1. บริบทชุมชน
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของบ้านสบยาวมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านและน้ำป่าจากห้วยหลวง มีแหล่งน้ำสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำน่าน ห้วยร่องกอน ละห้วยบ้านเหล่า
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ได้แก่ นาข้าว พืชไร่ พืชสวน ประกอบด้วย ข้าวโพด สวนมะนาว พืชผักสวนครัว เช่น ผักกาด พริก มะเขือเทศ เป็นต้น รองลงมาคืออาชีพรับจ้าง และข้าราชการ
2. อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านวังว้า ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านอาฮาม ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านอาฮาม ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านเชียงแล ตำบลริม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
3. จำนวนประชากรและครัวเรือน
จำนวนครัวเรือน 200 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 800 คน
4. สถานที่สำคัญ
1) วัดอุทัยราษฎ์ จุดปลอดภัย
2) โรงเรียนราชปิโย จุดปลอดภัย
3) ถนน เส้น สบยาว-เชียงแล
4) ถนนเส้นหลัก น่าน-ทุ่งช้าง
5. ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6. เส้นทางน้ำ
บ้านสบยาวได้รับน้ำจาก 2 เส้นทางหลัก คือ 1) น้ำป่าจากห้วยหลวง
โดยไหลมาตามลำคลอง ได้แก่
ห้วยร่องกอน และห้วยบ้านเหล่า น้ำจากสองห้วยนี้จะไหลผ่านชุมชนบ้านสบยาว
ซึ่งบริเวณนี้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย ประมาณ 40 หลังคาเรือน น้ำจากห้วยร่องกอนจะไหลผ่านโรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม
บ้านเรือน และพื้นที่เกษตรที่อยู่ส่วนใต้ชุมชน
และระบายผ่านอุโมงค์น้ำรอดไปตามลำน้ำในเขตพื้นที่บ้านอาฮาม
ลงสู่แม่น้ำน่าน
ส่วนน้ำจากห้วยบ้านเหล่าจะไหลผ่านเรียบข้างพื้นที่เกษตร บริเวณเดียวกันมีลำเหมืองเทศบาล ขนาด 80*80
ที่เป็นแหล่งช่วยรองรับน้ำช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผ่านท่อลอด Free Flow 1 ท่อใต้ถนนซอยทุ่งรวงทอง(บ้านเหล่า)
เข้าอุโมงค์น้ำรอด (อุโมงค์สอง ไม่เป็นปัญหา) ไปตามลำน้ำในเขตพื้นที่บ้านอาฮาม
ลงสู่แม่น้ำน่าน 2) แม่น้ำน่าน
จะมีน้ำยาวมาสมทบในฤดูฝน ขณะเดียวกันน้ำริมก็มีผลต่อสถานการณ์น้ำด้วยซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านเชียงแล
ตำบลริม
7. พื้นที่เสี่ยง
- เส้นน้ำป่า คือ ห้วยร่องกอนและห้วยบ้านเหล่า เมื่อช่วงฤดูน้ำหลากนั้นน้ำจะไหลหลากมากหนองหลวงซึ่งเป็นต้นน้ำ ไหลผ่านที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ต่ำก่อนอุโมงค์ดังกล่าวนี้เป็นปัญหาเรื่องการระบาย น้ำระบายไม่ทันจึงทำให้น้ำเอ่อ ห้วยตื้นเขิน แคบ มีวัชพืชปกคลุม การเกิดท่วม น้ำจากน้ำป่าจะไหลหลากเข้าห้วยร่องกอน แล้วไหลเข้าพื้นที่เกษตรและชุมชนใกล้แหล่งน้ำ เพื่อรอระบายลงสู่บ้านอาฮามผ่านอุโมงค์น้ำรอดและลงสู่แม่น้ำน่าน
- เส้นน้ำน่าน น้ำจะเข้ามาที่พื้นที่เกษตรบริเวณริมฝั่งน้ำน่านเนื่องจากปัญหาตลิ่งต่ำสะพานและถนน สบยาว – เชียงแล บริเวณจุดรวมน้ำน่าน/ยาว /ริม เมื่อน้ำปริมาณมากจะเอ่อเข้าพื้นที่เกษตรเพราะตลิ่งต่ำ อีกทั้งถนนยังมีผลกลายสภาพเป็นสิ่งกีดขวางทางน้ำ
8. ผลกระทบ
โซนน้ำป่า ได้รับความเสียหายของบ้านเรือน จำนวน 20 หลัง ระดับน้ำ 1 เมตร ท่วมนาน 3-5 วัน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 1,000 ไร่ เป็นช่วงฤดูทำนาปีเดือนกันยายน – ธันวาคม ระดับน้ำ 50 ซม. ท่วมนาน 3 วัน
ข้าวอยู่ในระยะต้นอ่อนจึงไม่สามารถทนทานได้ ชาวบ้านจึงมีการเตรียมรับมือโดยการเตรียมกล้าไว้สำหรับการทำนาหลังน้ำลดฝั่งทางสัญจรถนนซอยทุ่งรวงทอง(บ้านเหล่า)ถึงเขตบริเวณโรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม ระดับน้ำ 30 – 50 ซม. 1 วัน เป็นการท่วมหลาก
