การพัฒนากระบวนการทำงานและการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีส่วนร่วม จ.น่าน

จากเวที การพัฒนากระบวนการทำงานและการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีส่วนร่วม ณ ห้องประชุมเทศบาลเวียงสา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ตั้งแต่วันที่ 8 – 9 กันยายน 2560 โดยมี ดร.พลภัทร เหมวรรณ และคณะจากศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ หรือ GISTDA North ร่วมกับสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI)  โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติอย่างเป็นระบบ โดยเครือข่ายองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

Table of Contents

ความเสี่ยงใหม่  :

รู้ก่อน รู้เร็ว รู้ถูกต้อง รับมือได้

ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีความรุนแรงมากกว่าอดีตและมีรูปแบบแผนที่แตกต่างจากเดิม จนไม่สามารถคาดการณ์ได้ถูกต้องจึงเป็นความเสี่ยงใหม่ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับบ้านเรือน ผู้คนเป็นจำนวนมากกว่าสมัยอดีต โดยเรายังไม่มีองค์ความรู้ที่ดีหรือมากพอที่จะเข้าใจหรือจะแก้ไขปัญหาได้

พื้นที่อำเภอเวียงสากำลังพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการความเสี่ยงภัย โดยแยกภัยพิบัติออกเป็น 3 ระดับ คือ ภัยน้อย ภัยกลาง ภัยมาก

การเรียนรู้ที่ผ่านมาจากปี 2558 ถึง 2559 เป็นการเรียนรู้ที่ลึกขึ้นและกว้างขึ้น จนเสริมสร้างให้มีการบูรณาการดำเนินงานระหว่างหน่วยงาน ชุมชนหรือชาวบ้านมีความเข้าใจภัยพิบัติและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ การใช้ข้อมูลในการเตือนภัย และการเฝ้าระวังองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีการเตรียมความพร้อมก่อนเกิดน้ำท่วม มีการร่วมมือกับเครือข่ายภาคเอกชน เข้ามาร่วมในการดำเนินงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน

ชาวบ้านร่วมกันพัฒนาแนวคิดให้เกิดการดำเนินงานสู่องค์ความรู้เป็นกลไกในการจัดการความเสี่ยงภัยในระดับพื้นที่ ที่สามารถลดความเสี่ยง และความเสียหายจากอุทกภัยลงไปได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

การดำเนินงานสู่…การสร้างองค์ความรู้ การจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติระดับพื้นที่[1]

1.ภูมินิเวศ/พื้นที่ 

  • การประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัติอย่างเป็นระบบ
  • การวิเคราะห์สถานการณ์และการลดความล่อแหลมการเกิดภัยที่มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมินิเวศพื้นที่
  • ความเปราะบางในด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม กายภาพโครงสร้าง กฎหมาย ระเบียบ
  • ศักยภาพในการรับมือทางนโยบายสังคม เศรษฐกิจ

 

2.การใช้เทคโนโลยีทางอินเตอร์เน็ต

ถูกต้องแม่นยำ  โดยมีกระบวนการทำงาน แบบ KM ดึงชุมชนเข้ามาทำงาน

  • สารสนเทศที่ถูกต้องแม่นยำ มีประสิทธิภาพ ใครที่ไหน อย่างไร เมื่อไร (เท่าไร)
  • การสร้างระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
  • การวิเคราะห์ความเสี่ยงภัยจากภัยพิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ GIS
  • การสนับสนุนกระบวนการทำงานในการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ

 

3.นวัตกรรมการทำงาน

  • การพัฒนาบุคลากร ความเป็นผู้นำ เสริมสร้างศักยภาพ ความรู้ทักษะในการเตรียมความพร้อมและการฟื้นคืนกลับสภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การสร้างนวัตกรรมการทำงานด้วยการ KM กระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ ในทุกระดับของวัฏจักรการเกิดภัยพิบัติ
  • หลักประสิทธิผล ถูกต้อง แม่นยำ คุณภาพ

 

4.ชุมชน

  • การสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ และการสื่อสาร ความเสี่ยงภัยพิบัติให้แก่ชุมชน
  • การสร้างศักยภาพและความสามารถในการรับมือโดยชุมชนเป็นฐาน
  • ชุมชนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานในการลดความเสี่ยงภัยพิบัติในทุกขั้นตอน

 

5.เครือข่าย

  • การมีส่วนร่วมและบูรณาการ การทำงานจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาชน
  • การประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งทรัพยากร งบประมาณ บุคลากร เพื่อนำไปสู่ความพร้อมรับมือและฟื้นคืนกลับอย่างประสิทธิภาพ

 

ผู้เข้าร่วมได้จัดทำ “ขั้นตอนปฏิบัติงาน” (“Work Process) ภายใต้แผนรับมือภัยพิบัติด้านต่างๆ ให้ตรงกับสภาพการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ 5 ด้าน ดังนี้

1. แผนลดความเสี่ยงภัยพิบัติ

2.แผนการเตรียมความพร้อม

3.แผนการเตือนภัยล่วงหน้า

4.แผนการตอบสนองภาวะฉุกเฉิน

 5.การฟื้นฟูและเยียวยา

[1] จากข้อสรุปของ ดร.พลภัทร เหมวรรณ  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ความรู้เพิ่มเติม

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ หมายถึง การบูรณาการความรู้และเทคโนโลยีทางด้านการรับรู้จากระยะไกล(Remote Sensing : RS) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) และระบบดาวเทียมนำทางโลก (Global Navigation Satellite System : GNSS) เพื่อประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่วิทยาการด้านการรับรู้จากระยะไกลซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการศึกษาองค์ประกอบต่างๆ บนพื้นโลกและในชั้นบรรยากาศ เพื่อศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติได้โดยการเลือกใช้ข้อมูลจากดาวเทียมที่มีความละเอียดของภาพและประเภทของดาวเทียมหลากหลาย ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ในแต่ละเรื่อง นอกจากนี้ข้อมูลจากการสำรวจจากระยะไกลเป็นข้อมูลที่ได้มาอย่างรวดเร็ว สามารถตอบสนองความต้องการได้ทันทีสำหรับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สามารถจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูลและประยุกต์ใช้ในการวางแผนจัดการทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ระบบดาวเทียมนำทางโลกสามารถนำมาใช้กำหนดตำแหน่งเชิงพื้นที่ และติดตามการเคลื่อนที่ของคนและสิ่งของได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศจึงเป็นวิทยาการที่สำคัญที่หลายหน่วยงานได้นำมาพัฒนาประเทศในหลากหลายด้าน เช่น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกษตร ผังเมือง การจราจรและการขนส่ง ความมั่นคงทางการทหาร ภัยธรรมชาติ และการค้าเชิงธุรกิจผลการวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสามารถนำมาประกอบการวางแผนการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์ http://learn.gistda.or.th/