วันที่ 22-23 พฤษภาคม 2561 ณ ห้องประชุมม่วงเทพรัตน์ โรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่ปะ จังหวัดตาก จัดโดย โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ
โดยมีผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย ผู้แทนนำชุมชน อาสาสมัครชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิทยากร เจ้าหน้าที่สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา รวม 83คน การประชุมครั้งนี้จัดโดย โครงการสนับสนุนขุมขนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
กระบวนการการประชุมเชิงปฏบัติการ ทั้งการให้ความรู้ แลกเปลี่ยน ระดมความคิดเห็น และจัดทำแผน ด้วยกระบวนการกลุ่มย่อย และนำเสนอ เติมเต็ม
ก่อนการจัดประชุมได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล สำรวจพื้นที่ เพื่อทำความเข้าใจสภาพการณ์สู่การระดมความคิดเห็นอย่างเป็นขั้นตอน
โอวาท “ป่ากับน้ำ”
พระครูสุธีวุฒิคุณ เจ้าอาวาสวัดโพธิคุณ ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ในฐานะหนึ่งคนทำงานอยู่กับพื้นที่ป่าต้นน้ำ และร่วมทำงานกับชุมชนและอีกหลายท่าน ซึ่งการบริหารจัดการน้ำพื้นที่แม่ปะ เห็นว่าพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ต่างต้องมีวิธีคิดที่สอดคล้องกันเป็นสำคัญ การที่ส่วนใดส่วนหนึ่งจะประสบความสำเร็จ ทุกส่วนต้องสมดุล
ด้านการอนุรักษ์ดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ต้องดูแล แนวโน้มการเจริญเติบโต การใช้ทรัพยากรน้ำพื้นที่ที่มีความต้องการมาก การสร้างเขื่อนหลายขนาดเพื่อจัดการน้ำ เมื่อน้ำมากเกิน น้ำน้อยเกิน ซึ่งเป็นผลจากการใช้ทรัพยากรอื่น ๆ ของมนุษย์ จึงเกิดปัญหา
แน่นอนว่าผลจากการเพิ่มขึ้นของผู้คน การเติบโตทางเศรษฐกิจ นำมาซึ่งความต้องการในการใช้ทรัพยากรที่ทวีความต้องการ และส่งผลต่อสมดุลทางธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องยอมรับในเบื้องต้น ขณะที่ต้องรับมือกับสภาพปัญหาที่ตามมา ทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วม
ที่สุดจึงต้องร่วมคิด ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องร่วมแก้ไขปัญหา แม่สอด 20 ชุมชนต้องร่วมมือ ขณะที่แม่ปะ เป็นพื้นที่ต้นน้ำอยู่ที่วัดโพธิ์พิกุล หากกลางน้ำ และปลายน้ำ ไม่ได้ดำเนินการใด ๆ การบริหารจัดการก็จะไม่สมบูรณ์ ขณะที่หากต้นน้ำตัดต้นไม้หมด หรือกักไว้ใช้ทั้งหมด พื้นที่อื่น ๆ ได้รับผลกระทบ ปัญหาบางอย่างเกิดจากขาดการพูดคุยร่วมมือ นอกจากแก้ไม่ได้ ยังเป็นการสะสม ขยายปัญหาเหล่านั้น
ในฐานะคนทำงาน เห็นว่าส่วนวิชาการเป็นกรอบในการทำงาน ความสำเร็จที่จริงคือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ย้อนหลังไป 15 ปี หลวงพ่อมหาบุญ ได้กล่าวไว้ว่าแม่สอดต้องเหมือนกรุงเทพฯ แย่งกันกินกันอยู่ น้ำมากก็จะมากไป น้ำน้อยก็จะน้อยเกิน ปัญหาคือเมื่อก่อนมีน้ำ 1 โอ่ง คนใช้สอยเพียงคนพอ ปัจจุบันน้ำ 1 โอ่ง คนใช้ 100 คนจึงไม่พอ จึงต้องบริหารจัดการเพราะผู้คนมากขึ้น แต่ทรัพยากรที่มีกลับน้อยลง
ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นภายหลัง หรือเกิดขึ้นเป็นปกติอยู่ จึงต้องทบทวนว่าผู้คนมาแย่งที่อยู่ของน้ำหรือน้ำแย่งที่อยู่คน ปัจจุบันเราแย่งที่อยู่น้ำ การอยู่กับน้ำของคนสมัยก่อนสร้างบ้านยกสูง ท่วมจึงไม่เดือดร้อน แต่ปัจจุบันกลายเป็นปัญหาใหญ่ การปลูกสร้างทำให้ขัดขวางเส้นทางที่น้ำควรเดิน ทำอย่างไรจึงลดทอนความเดือดร้อนเหล่านั้นให้แก่ผู้คนและชุมชน
การเป็นส่วนหนึ่งที่จะขับเคลื่อนงานในบางจุด บางเรื่องที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะพื้นที่ของตนเอง ซึ่งอยู่ในเขตต้นน้ำ การรักษาพื้นที่ยังต้องอาศัยซึ่งความร่วมมือจากทั้ง ชาวบ้าน ผู้ใหญ่ ส่วนวัดในฐานะเจ้าอาวาสต่างก็ทำหน้าที่ตรงนั้นเช่นกัน เพราะเป็นที่ที่อยู่ และต้องร่วมมือกัน 20 ชุมชนแม่สอดมีตัวแทนมารับรู้ รับทราบแนวทาง สามารถจุดประกายความคิดขึ้นได้ สิ่งต่าง ๆ นอกจากเป็นการสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีประสบการณ์แล้ว ยังเป็นการสร้างความรู้อีกด้วย
การจัดการบริหารน้ำ สร้างให้น้ำไหลอย่างเป็นระบบ ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ลดทอนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนเมือง สำหรับแม่ปะมีการทำงานร่วมกัน แม้ไม่มีความรู้ต่อสิ่งที่ทำมากนัก แต่มีแนวคิดทำงานร่วมกับชุมชน โดยมีพระภิกษุสงฆ์เป็นร่วมส่วนหนึ่ง การอยู่ร่วมกันอาจจะมีหน้าที่ต่างกัน ชุมชนต้องร่วมกันหวังแค่กำลังสนับสนุนจากรัฐทั้งหมดเป็นไปได้ยาก และล่าช้า ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้ทำงาน แต่ความต้องการชุมชนที่หลากหลายไม่สามารถตอบสนองได้ทั่วถึง ทันกาล ชุมชนจึงต้องคิดร่วมกัน ช่วยกัน โดยเฉพาะผู้นำ เหล่าจิตอาสา อ.ส.ม. ล้วนสำคัญ ความสำเร็จของงานไม่ใช่คนเดียวทำได้ต้องอาศัยองค์ประกอบหรือปัจจัยสนับสนุน
การสร้างฝายมีชีวิต ต้องการการสนับสนุนจากหลายส่วน ทั้งทรัพย์ สติปัญญา จึงจะสำเร็จเป็นฝาย ความหมายของฝายตัวหนึ่งบอกได้หลายอย่างสามารถกักเก็บน้ำ ลดแรงไหลของน้ำ ความร่วมมือที่มีฝายเป็นผล สิ่งที่ผ่านมากว่าห้องเรียนคือประสบการณ์ในการทำงานที่หล่อหลอมรวมกันเป็นทิศทางที่มีวิธีคิดความรู้ความสามารถเฉพาะของแต่ละฝ่ายร่วมกันจัดการภัยพิบัติของอำเภอแม่สอด
ชมวิดิทัศน์ การขับเคลื่อนงานการจัดการภัยพิบัติชุมชนแม่สอด
“พลังเมือง” และ “ลูกแม่สอด”
คุณนัยนา หวายคำ ผู้อำนวยการ มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
จากวิดีทัศน์ชี้เห็นถึงความร่วมมือการขับเคลื่อนงานภัยพิบัติ นับเป็นทุนประสบการณ์ที่สำคัญของชุมชน ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมทั้งจากผู้นำชุมชน อ.ส.ม. รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา ซึ่งมาพร้อมกันในวันนี้ รวมถึงหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 33 และหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบ ถือเป็นความหลากหลาย ครั้งนี้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ และนายอำเภอแม่สอด ยังให้เกียรติมาร่วมและกล่าวเปิด
นายมานพ ยะเขียว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ

นมัสการพระคุณเจ้า และสวัสดีทุกท่าน แท้จริงติดภารกิจอื่นแต่เห็นว่าที่นี่สำคัญกว่า
