[ข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัย] บ้านแหน 1 หมู่ที่ 1 ต.ผาทอง อ.ท่าวังผา จ.น่าน

1. บริบทชุมชน

         บ้านแหน 1 มีที่มาคือ ในสมัยอดีตในพื้นที่หมู่บ้านเต็มไปด้วยต้นแหนที่มีขนาดใหญ่ จึงเป็นที่มาของชื่อบ้านแหน ในปัจจุบันมีต้นแหนอยู่ 2 ต้นซึ่งอยู่ที่วัดบ้านแหน 1 และบริเวณสะพานทางเข้าหมู่บ้านอีก 1 ต้น

ชาวบ้านมีอาชีพทำไร่ข้าวโพด ใบยาสูบโดยในการปลูกนั้นจะสามารถปลูกได้ปีละ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่ในการขายใบยาสูบนั้นมีราคาอยู่ที่ กิโลละ 100-120 บาท และปลูกผักสวนครัวเป็นบางส่วน ในพื้นที่ทางการเกษตรมีจำนวน 700 ไร่ 

2.อาณาเขต          

ทิศเหนือ            ติดกับ บ้านแหน 3 ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 

ทิศใต้                ติดกับ น้ำแหนหลวง ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันออก      ติดกับ ริมน้ำยาว

ทิศตะวันตก        ติดกับ ป่าอนุรักษ์

3.จำนวนประชากร และครัวเรือน

จำนวนประชากร 732 คน 171 หลังคาเรือน

4.สถานที่สำคัญ

         1) วัดบ้านแหน 1

            2) หอประชุมประจำหมู่บ้าน

            3) อบต.ผาทอง

            4) ป่าสุสาน

            5) โรงเรียนบ้านแหน 1

5. ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ 

         ทิศทางการไหลของน้ำบ้านแหน1 จำนวน 3สาย ด้วยกันคือ

                        เส้นที่ 1 น้ำยาวที่ไหลผ่านหมู่บ้าน เมื่อน้ำยาวมีปริมาณน้ำมากจนทำให้น้ำเอ่อล้น และไหลเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตรไร่ข้าวโพด และบ้านที่อยู่ติดกับน้ำยาว

                        เส้นที่ 2 น้ำแหนหลวงเป็นน้ำที่ไหลมาจากน้ำป่าและจะไหลไปเชื่อมกับน้ำยาว

                        เส้นที่ 3 น้ำแหนน้อยเป็นน้ำที่ไหลมาจากบ้านวังผาง ซึ่งน้ำแหนน้อยและน้ำแหนหลวงจะไหลมาบรรจบกันและไหลลงสู่น้ำยาว

7. พื้นที่เสี่ยง

         บ้านแหน 1ในพื้นที่ทางการเกษตรและบริเวณบ้านที่อยู่ติดริมน้ำยาว ในปี 2549น้ำท่วมพื้นที่เกษตรสูงถึง 2 เมตร ในปี 2554น้ำท่วมสูง 1เมตร รวมถึงบ้านที่อยู่ติดริมน้ำยาวน้ำจะท่วมขังประมาณ 2 – 3วันเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำ จนเข้าสู่ภาวะปกติ 

8.ผลกระทบ

         หมู่บ้านได้รับผลกระทบในพื้นที่ทางการเกษตรและบริเวณบ้านที่อยู่ติดกับริมน้ำยาว ในปี 2549 ได้รับผลกระทบพื้นการเกษตร 80 กว่าไร่ ปี 2554พื้นที่ทางการเกษตร 70 ไร่ และปี 2561 พื้นที่ทางการเกษตร 20 กว่าไร่ รวมถึงบริเวณบ้านที่อยู่ติดริมน้ำยาวได้รับผลกระทบจำนวน 5 หลังคาเรือน ในส่วนบริเวณบ้านที่ได้รับผลกระทบจากท่อระบายน้ำทำให้น้ำเอ่อล้มเข้าท่วม จำนวน 10หลังคาเรือน และมีไก่ที่ตายจากน้ำท่วมจำนวน 100 ตัวซึ่งไม่ได้รับการชดเชยให้

9.การจัดการภัย

  • ก่อนเกิดภัย ทางผู้นำชุมชนได้มีการติดตามข่าวสารผ่านทางกลุ่มไลน์ของแกนนำโดยข้อมูลที่ได้รับจากนั้นทางผู้นำมีการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้ชาวบ้านได้รับทราบก่อนและมีเตือนให้ชาวบ้านที่อยู่ติดกับริมน้ำมีการขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง
  • ระหว่างเกิดภัย ในช่วงที่เกิดภัยนั้นบ้านที่อยู่ติดริมน้ำชาวบ้านบางส่วนได้มีการขนสิ่งของไว้ที่สูงและรถยนต์ได้นำมาไว้ที่สูงหรือบ้านญาติในส่วนของชาวบ้านนั้นได้อยู่ที่บ้านชั้น2 เพื่อดูสถานการณ์
  • หลังเกิดภัย ทางแกนนำได้มีการประสานงานกับทาง อบต. ในการทำความสะอาดล้างบ้านให้กับผู้ที่ถูกน้ำท่วมและมีการเยี่ยวยาในส่วนของพื้นที่ทางการเกษตรที่ได้รับความเสียหายรวมถึงมีการออกสำรวจพื้นที่

10. ข้อเสนอแนะ   

  • ไม่มี

11. พิกัดพื้นที่

จุดที่ 1 บ้านและพื้นที่ทางการเกษตร (ข้าวโพด)

จุดที่ 2 บ้านที่อยู่ต่ำสุด

จุดที่ 3 บ้านลุงใจ ได้รับผลกระทบ

จุดที่ 4 พื้นที่นาเสียหาย

จุดที่ 5 บ้านที่เสียหายและสัตว์ตาย

จุดที่ 6 จุดที่รอการระบายน้ำ

จุดที่ 7 บ้านที่ท่วมและรอการระบายน้ำปี 2561 ท่วมแต่ไม่เยอะ

จุดที่ 8 จุดต้นน้ำที่เข้าท่วม

12.ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ

  1. นายอุดม ทานัน 089-2133108 กำนัน
  2. นายธวัชชัย 089-0343996 
  3. นางอุไรวรรณ คมเพชรสง่า 089-5268207

*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562