[ข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัย] บ้านท่าวังผา 1 หมู่ที่ 2 ต.ท่าวังผา อ.ท่าวังผา จ.น่าน

1. บริบทชุมชน

บ้านท่าวังผา 1 หมู่ที่ 2เป็นหมู่บ้านที่ลุ่มน้ำมีห้วยไหลผ่านอยู่ 2 ห้วย คือ ห้วยกอ ห้วยกอน และมีแม่น้ำน่านไหลผ่าน ผู้คนส่วนใหญ่ที่อยู่ในชุมชนเป็นข้าราชการ ซึ่งชาวบ้านปลูกพืชผักสวนครัว และอาชีพค้าขาย

2.อาณาเขต     

ทิศเหนือ           ติดต่อ บ้านอาฮาม หมู่ที่ 3 ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศใต้               ติดต่อ บ้านท่าวังผา 3 หมู่ที่ 7ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันออก     ติดต่อ บ้านท่าวังผา 2 หมู่ที่ 6ตำบลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันตก       ติดต่อ ริมน้ำน่าน

3.จำนวนประชากรและครัวเรือน

170 กว่าหลังคาเรือนจำนวนประชากร350 คน 

4.สถานที่สำคัญ

1) วัดศิลามงคล

2) โรงเรียนท่าวังผา

5.ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ 

ทิศทางการไหลของน้ำบ้านท่าวังผา3 เส้นด้วยกันคือ

เส้นที่ 1 น้ำไหลจากห้วยกอนซึ่งอยู่ทางทิศเหนือติดกับบ้านอาฮาม ทำให้น้ำหนุนสูงขึ้นและส่งผลกระทบให้บ้านที่อยู่ติดกับห้วยได้รับผลกระทบ

เส้นที่ 2 น้ำไหลจากห้วยกอนซึ่งอยู่ระหว่างหมู่บ้าน ทำให้น้ำหนุนสูงขึ้นบ้านที่อยู่ในละแวกนั้นได้รับผลกระทบ

เมื่อลำห้วย 2 สายมาเจอกันและน้ำไหลลงสู่แม่น้ำน่านเส้นที่3เมื่อแม่น้ำน่านมีน้ำปริมาณมากจึงทำให้น้ำน่านไหลขึ้นไปทางหมู่บ้านที่อยู่ติดกับแม่น้ำได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมมาก

7. พื้นที่เสี่ยงภัย

บ้านท่าวังผา 1 เป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมซึ่งแบ่งได้ตามโซนที่ถูกน้ำท่วมออกเป็น 3 โซน คือ 

โซนที่ 1 ครัวเรือนที่อยู่ติดกับห้วยกอน ในปี 2549 น้ำท่วมสูงถึง 4 เมตร ปี 2554  2 เมตรและในปี 2561 2.50เมตร

โซนที่ 2 บ้านที่อยู่บริเวณวังมัชฉา ในปี 2549 น้ำสูง 4เมตร (ท่วมถึงหลังคาบ้านซึ่งบ้านเป็นบ้านชั้นเดียว) ปี 2554และ 2561น้ำ 2 เมตร

โซนที่ 3 ซึ่งบ้านอยู่ติดกับแม่น้ำน่าน 20 กว่าครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ เมื่อปี 2549 น้ำสูง 5 เมตร ปี 2554 3เมตร และปี 2561 น้ำสูง 2 เมตร (น้ำท่วมขัง 5 วัน)

8.ผลกระทบ

โดยหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วมในบริเวณที่ท่วมหนักนั้นถนนจะถูกตัดขาด และไม่มีไฟฟ้าใช้ โดยชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมสูงนั้นจะไม่ที่การอพยพออก น้ำท่วมขังประมาณ 5-6 วัน ร่วมถึงบุคคลที่ได้เข้ามาช่วยเหลือชาวบ้านซึ่งเสียชีวิตจำนวน 2 คน สำหรับพื้นที่ที่ปลุกพืชผักสวนครัวได้รับผลกระทบ และมีบ้านที่ได้รับความเสียนั้นจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาประเมินความเสียหายของบ้านโดยทางเทศบาลจะมีการจ่ายค่าความเสียหายของแต่ละบ้านไม่เท่ากัน

9. การจัดการภัย

  • ก่อนเกิดภัยบ้านท่าวังผา ได้มีการติดตามข่าวสารจากโทรทัศน์ วิทยุ หอเตือนภัย และหอกระจายข่าวในชุมชนที่ทางผู้นำชุมชนได้มีการรับหนังสือจากหน่วยงานเพื่อให้มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารการติดตามปริมาณน้ำอย่างใกล้ชิด เมื่อทางผู้นำแจ้งเตือนให้มีการขนย้ายสิ่งของขึ้นอยู่บนที่สูง รวมถึงรถยนต์ และให้มีการเตรียมอาหาร ให้พร้อม
  • ระหว่างเกิดภัย ทางหน่วยงาน ได้มีการทำข้าวกล่อง อาหารแห้งและถุงยังชีพ มาแจกจ่าย ในบริเวณครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ
  • หลังเกิดภัย ทางแกนนำได้มีการประสานงานในเรื่องของการช่วยเหลือทำความสะอาดบ้านเรือนและมีการสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

10. ข้อเสนอแนะ

         1) ชาวบ้านที่อยู่ติดกับทางแม่น้ำน่านต้องการมีตลิ่งกันน้ำสูงกว่า 3เมตรเพื่อที่จะลดการอยู่น้ำท่วมจากหนักให้เป็นเบาลง

            2) การยกระดับถนนให้สูงเท่ากัน หรือมีการทำคันกันน้ำในโซนบ้านที่อยู่ติดกับทางห้วยกอน

11. พิกัดพื้นที่

ลงพื้นที่สำคัญในหมู่บ้านท่าวังผา จำนวน 6 จุดด้วยกัน

จุดที่ 2 อุโมงเป็นจุดที่มีปัญหาท่อระบายซึ่งเดิมบริเวณจุดนี่ที่มีเนื้อที่ของห้วยกว้างและถูกบ้านที่อยู่ติดถมดินให้มีบริเวณแม่ที่กว้างขึ้น

จุดที่ 3 จุดร่วมน้ำซึ่งห้วยกอ ห้วยกอนไหลลงสู่น้ำน่าน

จุดที่ 4 วังมัชฉา (บ้านที่อยู่บริเวณนั้น)

จุดที่ 5 บ้านที่อยู่ติดกับริมแม่น้ำน่านที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

จุดที่ 6 หอเตือนภัย

12.ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ

            1) นายชัยณรงค์ 098 – 0818851

            2) แม่สมัย 084 – 7401663

            3) นายชุมพล 085 – 0353738

            4) นางจิตสุภา 084 – 4819542

*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ  “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562