[ข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัย] บ้านนาหนุน 2 หมู่ที่ 2, บ้านนาหนุน 3 หมู่ที่ 7 ต.ผาตอ อ.ท่าวังผา จ.น่าน

1. บริบทชุมชน

บ้านหนาหนุน 2 หมู่ที่  2 และบ้านนาหนุน 3  หมู่ที่ 7 แต่เดิมเป็นหมู่บ้านเดียวกันและได้แบ่งพื้นที่หมู่บ้านจากกัน ทั้งสองหมู่บ้านต่างเป็นพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำยาว

ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้าว และฤดูแล้งปลูกพืชไร่ ทั้งใบยาสูบ ข้าวโพด โดยบ้านนาหนุน 2 ผู้คนจะมีพื้นที่ทำการเกษตรอยู่ในเขตบ้านนาหนุน 3  พื้นที่หลักใหญ่จึงเป็นที่ตั้งบ้านเรือน  ขณะที่บ้านนาหนุน 3 ต่างปลูกบ้านติดริมถนนสายหลัก และซอยย่อยเรียงรายตลอดแนว และมีพื้นที่การเกษตรติดกับบ้านวังทองหมู่ที่ 1 

2. อาณาเขต

ทิศบ้านนาหนุน 2 หมู่ที่ 2บ้านนาหนุน 3 หมู่ที่ 7
ทิศเหนือบ้านนาหนุน 3 หมู่ที่ 7 ตำบลผาตอ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่านบ้านวังทอง หมู่ที่ 1 ตำบลผาตอ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศใต้บ้านปูคา หมู่ที่ 5 ตำบลริม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่านบ้านนาหนุน 2 หมู่ที่ 2 ตำบลผาตอ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศตะวันออกแม่น้ำน่านแม่น้ำน่าน
ทิศตะวันตกแม่น้ำยาวแม่น้ำยาว

3. จำนวนประชากร และครัวเรือน

จำนวนบ้านนาหนุน 2บ้านนาหนุน 3
ประชากรราว 500 คน925 คน
ครัวเรือน142 หลังคาเรือน245  หลังคาเรือน

4. สถานที่สำคัญ

บ้านนาหนุน 2บ้านนาหนุน 3
หอประชุมหมู่บ้าน จำนวน 2 แห่ง
ตลาดสด
โรงสีข้าว
วัดนาหนุน2
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
โรงเรียนนาหนุน3
ตลาดสดนาหนุน 3
โรงสีข้าว
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผาตอ
ป่าสุสาน

5. ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6. เส้นทางน้ำ

         1) บ้านนาหนุน 2

            เส้นทางการไหลของน้ำที่เข้าท่วมหมู่บ้านนาหนุน 2  ประกอบด้วย 2 ทางหลัก คือ 

                        เส้นทางที่ 1บริเวณริมแม่น้ำยาวด้านตะวันตกของหมู่บ้านซึ่งติดริมแม่น้ำยาวตลอดแนว น้ำจะไหลเอ่อจากแม่น้ำยาว เข้าร่วมพื้นที่ตลอดริมฝั่ง และไหลเข้าสู่พื้นที่ตั้งบ้านเรือน 

                        เส้นทางที่ 2ห้วยดง  พื้นที่ติดกับห้วยดง เป็นน้ำที่ล้นตลิ่งหลากเข้ามาท่วมชุมชน ตลอดลำน้ำ

         2) บ้านนาหนุน 3 

                        เส้นทางที่ 1บริเวณริมแม่น้ำยาว ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ตลอดแนวเส้นทางสายน้ำยาว  น้ำล้นตลิ่งไหลเอ่อเข้าร่วมพื้นที่ผ่านถนนริมน้ำ ข้ามมายังเขตชุมชน เข้าร่วมพื้นที่

