[ข้อมูลพื้นที่ประสบอุทกภัย] บ้านป่าไคร้ หมู่ที่ 2 ต.ริม อ.ท่าวังผา จ.น่าน

1. บริบทชุมชน

บ้านป่าไคร้  หมู่ที่ 2 เป็นหนึ่งใน 7 หมู่บ้านของตำบลริม อยู่ในความปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลริม

และมีคุณมานิต  คำรส เป็นผู้ใหญ่บ้านป่าไคร้ในปัจจุบัน  สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบ มีแม่น้ำน่านไหลผ่าน  ผู้คนส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา และปลูกพืชไร่อายุสั้นในช่วงฤดูแล้ง จำพวก ข้าวโพด ยาสูบ  ถั่วลิสง ถั่วเหลือง มีการเลี้ยงสัตว์เล็กน้อย ได้แก่ วัว หมู เป็ดไก่ แพะ  และนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่

2. อาณาเขต

ทิศเหนือ            ติดต่อ บ้านนาเตา หมู่ที่ 3  ตำบลริม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศใต้                ติดต่อ บ้านท่าค้ำ  หมู่ที่ 2  ตำบลริม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ทิศตะวันออก      ติดต่อ  แม่น้ำน่าน

ทิศตะวันตก        ติดต่อ บ้านท่าค้ำ  หมู่ที่ 1 ตำบลริม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

3. จำนวนประชากรและครัวเรือน

            บ้านป่าไคร้ มีประชากร  437  คน รวม  139 ครัวเรือน (ข้อมูลจากผู้ใหญ่บ้าน)

4. สถานที่สำคัญ

            1) องค์การบริหารส่วนตำบลริม

            2) วัดป่าไคร้

            3) ศูนย์เด็กเล็กตำบลริม

            4) หอประชุมหมู่บ้าน

            5) ศาลท้าวขาก่าน

            6) ป่าสุสาน

5. ผังวาดชุมชนแสดงพื้นที่น้ำท่วม/ดินโคลนถล่ม

6. เส้นทางน้ำ

            เส้นทางการไหลของน้ำที่ไหลเข้าท่วมหมู่บ้านป่าไคร้ ประกอบด้วย 3 ทางหลัก คือ 

                        เส้นทางที่ 1 บริเวณริมแม่น้ำน่าน ด้วยสภาพพื้นที่ด้านตะวันออกของหมู่บ้านติดแม่น้ำน่านตลอดทั้งแนวเขตทำให้ช่วงเดือนสิงหาคมปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านสูงจึงล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่หมู่บ้านเข้าทางถนนที่เป็นที่ลาดต่ำบริเวณซอย 1 และ 2 ปริมาณน้ำที่มากทำให้ไหลข้ามถนนเส้นหลักของหมู่บ้านไปยังพื้นที่ด้านใน 

                        เส้นทางที่ 2 ด้านทิศใต้ติดต่อบริเวณบ้านนาค้ำ 2 เป็นอีกหนึ่งเส้นทางน้ำเข้ามายังหมู่บ้านน้ำไคร้ผ่านพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นร่องทางน้ำเดิมในอดีต 

                        เส้นทางที่ 3 บริเวณพื้นที่รอยต่อกับบ้านนาเตา ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของบ้านป่าไคร้  น้ำไหลจากบ้านนาเตามาสมทบ ซึ่งบริเวณจุดนี้จะเกิดขึ้นหากปริมาณน้ำท่วมมากในพื้นที่นาเตา 

            เมื่อน้ำไหลจากเส้นทางที่ 1 สมทบกับ เส้นทางที่ 2 น้ำทั้งหมดจะไหลวนกลับไปยังเส้นทางที่ 2 บ้านนาค้ำ 2 อีกครั้ง 

7. พื้นที่เสี่ยง 

            บ้านป่าไคร้เป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมทั้งพื้นที่ในปี 2549 และ 2554  (หนักที่สุดในปี 2549)   ลุ่มบ้านในเขตพื้นที่ใกล้กับวัดป่าไคร้  จำนวน … ครัวเรือน เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำ และอยู่ในบริเวณเส้นทางน้ำที่ 2 และเส้นทางน้ำที่ 1 ไหลมาสมทบกัน  ระดับน้ำสูงราว 3 – 5 เมตร และท่วมคงระดับราว 3 วัน ระยะเวลาการท่วมจนเข้าสู่ภาวะปกติ  1-2 สัปดาห์  