โซนน้ำน่าน ได้รับความเสียหายประมาณ 10 ไร่ เป็นพืชไร่ พืชสวน ได้แก่ ข้าวโพด สวนมะนาว พืชผักสวนครัว เช่น ผักกาด พริก มะเขือเทศ เป็นต้น ระดับการท่วมสูง 1.30 เมตร นาน 3 วัน ทำให้ชาวบ้านเสียรายได้หลักไป ถึงแม้ว่าระยะการท่วมไม่นานแต่เกษตรกรต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นฟูพื้นที่ให้กลับสู่สภาพเดิมกว่า 1 สัปดาห์ จากลำดับเหตุการณ์บริเวณนี้ ปี 2549 ท่วมหนักที่สุด 2 เมตร 3 วัน น้ำน่านระบายได้ช้า ปี 2554 ท่วม 1 เมตร 2 วัน และหลังจากนั้นเป็นต้นมาระดับน้ำคงระดับ 1.30 – 2 เมตร นาน 3 วันมาโดยตลอด เนื่องจากมีโครงการขุดลอกแม่น่านน่านเมื่อปี 2555 – 2556 ทำให้น้ำน่านระบายเร็วขึ้น ขณะเดียวกันก็มีการก่อสร้างสะพานสบยาว – เชียงแล ถนนเส้นนี้มีผลต่อการขีดขวางทางน้ำของชุมชนที่ได้รับน้ำจากพื้นที่เกษตรริมตลิ่ง ส่งผลกระทบบ้านเรือนจำนวน 100 หลัง ไก่ เป็ด หมู ตลอดจนสัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อดิน สูญหายล้มตาย บางส่วนเกิดจากการอพยพไม่ทัน
9. การจัดการภัย
ก่อนเกิดภัย ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะจัดการภัยเบื้องต้นโดยการขนย้ายสิ่งของ ส่วนอาหารไม่ได้เตรียมเพราะมีการดูแลจากภาครัฐและหน่วยพระราชทานเต็มที่แล้ว
ระหว่างเกิดภัย บริเวณเขตชุมชนฝั่งน้ำน่านจะมีจุดปลอดภัยที่ชาวบ้านใช้อพยพในช่วงเกิดอุทกภัย คือ วัดอุทัยราษฎร์ และโรงเรียนราชปิโย โดยจะรองรับด้านที่พักอาศัยและประกอบอาหาร รวมถึงการรับฟังข่าวสารเหตุการณ์อุทกภัยเป็นหลัก การรับทราบข้อมูลจะผ่าน 3 ช่องทางหลัก คือ หอกระจายข่าวของวัด จากเทศบาล และไลน์กลุ่มผู้นำนอกจากนี้ยังมีการช่วยเหลือเพิ่มเติมด้านยารักษาโรค ส่วนชาวบ้านที่ไม่ได้รับผลกระทบจะช่วยเหลือดูและกันด้านการอพยพและยกของขึ้นที่สูง การดูแลเรื่องอาหาร ในแต่ละปีที่เกิดน้ำท่วมกลุ่มชาวบ้าน เทศบาล และครัวพระราชทานจะเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลด้านอาหารร้อน โดยขึ้นอยู่ในแต่ละปีว่าหน่วยใดพร้อมก่อนก็จะเข้าไปดูแลแจกจ่ายอาหารให้ผู้ประสบภัยก่อน ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ดูแลและจัดการด้านการช่วยเหลือจากภาครัฐและเอกชนฝ่ายทหารและฝ่ายป้องกันของเทศบาลจะนำเรือมาช่วยขนสิ่งของ และผู้ประสบภัย ทั้ง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เด็ก และผู้ประสบภัยทั่วไป
หลังเกิดภัย เทศบาลจะนำยารักษาโรคฉี่หนูไปดูแลชาวบ้าน รวมทั้งช่วยดูแลทำความสะอาดสถานที่ และแจกจ่าย ถุงยังชีพ ด้านการชดเชยผู้ใหญ่บ้านจะประกาศให้ชาวบ้านไปแจ้งความเสียหาย และรวบรวมรายงานส่งเทศบาลและเกษตรอำเภอ ระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หลังน้ำลดชาวบ้านจะมาช่วยกันทำความสะอาดสถานที่ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ
10. ข้อเสนอแนะ
- ไม่มี
11. พิกัดพื้นที่
สะพานและถนน สบยาว – เชียงแล บริเวณจุดรวมน้ำน่าน/ยาว /ริม เมื่อน้ำปริมาณมากจะเอ่อเข้าพื้นที่เกษตรเพราะตลิ่งต่ำ อีกทั้งถนนยังมีผลกลายสภาพเป็นสิ่งกีดขวางทางน้ำ

อุโมงค์น้ำรอด ของห้วยร่องกอนเพื่อระบายจากชุมชนสบยาวสู่ชุมชนอาฮาม น้ำไหลไม่สะดวก ห้วยตื้นเขิน แคบ มีวัชพืชปกคลุม การเกิดท่วม น้ำจากน้ำป่าจะไหลหลากเข้าห้วยร่องกอน แล้วไหลเข้าพื้นที่เกษตรและชุมชนใกล้แหล่งน้ำ เพื่อรอระบายลงสู่บ้านอาฮามผ่านอุโมงค์น้ำรอด



ท่อลอด Free Flow น้ำระบายได้ช้า



12. ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ
คุณพิชิต คำชั่ง สมาชิกเทศบาลตำบลท่าวังผา 089-5614342
*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562