เมื่อครั้งมีโอกาสไปศึกษาดูงานประเทศเกาหลี พบว่ามีการจัดการตนเอง ในเรื่องสุขภาพ และคิดว่าต้องเปลี่ยนแปลงสู่การพึ่งพาตนเอง โดยเฉพาะการดูแลรักษาดิน น้ำ ป่า ของแม่ปะ
“ที่มาและวัตถุประสงค์การประชุม” นายสุนทร สันธิศิริ, นายวิชัย ใจเหล็ก
ผู้แทนเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติชุมชนแม่สอด
แม่สอดเกิดอุทกภัยปี 2556 จากภูมิประเทศที่รองรับน้ำ ทำให้เกิดความเสียหายมากด้วยเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ท่วมใหญ่ มีการจัดระบบเตรียมความพร้อมรับภัยอย่างเข้มแข็ง อย่างไรก็ตามยังคงเต็มไปด้วยเสี่ยง เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ รวมทั้งพื้นที่โดยรอบ ผลจากนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ เกิดการขยายตัวของเมือง ทำให้เส้นทางน้ำ พื้นที่รับน้ำหายไป สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยร่วมด้วย
การทบทวน และเชื่อมร้อยการบริหารที่แต่ละภาคส่วนมีอยู่ เพื่อการปฏิบัติการ และมีเครือข่ายองค์กรท้องถิ่นเป็นฐาน การนโยบายให้สอดคล้อง หน่วยงานและเครือข่าย เพื่อให้เกิดการเชื่อมร้อยในอำเภอ นำไปสู่การเกิดความพร้อมรับมือภัย ที่มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง ผลกระทบ มีแผนการดำเนินงาน หน่วยงานท้องที่ และหน่วยงานท้องถิ่นในอำเภอแม่สอด และเครือข่ายภาคประชาชน ร่วมกันจัดการประชุมเชื่อมร้อยการดำเนินงานลดความเสี่ยงภัยพิบัติแม่สอด ระหว่างวันที่ 22-23 หวังเกิดแผนบูรณาการ หน่วยงาน และองค์กรความรู้การจัดเป็นไปด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย
กล่าวเปิดการประชุม
นายชัยพฤกติ์ เชียรธานรักษ์ นายอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

การสำรวจและถ่ายรูปเส้นทางพื้นที่บริเวณเดินสำรวจ พบว่าข้อมูลที่มีไม่ตรงกับข้อเท็จจริง จึงต้องจัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้รู้สภาพ สาเหตุ นำไปสู่การจัดการปัญหาต่อไป
สำหรับพื้นที่ตั้งของแม่สอดนั้นโอบล้อมด้วยภูเขาโดยรอบ ขณะที่การจัดการเป็นไปแบบต่างคนต่างทำซึ่งปรากฎให้เห็น และจับต้องได้ว่าขาดการใส่ใจตั้งแต่แรกจึงกลายเป็นปัญหา การแก้จึงต้องตื่นทั้งระบบ ทุกพื้นที่ เหตุน้ำท่วมซ้ำซาก จะแค่รอถุงยังชีพ หรือจะลุกขึ้นมาช่วยกันหาทางออกดี จึงต้องเลือก
เมื่อเกิดภาวะฝนตกหนัก น้ำหลาก น้ำล้น ไหลเข้าสู่พื้นที่เมืองที่มีสภาพพื้นที่น้ำเสื่อมโทรม ทั้งเกิดโดยธรรมชาติ และเกิดจากความมักง่าย ปล่อยปะละเลย น้ำไม่สามารถระบายออกลำน้ำได้ อีกทั้งมีความคิดว่าไม่เป็นไรเป็นหน้าที่ของหน่วยงาน หลายส่วนถูกรุกล้ำพื้นที่คลองทั้งปิด ทั้งถมที่เพื่อประโยชน์ส่วนตน ปัญหาเหล่านี้พร้อมเพียงไหนที่จะแก้ไข เพื่อคลี่คลายน้ำ
เครื่องมือหลักในการบริหารจัดการภัย คือ พ.ร.บ.บรรเทาสาธารณภัยปี 2550 ทำให้เกิดความพร้อมตั้งแต่ระดับชาติจนถึงท้องถิ่น มีงบประมาณสนับสนุนแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ทุกส่วน ดังนั้นการรอกฎหมายอย่างเดียวอาจสำเร็จได้ยาก ไม่ทันการณ์ มีข้อจำกัดด้านการเบิกจ่าย สิ่งสำคัญคือต้องป้องกัน
