน

  • เขียนถึงแนวคิด ความรู้สึก หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยมีเนื้อหาสาระสอดแทรกแนวคิดปรัชญาความพอเพียง
  • ผลงานมีความยาวไม่ต่ำกว่า 3 หน้ากระดาษ A4 และส่งได้เพียง 1 ผลงาน

ประเภทสื่อมวลชน

  • เป็นสื่อมวลชนประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ เว็บไซต์ และหน่วยงาน
  • มีผลงานด้านการส่งเสริม และสนับสนุนการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม นำเสนอปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมุ่งเสริมสร้างพัฒนาจิตสำนึก รักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติ โดยพึ่งพาซึ่งกันและกันอย่างยั่งยืน
  • มีผลงานด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง

รางวัล “สิปปนนท์ เกตุทัต 5 ปี แห่งความยั่งยืน”

–  เป็นชุมชนที่เคยได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ในปี 2542-2545 (ไม่รวมชุมชน ที่ได้รับรางวัลประเภทนี้ในปีที่ผ่านมา)

– คณะทำงานภูมิภาคเสนอชื่อชุมชนที่เข้าข่ายภาคละ 1 ชุมชน เข้าสู่การพิจารณาของกรรมการคัดเลือก

16. กองทุนสุขภาพตำบล

กองทุนสุขภาพตำบลมีวัตถุประสงค์   เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนทุกคนในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น จึงสมควรกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิ เชิงรุกในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงและที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต

  • ในการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ได้มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกันระหว่างสปสช. กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้
  • ระยะที่หนึ่ง พ.ศ. 2549-2550 องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลนำร่องทั่วประเทศ
  • ระยะที่สอง พ.ศ. 2551-2552 องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลที่มีความพร้อม

ระยะที่สาม ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลที่ผ่านการประเมิน

  1. วัตถุประสงค์

1.1 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการอื่น รวมทั้งสถานบริการทางเลือกในพื้นที่โดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต

1.2 เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มี ความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในเขตพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและ มีประสิทธิภาพ ตามประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

1.3 เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กลุ่มประชาชน หรือองค์กรประชาชนในพื้นที่จัดทำกิจกรรมเพื่อ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่

1.4 เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในรอบปีงบประมาณนั้น และในกรณีที่จำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ครุภัณฑ์นั้น จะต้องมีราคาไม่เกิน 20,000 บาทต่อหน่วย

  1. หลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ใหม่

องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล ที่สนใจเข้าร่วมจัดตั้งกองทุน ต้องมีคุณสมบัติในการพิจารณา

ขั้นตอนที่หนึ่ง

  1. 1. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือนายกเทศมนตรี เห็นชอบและประสงค์เข้าร่วมดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่โดยส่งหนังสือแสดงความจำนงตามที่ สปสช. กำหนด กรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือนายกเทศมนตรีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนหรือผู้รักษาการแทน เป็นผู้ลงนามในแบบแสดงความจำนง
  2. 2. มีความพร้อมในการสมทบงบประมาณในปีที่สมัครจัดตั้งกองทุน
  3. 3. มีความพร้อมในการคัดเลือกคณะกรรมการบริหารกองทุนแบบมีส่วนร่วม

ขั้นตอนที่สอง

  1. 1. มีข้อมูลสุขภาพชุมชน แผนสุขภาพชุมชน หรือแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
  2. 2. ประธานกรรมการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเลขานุการ เข้ารับการอบรมเตรียมความพร้อม

3.หลักเกณฑ์การพิจารณากองทุนเพื่อสนับสนุนการดาเนินงานต่อเนื่อง

ในการดำเนินงานกองทุน หาก สปสช.หรือองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาลไม่ได้บอกเลิกข้อตกลงให้ขยายระยะเวลาการดำเนินงานกองทุนออกไปทุกๆ หนึ่งปีงบประมาณ สำหรับกองทุนที่จัดตั้งและดำเนินงานต่อเนื่อง ทุกปี สปสช.จะมีการประเมิน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานต่อเนื่อง ดังนี้

3.1 มีการบันทึกข้อมูลพื้นฐาน รายงานกิจกรรม รายงานด้านการเงินผ่านโปรแกรมบริหารจัดการกองทุนระบบออนไลน์ http://tobt.nhso.go.th/ ครบทุกรายการและเป็นปัจจุบัน

3.2  ภายในปีงบประมาณที่ผ่านมา ต้องมีการสมทบงบประมาณได้ตามเกณฑ์

3.3  มีแผนงาน/โครงการรองรับกิจกรรมครบทั้ง ๔ ประเภท

3.4 มีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินที่ สปสช.กำหนดในแต่ละปี

4. การยุบเลิกกองทุน

4.1 กองทุนใดที่ไม่มีเงินสมทบจากองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล หรือไม่มีการดำเนินกิจกรรมใดๆ ต่อเนื่องตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป

