[ข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัย] บ้านเชียงแล หมู่ที่ 4 บ้านเชียงแล หมู่ที่ 6 ต.ริม อ.ท่าวังผา จ.น่าน

1. บริบทชุมชน

บ้านเชียงแล หมู่ที่ 4 และ หมู่ที่ 6 มีสภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่มติดแหล่งน้ำสำคัญหลายสาย เส้นทางน้ำหลัก 3 แหล่ง ประกอบด้วย น้ำน่าน น้ำยาว และน้ำริม

พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่ทำการเกษตรและพื้นที่อยู่อาศัยของชุมชน อาชีพหลักของคนในชุมชนคืออาชีพเกษตรกร รองลงมาคือรับจ้างทั่วไปทั้งภาคการเกษตรและนอกภาคเกษตร ค้าขาย และรับราชการ 

2.อาณาเขต

ทิศเหนือ            ติดต่อกับ  บ้านนาหนุน ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศใต้                ติดต่อกับ  บ้านนาเตา ตำบลริม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันออก      ติดต่อกับ  เขตเทศบาลท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันตก        ติดต่อกับ  เขตตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

3.จำนวนประชากรและครัวเรือน

หมู่ที่ 4 จำนวนครัวเรือน 173 หลังคาเรือน  จำนวนประชากร 750 คน 

หมู่ที่ 6 จำนวนครัวเรือน …… หลังคาเรือน  จำนวนประชากร …… คน

4.สถานที่สำคัญ

1) โรงเรียนบ้านเชียงแล

2) สะพานสบยาว-เชียงแล

3) ถนนสัญจรเส้นสบยาว-เชียงแล

4) ที่ทำการอำเภอท่าวังผา

5.ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ

บ้านเชียงแล หมู่ที่ 4 และ 6 มีเส้นทางน้ำหลัก 3 แหล่ง ประกอบด้วย น้ำน่าน น้ำยาว และน้ำริม  ทิศทางการไหลของน้ำโดยทั่วไปนั้น น้ำยาวและน้ำริมจะไหลมาบรรจบกับน้ำน่านที่จุดสะพาน สบยาว – เชียงแล

7. พื้นที่เสี่ยง

  • ชุมชนเชียงแลเป็นพื้นที่ต้นน้ำ เมื่อเกิดน้ำท่วม น้ำจากน้ำน่านและน้ำยาวจะไหลเข้าพื้นที่การเกษตรก่อน ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำรวมถึงพื้นที่อยู่อาศัยใกล้เคียง เป็นพื้นที่บ้านเชียงแล หมู่ 4
    • ด้านน้ำริม เมื่อมีปริมาณสูงจะเริ่มไหลเข้าชุมชน ทั้งหมู่ 4 และ 6 
    • น้ำที่ไหลจากฝั่งน้ำน่าน น้ำยาว และน้ำริม เมื่อมีปริมาณมากจะไหลผ่านถนน ชุมชน และพื้นที่เกษตร เพื่อมารวมที่จุดสะพานและระบายลงฝั่งทิศใต้ เป็นเขตชุมชนนาเตาต่อไป
    • สาเหตุของการเกิดน้ำท่วมของชุมชนเชียงแล เนื่องจากน้ำทั้ง 3 สายไหลรวมกัน จึงส่งผลให้ในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะเดือนสิงหาคม – กันยายน น้ำในลำน้ำมีปริมาณมาก เมื่อระบายไม่ทันจึงเกิดการท่วมการขุดลอกน้ำน่านในปี 2555-2556 ทำให้น้ำที่ท่วมในชุมชนระบายได้เร็วขึ้น แต่ส่งผลทำให้พื้นที่บ้านนาเตาได้รับน้ำเร็วขึ้น อีกทั้งช่วงหน้าแล้งยังส่งผลให้น้ำลดเร็ว เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ

8. ผลกระทบ

  • น้ำยาว – น่าน เข้าท่วมก่อน ท่วมพื้นที่เกษตรประมาณ 700 ไร่ข้าวโพด ,ผัก, พืชไร่ , นาข้าวระดับน้ำมาก 2 -3 เมตร ระยะเวลา 3 วัน และท่วมพื้นที่อยู่อาศัย เป็นพื้นที่ท่วมซ้ำซากหมู่ 4 จำนวน 18 หลังคาเรือน  ระดับน้ำประมาณชั้น 2 ของบ้าน ท่วมนาน 2 – 4 วัน
  • น้ำริม เป็นพื้นที่ท่วมซ้ำซากของบ้านเชียงแลหมู่ที่ 6 จำนวน 30 หลัง ระดับน้ำ 1- 3 เมตร ระยะเวลา 2 – 4 วัน

