1. บริบทชุมชน
ภูมิประเทศโดยทั่วไปของบ้านนาทรายเป็นลักษณะพื้นที่ราบต่ำ และเป็นพื้นรองรับน้ำ การตั้งถิ่นที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเกษตรอยู่บริเวณใกล้เคียงกับน้ำริม
น้ำริมจึงเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชุมชน แหล่งน้ำสำคัญ ได้แก่ ลำน้ำริม และหนองไข่ก๋า มีจำนวนพื้นที่ 4 ไร่ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร พืชที่ปลูก เช่น ข้าวโพด นาข้าว เป็นต้น มีพื้นพื้นที่การเกษตรทั้งหมด 2,000 ไร่
2.อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านนาหนุน ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านแฮะ ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านเชียงแล ตำบลริม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านพ่อ ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
3.จำนวนประชากรและครัวเรือน
จำนวนครัวเรือน 130 หลังคาเรือน จำนวนประชากรรวม 500 คน
4.สถานที่สำคัญ
1) วัดนาทราย
2) จุดปลอดภัยบริเวณถนนชนบทเส้นทาง บ้านพ่อ –นาทราย
5.ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ
บ้านนาทรายมีแหล่งน้ำสำคัญ ได้แก่ ลำน้ำริม และหนองไข่ก๋า พื้นที่ 4 ไร่ สถานที่สำคัญในชุมชน ได้แก่ วัดนาทราย กองทุนหมู่บ้าน หอประชุมหมู่บ้าน ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่สูงของชุมชน
เส้นทางการไหลของน้ำบ้านนาทราย มีน้ำริมไหลผ่านชุมชนและไหลลงสู่แม่น้ำน่านที่จุดรวมน้ำริม น้ำน่าน และย้ำยาว บ้านเชียงแล ตำบลริม
7.พื้นที่เสี่ยง
สาเหตุสำคัญของการเกิดน้ำท่วมบ้านนาทรายประเด็นแรก มาจากปริมาณน้ำริมที่เอ่อล้นตลิ่งในฤดูฝน ช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน ด้วยสภาพของลำน้ำยาวที่คดเคี้ยวส่งผลให้ในช่วงฤดูน้ำหลาก ทิศทางน้ำไม่สามารถไหลตามธรรมชาติได้ น้ำยาวที่ท่วมหลากและแรงไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่เกษตรกรและที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ต่ำ ตลอดจนถนนสัญจร ในหมู่บ้าน ประเด็นที่สอง มาจากการปลูกสร้างบ้านเรือนใกล้ลำน้ำ และประเด็นสุดท้าย ในปัจจุบันประชาชนได้ถมที่ดินส่วนบุคคลเพื่อป้องกันน้ำท่วมมากขึ้นจากพื้นถนนประมาณ1 เมตร อาจทำให้ชาวบ้านที่ไม่มีกำลังทรัพย์ถมที่ดินเป็นที่รองรับน้ำมากขึ้น
ในกรณีที่น้ำริมมีปริมาณสูงและไหลหลาก แต่น้ำในแม่น้ำน่านยังระบายได้ สถานการณ์น้ำท่วมของบ้านนาทรายก็ไม่วิกฤต แต่ถ้าหากน้ำน่านปริมาณสูงระบายได้ช้าก็จะส่งผลให้น้ำริมวิกฤตเพิ่มมากขึ้น
8. ผลกระทบ
เกิดผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยจำนวน 100 หลังคาเรือน ระดับน้ำท่วม 2เมตร ท่วมนาน 3 ชั่วโมง –1 วัน ท่วมพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 100ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 2,000 ไร่ เป็นช่วงปลูกข้าว จากลักษณะน้ำที่ไหลหลากทำมีดินโคลน ท่อนไม้ ซังข้าวโพด และขยะ ไหลมาทับถมผืนนา ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวตั้งท้อง ผลผลิตจึงเสียหาย
9. การจัดการภัย
จุดปลอดภัยของบ้านนาทรายมีหนึ่งจุด คือ บริเวณชุมชนฝั่งทิศเหนือ และถนนชนบทเส้นทาง บ้านพ่อ –นาทราย ชาวบ้านจะใช้เป็นพื้นที่จอดรถ ส่วนผู้คนจะไปอาศัยที่บ้านญาติพี่น้องในชุมชน
ก่อนเกิดภัย การจัดการภัย ชาวบ้านจะทยอยเก็บข้าวของขึ้นที่สูงช่วงฤดูฝน อีกทั้งยังมีการรับฟังข่าวสารการแจ้งเตือนภัยจากบ้านสันติสุขและบ้านฮวกซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำ โดยจะส่งข้อมูลมาทางแอพพลิเคชั่นไลน์กลุ่มผู้นำ หรือโทรสื่อสาร และประกาศเตือนภัยเสียงตามสาย ส่วนชาวบ้านจะช่วยเหลือตัวเอง เก็บสิ่งของสำคัญไว้ที่สูงและไปอาศัยบ้านญาติพี่น้อง ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ชาวบ้านรับมือและปฏิบัติกันมา
ระหว่างเกิดภัย การช่วยเหลือของภาครัฐ ในปี 2549 ทหารนำเฮลิคอปเตอร์ส่งอาหารให้ผู้ประสบภัย
หลังเกิดภัย องค์การบริหารส่วนตำบลแสนทองได้ดูแลสนับสนุนด้านการฟื้นฟูสภาพพื้นที่หลังน้ำลด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดูแลเรื่องโรคยารักษาโรค และแจกถุงยังชีพหลังเกิดภัย รวมถึงการออกสำรวจพื้นที่ความเสียหายของเกษตรอำเภอและออกตรวจพื้นที่ของหน่วยงานอื่น ๆ ร่วมกับผู้นำชุมชน
10.ข้อเสนอแนะ
- ไม่มี
11. พิกัดพื้นที่
พื้นที่บริเวณริมตลิ่งน้ำริม น้ำริมช่วงฤดูฝนเอ่อล้น อีกทั้งสภาพของลำน้ำที่คดเคี้ยวทำให้น้ำไหลบ่า




12.ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ
คุณเกษม ธนขว้าง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 098-8057783
*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562