4.2 ในกรณีที่กองทุนไม่สามารถดำเนินการได้ตามข้อ 3 หรือข้อ 4.1 สปสช. อาจประกาศยุบเลิกการดำเนินงานกองทุนนั้น ทั้งนี้ หากยุบเลิกกองทุน ทรัพย์สินที่เหลือของกองทุนให้ตกเป็นของหน่วยบริการปฐมภูมิของรัฐที่อยู่ในพื้นที่นั้นและให้โอนเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน ให้แก่หน่วยบริการดังกล่าว ตามวิธีการที่ สปสช.กำหนด

5. แหล่งที่มาของเงินหรือทรัพย์สินในกองทุน ประกอบด้วย

5.1  เงินค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนของการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด

5.2 เงินอุดหนุนหรืองบประมาณที่ได้รับจากองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ตามสัดส่วนดังนี้

5.2.1  เงินสมทบขององค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่หรือเทศบาล ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

5.2.2 เงินสมทบขององค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

5.2.3 เงินสมทบขององค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ20 ของค่าบริการสาธารณสุขที่ได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

5.3 เงินสมทบจากประชาชน ชุมชนหรือกองทุนอื่น ๆ ในชุมชน อาทิเช่น การทอดผ้าป่า การระดมทุนจากประชาชน

5.4 รายได้อื่นๆ หรือทรัพย์สินที่ได้รับมาในกิจการของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

17. ตำบลจัดการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทยต้นแบบ

สาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ดังนี้

  1. 1. สถานการณ์ขอบเขตปัญหา ได้วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงพื้นฐานที่เป็นภัยคุกคามสุขภาพจากพฤติกรรมการบริโภคและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน มัน เค็มมากเกินไป กินผักผลไม้น้อย ขาดการออกกำลังกาย ไม่สามารถจัดการอารมณ์และความเครียด สูบบุหรี่และดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ภาวะน้ำหนักหรือโรคอ้วนส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ที่มีปัจจัยเสี่ยงร่วมกันและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันใน 5 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง
  2. 2. แนวคิดหลักในการพัฒนาสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย ได้ยึดแนวคิดการสร้างวิถีชีวิตไทยที่พอเพียงเพื่อการมีสุขภาพดี ตามแนวคิดสุขภาพพอเพียงและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมุมมองการบูรณาการเป็นองค์รวมในระบบสุขภาพ บริบทแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของสังคม และความสัมพันธ์ขององค์ประกอบที่เชื่อมโยงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรควิถีชีวิต

3.วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์สูงสุด และเป้าหมายในการพัฒนา ได้กำหนดไว้ตามแนวคิดหลักดังกล่าว ดังนี้ วิสัยทัศน์ ประชาชนมีศักยภาพในการจัดการปัจจัยเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อโรควิถีชีวิตด้วยการรวมพลังขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วนอย่างบูรณาการ สมดุล ยั่งยืน และเป็นสุข บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เป้าประสงค์สูงสุด ประชาชน ชุมชน สังคม และประเทศ มีภูมิคุ้มกันและศักยภาพในการสกัดกั้นภัยคุกคามสุขภาพจากโรควิถีชีวิตที่สำคัญได้

18. ตำบลสุขภาวะ

แนวคิดของตำบลสุขภาวะ อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวมด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต สังคม และสติปัญญา โดยเป็นการบูรณาการเชิงพื้นที่เป็นตัวตั้ง มีกลไกที่สำคัญในระดับตำบลเป็นแรงขับเคลื่อน

เครือข่ายตำบลสุขภาวะต้องการขับเคลื่อนมากที่สุด คือ นโยบายสาธารณะ 7 ข้อ

  1. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในประเด็นการบริหารจัดการขยะในระดับครัวเรือนและชุมชนอย่างถูกวิธี
  2. เกษตรกรรมยั่งยืน ประเด็นส่งเสริมให้เพิ่มครัวเรือนการทำเกษตรกรรมยั่งยืนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของครัวเรือนเกษตรในตำบล
  3. การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน ประเด็นสนับสนุนและจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนประจำตำบลให้มีส่วนร่วมกิจกรรมของชุมชน
  4. การจัดการภัยพิบัติ จัดตั้ง “ศูนย์จัดการภัยพิบัติประจำตำบล” แบบบูรณาการภายใต้การมีส่วนร่วมของท้องที่และท้องถิ่น
  5. การลงทุนด้านสุขภาพ ประเด็นทุกภาคส่วนร่วมสมทบทุนผลิตและสร้างบุคคลกรด้านสุขภาพของชุมชน สำหรับข้อ
  6. การดูแลสุขภาพ ประเด็นจัดทำฐานข้อมูลชุมชนและใช้ข้อมูลชุมชน ในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายการดูแลเพื่อออกแบบการดูแลสุขภาพและช่วยเหลือร่วมกับหน่วยบริการสุขภาพ กลุ่มอาสาสมัคร และแหล่งเรียนรู้ และ
  7. สวัสดิการชุมชนโดยชุมชนประเด็นจัดตั้ง กองทุนกลางเพื่อจัดสวัสดิการให้กลุ่มคนที่ด้อยโอกาสในตำบล

————-