[ข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัย] บ้านต้นฮ่าง หมู่ที่ 2 ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน

1. บริบทชุมชน

บ้านต้นฮ่าง หมู่ที่ 2 ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน บ้านต้นฮ่างมีลักษณะทางภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ลุ่ม

พื้นที่บริเวณใกล้แหล่งน้ำเป็นพื้นที่เกษตร มีเส้นทางน้ำ 3 แหล่งที่สำคัญ ประกอบด้วย ลำน้ำย่าง แม่น้ำน่าน และลำเหมืองประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก พืชที่ปลูกมาก เช่น ข้าวโพด นาข้าว พริก เป็นต้น มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลัก

2. อาณาเขต

ทิศเหนือ            ติดต่อกับ            บ้านฝายมูล ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศใต้                ติดต่อกับ            บ้านสบย่าง ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันออก      ติดต่อกับ            บ้านฝายมูล ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันตก       ติดต่อกับ              น้ำย่าง แม่น้ำน่าน และบ้านหนองบัว ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

3. จำนวนประชากรและครัวเรือน

จำนวน 276  ครัวเรือน

4. สถานที่สำคัญ

1) วัดนิโคธาราม

2) ตลาดชุมชน

3) ถนนวรณครสายเก่า

4) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าคา

5.ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ

บ้านต้นฮ่างมีเส้นทางน้ำ 3 แหล่งที่สำคัญ ประกอบด้วย ลำน้ำย่าง แม่น้ำน่าน และลำเหมือง ทิศทางการไหลของน้ำตามปกติจะไหลตามลำน้ำ ลำน้ำย่างจะไหลผ่านเขตชุมชนโดยมีต้นน้ำมาจากดอยภูคา ลำเหมืองไหลผ่านบริเวณพื้นที่เกษตรทางตะวันตกของชุมชน ลำเหมืองนี้จะไหลไปรวมกับลำน้ำย่าง และแน่น้ำน่านจะไหลมารวมกับแม่น้ำย่างบริเวณทิศใต้ท้ายเขตชุมชน

7. พื้นที่เสี่ยง

สาเหตุหลักของการเกิดน้ำท่วมบ้านต้นฮ่างนั้น เป็นการไหลหลากและเอ่อล้นของน้ำในลำน้ำในช่วงฤดูฝนช่วงเดือนมิถุนายน โดยเฉพาะลำน้ำย่างมีผลต่อสถานการณ์น้ำเข้าท่วมชุมชนและพื้นที่การเกษตรมากที่สุด บ้านต้นฮ่างจะได้รับน้ำมาจากบ้านฝายมูลซึ่งเอ่อล้นออกจากลำน้ำย่างและไหลเทไปในพื้นที่ต่ำของชุมชน คือ พื้นที่ทำการเกษตรตลอดแนวเรียบข้างเขตชุมชนและลำเหมือง ส่วนแม่น้ำน่านน้ำจะเอ่อล้นตลิ่งท่วมพื้นที่เกษตรบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ด้านลำเหมืองจะเป็นแหล่งช่วยรับน้ำจากการไหลเทจากพื้นที่เกษตร

ขณะเดียวกันหากสถานการณ์น้ำน่านไม่สูงนัก กำแพงของลำเหมืองจะทำหน้าที่ในการช่วยกั้นน้ำน่านไม่ให้เข้าสู่เขตชุมชน  แต่หากปริมาณน้ำย่างและน้ำน่านสูง จะดันและเอ่อท่วมที่บริเวณจุดรวมน้ำ นอกจากนั้นแล้วยังมีร่องน้ำฝายมูลที่จะไหลลอดผ่านถนน”วรณครสายเก่า”เป็นจุดเชื่อมต่อกับน้ำย่าง ถ้าน้ำจากร่องน้ำฝายมูลและน้ำย่างยกระดับเท่ากันจะไม่มีทางระบาย และเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่เกษตรบริเวณใกล้เคียง

8.ผลกระทบ

โซนที่ 1 (สีแดง) อิทธิพลจากน้ำย่าง ช่วงร้านอ๊อดฟาร์มและพื้นที่เกษตร ปี 2549 ปี 2554 และปี 2560 เป็นต้นมา ท่วมพื้นที่เกษตร 50 ไร่ สูง 2 เมตร ระยะเวลา 4 วัน นาข้าวเสียหาย ร้านสินค้าเกษตรอ๊อดฟาร์มเครื่องมือเกษตรและกล้าไม้เสียหาย

โซนที่ 2 เขตชุมชน

:(สีแดง) บ้านเรือนบริเวณริมน้ำย่าง เป็นพื้นที่ต่ำและประสบปัญหาน้ำเซาะตลิ่ง ระดับน้ำ ปี 2549 2 เมตร ระยะเวลา4 วัน ปี 2554 1.50 เมตร ระยะเวลา 3-4 วัน และปี 2560 เป็นต้นมา 1.50 เมตร ระยะเวลา 2 วัน จำนวน 10 หลัง 

