1. บริบทชุมชน
บ้านนาหนุน1 หมู่ที่ 1 หนึ่งในหมู่บ้านจากทั้งหมด 8 หมู่ของตำบลแสนทอง อยู่ในความปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลแสนทอง
สภาพภูมิศาสตร์มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำยาว ผู้คนส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา และปลูกพืชไร่อายุสั้นในช่วงฤดูแล้ง จำพวก ข้าวโพด ยาสูบ
2. อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อ บ้านวังทอง หมู่ที่ 1ตำบลผาตอ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดต่อ บ้านเชียงแล ตำบลริม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศตะวันออก ติดต่อ แม่น้ำยาว
ทิศตะวันตก ติดต่อ บ้านฮวก หมู่ที่ 4 ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
3. จำนวนประชากรและครัวเรือน
บ้านนาหนุน1มีประชากร 884 คน รวม 288 ครัวเรือน
4. สถานที่สำคัญ
1) องค์การบริหารส่วนตำบลแสนทอง
2) วัดนาหนุน1
3) โรงเรียนบ้านนาหนุน1
4) หอประชุมหมู่บ้าน
5) ตลาดสด
6) ป่าสุสาน
7) ป่าชุมชน
5. ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6. เส้นทางน้ำ
เส้นทางการไหลของน้ำที่ไหลเข้าท่วมหมู่บ้านนาหนุน1 ประกอบด้วย 2 ทางหลัก คือ
เส้นทางที่ 1 บริเวณริมแม่น้ำยาว พื้นที่ด้านตะวันออกของหมู่บ้านติดริมแม่น้ำยาว ทำให้ ได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำที่มากในช่วงฤดูฝนในทุกปี ไหลเข้าท่วมพื้นที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ โดยระดับน้ำจะสูงราว 1-2 เมตร
เส้นทางที่ 2 บริเวณเขตรอยต่อหมู่บ้านเชียงแล ตำบลริมเป็นผลจากระดับน้ำน่านสูงล้นตลิ่งและหลากเข้าร่วมหมู่บ้านเชียงแลไหลต่อมายังพื้นที่บ้านนาหนุนผ่านพื้นที่เกษตรเข้าท่วมพื้นที่อยู่อาศัย
ทั้งนี้หากปริมาณแม่น้ำน่านสูงและระดับแม่น้ำยาวมาก จะทำให้ระดับน้ำท่วมในพื้นที่สูงขึ้น
7. พื้นที่เสี่ยง
บ้านนาหนุนน้ำท่วมสูงบริเวณพื้นที่เกษตรและกลุ่มบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ในเขตเชื่อมต่อหมู่บ้านเชียงแล และติดกับแม่น้ำยาว มีจำนวนราว 100 หลังคาเรือน โดยระดับน้ำท่วมสูงในปี 2549 สูงราว 3 – 4 เมตร ซึ่งต้องอพยพผู้คนไปยังจุดอพยพ 2 แห่ง คือ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลแสนทอง และโรงเรียนบ้านนาหนุน 1 และในทุกปีพื้นที่ริมแม่น้ำยาวน้ำท่วมราว 1 – 2 เมตร นาน 1 – 2 วัน
8. ผลกระทบ
พื้นที่การเกษตรของบ้านนาหนุน1 ได้รับความเสียหายจำนวน 300 ไร่ โดยส่วนใหญ่เป็นนาข้าว และข้าวโพด ในปี 2549 พื้นที่เกษตรเสียหายราว 500 – 600 ไร่
สำหรับที่อยู่อาศัย ในปี 2549 ท่วมทั้งพื้นที่และต้องอพยพไปยังจุดปลอดภัย
9. การจัดการภัย
- ก่อนภัย ชุมชนสังเกตปริมาณฝน และความต่อเนื่องของฝน หากตกต่อเนื่อง 2 วัน 2 คืน เริ่มเฝ้าระวังและเตรียมเก็บสิ่งของขึ้นที่สูง ส่วนหนึ่งคือการแจ้งข่าวสารจากผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งรับทราบข้อมูลจากกลุ่มไลน์ของ ปภ.
- ระหว่างเกิดภัย มีการช่วยเหลือโดยทหาร ตชด.ในการขนย้ายสิ่งของ ด้าน อบต. สนับสนุนด้านอาหาร ถุงยังชีพ หมู่บ้านมีเรือนท้องแบน 2 ลำ และเรือยาวสำหรับแข่งอีก 3 ลำ ส่วน อบต.มี 1 ลำ ในช่วงเกิดภัย อบจ.ส่งเรือมาสนับสนุนเพิ่มเติม สำหรับในปี 2549 มีปัญหาในการสื่อสารโทรศัพท์ไม่มีสัญญาณ
- หลังเกิดภัย การฟื้นฟูด้วยการทำความสะอาดบ้านเรือน โดยมีหน่วยทหาร ตชด.ร่วมทำความสะอาด นอกจากนี้มีสำรวจและจ่ายค่าชดเชยความเสียหายด้านการเกษตร
10. ข้อเสนอแนะ
- การติดตั้งสัญญาณเตือนภัยน้ำท่วม บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำยาว 1 แห่ง
- จัดสร้างกำแพงบริเวณริมแม่น้ำยาวเพื่อกั้นน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่
11. พิกัดพื้นที่
จัดเก็บพิกัดพื้นที่สำคัญในพื้นที่บ้านนาหนุน จำนวน 3 จุด
จุดที่ 1 เส้นทางน้ำเข้าหมู่บ้านจุดแรกจากริมแม่น้ำยาว บริเวณสวนสาธารณะชุมชนก่อนจะไหลข้ามถนนเข้าท่วมวัด และชุมชนบริเวณนั้น



จุดที่ 2 เส้นทางน้ำเข้าท่วมกลุ่มบ้านเสี่ยงบริเวณริมแม่น้ำยาว โดยไหลเอ่อจากแม่น้ำยาวเข้าท่วมถนนเชื่อมต่อถนนหลักซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำ



จุดที่ 3 เส้นทางน้ำเข้าท่วมหมู่บ้านผ่านทุ่งนาพื้นที่รอยต่อบ้านเชียงแล



12. ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ
1) คุณสมเกียรติ ใบยา โทร 09-3139-0702
2) คุณเอกณะรินทร์ ใบยา โทร 09-1852-7469
จำนวนสมาชิกกลุ่ม 4 คน
*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562