[ข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัย] บ้านแหน 3 หมู่ที่ 8 ต.ผาทอง อ.ท่าวังผา จ.น่าน

1. บริบทชุมชน

ต้นแหน ณ วัดแหน1

             บ้านแหน 3 แบ่งพื้นที่จากบ้านแหน 1 ในปี 2542  ด้วยเหตุความหนาแน่นของประชากร  ที่มาของชื่อบ้านแหน ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยต้นแหนซึ่งเป็นไม้ต้นใหญ่

สัตว์ป่าสามารถกินเมล็ดได้ จึงเป็นที่มาของชื่อบ้านแหน ปัจจุบันต้นแหนพบได้ที่วัดบ้านแหน1 จำนวน 1 ต้น และบริเวณสะพานทางเข้าหมู่บ้านแหน 1 จำนวน 1 ต้น

ผู้คนบ้านแหน3 มีอาชีพเกษตรกรปลูกพืชหลากหลายชนิด ทั้งลำไย ไผ่รวก กล้วย ใบยาสูบ ข้าวโพด และมีนาข้าวเล็กน้อย โดยชนิดที่มีมากที่สุดคือลำไย พืชผลส่วนใหญ่จะมีพ่อค้าคนกลางนอกพื้นที่เข้ามารับซื้อ นอกจากนี้ชาวบ้านยังรวมกลุ่มทำไม้กวาดดอกหญ้าเป็นอาชีพเสริม มีสมาชิกราว 30 คน โดยการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานราชการ สภาพพื้นที่โดยทั่วไป เป็นที่ราบสลับกับที่เนินสูง ผู้คนนับถือศาสนาพุทธ 

2. อาณาเขต

            ทิศเหนือ            ติดต่อ บ้านวังผาง  หมู่ที่ 2 ตำบลผาทอง  อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

            ทิศใต้                ติดต่อ  บ้านบ้านแหน1 หมู่ที่ 1 ตำบลผาทอง  อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

            ทิศตะวันออก      ติดต่อ แม่น้ำยาว

            ทิศตะวันตก        ติดต่อ  อุทยานนันทบุรี

3. จำนวนประชากร และครัวเรือน

            ประชากร 460 คน  ครัวเรือน 102 ครัวเรือน และบ้านเรือน 98 หลังคาเรือน

4. สถานที่สำคัญ

            1) ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลผาทอง

            2) โรงน้ำดื่มบ้านแหน3

            3) ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านบ้านแหน3

            4) ศาลเจ้าหลวงเสาร์5

            5) หอประชุมหมู่บ้าน/หอกระจายข่าว

5. ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6. เส้นทางน้ำ

            เส้นทางการไหลของน้ำเข้าท่วมหมู่บ้านแหน3 ประกอบด้วย 1 ทาง คือ 

                        เส้นทางลำน้ำยาว เมื่อมีปริมาณน้ำมากจนล้นเข้าริมตลิ่ง และไหลเข้าท่วมกลุ่มบ้านที่อยู่ติดริมน้ำยาวซึ่งเป็นที่ราบต่ำ ไหลผ่านพื้นที่ปลูกข้าวโพด (ปลูกใบยาสูบในฤดูแล้ง)  ตลอดริมแม่น้ำไปสู่บ้านแหน1 บริเวณสะพานบ้านแหน1

7. พื้นที่เสี่ยง 

            พื้นการเกษตรริมแม่น้ำยาวซึ่งเป็นทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ตลอดลำน้ำ มีน้ำท่วมทุกปีในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ระดับน้ำ 2 เมตร ท่วมเพียง 6 ชั่วโมง ในช่วงที่น้ำท่วมพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำยาวปลูกข้าวโพดอยู่ในระยะหักฝัก   

ด้านพื้นที่อาศัยบริเวณกลุ่มบ้านติดริมแม่น้ำยาว  จำนวน 10 หลัง ถูกน้ำท่วม

8. ผลกระทบ

            พื้นที่เกษตรปลูกข้าวโพด ในปี 2539 มีน้ำท่วมระดับความสูง 50 เซนติเมตร ถึง 4 เมตร ท่วมไม่เกิน 6 ชั่วโมง  ปี 2549  น้ำท่วมสูงมากกว่า 4 เมตร ระยะเวลาท่วมไม่ถึงหนึ่งวัน  และในปี 2554 น้ำท่วมสูง 50 เซนติเมตร ท่วมนาน 6 ชั่วโมง พื้นที่การเกษตรริมฝั่งแม่น้ำเสียหายโดยรวม 25 ไร่ ข้าวโพดอยู่ในช่วงของการเก็บฝักแก่ ชาวบ้านบางส่วนเก็บฝักไม่ทันน้ำและปล่อยให้เสียหาย ในทุกปีช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนแม่น้ำยาวจะล้นตลิ่งเอ่อเข้าท่วมพื้นที่เกษตรริมแม่น้ำราว 2 เมตร เสียหาย 25 ไร่