                        เส้นทางที่ 2น้ำล้นอ่างเก็บน้ำหนอง  ไหลเอ่อเข้าท่วมพื้นที่เกษตรบริเวณใกล้พื้นที่การเกษตร และไหลเข้าท่วมพื้นที่หมู่บ้านผ่านทางถนนสายหลักสบขุ่น-นาหนุน 2-3 และไหลตลอดแนวทางระบายน้ำบริเวณริมถนนของทางเข้าหมู่บ้านตลอดสองข้างทาง ซึ่งมีความลึกราว 1 เมตร  

                        เส้นทางที่ 3ลำห้วยดง ที่ไหลจากเขตป่าติดกับแม่น้ำน่าน ในช่วงฤดูฝน ผ่านถนนท่าวังผา –เชียงคำและไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือน สมทบกับน้ำในแม่น้ำยาวที่ท่วม 

            น้ำที่ไหลเข้าท่วมหมู่บ้านจะไหลต่อไปยังพื้นที่บ้านปูคาทั้งหมด โดยไม่ได้ไหลย้อนกลับสู่แม่น้ำยาวหรือแม่น้ำน่าน 

7. พื้นที่เสี่ยง 

            พื้นที่ติดริมแม่น้ำยาว บ้านนาหนุน 2 และ 3 มีพื้นที่ต่ำตลอดบริเวณริมแม่น้ำยาว ขณะที่พื้นที่เขตติดริมถนนท่าวังผา– เชียงคำ ด้านบนเป็นพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเนื่องจากเป็นที่สูง   ในทุกปีช่วงเดือนสิงหาคม–ตุลาคม น้ำริมแม่น้ำยาวมีปริมาณล้นตลิ่งและไหลเข้าท่วมพื้นที่ริมฝั่ง ระดับความสูง ราว 1 เมตร โดยมีระยะเวลาการท่วมสั้นเพียง 1 วัน  สำหรับปี 2549 น้ำท่วมสูง 3 เมตร นาน 2 วัน

            พื้นที่หมู่บ้าน  หากแม่น้ำยาวมีปริมาณมากจะไหลล้นท่วมชุมชน เมื่อรวมกับปริมาณน้ำอ่างเก็บที่ล้น และน้ำจากห้วยดงทำให้น้ำท่วมหมู่บ้านบริเวณที่อาศัยด้านล่างของถนนท่าวังผา –เชียงคำทั้งหมด  โดยจุดที่ท่วมหนักสำหรับบ้านนาหนุน 2 คือบริเวณตลาด และชุมชนจำนวน 50 หลังรอบตลาดเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำ  สำหรับพื้นที่บ้านนาหนุน 3 คือกลุ่มบ้านบริเวณรอบจุดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์ดีแทค ราว 50 หลังคาเรือน  

8. ผลกระทบ

            บ้านเรือนได้รับน้ำท่วมสูง และพื้นที่การเกษตรเสียหาย ในพื้นที่บ้านนาหนุน 3 จำนวนประมาณ 200-300 ไร่ ซึ่งเป็นช่วงฤดูทำนา ในระยะหลังการปักดำ 1-2 เดือน อีกส่วนหนึ่งที่เสียหายคือไร่ข้าวโพด 

            ในปี 2549 น้ำท่วมสูง ไหลท่วมบ้านเรือนจนต้องอพยพไปอยู่บ้านญาติในพื้นที่เหนือถนนท่าวังผา-เชียงคำ   และบางกลุ่มอพยพไปยังจุดพักพิงที่วัดนาหนุน 2 และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผาตอ

9. การจัดการภัย

  • ก่อนเกิดภัย มีการแจ้งเตือนจาก อบต.มายังผู้นำชุมชน และสื่อสารผ่านถึงลูกบ้านผ่านไลน์ และการโทรศัพท์ นอกจากนี้ผู้คนในชุมชนยังติดต่อสอบถามญาติพี่น้องที่อยู่ในพื้นที่ต้นน้ำ  รวมถึงการสังเกตระดับน้ำในชุมชน จัดเตรียมสิ่งของขึ้นที่สูง
  • ระหว่างเกิดภัย ด้วยช่วงระยะเวลาน้ำท่วมเกิดในพื้นที่ทุกปี และเป็นเพียงระยะสั้นเพียง 1 วันชาวบ้านยอมรับกับธรรมชาติของสิ่งที่ได้เกิด  ขณะที่ในปี 2549 มีการอพยพไปอาศัยร่วมกับญาติพี่น้องในเขตที่น้ำไม่ท่วม รวมถึงการอพยพไปยังจุดพักพิงที่กำหนด การช่วยเหลือด้านการขนย้ายสิ่งของจาก หน่วยทหาร ตชด.
  • หลังเกิดภัย มีการเยียวยาพื้นที่การเกษตร 

10. ข้อเสนอแนะ

·     การจัดสร้างร่องน้ำคอนกรีตเส้นน้ำด้วยดง  ระยะทางราว 100 เมตร และในปี 2562 มีโครงการจัดสร้างต่อเนื่องอีกระยะด้วยงบประมาณจ่ายขาดเงินสะสมของ อบต.  มีส่วนที่เสนอผ่านข้อบัญญัติของปี 2562  ทั้งหมดก่อสร้างในเขตพื้นที่บ้านนาหนุน 2  สำหรับพื้นที่บ้านนาหนุน 3 อยู่ระหว่างการพัฒนาพื้นที่ส่วนอื่นๆ 

11. พิกัดพื้นที่

            จัดเก็บพิกัดพื้นที่สำคัญในพื้นที่จำนวน6จุด  

  1. บ้านนาหนุน 2

จุดที่ 1 หอประชุมหมู่บ้านนาหนุน ติดริมแม่น้ำยาว ซึ่งเป็นจุดทางน้ำเข้าหมู่บ้านผ่านซอยสู่ถนนและชุมชน

จุดที่ 2 บริเวณพื้นที่บ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่ต่ำ และได้รับผลกระทบท่วมนาน โดยมีกลุ่มบ้านราว 50 หลังคาเรือน และน้ำจะไหลต่อไปยังพื้นที่การเกษตรที่เป็นรอยต่อบ้านปูคา  ตลอดถนนทางหมู่บ้านสองข้างทางมีท่อระบายน้ำทั้งทางตามแนวขอบเส้นถนน

จุดที่ 3 ท่อรอดถนนเชื่อมต่อลำห้วยดง บริเวณถนนทางเข้าหมู่บ้าน

จุดที่ 4 รางระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 92 เมตร ในลำห้วยดง  จุดรอยต่อของลำด้วยดงในพื้นที่บ้านนาหนุน 2 และ 3 ซึ่งพื้นที่นาหนุน 3 ยังไม่มีการก่อสร้าง

  • บ้านนาหนุน 3

จุดที่ 1 ซอยย่อยเชื่อมต่อพื้นที่นาถนนทางเข้าหมู่บ้านและพื้นที่เกษตรบริเวณร้านก๋วยเตี๋ยว ซึ่งเป็นจุดทางน้ำที่หลากจากแม่น้ำยาวเข้าหมู่บ้านลำดับแรกๆ  ที่น้ำเข้าร่วมชุมชน

จุดที่ 2 พื้นที่ต่ำบริเวณเชื่อมต่อกับถนนทางเข้าหมู่บ้าน ถนัดจากจุดทางน้ำเข้าแรก  แต่เดิมน้ำไหลผ่านถนน สู่พื้นที่เกษตรอีกด้านของหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันจุดน้ำท่วมนั้นมีการสร้างบ้านเรือนซึ่งถมพื้นที่สูงกว่าถนน และน้ำไม่สามารถไหลผ่านได้เช่นเคย จึงไหลบ่าไปตามถนนทางหมู่บ้าน

12. ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ

            1) คุณสมพงษ์ ใบยา  ผู้ใหญ่บ้าน นาหนุน 2  โทร 08-1724-7662

            2) คุณศรีไทย  ใบยา ประธานสภา อบต. ผาตอ โทร 08-1025-5099

*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ  “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562