1. บริบทชุมชน
หมู่ที่ 8 บ้านแฮะ ชุมชนที่ปลูกบ้านเรือนเป็นกลุ่มอยู่บนพื้นที่เนิน ร่ายล้อมด้วยผืนทุ่งนาบนที่ราบ และมีถนนเส้นแฮะ-ท่าค้ำพาดผ่านกลางหมู่บ้าน
ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร ปลูกข้าวในช่วงฤดูฝน สลับกับการปลูกพืชไร่จำพวกข้าวโพด ใบยาสูบในช่วงฤดูแล้ง
2. อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อ บ้านนาทราย หมู่ที่ 2 ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดต่อ บ้านหนองบัว หมู่ที่ 5ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศตะวันออก ติดต่อ บ้านท่าค้ำ ตำบลริม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศตะวันตก ติดต่อ บ้านหนองบัว หมู่ที่ 5ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
3. จำนวนประชากรและครัวเรือน
บ้านแฮะ มีประชากร 420 คน รวม 120 ครัวเรือน
4. สถานที่สำคัญ
1) วัดชนะไพรี
2) ศาลเจ้าเมืองไทลื้อ
3) หนองหลง
4) ป่าชุมชน
5) โรงปุ๋ยหมัก
5. ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6. เส้นทางน้ำ
เส้นทางการไหลของน้ำที่ไหลเข้าท่วมหมู่บ้านแฮะ ประกอบด้วย 2 ทางหลัก คือ
เส้นทางที่ 1หนองหลง น้ำที่ล้นจากหนองหลง ซึ่งรับน้ำจากบ้านท่าค้ำ บ้านหนองบัว (แม่น้ำน่าน) ไหลเอ่อเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรบริเวณหนองหลง และไหลท่วมทุ่งนารอบหมู่บ้าน
เส้นทางที่ 2 ร่องห้วยหนองแหย่ง ที่มีปลายทางที่บ้านหนองบัว และบ้านดอนแก้ว ร่องแหย่งรับน้ำจากน้ำริม ไหลผ่านร่องน้ำและเอ่อเข้าร่วมพื้นที่ทุ่งนา
7. พื้นที่เสี่ยง
ด้วยสภาพหมู่บ้านที่ตั้งกลางพื้นที่ดอน ทำให้พื้นที่เสี่ยงกลายเป็นพื้นที่เกษตรโดยรอบได้รับผลกระทบ และในปี 2549 น้ำท่วมทั้งพื้นที่ โดยเขตบ้านเรือนระดับน้ำสูงราว 1 เมตร ขณะที่พื้นที่การเกษตรรอบหมู่บ้านน้ำท่วมสูง 1 – 2 เมตร โดยมีระยะการท่วมนาน 3 – 4 วัน
8. ผลกระทบ
ผลกระทบจากน้ำท่วม หากไม่นับปี 2549 ที่เข้าท่วมทั้งหมู่บ้าน น้ำจะท่วมพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน ตรงกับฤดูการทำนาระยะการปลูกนานเพียง 1 เดือน และสำหรับปี 2549 ที่น้ำท่วมหนัก จนถนนทางเข้าออกชุมชนถูกกระแสน้ำตัดขาด ไม่สามารถสัญจรได้
9. การจัดการภัย
- ก่อนเกิดภัย ชุมชนติดตามพยากรณ์อากาศจากทางอุตุนิยมวิทยา การตรวจสอบระดับน้ำในหนองหลง นอกจากนี้ยังมีสัญญาเตือนภัยบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำน่าน และการประกาศแจ้งเตือนโดยกำนัน
- ระหว่างเกิดภัย มีการจัดเตรียมสิ่งของขึ้นที่สูงในปี 2549 น้ำท่วมหนักถนนถูกตัดขาด และน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรราวกับทะเล หน่วยช่วยเหลือนำเฮลิคอปเตอร์จัดส่งอาหารให้ชุมชนโดยหย่อนลงพื้นที่ใจกลางหมู่บ้าน ด้านหนึ่งจัดส่งทางเรือซึ่งมีจุดรับสิ่งของบริเวณรอยต่อเส้นถนนขาด ชุมชนกำหนดจุดอพยพคือโรงปุ๋ยหมัก รอบรับได้ราว 500 คน ด้วยเป็นพื้นที่กว้างลักษณะเนินสูงหากบ้านแฮะได้รับผลกระทบไม่มากชาวบ้านต่างรวมตัวร่วมแรง สมทบทุนเพื่อจัดทำอาหารแจกจ่ายไปยังหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบหนักใกล้เคียง
- หลังเกิดภัย มีการเยียวยาด้านพืชผลการเกษตรเสียหาย แต่มีมูลค่าไม่เพียงพอสำหรับการลงทุนทำการเกษตรต่อไป บางรายอาจกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อเพาะปลูกอีกครั้ง
พื้นที่บ้านแฮะ มีกระบอกวัดระดับน้ำฝน ตั้งอยู่ที่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้ดูแล นอกจากนี้ยังมีเสาวัดระดับน้ำบริเวณหนองหลง 1 จุด
10. ข้อเสนอแนะ
· (ไม่มี)
11. พิกัดพื้นที่
จัดเก็บพิกัดพื้นที่สำคัญในหมู่บ้านแฮะ จำนวน 2 จุด
จุดที่ 1 หนองหลง พื้นที่รับน้ำหลากจากบ้านท่าค้ำ และบ้านหนองบัว และไหลเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรของหมู่บ้าน



จุดที่ 2 บริเวณ พื้นที่เกษตรบริเวณถนนบ้านแฮะ-ท่าค้ำ จุดทางผ่านของร่องแหย่ง ติดกับพื้นที่ป่าชุมชน ซึ่งเป็นจุดทางน้ำล้น และเป็นจุดในการรับสิ่งของเข้าหมู่บ้านเมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่ ปี 2549



12. รายชื่อผู้ร่วมสำรวจพื้นที่
1) นายมานพ ไชยเพียร โทร 08-6196-1715
2) นางจิตนา ไชยเพียร
สมาชิกกลุ่ม 8 คน
*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562