            พื้นที่อยู่อาศัย น้ำเข้าท่วมกลุ่มบ้านที่อาศัยริมน้ำยาว โดยในปี 2539 ระดับน้ำท่วมสูง 2-4 เมตร ขณะที่ปี 2549 ระดับสูงกว่า 4 เมตร และในปี 2554 น้ำท่วมราว 50 เซนติเมตร ทั้งนี้ระยะการท่วมปีไม่เกิน 1 วัน 

9. การจัดการภัย

  • ก่อนเกิดภัย  ผู้นำชุมชนแจ้งเตือนผ่านการโทรศัพท์ โดยข้อมูลที่ได้รับจากเครือข่ายภัยพิบัติระดับอำเภอ  การแจ้งเตือนรู้ล่วงหน้าราว 6 -7 ชั่วโมง ชาวบ้านที่อยู่กลุ่มบ้านติดริมแม่น้ำยาวจะจัดเก็บสิ่งของขึ้นที่สูงโดยผู้คนในชุมชนจะร่วมช่วยจัดเก็บ
  • ระหว่างเกิดภัย ในช่วงที่ระดับน้ำท่วมสูงชาวบ้านจะอพยพไปพักยังบ้านญาติพี่น้องที่อยู่ในบริเวณที่สูงภายในชุมชน  บางส่วนอพยพไปพักยังหอประชุมหมู่บ้าน  ระหว่างเกิดภัย อบต. แจกถุงยังชีพ และน้ำดื่ม พร้อมทั้งจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์และรายงานไปยังอำเภอ 
  • หลังเกิดภัย มีการช่วยกันล้างบ้านที่น้ำท่วมซึ่งมีโคลนจำนวนมาก และไม่มีการเยียวยาค่าพืชผลเสียหายเนื่องจากหน่วยงานรับผิดชอบยังไม่ถ่ายโอนให้แก่ อบต.

ในบางช่วงที่น้ำไม่ท่วมบ้านแหน3 มีอาสาสมัครชุมชนไปช่วยพื้นที่ตำบลริม และป่าคาในการล้างบ้าน รวมถึงการจัดทำอาหารไปมอบให้พื้นที่น้ำท่วม

10. ข้อเสนอแนะ

  • มีข้อกังวลเกี่ยวกับฝายน้ำยาวจะมีผลต่อน้ำท่วมที่อาจมากยิ่งขึ้นในพื้นที่

11. พิกัดพื้นที่

            จัดเก็บพิกัดพื้นที่สำคัญในหมู่บ้าน  จำนวน  5  จุด

จุดที่ 1  ศาลเจ้าหลวงเสาร์5 เป็นจุดที่พื้นที่สูง  ด้านล่างเป็นพื้นที่ต่ำปลูกข้าวโพด (ฤดูแล้งปลูกใบยาสูบ)เป็นจุดทำการเกษตรที่ได้รับผลกระทบน้ำล้นตลิ่งในทุกปี

จุดที่ 2  กลุ่มบ้านที่น้ำท่วมจากน้ำล้นตลิ่ง จำนวน 10 หลังคาเรือน

จุดที่ 3 บริเวณปลายถนนติดริมแม่น้ำยาวซึ่งเป็นจุดน้ำไหลเข้าท่วมกลุ่มบ้าน 10 หลัง

จุดที่ 4 ถนนในหมู่บ้านที่น้ำท่วมกลุ่มบ้าน 10 หลัง และไหลต่อไปยังพื้นที่เกษตรริมแม่น้ำยาว

จุดที่ 5 บริเวณร่องห้วยยาปุด บนพื้นที่ถนนจุดรอยต่อหมู่บ้านแหน 1  ซึ่งเป็นจุดที่น้ำไหลจากหมู่บ้านแหน 3 ไปยังหมู่บ้านแหน 2  โดยน้ำไม่ไหลย้อนกลับ ทั้งนี้ร่องน้ำยาปุดจะมีน้ำในช่วงฤดูฝนและไหลลงแม่น้ำยาว  แต่ไม่มีผลกระทบทำให้เกิดน้ำท่วมชุมชน

12. ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ

            1) นายอานันท์   หลวงยศ ผู้ใหญ่บ้านแหน 3  โทร 08-1866-6471

            2) นายอานันท์  ประมา

            3) นายสุรพล  ใหม่ทะ

            4) นายติ๊บ  ใจสิ

สมาชิกกลุ่ม 10 คน 

*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562