[ข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัย] บ้านนาฝ่า หมู่ที่ 2 ตำบลจอมพระ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

1. บริบทชุมชน

บ้านนาฝ่า หมู่ที่ 2 ตำบลจอมพระ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน มีภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นลักษณะพื้นที่เป็นที่ลุ่ม มีแหล่งน้ำสำคัญ คือ น้ำย่าง และห้วยโป่ง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก รองลงมาคือรับจ้างทั่วไปและข้าราชการ นับถือศาสนาพุทธ มีภาษาพื้นเมืองเหนือใช้เป็นภาษาถิ่น

2.อาณาเขต

ทิศเหนือ            ติดต่อกับ  บ้านป่ากลาง ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน

ทิศใต้                ติดต่อกับ  เขตตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันออก      ติดต่อกับ  บ้านสลีตำบลจอมพระ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันตก        ติดต่อกับ  บ้านใหม่ ตำบลจอมพระอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

3.จำนวนประชากรและครัวเรือน

จำนวนครัวเรือน 206 หลังคาเรือน  จำนวนประชากร 790 คน

4.สถานที่สำคัญ

  1. โรงเรียนนาฝ่า 
  2. สะพานข้ามน้ำย่าง 

5.ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม บ้านนาฝ่า

6.เส้นทางน้ำ

เส้นทางน้ำบ้านนาฝ่ามี 2 เส้นหลัก คือ 1) ลำน้ำย่าง 2) น้ำจากห้วยโป่ง ซึ่งไหลมาจากทางทิศเหนือลงน้ำย่าง 

7.พื้นที่เสี่ยง

ในฤดูฝนช่วงเดือน สิงหาคม – กันยายน สถานการณ์น้ำในลำน้าย่างจะมีปริมาณสูงและไหลหลากจากดอยภูคาที่เป็นต้นน้ำและน้ำสาขาอื่นๆ ที่ไหลมาสมทบ  อีกทั้งน้ำย่างมีการเปลี่ยนทิศทางน้ำทุกปี ทำให้น้ำเอ่อท่วมริมฝั่งตลิ่งน้ำย่างและกัดเซาะตลิ่งพังทลาย 

8.ผลกระทบ

เกิดความเสี่ยงต่อบ้านเรือนที่อยู่ริมฝั่งจำนวน 1 หลัง ผลกระทบคือน้ำกัดเซาะใกล้ถึงบริเวณพื้นบ้าน แต่บ้านยังไม่ได้ความเสียหาย ด้านผลกระทบพื้นที่ทำการเกษตร นาข้าวเสียหายร้อยละ 70 ของพื้นที่ต่อ1ไร่ จำนวน 120 ไร่ จากพื้นที่เกษตรทั้งหมด 130 ไร่ ระดับการท่วมแบ่งออกเป็น 2 โซน โซนที่ 1 บริเวณด้านทิศใต้ ท่วม 1 เมตร ระดับน้ำลดใช้เวลาโดยประมาณ 11-17 ชั่วโมงโซนที่2 บริเวณด้านทิศเหนือของบ้านสลี ท่วม 50 เซนติเมตร ระดับน้ำลดใช้เวลาโดยประมาณ 11-17 ชั่วโมงเช่นเดียวกัน 

9.การจัดการภัย

ก่อนเกิดภัย

  • ชาวบ้านนาฝ่าได้ตั้งหอประชุมบ้านนาฝ่าเป็นสถานที่เตรียมรับมือภัยพิบัติ แต่ยังไม่เคยมีการใช้งาน
  • ด้านการจัดการและการแจ้งเตือนภัย ชาวบ้านมีวิธีการดังนี้ 

1) ฟังสัญญาณจากสถานีโทรมาตรวัดน้ำที่สะพานข้ามน้ำย่าง 

2) ฟังประกาศเสียงตามสายจากผู้ใหญ่บ้านโดยมีแหล่งข้อมูลจากกรมอุตอนิยมวิทยาและโทรทัศน์

3) ดูแลตัวเอง ขนของขึ้นที่สูง บ้านที่เสี่ยงตลิ่งพังจะอพยพสิ่งของและคนในครอบครัวไปอาศัยบ้านญาติ

  • จากการบอกเล่า ประมาณปี 2557 มีโครงการสร้างกล่องเกเบี้ยนป้องกันตลิ่ง ของกรมเจ้าท่า จังหวัดแพร่ ปัจจุบันกล่องเกเบี้ยนพังทลายไม่สามารถต้านกระแสน้ำย่างหลากได้ นอกจากนี้ ฝ่ายงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลจอมพระจะเข้ามาดูแลและซ่อมแซมขอบตลิ่งตามสถานการณ์

ระหว่างเกิดภัย

  • หากทางการประกาศภัยพิบัติ ผู้ใหญ่บ้านจะสำรวจความเสียหายและส่งรายงานไปที่อำเภอ

หลังเกิดภัย

ต่อเนื่องจากการดำเนินการส่งรายงานความเสียหายของผู้ใหญ่บ้าน จากนั้นเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอจะเข้าพื้นที่สำรวจอีกครั้งหลังน้ำลด ค่าชดเชยนาข้าวได้รับประมาณไร่ละ 1,200 บาท ข้าวโพดได้รับประมาณไร่ละ 700-800 บาท โดยจำนวนเงินชดเชยขึ้นกับการประกาศภัยพิบัติของภาครัฐในแต่ละปี 

10.ข้อเสนอแนะ

  • ให้มีโครงการซ่อมแซมตลิ่งของจุดเสี่ยงที่1 (บ้านริมตลิ่ง) ซึ่งชาวบ้านตั้งข้อสังเกตว่าหากปีนี้ไม่ได้รับการซ่อม ฤดูฝนพื้นบ้านต้องพังจากน้ำกัดเซาะ

11.พิกัดพื้นที่

จุดที่ 1 บริเวณที่อยู่อาศัยที่ตลิ่งทรุด น้ำกัดเซาะ

จุดที่ 2 ริมถนนท่าวังผา – ศิลาเพชรบริเวณตลิ่งใกล้ฝายทุ่งหนองช้าง ตลิ่งพังทลายเพราะถูกน้ำกัดเซาะ

12.ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ

คุณเขียน สุทธิแสน 081-1691725

*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ  “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562