มีโซนที่เป็นจุดปลอดภัย 2 จุด คือ วัดเชียงแล และโรงเรียนเชียงแล จะเป็นพื้นที่สูง ระดับน้ำ 30 ซม. ระยะเวลา 2 วัน 

9. การจัดการภัย  

ก่อนเกิดภัย  ผู้ใหญ่ได้รับข้อมูลการแจ้งเตือนภัยจากกลุ่มไลน์ผู้นำและราชการ จากสองแคว ทุ่งช้าง เชียงกลาง และกลุ่มกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอท่าวังผา ผู้ใหญ่บ้านเชียงแลทั้ง 2 หมู่จะนำข้อมูลมาแจ้งเตือนคนในชุมชน เมื่อชาวบ้านได้รับข้อมูลจะเตรียมตัวเก็บของขึ้นที่สูง เตรียมอาหารไว้ชั้น2ของบ้านหรือพื้นที่อื่น ๆ ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ผู้สูงอายุจะดูสถานการณ์จากภูมิปัญญาชาวบ้าน

ระหว่างเกิดภัย  หน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ อบต. หน่วยทหาร อปพร. และ อสม. เข้าพื้นที่เพื่อช่วยดูแลแจกจ่ายข้าวกล่อง น้ำดื่ม และยารักษาโรค 

หลังเกิดภัย   อำเภอ อบต. และทีมสาธารณสุข ได้เข้าพื้นที่ไปสนับสนุนถุงยังชีพและยารักษาโรคที่มากับน้ำ  และหลังน้ำลด 7 วันจะสำรวจพื้นที่เสียหายเพื่อรับเงินชดเชย

10. ข้อเสนอแนะ

  • ไม่มี

11. พิกัดพื้นที่

จุดที่ 1 โซนน้ำน่าน  น้ำเข้าฝั่งคอสะพานอำเภอท่าวังผา  มีจุดโทรมาตรวัดน้ำ มีปัญหา คือ จะแจ้งเตือนช่วงระดับน้ำสูงแล้ว ไม่ทันการณ์ และได้ยินไม่ทั่วถึง -ท่วมพื้นที่เกษตร ระดับน้ำ ระดับน้ำมาก 2 -3 เมตร ระยะเวลา 3 วัน  -มีดินโคลนไหลมากับน้ำ หนาประมาณ 10 ซม.

จุดที่ 2 โซนน้ำยาว  เป็นพื้นที่ชุมชน หมู่ 4 ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำ ท่วมสูง 3 เมตร 3 – 4 วัน  ในชุมชนมีจุดปลอดภัย สำหรับอพยพผู้ประสบภัย เป็นพื้นที่สูงที่สุดในชุมชน คือ โรงเรียนเชียงแล และวัดเชียงแล ระดับน้ำ 30 ซม. ท่วม 2 วัน  น้ำกัดเซาะตลิ่งพัง  มีจุดโทรมาตรวัดน้ำ มีปัญหา คือ จะแจ้งเตือนช่วงระดับน้ำสูงแล้ว ไม่ทันการณ์

จุดที่ 3 โซนน้ำริมโซนที่1 : ชุมชนเชียงแลบริเวณหลังวัดเชียงแล เป็นจุดน้ำเข้า เขตพื้นที่หมู่ 6 และหมู่ 4 ระดับน้ำ 1 เมตร 2 วัน   : ท่อระบายน้ำ แบบ Free Flow เมื่อน้ำท่วมจะผุดขึ้นจากทางระบายน้ำในชุมชนโซนที่2: อยู่ในเขตพื้นที่บ้านเชียงแลหมู่ 6 ท่วม 30 ซม. ระยะเวลา 1-2 วัน

จุดที่ 4 จุดรวมน้ำ 3 สายน้ำ  จุดปัญหา บริเวณโค้งบ้านนาเตา ลำน้ำน่านตื้นและแคบ ระดับน้ำท่วมสูงที่สุด 3 – 4 เมตร นาน 4 – 5 วัน อยู่ในพื้นที่เกษตรเป็นส่วนใหญ่ แล้วเริ่มไหลเข้าชุมชนเมื่อน้ำน่านระบายไม่ทัน

12.ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ

คุณชัยวัฒน์ ชาสังข์ ผู้ใหญ่บ้าน 083-1543878

คุณธนิต คำอุ่น กำนันตำบลเชียงแล 086-1888902

หมายเหตุ :  รวบรวมข้อมูลโดย  อาภาพร หินคล้าย  09-5304-9453

*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562