[ข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัย] บ้านฝายมูล หมู่ที่ 1 ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน

1. บริบทชุมชน

         บ้านฝายมูล หมู่ที่ 1 ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา ชุมชนเป็นพื้นที่ลุ่ม โดยมีแม่น้ำไหลผ่านอยู่ 2 สาย ด้วยกัน คือ แม่น้ำน่าน แม่น้ำย่าง

อาชีพส่วนใหญ่ของชาวบ้านเป็นการทำการเกษตร ไร่ข้าวโพด ปลูกพริกและเลี้ยงวัว และพื้นที่ทางเกษตรของชาวบ้านมีพื้นที่ 3,700 ไร่ 

2.อาณาเขต

ทิศเหนือ           ติดต่อ บ้านดอยชัย หมู่ที่ 1 ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศใต้               ติดต่อ บ้านสบย่าง หมู่ที่ 3 ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันออก     ติดต่อ บ้านยู้ใต้ หมู่ที่ 10 ตำบลจอมพระ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันตก       ติดต่อ บ้านต้นฮ่าง หมู่ที่ 2 ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

3.จำนวนประชากรและครัวเรือน

ประชากร 1,055 คน และจำนวน 379 หลังคาเรือน

4.สถานที่สำคัญ

 1) วัดฝายมูล 2) สนามกลางหมู่บ้าน

5.ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ 

ทิศทางการไหลของน้ำบ้านฝายมูล2 เส้นและมีคูส่งน้ำ 1 สายด้วยกันคือ

เส้นที่ 1 น้ำย่างไหลผ่านชุมชนโดยลงสู่แม่น้ำน่านซึ่งแม่น้ำย่างนั้นไหลลงสู่น่านแล้ว แม่น้ำน่านมีปริมาณน้ำที่มากก็จะทำให้น้ำน่านตีกลับขึ้นมาท่วมชุมชนอยู่ติดกับบริเวณถนนวัชรนครและน้ำย่างจะไหลท่วมออกด้านข้างที่เป็นพื้นที่ทางการเกษตรของชุมชน

เส้นที่ 2 แม่น้ำน่านหากมีปริมาณน้ำที่มากซึ่งได้รับน้ำมาจากหลายสายด้วยกันจึงทำให้แม่หนุนสูงขึ้นเร็วและพอน้ำน่านสูงขึ้นทำให้น้ำไหลทลักเข้าท่วมหมู่บ้าน

คูส่งน้ำที่ไหลตัดผ่านชุมชนนั้นเป็นคูส่งแม่ที่ออกจากทางแม่น้ำย่างและไหลเข้าสู่ท่อระบายน้ำของชุมชนและลงแม่น้ำน่าน

7. พื้นที่เสี่ยงภัย

         บ้านที่อยู่ติดกับริมน้ำย่าง แม่น้ำน่านซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำสุด เมื่อปี 2549 ทางชุมชนน้ำท่วมหนักและมีพื้นที่ทางการเกษตรที่เป็นพื้นที่ต่ำที่ถูกน้ำท่วมขังทุกปี

8.ผลกระทบ

         หมู่บ้านนั้นได้รับผลกระทบจากแม่น้ำย่าง แม่น้ำน่านซึ่งทำให้ครัวเรือนที่อยู่จุดต่ำได้รับผลกระทบน้ำท่วมอยู่ประมาณ ครึ่งวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่สูง 70 ซม – 1เมตร ด้วยกันในปี 2549 นั้นชุมชนอยู่น้ำท่วมหนักบ้างเรือนครัวขนของขึ้นที่สูงไม่ทันเนื่องจากไม่นึกว่ามันจะมาไวซึ่งทำให้สิ่งของในครัวเรือนได้รับความเสีย และพื้นที่ทางการเกษตรนั้นที่ได้รับความเสียหายจำนวน 2 งานเนื่องจากพื้นที่ทำการเกษตรนั้นที่ที่ต่ำและเป็นที่สุดท้ายที่น้ำจะแห้ง น้ำท่วมขังอยู่ประมาณ 2 เดือนด้วยกัน 

9. การจัดการภัย

  • ก่อนเกิดภัยทางผู้นำชุมชนมีการประกาศประชาสัมพันธ์ให้กับทางชาวบ้านได้รับทราบข้อมูลรวมถึงตัวชาวบ้านได้มีการฟังข่าวจากโทรทัศน์ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาที่ได้มีการแจ้งเตือนการเฝ้าระวังน้ำท่วมเพื่อให้ชาวบ้านได้มีการเตรียมขนย้ายสิ่งของขึ้นอยู่ที่สูง
  • ระหว่างเกิดภัย        มีหน่วยงานเข้ามาให้ความช่วยเหลือในเรื่องของการแจกจ่ายอาหารแห้งรวมถึงการเข้าพื้นที่ดูผลกระทบทางการเกษตรที่น้ำท่วม
  • หลังเกิดภัย ทางแกนนำชุมชนร่วมกับ อบต.เข้าพื้นที่สำรวจหลังจากน้ำลดในพื้นที่ทางการเกษตรที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเพื่อนำข้อมูลส่งต่อในการรับค่าชดเชย

10. ข้อเสนอแนะ

         1)การทำคูส่งน้ำให้มีระดับที่สูงขึ้น

            2)การทำอุโมงค์ท่อส่งน้ำให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเพื่อที่จะช่วยลดปัญหาการส่งน้ำไม่ทัน

11.พิกัดพื้นที่

จุดที่ 1 ร่องน้ำที่อยู่ติดกับต้นฮางซึ่งไหลมาจากแม่น้ำย่าง

จุดที่ 2 ท่อน้ำที่ไหลผ่านพื้นที่ทางการเกษตรมีท่อ 2 ซึ่งเวลาน้ำมาน้ำจะไหลไม่ทัน

จุดที่ 3 จุดที่ท่อส่งน้ำมีปัญหาในชุมชน ท่อกว้าง 60 ซม. เดิมมีล่องน้ำเก่าเดิมอยู่แต่มีการถมที่ดินกับเอาท่อน้ำมาใส่แทนที่

จุดที่ 4 หมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วมและได้รับผลกระทบ

จุดที่ 5 จุดที่แม่น้ำย่างไหลเข้าหมู่บ้านเป็นจุดแรก

จุดที่ 6 พื้นที่อพยพของหมู่บ้าน

จุดที่ 7 พื้นที่ทางการเกษตรที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมขัง  2 เดือน

12.ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ

            1) นายเปี่ยมศักดิ์ ไชยมิ่ง 089-9522216

            2) นางเจนจิรา คำเขียว 083-3218865

            3) นายจรัญ ไชยมิ่ง 086-1806641

*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562