อย่างแรก การรับผิดชอบในหน้าที่ บทบาทของตนเอง
อย่างที่สอง การรับผิดชอบต่อส่วนรวม ช่วยดูแลในพื้นที่สาธารณะ
การบูรณาการสำคัญคือการปฏิบัติการลงมือทำจึงจะมีประโยชน์ เกิดรูปธรรมที่จับต้องได้ เมื่อสร้างบางสิ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ มีการดูแลรักษาจัดการเพื่อไม่ให้การลงทุนเสียเปล่า ดังนั้นเป้าหมายบูรณาการไม่เพียงประชาชนได้ประโยชน์แต่ต้องกระตุ้นให้ลุกขึ้นมาช่วยกันจัดการปัญหาร่วมกัน
น้ำท่วมแม่สอดเกิดขึ้นเกือบทุกปี ถือว่ามีภาวะความเสี่ยงตลอด ในวันนี้ถือว่าเป็นวันที่ดีที่จะบูรณาการแผน
ส่วนหนึ่งที่ร่วมสำรวจพื้นที่และจัดเก็บข้อมูลด้วยการบันทึกถ่ายภาพเส้นทาง ทั้งข้อมูลความกว้าง จุด สาเหตุที่เกิด เพื่อนำไปสู่การเดินหน้าจัดการปัญหาอย่างแท้จริง
วันนี้นับเป็นการระดมหลายหน่วยงานที่มีศักยภาพ ความรู้ทางวิชาการ บุคลากร ที่จะช่วยสนับสนุนตามสิ่งที่มีทั้งแรง เครื่องจักร งบประมาณ ทางแม่สอดยินดี ด้านภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมสำคัญ แบ่งเบากันและกัน ข้อมูลเหล่านี้ประกอบการตัดสินใจเพื่อสั่งการผ่านวงประชุมร่วม แบ่งเขต ความรับผิดชอบ เพื่อตรวจสอบและแก้ปัญหาทั้งบ้านที่ถม ผู้คนที่รุกคลอง ท่อตันจากดิน ขยะ ซึ่งชุมชนต้องดูแลพื้นที่ของตนเองเช่นกัน การรุกล้ำที่สาธารณะลำเหมืองนั้นมีโทษรุนแรง และไม่ต้องการให้เป็นปัญหาทะเลาะ
สำหรับระบบการบริหารจัดการมีช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง ช่วงเกิดภัยต้องสำรวจก่อนอย่างเร่งด่วน เมื่อเกิดภัยต้องมีการรับมือ ไม่อยากเห็นภาพน้ำท่วมรถจม ข้าวของเสียหาย บางคนยังผ่อนไม่หมดกลายเป็นหนี้สิน หลังเกิดภัยหากต้องการเพียงได้ถุงยังชีพแค่นั่งรอ แต่ถ้าไม่ต้องเริ่มต้นร่วมมือ ทำได้ในทุกวัน ๆ ไม่มีใครขีดเส้นตายได้ แต่ขีดความดีได้ แม้ไม่ดีทั้งหมดแต่ก็พยายามให้ได้มากที่สุด
การเน้นปฏิบัติการสำคัญ ข้อมูลที่ครบวิชาการเป็นส่วนประกอบหนึ่ง วันนี้เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ทวงผืนป่าคืน จากประสบการณ์ที่ อ.งาว กับการต่อสู้ได้พื้นที่คืนนับพันไร่ ซึ่งต้องร่วมกันกับ หน่วยรับผิดชอบโดยตรงเพื่อให้มีผืนป่าซับน้ำ สำหรับฝายมีชีวิตนั้นทำให้ชีวิตดีขึ้นหรือไม่ เป็นแหล่งน้ำจริงไหม ร่มเย็นไหม ถ้าใช่ เหตุใดทุกที่ไม่ทำ เพราะอะไร ฝายธรรมชาติจึงเป็นจุดขาย กระตุ้นให้ยึดคืนพื้นที่ด้วยการจัดทำฝาย ที่ อ.งาว เริ่มต้นในระยะแรกเน้นสิ่งที่จับต้องได้แล้วเมื่อสำเร็จขั้นหนึ่งจึงส่งต่อเปิดโอกาสให้เอกชนมาเสริม ราชการมีข้อจำกัด
วันนี้มีโอกาสได้มาจุดประกายหรือสร้างความกังวลใจไม่แน่ใจ ขอบคุณหลายท่านที่มา ขอบคุณนายกแม่ปะ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ต้องร่วมกันตั้งแต่ตอนเริ่มต้น ซึ่งอาจพบเจอกับปัญหา ขอให้ทุกท่านเอาชนะและผมจะเป็นหัวหอกให้ ยินดีที่จะทำให้พ้นจากภัย หรือจะกังวลอย่างนี้ไปด้วยกัน อาจเป็นสิ่งที่ต้องเลือกและเริ่มกัน
ภัยพิบัติและความเสี่ยงสถานการณ์แม่น้ำเมยและเมืองแม่สอด
โดย ดร. แมน ปุโรทกานนท์ เลขาธิการมูลนิธิ Thai Water Partnership
