1. บริบทชุมชน
บ้านน้ำพุ หมู่ที่ 4 ตำบลผาตอ อำเภอท่าวังผา จังหวัด เป็นพื้นที่แอ่งกระทะมีภูเขาล้อมรอบหมู่บ้าน โดยชุมชนมีอ่างเก็บน้ำ 2 ลูก
ที่กักเก็บน้ำไว้ใช่ในหมู่บ้านเองและน้ำนั้นจะไหลออกไปทางบ้านแหนลงน้ำยาว ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ การเกษตร (ทำนาข้าว กข.) ข้าวโพด (เลี้ยงสัตว์) มะม่วง ลำไย เงาะ ยาพารา มะขาม กาแฟ (มีคนมารับซื้อ) มีพื้นที่ทางการเกษตร จำนวน 3,000 ไร่ ป่าชุมชน 1,500ไร่
2.อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านน้ำโมง ตำบลผาตอ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดกับ บ้านแหน ตำบลผาตอ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านเจดีย์ชัย ตำบลเจดีย์ชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน
ทิศตะวันตก ติดกับ ถนนเชียงคำ
3.จำนวนประชากรและครัวเรือน
ครัวเรือน 92 ครัวเรือน จำนวนประชากร 364 คน
4.สถานที่สำคัญ
1) วัดน้ำพุ
2) หอประชุมประจำหมู่บ้าน
3) ตลาดชุมชน
4) แท่งเก็บน้ำใช้หมู่บ้าน
5.ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6.เส้นทางน้ำ
ทิศทางการไหลของน้ำบ้านน้ำพุ1 สาย ด้วยกันคือ เส้นทางเป็นน้ำที่ไหลจากภูเขาลงมาผ่านที่กักเก็บน้ำของชุมชนและสายน้ำนี้จะไหลลงไปบ้านแหนลงน้ำยาว
ดินโคลนถล่มนั้น จะมีลักษณะ คือ มีบ้านที่ปลูกขึ้นเนินเขาลักษณะดินเป็น หิน+ดินทราย
7. พื้นที่เสี่ยง
บ้านน้ำพุเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อดินโคลนถล่ม ในปี 2561 เกิดดินสไลในพื้นที่ซึ่งมีบ้านที่อยู่ติดริมเขา รวมถึงบ้านที่อยู่บริเวณหอประชุมหมู่บ้านซึ่งเป็นพื้นที่แอ่งกระทะ (ต่ำสุด) และพื้นที่ทางการเกษตรทำให้เกิดรอยเลื่อน
8.ผลกระทบ
หมู่บ้านตั้งอยู่เป็นพื้นที่แอ่งกระทะและมีชาวบ้านที่ปลูกบ้านอยู่เมินภูเขาจึงทำให้มีดินสไลในปี61 ซึ่งจุดที่เกิดเหตุนั้นเป็นพื้นที่บ้านที่อยู่ติดกับที่เก็บน้ำของหมู่บ้านดินที่สไลด์เป็นจุดที่อยู่หลังบ้าน จึงทำให้โซนบ้านเรือนได้รับผลกระทบเล็กน้อย และพื้นที่ทางการเกษตรของชาวนั้นส่วนใหญ่จะอยู่ทำเกษตรที่ภูเขาจึงได้รับผลกระทบจากดินสไลด์ทุกปี ทั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว (ดินสไลด์ลง 50-80 ซม.) จนทำให้บางพื้นที่นั้นเกิดรอยเลื่อย พืชผลทางการเกษตรได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก
9. การจัดการภัย
- ก่อนเกิดภัย ทางผู้นำได้รับข่าวสารผ่านทางกลุ่มไลน์ของผู้นำชุมชนและมีหนังสือให้ทางผู้นำประชาสัมพันธ์ให้กับทางชาวบ้านได้รับทราบในการเตรียมความพร้อมรับมือ การขนย้ายสิ่งของ รถยนต์อยู่ที่สูง รวมถึงการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยดินสไลด์ตัวลง
- ระหว่างเกิดภัย ทางผู้นำชุมชนบ้านน้ำพุได้มีการออกพื้นที่เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมรวมถึงพื้นที่เสี่ยงดินสไลด์
- หลังเกิดภัย มีการออกสำรวจพื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่ดินสไลด์ตัวลงเพื่อแจ้งให้กับทางหน่วยงานได้รับทราบ
10. ข้อเสนอแนะ
- ไม่มี
11.พิกัดพื้นที่
จุดที่ 1 ดินสไลด์



จุดที่ 2 จุดอพยพ วัดน้ำพุ



จุดที่ 3 จุดเสี่ยงบ้าน 10 กว่าหลัง



12. ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ
1) ผู้ใหญ่บ้านวรรณา 084-3652055
2) ผู้ช่วยถนัด 080-1264019
*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562