MENU

[ข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัย] บ้านสลี หมู่ที่ 6 ต.จอมพระ อ.ท่าวังผา จ.น่าน

1. บริบทชุมชน

บ้านสลี หมู่ที่ 6 ตำบลจอมพระ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน มีลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำสำคัญหลายสาย คือ น้ำย่าง ห้วยละเอิบ ห้วยไคร้ และห้วยมืด

พื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่อยู่บริเวณใกล้แหล่งน้ำซึ่งเป็นที่ต่ำกว่าที่อยู่อาศัย เมื่อถึงฤดูน้ำหลากจึงมีผลต่อพื้นที่เกษตรมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ โดยเฉพาะน้ำย่างที่มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางน้ำอยู่ตลอด ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของน้ำย่าง การประกอบอาชีพส่วนใหญ่คืออาชีพเกษตรกร รองลงมาคืออาชีพรับจ้างทั่วไปทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร รวมถึงอาชีพข้าราชการ  ผู้คนในชุมชนนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลัก

2.อาณาเขต

ทิศเหนือ            ติดต่อกับ  ลำน้ำย่าง

ทิศใต้                ติดต่อกับ  บ้านนาฝ่า ตำบลจอมพระ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันออก      ติดต่อกับ  บ้านป่าคา ตำบลจอมพระ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันตก        ติดต่อกับ  บ้านนาฝ่า ตำบลจอมพระ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

3.จำนวนประชากรและครัวเรือน 

จำนวนครัวเรือน 73 หลังคาเรือน  จำนวนประชากร 200 คน

4.สถานที่สำคัญ

1) วัดบ้านสลี

2) สะพานข้ามน้ำย่าง

5.ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่ท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ

เส้นทางน้ำบ้านนาฝ่ามี 2 เส้นหลัก คือ 1) ลำน้ำย่าง ต้นน้ำจากดอยภูคา 2) น้ำจากห้วยธรรมชาติ ได้แก่ ห้วยละเอิบ ห้วยมืด ต้นน้ำจากป่าชุมชนบ้านสลี และห้วยไคร้

7. พื้นที่เสี่ยง

สาเหตุสำคัญมาจากน้ำในลำน้าย่างจะมีปริมาณสูงและไหลหลากจากดอยภูคาที่เป็นต้นน้ำและน้ำสาขาอื่นๆที่ไหลมาสมทบในช่วงฤดูฝน  อีกทั้งน้ำย่างมีการเปลี่ยนทิศทางน้ำทุกปี ทำให้น้ำเอ่อท่วมริมฝั่งตลิ่งน้ำย่างและกัดเซาะตลิ่งพังทลาย 

8. ผลกระทบ

เกิดผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นฤดูทำนาข้าว ผลผลิตเน่าเสียในบริเวณพื้นที่ต่ำที่น้ำขัง จำนวน 50 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 100 ไร่ ระดับการท่วม 1 เมตร 1วัน อีกทั้งเกิดความเสี่ยงต่อที่อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้เคียงกับลำน้ำย่าง และบริเวณจุดที่ห้วยมืดและห้วยไคร้มารวมกัน จำนวน 1 หลัง 

9.การจัดการภัย 

ก่อนเกิดภัย

  • ด้านการจัดการและการแจ้งเตือนภัย ชาวบ้านมีวิธีการดังนี้ 1) ฟังสัญญาณจากสถานีโทรมาตรวัดน้ำที่สะพานข้ามน้ำย่าง 2) ฟังประกาศเสียงตามสายจากผู้ใหญ่บ้าน  3) ดูแลตัวเอง ขนของขึ้นที่สูง

ระหว่างเกิดภัย

  • ด้านการช่วยเหลือของภาครัฐ ช่วงฤดูฝนฝ่ายงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลจอมพระจะเข้ามาดูแลและซ่อมแซมขอบตลิ่งตามสถานการณ์
  • ชาวบ้านได้มีการโทรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ อบต.เข้าพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลรูปภาพส่งหน่วยงาน 

หลังเกิดภัย

  • การปรับตัวหลังเกิดภัย เรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน คือ สมัยก่อนเคยทำการเกษตร แต่ปัจจุบันน้ำย่างเปลี่ยนทิศทางน้ำทุกปี โดยมีลักษณะไหลหลากทับที่ดินจนกลายเป็นร่องน้ำ (ลักษณะเฉพาะของนิเวศน้ำย่าง) ที่ดินจึงรกร้างเพราะชาวบ้านมีแนวโน้มเลิกทำเกษตรและปรับเปลี่ยนวิธีการหารายได้ บางรายขายหน้าดินและหินให้กลุ่มธุรกิจขุดดิน บางรายขายที่ดินให้เจ้าของธุรกิจ หรือบางรายแลกหน้าดินที่เป็นดินผสมหินเป็นหน้าดินใหม่โดยกิจการขุดดินทำให้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  • ส่งรายงานการสำรวจพื้นที่ไปที่อำเภอ

10.ข้อเสนอแนะ

  • ไม่มี

11.พิกัดพื้นที่

จุดที่ 1 บริเวณที่อยู่อาศัย ดินทรุดจากน้ำจากน้ำย่าง น้ำห้วยไคร้และห้วยมืดกัดเซาะ

จุดที่ 2 ท่อระบายน้ำห้วยละเอิบจำนวน 2 ท่อมีดินและวัชพืชอุดตัน 1 ท่อ

12. ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ

คุณประนอม วงศาราบ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 082-8930791

*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ  “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562