8. ผลกระทบ

            ด้วยพื้นที่ทั้งหมดน้ำท่วม ในส่วนของบ้านเรือนระดับน้ำท่วมสูงชาวบ้านต่างต้องอพยพไปอาศัยบ้านญาติในเขตพื้นที่อื่น ๆ  กระแสไฟไม่สามารถจ่ายได้ และน้ำยังท่วมเส้นทางย่อยในหมู่บ้าน ทำให้เส้นทางเข้าออกถูกตัดขาด และพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคฉี่หนู (1 ราย) สำหรับพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายทั้งหมดเช่นกัน และน้ำท่วมขังนาน 1-2 สัปดาห์ ตรงกับช่วงฤดูการทำนาปลูกได้เพียง 1 เดือน ทำให้ต้นข้าวรากเน่ายืนต้นตาย ขณะที่พื้นที่อยู่อาศัยจะท่วมราว 3 วัน  (อ้างอิงจากระดับน้ำท่วมในปี 2554)

9. การจัดการภัย

  • ก่อนภัย ชาวบ้านป่าไคร้ ติดตามข่าวสารจากสถานีวิทยุลำไยเรดิโอ  หอกระจายข่าว รับฟังข้อมูลจากผู้ใหญ่บ้าน และการติดตามปริมาณน้ำในแม่น้ำน่าน รวมทั้งการสังเกตความเคลื่อนไหวของชาวบ้านในพื้นที่บ้านนาเตา  เมื่อได้รับแจ้งจึงเริ่มขนย้ายสิ่งของขึ้นบริเวณสูง จัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น เติมเงินมือถือสำหรับการสื่อสาร  จัดเตรียมน้ำปู๋ขนย้ายรถยนต์ และสัตว์เลี้ยง ไปยังพื้นที่บริเวณ อบต.ริม และจุดลานโล่งบริเวณสะพานท่าวังผาพัฒนา พื้นที่ของท่าวังผา
  • ระหว่างเกิดภัย มีอาหารกล่อง และถุงยังชีพ จาก อบต. และ ธกส. แจกจ่าย หากระดับน้ำท่วมไม่มาก บริเวณที่ประชุมของหมู่บ้านจะถูกปรับเปลี่ยนเป็นโรงครัวชั่วคราว โดย อบต. จัดหาเครื่องมือและกลุ่มแม่บ้านอาสาปรุงอาหารแจกจ่าย   รวมทั้งยังเป็นจุดรับบริจาคสิ่งของต่าง ๆ  อีกด้วย 
  • หลังเกิดภัยมีสำรวจและจ่ายค่าชดเชยความเสียหายด้านการเกษตร

10. ข้อเสนอแนะ

  • การเตรียมความพร้อม และช่วยเหลือตนเองเป็นหลัก
  • การจัดสร้างคันกั้นแนวตลิ่งตลอดแนวน้ำน่าน และการยกถนนสูง

11. พิกัดพื้นที่

            จัดเก็บพิกัดพื้นที่สำคัญในพื้นที่บ้านป่าไคร้ จำนวน 4 จุด

จุดที่ 1 เส้นทางน้ำเข้าหมู่บ้านจากริมแม่น้ำน่าน บริเวณซอยที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำ

จุดที่ 2 พื้นที่เส้นน้ำเข้าหมู่บ้านจากบ้านนาค้ำ 2  ซึ่งติดกับจุดพื้นที่น้ำท่วมหนักของชุมชน

จุดที่ 3 สะพานท่าวังผาพัฒนา  สะพานที่เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่บ้านป่าไคร้ และพื้นที่ท่าวังผา ซึ่งมีจุดที่มีเสาวัดระดับตั้งอยู่

จุดที่ 4 หอประชุมหมู่บ้านบ้านป่าไคร้  จุดสำหรับการเตรียมอาหาร และรับสิ่งของบริจาค

12. ข้อมูลผู้ร่วมสำรวจ

            1) นายมานิต  คำรศ (ผู้ใหญ่บ้าน) 06-1597-2262

            2) นางรพีพรรณ  สักลอ

            3) นางมันทนา  จักรทิพย์

หมายเหตุ: รวบรวมข้อมูลโดย ศศินันท์ กีรติธนจารุงพงษ์  09-1754-1507

*เอกสารส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการ “การพัฒนาแนวทาง/แผนการลดทอนความเสี่ยงภัยพิบัติ ระดับพื้นที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน” โครงการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงภัยพิบัติ วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2562