1. บริบทชุมชน
บ้านน้ำไคร้ หมู่ที่ 5 ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับภูเขามีแม่น้ำไหลผ่าน คือน้ำไคร้
ซึ่งน้ำไคร้นั้นชาวบ้านได้มีการทำเป็นฝายกั้นน้ำ ร่วมถึงเป็นพื้นที่อนุรักษ์ปลา โดยชุมชนยังมีพื้นที่ป่าที่เป็นพื้นอนุรักษ์ของชาวบ้าน จำนวน 60กว่าไร่ พื้นที่ทางการเกษตร 1,000 ไร่ และชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำการเกษตร รับจ้าง ข้าวโพด ต้นมะแข่น ลิ้นจี่ และเงาะ
2.อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านห้วยม่วง หมู่ที่5 ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดกับ บ้านแฮะ หมู่ที่ 8ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านฮวก หมู่ที่ 4 ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านสันติสุข หมู่ที่ 7 ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
3.จำนวนประชากรและครัวเรือน
ครัวเรือน87 หลังคาเรือนจำนวนประชากร370 คน
4.สถานที่สำคัญ
- โรงเรียน
- วัดน้ำไคร้
5. ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ ทิศทางการไหลของน้ำและดินโคลนถล่ม
ทิศทางการไหลของน้ำบ้านน้ำไคร้1 สาย ด้วยกันคือ เส้นทาง น้ำไคร้ที่ไหลผ่านทางชุมชนหากน้ำไคร้มีปริมาณที่มากน้ำนั้นจะเข้าท่วมบ้านที่อยู่ติดกับริมน้ำ
ดินโคลนถล่มนั้น จะมีลักษณะ คือ มีบ้านที่ปลูกทางแนวภูเขาเป็นชั้นๆ โดยดินโคลนถล่มนั้นจะสไลลงทางแถวเทือกเขาตลอดแนวจึงทำให้ปิดกั้นทางถนนของชุมชน
7. พื้นที่เสี่ยงภัย
บ้านน้ำไคร้เป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมและดินโคลนถล่มบ้านที่อยู่ติดริมน้ำไคร้จะเป็นพื้นที่เสี่ยงทุกปี เนื่องจากในเวลาที่น้ำไคร้เอ่อล้นทลักเข้ามาในพื้นที่แล้ว จะเกิดให้บ้านที่อยู่ในระแวงนั้นถูกน้ำขัง เป็นเวลา 1-2 วันจนเข้าสู่ภาวะปกติ และชาวบ้านที่อยู่อาศัยแถบภูเขาส่วนใหญ่ชาวบ้านจะมีพื้นที่ทางการเกษตรอยู่ด้วยก็จะเกิดดินโคลนถล่มได้ง่าย
8.ผลกระทบ
หมู่บ้านนั้นได้รับผลกระทบจากน้ำไคร้ และดินโคลนถล่ม ซึ่งบ้านที่อยู่ติดกับแม่น้ำนั้นได้รับผลกระทบจากน้ำไคร้ จำนวน 10 หลังคาเรือน และบ้านที่โดนดินโคลนถล่มแบ่งออกเป็น 2 โซน คือ โซนที่ 1ที่อยู่ติดกับภูเขา จำนวน 2 หลังคา โซนที่ 2จำนวน 4 หลังคาเรือน ซึ่งบ้านที่ได้รับผลกระทบจากดินโคลนถล่มเป็นพื้นที่ที่อยู่ตามแถบภูเขาซึ่งชาวบ้านที่ปลูกพืชผลทางการเกษตร
9.การจัดการภัย
- ก่อนเกิดภัย ชาวบ้านได้รับฟังข่าวสารจากการประชาสัมพันธ์ของผู้นำ ซึ่งทางผู้นำได้รับข้อมูลจากหนังสือ การโทรศัพท์โดยตรง เพื่อให้มีการเตรียมขนสิ่งของและอาหารการกินไว้ให้พร้อม
- ระหว่างเกิดภัย ทางหน่วยงานได้เข้ามาช่วยเหลือในการแจกอาหาร หรือถุงยังชีพให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ
- หลังเกิดภัย ทาง อบต. ได้ช่วยทำความสะอาดพื้นโคลน ที่อยู่อาศัย และทางแกนนำได้ออกพื้นที่สำรวจความเสียหาย
10. ข้อเสนอแนะ
- ไม่มี
11. พิกัดพื้นที่
จุดที่ 1 จุดอพยพ วัดน้ำไคร้



จุดที่ 2 ดินสไลด์ที่เป็นจุดเสี่ยงและมีบ้านอยู่บ้านดอย 4 หลังและข้างล่าง สไลด์สูง 3 เมตร การแก้ไขคือมีการนำผ้าเต้นไปคุ้มหน้าดินเพื่อนไม่ให้ฝนตกใส่เพิ่ม



จุดที่ 3 ที่อนุรักษ์พันธุ์ปลา



จุดที่ 4 บริเวณบ้านที่ถูกน้ำท่วมจากน้ำไคร้



จุดที่ 5 ท่อรอดน้ำไคร้



จุดที่ 6 ดินสไลด์ที่ 2 ของหมู่บ้าน และเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของชุมชน จำนวน 60 กว่าไร่



12.ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ
1) นายสักชัย 095-2748765 อสม.
2) นายสมนึก 065-0128562ส.อบต
3) นายจำเนิน 095-4067762 ประธาน อสม.
*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562