งานภัยพิบัติที่ดำเนินการด้วยรูปแบบภาคีเครือข่าย โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้ สำนัก 10 สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม แผนการจัดการภัยพิบัติ ที่เป็น 1 จาก 10 สำนักของ สสส. ซึ่งมีงบประมาณสนับสนุนราว 50 ล้านบาท ประมาณ ๑๐ โครงการ ระยะดำเนินการ 1-3 ปี

พื้นที่แม่สอดเป็นพื้นที่ดำเนินการนับตั้งแต่ปี 2556 ช่วงเริ่มต้นโครงการยังเป็นช่วงเดียวกับการเกิดภัยน้ำท่วมในขณะนั้น การสนับสนุนของ สสส. ยังครอบคลุมพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ ทั้งประเภทภัยน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม และอัคคีภัยในชุมชน แต่ไม่รวมถึงภัยแผ่นดินไหว และหมอกควัน แผนจัดการภัยแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนนั้นมุ่งเน้นการทำงานในส่วนนี้เพื่อให้เห็นเด่นชัด ในปี 2560 มีการดำเนินการพื้นที่ภาคใต้ หลังผ่านน้ำท่วมหนัก รวมถึงพื้นที่ภาคอีสานในเวลาต่อมา
สถานการณ์ภัยพิบัติระดับโลก ภาพรวมภัยที่มีเกิดขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยพบความสูญเสียน้อยกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่ปี 2554 พบผลกระทบคนเสียชีวิต 900 คน และมียอดความเสียหลาย 45 พันล้านดอลล่าสหรัฐ อยู่ในอันดับที่ 5-6 ของโลก จากความเสียหายของภัยที่เกิดนั้น
ภัยจากน้ำสำคัญเมื่อเทียบกับจำนวนเหตุการณ์ภัยที่เกิดขึ้นทั่วโลก ผลเสียหายต่อทรัพย์สินค่อนข้างมาก จากแนวโน้มของการเกิดภัยพิบัติธรรมชิตในรอบ 100 ปี สถานการณ์การเกิดภัยมีความถี่มาก และเสียหายมากขึ้น การขับเคลื่อนงานภัยพิบัติจึงให้ความสำคัญกับภัยน้ำท่วม ที่สัมพันธ์ต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในทางวิชาการแบ่งภัยออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกการเตรียมความพร้อม และป้องกันการลดผลกระทบ ส่วนที่ 2คือการเผชิญเหตุ รับมือ และฟื้นฟู ระหว่างการเกิดภัยมีการสับสนระหว่างการเกิดภัยเสมอ ชัดเจนอย่างยิ่งในช่วงสึนามิ จังหวัดน่านมีการจัดทำแผนบูรณาการร่วมกับหน่วยงาน จังหวัดนครศรีธรรมราช พบสถานการณ์ภัยและยาติดค้างอยู่ที่โรงพยาบาลอำเภอไม่สามารถจัดส่งยังพื้นที่ได้ เป็นประสบการณ์จากหลายพื้นที่ งานฟื้นฟูกลายเป็นเรื่องยากที่สุดสำหรับหน่วยงาน ที่ต้องทำให้ดีกว่าเดิมซึ่งเป็นหลักสากล แต่โดยการปฏิบัติไม่สามารถดำเนินการได้
กรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ปี 2558-2573 เป็นกรอบที่ดำเนินการ แนวทางการทำงานที่สำคัญในการจัดการโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน หลังเหตุการณ์สึนามิ จึงเกิดแผนป้องกันบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2558 กรอบสากลจัดทำ คือ การเตรียม ป้องกัน ลดผลกระทบ การประเมินความเสี่ยง ซึ่งโดยมากทำ 3 ส่วนแรก คือ ส่วนเกิดภัย ส่วนเผชิญ และส่วนฟื้นฟู
เป้าหมายระดับโลก หน่วยงานลด 4 เรื่อง เพิ่ม 3 อย่าง
- ลด 4 อย่าง
– อัตราการเสียชีวิต
– จำนวนผู้ได้รับผลกระทบ
– ความสูญเสียด้านเศรษฐกิจ
– ความเสียหายต่อสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการพื้นฐาน
- เพิ่ม 3 อย่าง
– แผนยุทธศาสตร์ ลด ความเสี่ยงระดับชาติ และระดับท้องถิ่น