:(สีส้ม) ปี 2549 ท่วม 1.50 เมตร 4 วัน ปี 2554 ท่วม 1 เมตร 3วัน ส่วนปี 2560 เป็นต้นมาไม่ได้รับผลกระทบ 

:(สีเหลือง) ปี 2554 ท่วม 50 ซม. 3 วัน ปี 2560 เป็นต้นมาไม่ได้รับผลกระทบ 

โซนที่ 3พื้นที่เกษตรบริเวณฝั่งแม่น้ำน่าน ท่วมปี 2549 และ 2554 ระดับน้ำ 1.50 เมตร นาน 4 วัน ปี 2561 น้ำไม่ท่วม

9.การจัดการภัย  

ก่อนเกิดภัย  ชาวบ้านมีการเตรียมรับมือเบื้องต้น โดยมีการประชุมวางแผนก่อนสถานการณ์น้ำท่วมร่วมกันระหว่างชาวบ้านกับอบต.มีการแจ้งข้อมูลผ่านหอกระจายข่าว  เฟซบุ๊กกลุ่มไลน์ผู้นำ และกลุ่มปภ. โดยแหล่งข้อมูลจากอำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง เป็นข้อมูลโซนน้ำน่าน ฝั่งน้ำย่างรับข้อมูลจากบ้านป่าตอง ต.ศิลาเพชร รวมถึงข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อเตรียมหาจุดปลอดภัยสำหรับการอพยพ

ระหว่างเกิดภัย  ชาวบ้านได้ตั้งจุดปลอดภัยเพื่อคอยดูแลสนับสนุนผู้ประสบภัย สถานที่ตั้งจุดปลอดภัยช่วงระหว่างเกิดเหตุมี 2 ที่ คือ  บริเวณบ้านเรือนติดถนนวรณครสายเก่าและวัดนิโครธารามเป็นจุดจอดรถ ประกอบอาหาร และที่พักอาศัย ซึ่งจะเป็นชาวบ้านดูแลกันเอง   หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ อบต. ฝ่ายป้องกัน ทหาร อำเภอ สาธารณสุข ได้ออกสำรวจพื้นที่น้ำท่วมร่วมกับผู้นำชุมชนเพื่อดูแลช่วยเหลือเรื่องการขนของ และกู้ภัยเฉพาะหน้าต่าง ๆ

หลังเกิดภัยการตั้งจุดปลอดภัยได้ต่อเนื่องมาถึงช่วงหลังน้ำลดด้วย ตลาดของชุมชนจะมีหน่วยงานเข้ามาตั้งจุดช่วยเหลือช่วงหลังน้ำลด ได้แก่ ปภ. กาชาด อำเภอ เอกชน ทหาร ได้นำอาหาร ยารักษาโรค และเรือ มาช่วยเหลือดูแล รวมถึงการช่วยกันทำความสะอาดถนนสัญจรที่เต็มไปด้วยดินโคลนจากน้ำหลาก   ด้านผู้นำชุมชนจะสำรวจความเสียหายเพื่อส่งรายงานให้อำเภอดำเนินการเรื่องค่าชดเชย โดยจำนวนเงินจะขึ้นกับเกษตรอำเภอออกประกาศ ยกตัวอย่างจำนวนเงินชดเชยในบางปี นาข้าว 1,200 บาท/ไร่ ข้าวโพด 800บาท/ไร่

10. ข้อเสนอแนะ

  • ไม่มี

11. พิกัดพื้นที่

จุดที่ 1 ทางน้ำย่างเข้า มีตลิ่งทรุด หินและเศษปูนจากการทุบก่อสร้างไหลมาจากบ้านฝายมูลเข้าพื้นที่เกษตร

จุดที่ 2 ตลาด – สะพาน  ตลิ่งต่ำ ตลิ่งอีกฝั่งถูกยกสูงเป็นพนังกั้นน้ำ รวมถึงสะพานต่ำ เมื่อน้ำสูงพัดพาต้นข้าวโพดหลังเก็บเกี่ยวที่ยังไม่ได้จัดการมาติดสะพาน น้ำระบายไม่ได้ เอ่อเข้าซอยตลาดไปจนถึงวัดนิโครธารามถึงแม้จะเป็นที่สูง

จุดที่ 3 เขตชุมชนท่วมซ้ำซาก อยู่ติดริมน้ำย่าง ตลิ่งพังและต่ำ

จุดที่ 4 ร้านอ๊อดฟาร์มและร่องฝายมูลเชื่อมน้ำย่าง ร่องฝายมูลไม่มีการดูแลปรับปรุง รกร้าง มีวัชพืชหนาและแคบ (เป็นเขตป่าช้า ชุมชนหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไป)

12.ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ

คุณธีระพันธ์ วาฤทธิ์ ผู้ใหญ่บ้าน 061-3785251

หมายเหตุ :  รวบรวมข้อมูลโดย  อาภาพร หินคล้าย  09-5304-9453

*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562