[ข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัย] บ้านฮวก หมู่ที่ 4 ต.แสนทอง อ.ท่าวังผา จ.น่าน

1.บริบทชุมชน

บ้านฮวก หมู่ที่ 4 ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เป็นพื้นที่ราบระหว่างหุบขาอยู่ริมถนนสายหลักเข้าหมู่บ้าน มีทางสายน้ำหลัก (น้ำริม)

ไหลผ่านกลางหมู่บ้าน สภาพของพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ที่มีต้นปาล์มออกเต็มหมู่บ้าน ส่วนใหญ่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำนา ข้าวโพด โดยมีพื้นที่ทางการเกษตรจำนวน 1,500ไร่

2.อาณาเขต                      

ทิศเหนือ            ติดกับ บ้านแหน1 ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศใต้                ติดกับ บ้านพ่อ ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันออก      ติดกับ บ้านนาหนุน 1 ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันตก        ติดกับ บ้านน้ำไคร้ ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

3.จำนวนประชากร และครัวเรือน

 235 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 800 คน 

4.สถานที่สำคัญ

1) โรงเรียนบ้านฮวก

2) ตลาดสด

3) วัดไพรสณท์

5. ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ 

         ทิศทางการไหลของน้ำบ้านฮวก 2 สาย ด้วยกันคือ

            เส้นที่ 1 แม่น้ำริมไหลมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือลงสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยน้ำนั้นจะไหลผ่านกลางหมู่บ้าน และในขณะที่มีปริมาณน้ำที่มากจะทำให้น้ำเอ่อล้นออกด้านข้างท่วมหมู่บ้าน (ไหลมาไวและไปไว)

            เส้นที่ 2 น้ำป่า ที่มาจากบ้านน้ำไคร้ จะไหลผ่านพื้นที่ทางการเกษตรของชาวบ้าน โดยน้ำป่าที่ไหลนั้นจะไหลมาไวและไปไว

7. พื้นที่เสี่ยง

         บ้านฮวกเป็นพื้นที่น้ำท่วมแลละดินโคลนถล่มในปี 2554 น้ำเส้นที่1และเส้นที่ 2 ไหลมาสมทบกัน ระดับน้ำสูงถึง 2 เมตร และ 2561 ระดับน้ำสูง1 เมตรบวกกับมีพื้นที่บ้านที่เสี่ยงต่อการเกิดดินโคลนถล่มซึ่งอยู่ในโซนตลาด บ้านที่อยู่ติดกับภูเขาและพื้นที่ทางการเกษตรมีน้ำท่วมขัง 1 – 2 วัน  

8.ผลกระทบ

         หมู่บ้านนั้นได้รับผลกระทบจากแม่น้ำริม น้ำป่า และมีดินโคลนถล่ม โดยหมู่บ้านนั้นถูกน้ำท่วมจากแม่น้ำริมที่มีปริมาณน้ำมากจึงทำให้น้ำริมเอ่อล้นออกท่วมบ้าน ในปี 2554 น้ำท่วมได้รับผลกระทบ จำนวน 65 หลังคาเรือน และในปี 2561ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมจำนวน 20 กว่าหลังคาเรือน ในส่วนพื้นที่ทางการเกษตรนั้นได้รับความเสียหายจำนวน 1,500 แต่ต้นข้าวไม่ตายจึงทำให้ได้ผลผลิต และบ้านที่อยู่ติดกับภูเขาซึ่งเมื่อปี 2561 มีดินโคลนถล่มในจุดของตลาดชุมชน (มีลักษณะหินดินดาน+หินทราย) 

9. การจัดการภัย

  • ก่อนเกิดภัย ทางผู้นำชุมชนได้มีการประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวของชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านฮวกได้ติดตามปริมาณน้ำฝน ในการที่จะเฝ้าระวังฝนตกหนักรวมถึงดินโคลนถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัย หากเกิดฝนตกหนักหลายชั่วโมงทางผู้นำจะแจ้งเตือนให้ชาวบ้านขนสิ่งของขึ้นในที่สูง และเตรียมความพร้อมในเรื่องของอาหารการกิน ไว้ให้พร้อม ร่วมถึงรถยนต์ของชาวบ้านไปยังพื้นที่บริเวณโรงเรียนแสนทองวิทยาและชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากดินโคลนถล่มมีการนำผ้าไปคุมไว้ในพื้นที่
  • ระหว่างเกิดภัย ทางผู้นำชุมชนได้มีการแจกจ่ายอาหาร ในพื้นที่ที่น้ำท่วม (บางครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ)
  • หลังเกิดภัย มีการออกสำรวจพื้นที่น้ำท่วมในพื้นที่ชุมชน พื้นที่ทางการเกษตร                       และดินโคลนถล่ม

10. ข้อเสนอแนะ   

  • ไม่มี

11. พิกัดพื้นที่

จุดที่ 1 นาข้าวที่อยู่ติดริมน้ำที่ถูกกัดเซาะ

จุดที่ 2 ตลาดดินสไลด์

จุดที่ 3 น้ำริมไหลผ่านตัดกลางหมู่บ้าน

จุดที่ 4 บ้านที่น้ำท่วม น้ำท่วมขัง 1 วัน

จุดที่ 5 จุดอพยพของหมู่บ้าน

จุดที่ 6 นาข้าวที่ถูกน้ำป่า

จุดที่ 7 โซนบ้านที่ท่วม

จุดที่ 8 จุดอพยพที่ 2 ตชด.

จุดที่ 9 เก็บน้ำริม

12.ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ

1) นายเลิศ 093-1794642 คณะกรรม

2) นายอารมณ์ 081-3669647 ส.อบต.

3) นายสมบัติ 080-1215832 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562