– การให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ
– การเข้าถึงข้อมูลการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าและข้อมูลความเสี่ยง
การขยายตัวของความเสี่ยงภัยที่มีมากขึ้น ในพื้นที่แม่สอด ถ้าฝนตกปริมาณเท่าปี 2556จะเกิดความเสียหายเหมือนเดิมหรือไม่อย่างไร
ภาพรวมลุ่มน้ำห้วยแม่สอด (199 ตร.กม.) มีพื้นที่รับน้ำ 62 ตร.กม. ไหลอ่างเก็บน้ำห้วยแม่สอด และมีพื้นที่รับน้ำ 20 ตร.กม.บริเวณห้วยเสี้ยว ห้วยแล้ง เดิมเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน น้ำฝนที่ตกลงมา และปริมาณน้ำเมยที่มาก ต่างมีผลต่อกัน
ที่ผ่านมามีการดำเนินการเก็บข้อมูล ทำเครื่องมือแจ้งเตือน มีการจัดทำแผนผังแนวความคิดในการจัดการโซนนิ่งพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมของแม่สอด
สสส.สนับสนุนการจัดการความเสี่ยง โดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง เน้นการทำงานระดับเครือข่ายกับชุมชนเป็นสำคัญ ขณะที่หน่วยงานมีการจัดการระดับอำเภอ จังหวัด และ อปท. นอกจากนี้ยังพยายามเชื่อมร้อยระหว่างชุมชน อปท. อีกด้วย
ชี้แจงกระบวนการ
คุณนัยนา หวายคำ ผู้อำนวยการ มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมามีการดำเนินการจัดทำงานภัยพิบัติโดยชุมชนร่วมกัน และขยายพลังพลเมืองจนเต็มพื้นที่แม่สอด จังหวะต่อไปหวังขยายเต็มทั้งอำเภอ และออกแบบแผนงานรับมือร่วมกัน 2 เรื่องใหญ่ คือ 1) ภัยพิบัติและความเสี่ยง 2) การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน
จากวิดีโอ ชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลง ที่ต้องมีการประเมินร่วมอย่างเป็นระยะ ทั้ง 20 ชุมชนของเมืองแม่สอด รวมทั้งพื้นที่ ใกล้เคียง ได้แก่
1) ตำบลท่าสายลวด
2) ตำบลแม่ปะ
3) ตำบลแม่ตาว-พระธาตุผาแดง
4) ตำบลแม่สอด (20 ชุมชน)
ทั้ง 4 ตำบล แบ่งการวิเคราะห์รายพื้นที่ พร้อมจุดเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงที่สำคัญ ระบุพื้นที่ปลอดภัย ศักยภาพ คนทำงาน และความพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ ระบุสาเหตุที่เกิดขึ้นระดับชุมชน และแนวทางแก้ไข มีทั้งการป้องกัน เตรียมพร้อม เผชิญภัย การพื้นฟู และปรับตัว

การระดมข้อมูล แนวทางในระดับพื้นที่นำมาเชื่อมร้อยเพื่อให้เกิด“แผนบูรณาการจัดการภัยพืบัติน้ำท่วม แม่สอด” รวมถึงการขับเคลื่อนการทำงานของแผน
ชุมชนจัดการภัยพิบัติ ยังต้องประกอบด้วยหน่วยงานต่าง ๆ และเห็นว่า อปท.มีความใกล้ชิดกับชุมชน รวมทั้งมีบทบาทภารกิจในการสนับสนุน จัดการ จึงเป็นโอกาสที่ดีในการประเมินความเสี่ยงร่วมกัน
กระบวนการในการประเมินความเสี่ยง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม พื้นที่ ได้แก่ 1) ตำบลท่าสายลวด 2) ตำบลแม่ปะ 3) ตำบลแม่ตาว-พระธาตุผาแดง 4) ตำบลแม่สอด (20 ชุมชน) โดยแต่ละกลุ่มจะมีพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม พร้อมทั้งอุปกรณ์สำคัญ คือ แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ สติกเกอร์ ปากกาเคมี
ความหมายของสีที่ระบุตำแหน่งพื้นที่ในการประเมินความเสี่ยง ตามหลักสากล ประกอบด้วย
